* ถ้าเพียงแต่ได้ยินหรือกล่าวคำในพระพุทธศาสนาโดยไม่ได้เข้าใจในความหมายตามความเป็นจริงของแต่ละคำ ก็จะคิดเอง และทำตามๆ กันไปด้วยความไม่เข้าใจความจริง เช่น คำว่า "สมาธิ" และ "สติ"
* สมาธิ เป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิต คือเป็นเจตสิกอย่างหนึ่ง (เอกัคคตาเจตสิก) ซึ่งเป็นสภาพที่ตั้งมั่นในสิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์) ดังนั้นจิตทุกประเภท ทุกขณะ จะต้องมีสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์เกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ
* ในขณะที่จิตเป็นอกุศล สมาธิในขณะนั้นก็เป็นอกุศล เช่น ในขณะที่มีความตั้งมั่นในสิ่งที่ทำให้สนุกสนานเพลิดเพลิน และถ้ามีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) เกืดร่วมด้วย สมาธินั้นก็เป็นมิจฉาสมาธิ เช่น ในขณะที่จดจ้องในสิ่งหนึ่งสิ่งใด (ทำสมาธิ) ด้วยความเป็นตัวเรา ที่ไม่เข้าใจตามความเป็นจริง แต่คิดว่าเป็นหนทางที่จะทำให้รู้แจ้งสัจจธรรม
* ในขณะที่จิตเป็นกุศล สมาธิในขณะนั้นก็เป็นกุศล เช่น ขณะที่มีจิตสละสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น และขณะใดที่ระลึกรู้ตรงลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ สมาธิในขณะนั้น ก็เป็นสัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นองค์หนึ่งของหนทางถูกที่จะทำให้ประจักษ์แจ้งอริยสัจจธรรมตามความเป็นจริงได้ต่อไป
* ดังนั้น มิจฉาสมาธิ จึงไม่ใช่สัมมาสมาธิ
* ส่วนสติ เป็นเจตสิกที่ระลึกได้ในทางที่ดีงามเท่านั้น เช่น ในขณะที่เกิดกุศลจิตขั้นทาน ขั้นศีล ก็ต้องมีสติ และถ้าเป็นสติที่เกิดขึ้นระลึก พร้อมกับปัญญาที่รู้ตรงลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ สติในขณะนั้น ก็เป็นสัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์หนึ่งของหนทางที่จะทำให้ประจักษ์แจ้งอริยสัจจธรรมต่อไป
โดย อ.อรรณพ หอมจันทร์
อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... คติธรรม
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและอนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณครับและอนุโมทนาดัวยครับ