สติปัฏฐาน เป็นมหากุศลที่ประกอบด้วยปัญญา มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์สติปัฏฐาน เป็นอนัตตา จะบังคับให้เกิดขึ้นตามความต้องการไม่ได้ แต่จะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยที่เหมาะสม คือ การศึกษาพระธรรมที่ถูกต้อง และมีความเข้าใจในปรมัตถธรรมพอสมควร เป็นผู้มั่นคงในเหตุผลตามความเป็นจริง มีสัญญาอันมั่นคงในปรมัตถ-ธรรมว่า ทั้งหมดที่กำลังปรากฏเป็นเพียงนามธรรมและรูปธรรม ฯ
เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นนะคะ แต่ขอให้มีความเข้าใจจนเป็นสัจจญาณก่อน แล้วกิจญาณ (เมื่อสติปัฏฐานเกิด) จะมีได้เมื่อเหตุนั้นสมควรแก่ผล ควรศึกษาธรรมเพื่อความเข้าใจอย่างเดียว ความเข้าใจนี่แหละค่ะ คือ ปัญญา ที่จะสะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับการจับด้ามมีด ที่ค่อยๆ สึกไป ที่ละน้อย ทีละน้อย
เบื้องต้นต้องเข้าใจ ความต่างกัน ของ มีสติ กับหลงลืมสติ และความต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิต ก่อน เพราะสติเจตสิก เกิดกับกุศลจิต (สติเจตสิกเป็นเจตสิกฝ่ายดี หรือ โสภณเจตสิก) ไม่เกิดกับอกุศลจิต ดังนั้น ในชีวิตประจำวัน ถ้า แยกความต่างกัน ของ กุศลจิต และ อกุศลจิต ไม่ออก ก็ไม่สามารถอบรมเจริญวิปัสสนา (สติปัฏฐาน) ได้
ข้อความบางตอนจาก นาวาสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 349
[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยนิ้วมือ หรือรอยหัวแม่มือของช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้ ย่อมปรากฏ ด้ามมีดให้เห็น แด่ว่าช่างไม้ หรือลูกมือของช่างไม้นั้นหารู้ไม่ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้ วานซืนนี้สึกไปเท่านี้ มีความรู้แต่เพียงว่า ด้ามมีดนั้นสึกๆ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่มีความรู้อย่างนี้ว่าวันนี้ อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้ วานซืนนี้สิ้นไปเท่านี้ ก็จริง แต่เธอก็รู้ว่าสิ้นไปแล้วๆ . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทร ที่เขาผูกด้วยเชือกผูกคือหวาย แช่อยู่ในน้ำ ๖ เดือน ในฤดูหนาว ลากขึ้นบก เชือกคือหวาย ที่ถูกลมและแดดพัดเผา ถูกเมฆฝนตกชะรด ก็จะเปื่อยผุไป โดยไม่ยากฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัญโญชน์ก็จะเสื่อมสิ้นไปโดยไม่ยากเลย.
ฟังจนเข้าใจ จนสติระลึก นั่นแหละจับด้ามมีด
ที่ว่าพิจารณากายในกาย พิจารณาเวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมหมายความว่าอย่างไรครับ
ความรู้เดิมนั้น ศึกษาจากอานาปานสติ (กาย) มัวแต่กำหนดลมหายใจจนทำงานไม่คล่อง รู้สึกอึดอัด แต่วิธีนี้ (อานาปานสติ) พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ แต่พอได้ฟังเทปของท่านอาจารย์สุจินต์ ให้พิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงที่ปรากฎทางตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ (ความคิด) ว่าเป็นรูป ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป จนรู้ว่ารูปที่เราสัมผัสได้นั้ น ถ้าไม่เอาจิตไปสัมผัสก็จะไม่เกิดอารมณ์ รู้สึกว่าถูกกับจริตกับผม ผมควรจะใช้วิธีไหนดีครับ หรือว่าทั้ง 2 วิธีนี้ ถูก แต่ขึ้นกับจริตของแต่ละคนว่าเหมาะสมกับวิธีไหน
อย่างแรกต้องเข้าใจคำว่า อนัตตา ก่อนครับ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล สติก็เป็นธัมมะอย่างหนึ่ง เป็นอนัตตาด้วย บังคับบัญชาให้สติเกิดตามใจเราไม่ได้ ต้องมีเหตุปัจจัยพร้อมสติจึงจะเกิด ดังนั้น จึงไม่มีตัวตน เอาสติไประลึกที่สภาพธํมมะนั้นสภาพธัมมะนี้ ถ้าเข้าใจความเป็นอนัตตา แม้ขั้นการฟังถูกต้องก็จะเป็นพื้นฐานของการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้องด้วยครับ และเหตุปัจจัยที่สติ-ปัฏฐานจะเกิด คือ เข้าใจเสียก่อนว่า ธรรมคืออะไร เมื่อฟังจนเข้าใจแล้ว เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม สติปัฏฐานก็สามารถจะเกิดระลึกได้ครับ แต่ที่สำคัญต้องเริ่มจากความเข้าใจเรื่อง อนัตตา และธัมมะคืออะไร ซึ่งฟังได้ทางอินเตอร์เนท หรือวิทยุครับ ค่อยๆ ฟังไปนะครับ ถ้ามีอะไรสงสัยพร้อมที่จะเป็นกัลยาณมิตรครับ
ขอบคุณครับ
ต้องไม่ลืมว่า สติปัฏฐานมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ มิฉะนั้น จะไม่มีวันเข้าถึงความเป็นอนัตตาค่ะ
ศึกษาพระธรรมต่อไปนะคะ เพราะพระธรรมเป็นเครื่องลับปัญญา ให้มีความคมกล้ายิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ขออนุโมทนาครับ