[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑
จิตตุปปาทกัณฑ์
กามาวจรมหากุศลจิต ๘ 16/211
อรรถกถากามาวจรกุศล 212
ว่าด้วยสมยศัพท์ 216
อธิบายคําว่ากามาวจร 225
อธิบายคําว่ากุศลและโดยลักษณาทิจตุกกะ 226
อธิบายคําว่าจิต 228
อธิบายคําว่าอุปปันนธรรม ๔ 233
ว่าด้วยอุปปันนศัพท์ 234
อธิบายคําว่าจิตเป็นประธาน 235
อธิบายคําว่าโสมนัสสสหคตะ 238
ว่าด้วยสังสัฏฐศัพท์ 239
อธิบายคําว่าญาณสัมปยุต 240
อธิบายคําว่าอารมณ์ 241
ธรรม ๑๑ อย่าง 249
ธรรม ๗ อย่าง 249
กามาวจรกุศลและทวารกถา
ว่าด้วยกายกรรมและทวาร 260
กถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม 268
กถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม 270
กถาว่าด้วยกรรม ๓ 272
อธิบายว่าด้วยวิญญาณ ๕ เป็นต้น 283
กถาว่าด้วยอกุศลกรรมบถ 286
องค์ของปาณาติบาต ๕ 287
ปาณาติบาตมีประโยค ๖ 287
ว่าด้วยอทินนาทาน 288
อทินนาทานมีองค์ ๕ หน้า 288
ว่าด้วยกาเมสุมิจฉาจาร 289
อคมนียฐาน ๒๐ 289
มิจฉาจารนั้นมี (องค์) ๔ 290
ว่าด้วยมุสาวาท 291
มุสาวาทมีองค์ ๔ 292
ว่าด้วยปิสุณาวาจาเป็นต้น 292
ผรุสวาจามีองค์ ๓ 294
ว่าด้วยกุศลกรรมบถ ๕ ประเภท 296
กถาว่าด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ 298
ว่าด้วยกุศลกรรม ๕ ประเภท 300
อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์ 305
อธิบายคําว่าธรรมมีผัสสะเป็นต้น 306
ความหมายของคําว่าผัสสะ 308
ความหมายของคําว่าเวทนา 311
ความหมายของคําว่าสัญญา 312
ความหมายของคําว่าเจตนา 314
ความหมายของคําว่าจิต 315
ความหมายของคําว่าวิตก 319
ความหมายของคําว่าปิติ 321
ความหมายของคําว่าสุข 323
ความหมายของคําว่าเอกัคคตาแห่งจิต 325
ความหมายของคําว่าสัทธินทรีย์ 326
ความหมายของคําว่าวิริยินทรีย์ 328
ความหมายของคําว่าสตินทรีย์ 329
ความหมายของคําว่าสมาธินทรีย์ 331
ความหมายของคําว่าปัญญินทรีย์ 332
ความหมายของคําว่ามนินทรีย์ 333
ความหมายของคําว่าโสมนัสสินทรีย์ 334
ความหมายของคําว่าชีวิตินทรีย์ 334
ความหมายของคําว่าสัมมาทิฏฐิเป็นต้น 335
อธิบายว่าด้วยศรัทธาพละเป็นต้น 335
ความหมายของคําว่าอโลภะ 340
ความหมายของคําว่าอนภิชฌา 344
ความหมายของคําว่ายุคลธรรม 345
อธิบายคําว่าเยวาปนกนัย 348
อธิบายฉันทะเป็นต้น 350
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 75]
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 211
จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลธรรม
กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๑
ปทภาชนีย์
[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส (๑) สัมปยุตด้วยญาณ (๒) มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุขเอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปะพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติสัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
(๑) เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา
(๒) ประกอบด้วยปัญญา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 212
อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์
อธิบายบทภาชนีย์กามาวจรกุศล
บัดนี้ เพื่อแสดงธรรมทั้งหลายที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยมาติกา (แม่บท) ตามที่ทรงตั้งไว้โดยชนิดต่างๆ จึงเริ่มบทภาชนีย์ นี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) เป็นต้น.
ในบทภาชนีย์นั้น กามาวจรกุศล นี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ครั้งแรกว่า กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นในสมัยใดดังนี้ ในนิเทศแห่งกามาวจรกุศลนั้น มีมหาวาระ ๓ คือ
ธัมมววัฏฐานวาระ (วาระว่าด้วยการกําหนดธรรม)
สังคหวาระ (วาระว่าด้วยการรวบรวม)
สุญญตวาระ (วาระว่าด้วยความว่าง).
บรรดาวาระทั้ง ๓ เหล่านั้น ธัมมววัฏฐานวาระ ทรงตั้งไว้ ๒ อย่างด้วยอํานาจแห่งอุทเทสวารและนิทเทสวาร บรรดาอุทเทสวารและนิทเทสวารทั้ง ๒ นั้น อุทเทสวารมี ๔ ปริจเฉท (ตอน) คือ ปุจฉา สมยนิทเทส ธัมมนิทเทส อัปปนา. บรรดาอุทเทสวาร ๔ ปริจเฉทนั้น ปริจเฉทว่า กตเม ธมฺมา กุสลา นี้ ชื่อว่า ปุจฉา ปริเฉทว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ ฯเปฯ ตสฺมึ สมเย (กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นในสมัยใด ฯลฯ ในสมัยนั้น) นี้ ชื่อว่า สมยนิทเทส (แสดงเวลา) ปริเฉทว่า ผสฺโส โหติ ฯเปฯ อวิกฺเขโป โหติ (ผัสสะย่อมมี ฯลฯ ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี) นี้ ชื่อว่า ธัมมนิทเทส (แสดงธรรม) ปริเฉทว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 213
ก็หรือว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้นก็หรือว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้นธรรมเหล่านั้นเป็นกุศล นี้ ชื่อว่า อัปปนา (ฌาน)
ว่าด้วยคําปุจฉา ๕
ปริเฉทว่าด้วยคําถามที่หนึ่งของอุทเทสวาร ตั้งไว้ ๔ ปริจเฉทอย่างนี้ดังนี้
บรรดาปริจเฉทว่าด้วยถามนั้น ปริจเฉทว่า กุศลธรรมเป็นไฉน นี้ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา. แท้จริงคําถามมี ๕ อย่างคือ
อทิฏฐโชตนาปุจฉา (ถามเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ไม่รู้)
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา (ถามเทียบเคียงกับสิ่งที่รู้แล้ว)
วิมติเฉทนาปุจฉา (ถามเพื่อตัดความสงสัย)
อนุมติปุจฉา (ถามเพื่อความเห็นชอบ)
กเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง)
คําถามเหล่านั้น มีความแตกต่างกันดังนี้
อทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน?
โดยปกติ ลักษณะปัญหาใดที่ตนไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่ชัดเจน บุคคลย่อมถามปัญหาแห่งลักษณะนั้นเพื่อความรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่อแจ่มแจ้ง เพื่อให้ชัดเจน นี้ ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน?
โดยปกติลักษณะปัญหาใด ที่รู้แล้ว เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว ไตร่ตรองแล้ว แจ่มแจ้ง ให้ชัดเจนแล้ว บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 214
วิมติเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน?
โดยปกติ คนที่แล่นไปสู่ความสงสัยเคลือบแคลงใจ เกิดความเห็น ๒ แง่ว่า อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ อะไรหนอ อย่างไรหนอ เขาย่อมถามปัญหา เพื่อต้องการตัดความสงสัย นี้ ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา.
อนุมติปุจฉา เป็นไฉน?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามปัญหา เพื่อความเห็นชอบของภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยงไร? ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? เป็นทุกข์พระเจ้าข้าก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอเพื่อพิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า นั้นเป็นของเรา เราเป็นนั่น นั่นอัตตาของเรา? ข้อนั้นไม่ควรเลยพระเจ้าข้า นี้ชื่อว่า อนุมติปุจฉา.
กเถตุกัมยตาปุจฉา เป็นไฉน?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามปัญหา เพื่อประสงค์ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ก็สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้เป็นไฉน? นี้ ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.
บรรดาคําปุจฉา ๕ เหล่านั้น คําถาม ๓ เบื้องต้นไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุไร. เพราะธรรมอะไรๆ ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้วในกาลทั้ง ๓ หรือพ้นจากกาล เป็นอสังขตะอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่โชติช่วงแล้ว ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ชัดเจนแล้ว มิได้มี เพราะเหตุนั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา จึงไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ธรรมชาติใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแทงตลอดแล้วด้วยพระญาณของพระองค์ กิจที่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 215
จะต้องเทียบเคียงของธรรมชาตินั้นกับผู้อื่น จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหมย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ทิฏฐสังสันทนาปุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่มี ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีความสงสัยทรงข้ามพันวิจิกิจฉาแล้ว มีความสงสัยอันขจัดได้แล้วในธรรมทั้งปวง ฉะนั้นวิมติเฉทนาปุจฉาของพระองค์จึงไม่มี. แต่ว่า ปุจฉา ๒ นอกจากนี้ มีอยู่แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในปุจฉา ๒ เหล่านั้น พึงทราบ กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้ว่าเป็น กเถตุกัมยตาปุจฉา ต่อไป
บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามในธรรมที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วยบทว่า กตเม ดังนี้ เพราะว่า ด้วยคําสักว่า ธมฺมา กุสลา ดังนี้ ใครๆ ก็ไม่อาจเพื่อจะรู้ได้ว่า กระทําอะไรแล้ว หรือว่า ย่อมกระทําอะไร แต่เมื่อตรัสคําว่า กตเม แล้ว ความที่ธรรมอันพระองค์พึงยกขึ้นแสดงเหล่านั้นมาถามแล้ว ก็ย่อมปรากฏ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสถามในธรรมที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วยบทว่า กตเม ย่อมทรงแสดงธรรมที่ตรัสถามด้วยคําถามสองบทว่า ธมฺมา กุสลา ดังนี้เนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ประกาศไว้แล้วแล.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในที่นี้ไม่ตรัสคําว่า กุสลา ธมฺมา เหมือนมาติกา แต่ตรัสทําตามลําดับแห่งบทว่า ธมฺมา กุสลา ตอบว่า เพื่อแสดงเทศนาธรรมทั้งหลายโดยประเภทแล้วแสดงธรรมมีชนิดต่างๆ เพราะว่า ในอภิธรรมนี้ พึงแสดงล้วนๆ อภิธรรมเหล่านั้นมีประเภทมิใช่น้อยมีชนิดต่างๆ มีกุศลเป็นต้น เพราะฉะนั้น ในอภิธรรมนี้ พึงแสดงธรรมทั้งหลายเท่านั้นเทศนานี้ ไม่ใช่แสดงโดยโวหาร แต่ธรรมเหล่านั้นพึงแสดงประเภทต่างๆ มิใช่น้อย มิใช่แสดงเพียงสักแต่ธรรม เพราะเทศนาโดยประเภทต่างๆ ย่อม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 216
นํามาซึ่งญาณในการแยกกลุ่มก้อนและญาณในปฏิสัมภิทา. พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงแสดงเทศนาแห่งธรรมทั้งหลายโดยประเภทว่า กุสลา ธมฺมา ดังนี้แล้ว บัดนี้เพื่อทรงแสดงธรรมเหล่าใด ก็พึงแสดงธรรมเหล่านั้นโดยประเภทนั้นๆ จึงทรงกระทําลําดับบทนี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ด้วยว่าเมื่อประเภทธรรมทั้งหลายที่ทรงแสดงแล้ว ประเภทธรรมที่สัตว์เห็นอยู่ย่อมถูกต้อง และพึงรู้ได้ง่าย.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ ต่อไป
ว่าด้วยสมยศัพท์
สมเย นิทฺทิสิ จิตฺตํ จิตฺเตน สมยํ มุนิ
นิยเมตฺวาน ทีเปตุํ ธมฺเม ตตฺถ ปเภทโต
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนี ทรงแสดงจิตในสมัย เพื่อกําหนดสมัยด้วยจิตแล้วแสดงธรรมทั้งหลาย โดยประเภทในสมัยนั้น.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงว่า ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิตเป็นต้น ก็ทรงแสดงจิตในสมัย เพราะเหตุไร เพราะทรงกําหนดสมัยอย่างนี้ว่า ตสฺมึ สมเย ในกาลเป็นที่สุดด้วยจิตที่กําหนดสมัยนั้น ลําดับนั้นเพื่อให้ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายมีผัสสะและเวทนาเป็นต้น ซึ่งเป็นประเภทที่ตรัสรู้ตามได้ยาก ด้วยสามารถแห่งฆนะโดยสิ้น สมูหะ กิจ อารมณ์เหล่านั้นในสมัยที่ทรงกําหนดจิตนั้นอย่างนี้ว่า แม้เมื่อมีสมัยต่างกัน ถ้าสมัยใดมีจิต สมัยนั้นนั้นแหละ ผัสสะก็มี เวทนาก็มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 217
บัดนี้ พึงทราบการพรรณนาตามบทในคําวินิจฉัยว่า ยสฺมึ สมเย เป็นต้นนี้ ต่อไป.
บทว่า ยสฺมึ เป็นอรรถแสดงถึงสัตตมีวิภัตติโดยไม่แน่นอน.
บทว่า สมเย เป็นคําแสดงถึงสมัยที่แสดงไว้โดยไม่กําหนด. สมัยทรงแสดงโดยไม่กําหนดไว้ด้วยคํามีประมาณเท่านี้. ในคําว่า สมัยนั้น สมยศัพท์ท่านใช้ในอรรถว่า พร้อมเพรียง ในขณะ ในกาล ในการประชุมในเหตุ ในทิฏฐิ การได้เฉพาะ การละ การแทงตลอด.
จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นั้น ใช้ในความหมายว่า ความพร้อมเพรียงดังในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรแม้วันพรุ่งนี้ พวกเราใคร่ครวญกาลและความพร้อมเพรียงกันแล้วพึงเข้าไปหา. ใช้ในความหมายว่า ขณะ ดังประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะ (โอกาส) และสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวแล. ใช้ในความหมายถึงกาล (เวลา) ดังในประโยคมีอาทิว่า ฤดูร้อนเป็นเวลาเร่าร้อน. ใช้ในความหมายว่า ประชุมดังในประโยคมีอาทิว่า การประชุมใหญ่ มีในป่าใหญ่. ใช้ในความหมายว่าเหตุ ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระนครสาวัตถีแล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทําให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล เธอก็ไม่แทงตลอดแล้ว. ใช้ในความหมายว่า ทิฏฐิ ดังในประโยคมีอาทิว่า ก็ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ เป็นบุตรของนางสมณมุณฑิกา อาศัยอยู่ในอารามของพระนางมัลลิกาเทวี อันมีศาลาหลังเดียว แวดล้อมด้วยแถวต้นมะพลับ เป็นที่ประชุมแสดงลัทธิ. ใช้ในความหมายว่า การได้เฉพาะ ดังในประโยคมีอาทิว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 218
นักปราชญ์ ท่านเรียกว่า บัณฑิตเพราะการได้เฉพาะซึ่งประโยชน์ในภพนี้และประโยชน์ในภพหน้า.
ใช้ในความหมายว่าละดังในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุได้กระทําที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะโดยชอบ. ใช้ในความหมายว่า การแทงตลอดดังในประโยคมีอาทิว่า สภาพแห่งทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าปรุงแต่ง มีอรรถว่าทําให้เดือดร้อน มีอรรถว่าแปรปรวน มีอรรถว่าควรแทงตลอด ในสมยศัพท์มีอรรถเป็นอเนก ด้วยประการฉะนี้.
สมวาโย ขโร กาโล สมูโห เหตุเยว จ
เอเต ปฺจาปิ วิฺเยฺยา สมยา อิธ วิฺุนา
สมยศัพท์ในอธิการนี้ พึงทราบว่ามีเพียง ๕ คือ
ความพร้อมเพรียง ๑ ขณะ ๑ กาล ๑ ประชุม ๑ เหตุ ๑.
แท้จริง ในบรรดาสมยศัพท์ ๙ อย่างเหล่านั้น ในอธิการว่าด้วยกุศลนี้ว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบสมยศัพท์ ๕ มีความพร้อมเพรียงเป็นต้นต่อไป.
บรรดาสมยศัพท์เหล่านั้น ความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยพึงทราบว่า ความพร้อมเพรียง ส่วนสมยศัพท์อันเป็นอรรถข้อที่ ๙ (การแทงตลอด) พึงทราบว่าเป็นขณะหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง จักรแม้ทั้ง ๔ ก็พึงทราบว่าเป็นขณะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 219
จริงอยู่ ความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยทั้งหลายที่ดํารงอยู่ด้วยความเป็นเหตุ อันยังผลทั่วไปให้สําเร็จนั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นความพร้อมเพรียงในที่นี้. ส่วนสมยศัพท์มีอรรถที่ ๙ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวแล ดังนี้พึงทราบว่าเป็นขณะหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง จักร (การถึงพร้อม) ๔ คือ
ปฏิรูปเทสวาโส (การอยู่ในประเทศที่สมควร)
สปฺปุริสูปนิสฺสโย (การคบสัตบุรุษ)
อตฺตสมฺมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ)
ปุพฺเพกตปฺุตา (ความเป็นผู้มีบุญทําไว้ก่อน)
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจักร ๔ ประการนี้เป็นเครื่องดําเนินไปของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้ว ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นขณะ ด้วยอรรถว่าเป็นโอกาสรวมจักร ๔ เหล่านั้นเป็นอันเดียวกัน. ด้วยว่า จักร ๔ เหล่านั้นเป็นโอกาสในการยังกุศลให้เกิดขึ้น. ครั้นทราบสมยศัพท์คือ ความพร้อมเพรียงและขณะอย่างนี้แล้ว บัณฑิตพึงทราบคําชี้แจงในสมยศัพท์ทั้งหลายมีกาลเป็นต้นเหล่านี้ ต่อไป.
บัญญัติ ชื่อว่า กาล เพราะอาศัยธรรมนั้นๆ ก็กาลนั้น เป็นเพียงโวหาร (มิใช่ปรมัตถ์) กองแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นการพร้อมเพรียง (สมูหะ).
บัญญัติ ชื่อว่า กาล เพราะอาศัยธรรมนั้นๆ อย่างนี้ คือเพราะอาศัยธรรมทั้งหลายโดยนัยเป็นต้นว่า จิตฺตกาโล (กาลแห่งจิต) รูปกาโล (กาลแห่งรูป) หรือเพราะอาศัยการประพฤติธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 220
อตีตธรรม อนาคตธรรม หรือเพราะอาศัยลําดับแห่งธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า กาลนี้เป็นกาลแห่งพืช กาลนี้เป็นกาลแห่งหน่อ หรือเพราะอาศัยลักษะแห่งธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า นี้เป็นกาลเกิด นี้เป็นกาลแก่ หรือเพราะอาศัยกิจแห่งธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า กาลเป็นที่เสวยอารมณ์ กาลเป็นที่จําอารมณ์ หรือเพราะอาศัยกิจที่สัตว์ต้องทําโดยนัยเป็นต้นว่า นี้เป็นกาลอาบน้ำ เป็นกาลดื่มน้ำหรือเพราะอาศัยอิริยาบถโดยนัยเป็นต้นว่า กาลที่เดิน กาลที่ยืน หรือเพราะอาศัยการหมุนเวียนของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โดยนัยเป็นต้นว่ากาล (เวลา) เช้า เย็น กลางวัน กลางคืน หรือเพราะอาศัยการประชุมแห่งกาล กล่าวคือกลางวันและกลางคืนเป็นต้น โดยนัย ครึ่งเดือน หนึ่งเดือนเป็นต้น. ก็กาลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเพียงบัญญัติเท่านั้น เพราะไม่มีสภาวะ (ภาวะของตน).
ส่วนหมวดแห่งธรรมทั้งหลายมีผัสสะและเวทนาเป็นต้นนั้น ท่านชี้แจงไว้ว่า เป็นการประชุม (สมูหะ) ในอธิการนี้. ครั้นทราบสมัยที่ใช้คําว่ากาลและประชุมอย่างนี้แล้ว พึงทราบสมยศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า เหตุต่อไป.
เหตูติ ปจฺจโย เจตฺถ ตสฺส ทฺวารวเสน วา
อเนกภาโวปิ วิฺเยฺโย ปจฺจยานํ วเสน วา
ก็ในสมยศัพท์นี้ ปัจจัย ชื่อว่า เหตุ บัณฑิตพึงทราบความที่เหตุนั้น มีมากอย่าง แม้ด้วยทวารหรือด้วยปัจจัยทั้งหลาย
จริงอยู่ในอธิการนี้ปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่า เหตุ บัณฑิตพึงทราบความที่เหตุนั้นมีมากอย่างด้วยสามารถแห่งทวาร หรือปัจจัยทั้งหลาย. พึงทราบอย่างไร? จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัจจัย ๔ มีจักขุ รูป อาโลกะ มนสิการเป็นต้น แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นที่เกิดขึ้นในจักขุทวารเป็นต้น และ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 221
ตรัสปัจจัย ๒๔ ในมหาปกรณ์ โดยนัยมีอาทิว่า เหตุปจฺจโย ดังนี้. บรรดาปัจจัยเหล่านั้นยกเว้นวิปากปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย แล้วที่เหลือเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมทั้งหลายทั้งนั้น. แต่ในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นเหตุ บัณฑิตพึงทราบความที่เหตุนั้นเป็นปัจจัยมากอย่าง ด้วยสามารถแห่งทวารนี้ หรือด้วยสามารถแห่งปัจจัยอย่างนี้ อรรถทั้ง ๕ มีความพร้อมเพรียงเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบว่าท่านกําหนดด้วยสมยศัพท์ในอธิการนี้ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร บรรดาอรรถเหล่านี้ ท่านไม่กําหนดเอาอรรถอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวแต่กําหนดเอาทั้งหมด.
ตอบว่า เพราะการแสดงอรรถที่แตกต่างกันนั้นๆ ด้วยสมยศัพท์นั้นๆ มีอยู่.
จริงอยู่บรรดาสมยศัพท์เหล่านั้น สมยศัพท์กล่าวคือความพร้อมเพรียงย่อมแสดงถึงความเป็นไปโดยเหตุมิใช่น้อย ด้วยสมยศัพท์อันนั้น ย่อมมีการปฏิเสธลัทธิที่มีเหตุเดียว. ก็ธรรมดาว่าความพร้อมเพรียงย่อมมุ่งถึงสิ่งที่อาศัยกันและกันในการยังผลทั่วไปให้สําเร็จ เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงอรรถแม้นี้ว่าชื่อว่า ผู้สร้างคนเดียวย่อมไม่มี. ก็โดยสภาวะเมื่อผู้สร้างมีอยู่ก็ไม่ควรเพ่งถึงเหตุอื่น ด้วยลักษณะอย่างนี้ จะเป็นการปฏิเสธคําที่มีอาทิว่า สุขและทุกข์อันตนทําเอง โดยแสดงถึงความไม่มีผู้กระทําคนใดคนหนึ่งนั้น.
ในคําที่กล่าวที่แล้วนั้น หากจะมีคําท้วงว่า คําใดที่กล่าวแล้วย่อมแสดงความเป็นไปโดยเหตุมิใช่น้อย คํานั้นก็ไม่ถูกซิ เพราะเหตุไร. เพราะสิ่งที่ไม่เป็นเหตุ ไม่มีในความพร้อมเพรียงกัน แม้ในความพร้อมเพรียงก็เป็นเหตุไม่ได้จริงอยู่ เมื่อคนตาบอดคนหนึ่งไม่อาจเห็น คนตาบอดตั้งร้อยก็ย่อมไม่เห็น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 222
ตอบว่า ที่ว่าไม่ถูก หาควรไม่ เพราะความที่เหตุยังผลทั่วไปให้สําเร็จได้ตั้งอยู่แล้ว ชื่อว่า ความพร้อมเพรียง หาใช่เหตุสักว่าการประชุมแห่งเหตุมิใช่น้อยไม่. ก็ผลทั่วไป ชื่อว่าการเห็นของบุคคลผู้ตาบอดทั้งหลายหามีไม่. เพราะเหตุไร เพราะแม้เมื่อคนตาบอดตั้งร้อยมีอยู่ ผลโดยทั่วไปก็ไม่มี ก็ผลอันทั่วไปนั้นของจักขุเป็นต้นมี เพราะความที่ธรรมมีจักษุวิญญาณเหล่านั้นมีอยู่.
อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีเหตุทั้งหลายในความไม่พร้อมเพรียงเป็นเหตุในความพร้อมเพรียงสําเร็จได้ ข้อนี้พึงทราบว่า เพราะความไม่มีผลในความไม่พร้อมเพรียง แต่มีผลในความพร้อมเพรียง เพราะว่า เมื่อจักษุเป็นต้นบกพร่องจักษุวิญาณก็มีไม่ได้และเมื่อจักขุเป็นต้นไม่บกพร่องจักขุวิญญาณจึงสําเร็จประจักษ์แก่สัตวโลก นี้เป็นการแสดงอรรถด้วยสมยศัพท์ คือความพร้อมเพรียงก่อน.
ส่วนขณะที่ ๙ เว้นอขณะทั้ง ๘ ท่านเรียกว่า ขณะ เพราะอรรถว่าเป็นโอกาส กล่าวคือ จักร ๔ มีการอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นต้น ขณะนั้น เว้นความพร้อมเพรียงแห่งขณะ คือ ความเป็นมนุษย์ การเสด็จอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า การฟังพระสัทธรรม และมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นเสียก็มีไม่ได้ และความเป็นมนุษย์เป็นต้น เป็นภาวะที่ได้โดยยาก โดยการอุปมาด้วยเต่าตาบอดเป็นต้น กุศลอันเป็นอุปการะแก่โลกุตตรธรรมทั้งหลาย อันประกอบด้วยขณะอันแสนจะได้ยากแท้ เพราะความที่ขณะเป็นของหาได้โดยยาก ดังพรรณนามาฉะนี้.
บรรดาสมยศัพท์ตามที่กล่าวแล้ว สมยศัพท์กล่าวคือขณะย่อมส่องถึงความเป็นของได้โดยยาก เพราะเป็นการเกิดขึ้นแห่งกุศล ว่าโดยฐานะที่แสดง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 223
อยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นอันท่านปฏิเสธการอยู่ด้วยความประมาทของชนผู้ได้ขณะแล้ว ทําขณะให้เป็นโมฆะ เพราะการไม่ยังกุศลนั้นอันประกอบด้วยขณะให้เกิดขึ้น อรรถนี้ท่านอธิบายไว้ด้วยสมยศัพท์ กล่าวคือขณะ.
ก็ธรรมดาว่า การเป็นของกุศลจิตนี้ นั้นเป็นของน้อยยิ่งนัก ก็การที่กุศลจิตนั้นเป็นของน้อยยิ่งนักนั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งอรรถกถาพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ความเร็วของดวงจันทร์และดวงอาทิทย์ เร็วกว่าความเร็วของบุรุษ เทวดาผู้ไปข้างหน้าของพระจันทร์และพระอาทิตย์ เรียกว่าพระจันทร์และพระอาทิตย์ อายุสังขารทั้งหลายย่อมสิ้นไปเร็วกว่านั้น. จริงอยู่ สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกาลเล็กน้อยของรูปชีวิตินทรีย์ก่อน รูปที่เกิดขึ้นเฉพาะแล้วยังตั้งอยู่เพียงใด จิต ๑๖ ดวงเกิดขึ้นแล้วดับเพียงนั้น แม้การอุปมาด้วยข้อที่จิตเหล่านั้นเป็นของเล็กน้อยโดยกาลย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นไปรวดเร็ว แม้การเปรียบก็กระทําไม่ได้ง่ายดังนี้.บรรดาสมยศัพท์เหล่านั้น สมยศัพท์กล่าวคือ กาลย่อมแสดงถึงความเล็กน้อยยิ่งของกาลที่เป็นไปในกุศลจิตด้วยประการฉะนี้ ว่าด้วยฐานะที่ทรงแสดงอยู่อย่างนี้ เป็นโอวาทที่ทรงประทานไว้ว่า จิตนี้แทงตลอดได้ยากเหมือนการร้อยแก้วมุกดาโดยแสงสว่างแห่งฟ้าแลบ เพราะความที่จิตมีเวลาเป็นไปน้อยยิ่ง เพราฉะนั้น พวกเธอพึงทําความอุตสาหะให้มากและความเอื้อเฟื้อให้มาก ในการแทงตลอดจิตนี้ ดังนี้. เนื้อความนี้แสดงสมยศัพท์คือกาล.
ส่วนสมยศัพท์ กล่าวคือการประชุม ย่อมแสดงความเกิดขึ้นพร้อมกันแห่งธรรมแม้มิใช่น้อย จริงอยู่ กองแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ท่านกล่าวว่าการประชุม ดังนี้ อนึ่ง จิตเมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดในกองแห่งธรรมนั้นพร้อม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 224
กับธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงความเกิดขึ้นพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลายมิใช่น้อย โดยฐานะที่แสดงอยู่อย่างนี้ เป็นอันว่าแสดงการปฏิเสธความเกิดขึ้นแห่งธรรมอย่างเดียวนั่นเอง. เนื้อความนี้แสดงสมยศัพท์ กล่าวคือ การประชุม.
ส่วนสมยศัพท์ กล่าวคือ เหตุ ย่อมแสดงความเป็นไปอันประกอบด้วยธรรมอื่น. จริงอยู่ บทว่า ยสฺมึ สมเย มีอธิบายว่า เมื่อเหตุอย่างใดมีกุศลก็ย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงแสดงความที่ธรรมมีการเป็นไปโดยอาศัยเหตุอื่น เพราะมีเหตุเป็นไป ด้วยฐานะที่แสดงอยู่อย่างนี้ จึงเป็นอันปฏิเสธความสําคัญผิดว่า ธรรมทั้งหลายเป็นไปในอํานาจของตนได้. เนื้อความนี้แสดงความเป็นไปได้ด้วยสมยศัพท์กล่าวคือเหตุ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺมึ สมเย อธิบายว่า ในกาลใดด้วยอํานาจแห่งสมยศัพท์ กล่าวคือ กาล. พึงทราบเนื้อความแห่งสมยศัพท์คือ การประชุมในบทว่า ยสฺมึ สมูเห นี้ได้แก่บรรดาสมยศัพท์ทั้งหลายคือขณะความพร้อมเพรียงและเหตุมีอยู่คือเมื่อมีขณะใด มีความพร้อมเพรียงใด มีเหตุใด กามาวจรกุศลจิต ย่อมเกิดขึ้น เมื่อกามาวจรกุศลจิตนั้นนั่นแหละมีอยู่ ธรรมทั้งหลายแม้มีผัสสะเป็นต้นก็เกิดขึ้น ดังนี้ เพราะสมยศัพท์กล่าวคือกาล และการประชุมเป็นอธิกรณะ (เป็นอาธารสัตตมีวิภัตติ ให้แปลว่า ใน)
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺตธมฺมานํ นี้เป็นสัตว์มีวิภัตติด้วยสามารถแห่งอธิกรณะ อธิบายว่า ภาวะในธรรมเหล่านั้น พึงกําหนดด้วยภาวะแห่งสมยศัพท์กล่าวคือขณะความพร้อมเพรียง และเหตุเพราะฉะนั้น ในคําว่า วุตฺตธมฺมานํ นี้ จึงเป็นสัตตมีวิภัตติ ด้วยสามารถการกําหนดภาวะด้วยภาวะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 225
อธิบายคําว่ากามาวจร
บทว่า กามาวจรํ ได้แก่ จิตที่นับเนื่องในกามาวจรธรรมทั้งหลายที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมเป็นกามาวจร เป็นไฉน? คือ เบื้องต่ํามีอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนมีสวรรคชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด.
ในกามาวจรนั้น มีวจนัตถะ (ความหมายของถ้อยคํา) ดังต่อไปนี้
ว่าโดยอุทาน กามมี ๒ คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม. บรรดากามทั้ง ๒ นั้น ว่าโดยอรรถกิเลสกามได้แก่ ฉันทราคะ วัตถุกามได้แก่วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ อนึ่ง กิเลสกามชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า ย่อมใคร่ วัตถุกามชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า วัตถุอันเขาใคร่. ก็กามทั้ง ๒ อย่างนั้น ย่อมท่องเที่ยวไปในประเทศใดด้วยสามารถแห่งความเป็นไป ประเทศนั้นมี ๑๑ คือ อบายภูมิ ๔ มนุษยภูมิ ๑ เทวโลก ๖ ชั้น. กามย่อมท่องเที่ยวไปในที่นี้ เพราะฉะนั้น ที่นี้จึงชื่อว่า กามาวจร ดุจการท่องเที่ยวไปกับพวกเกวียน. เหมือนอย่างว่า พ่อค้าเกวียน ย่อมท่องเที่ยวไปในประเทศใด ประเทศนั้นท่านเรียกว่า บุรุษผู้เที่ยวไปกับพ่อค้าเกวียน ถึงจะมีสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้าเหล่าอื่นท่องเที่ยวไปด้วย แม้มีอยู่ ท่านก็กําหนดเฉพาะชนผู้เที่ยวไปเหล่านั้นฉันใด ประเทศนี้ ท่านก็เรียกว่า กามาวจรเท่านั้น เพราะแม้เมื่อรูปาวจรเป็นต้นเหล่าอื่นท่องเที่ยวไปในประเทศนั้น ท่านก็กําหนดเอาเฉพาะกามาวจรเหล่านี้เท่านั้น ฉันนั้น. กามนี้ท่านเรียกว่า กามเท่านั้น เพราะลบบทหลังเสีย เหมือนรูปภพ ท่านเรียกว่า รูป ฉันใด จิตนี้ ย่อมท่องเที่ยวไปในกามกล่าวคือ ๑๑ ประเทศนี้ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า กามาวจร.
จิตนี้ย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในรูปภพและอรูปภพแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นช้างใหญ่มีชื่ออันได้แล้วว่า เข้าสู่สงคราม เพราะการหยั่งลงสู่สงคราม แม้จะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 226
เที่ยวไปในเมือง เขาก็เรียกว่า ช้างสงครามนั่นแหละ สัตว์จํานวนมากที่เที่ยวไปบนบกและในน้ำ แม้ยืนอยู่ในที่มิใช่บกและมิใช่น้ำ เขาก็เรียกว่า สัตว์เที่ยวไปบนบกและเที่ยวไปในน้ำ ฉันใด จิตนี้ แม้เที่ยวไปในที่อื่นๆ ก็พึงทราบว่ากามาวจร (ท่องเที่ยวไปในกาม) ฉันนั้นเหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง กามย่อมท่องเที่ยวไปในจิตนี้ ด้วยสามารถทําให้เป็นอารมณ์ แม้เพราะเหตุนั้น จิตนี้ก็เรียกว่า กามาวจร. กามนั้นย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในรูปภพและอรูปภพแม้ก็จริงถึงอย่างนั้นก็พึงทราบอุปมานี้ เหมือนเขากล่าวว่า สัตว์ที่ชื่อว่าลูกโค เพราะมันส่งเสียงร้อง ที่ชื่อว่า กระบือ เพราะมันนอนแผ่นดิน สัตว์มีจํานวนเท่าใดก็ตามจะส่งเสียงร้องหรือนอนบนแผ่นดินก็ตาม สัตว์ทั้งหมดเหล่านั้นหามีชื่ออย่างนั้นไม่. ก็อีกอย่างหนึ่ง จิตใด ย่อมท่องเที่ยวไปสู่ปฏิสนธิในกามกล่าวคือกามภพ เพราะเหตุนั้น จิตนั้น จึงชื่อว่า กามาวจร.
อธิบายคําว่ากุศล
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า กุศล ต่อไป ธรรมที่ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถทั้งหลายมีการตัดบาปทั้งหลายเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า กุศลด้วยอรรถว่า ความไม่มีโรค ด้วยอรรถว่า ไม่มีโทษ และด้วยอรรถว่า เกิดแต่ความฉลาด.
บัณฑิตพึงทราบธรรมที่ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค เพราะความไม่มีความกระสับกระส่ายด้วยกิเลส ไม่มีความป่วยไข้คือกิเลส ไม่มีพยาธิคือกิเลสในอรูปธรรมเลย เหมือนคําที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค เพราะไม่มีความกระสับกระส่ายในร่างกาย เพราะไม่มีความป่วยไข้ในร่างกาย เพราะไม่มีพยาธิในร่างกาย ดุจในคําว่า ความไม่มีโรคมีแก่ท่านผู้เจริญบ้างแลหรือ. ก็ธรรมที่ชื่อว่ากุศลด้วยอรรถว่า ไม่มีโทษ เพราะความ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 227
ไม่มีโทษที่ควรเว้นกิเลส โทษที่ประทุษร้ายคือกิเลส โทษที่กระวนกระวายคือกิเลส. ปัญญา ท่านเรียกว่า โกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาด) ธรรมที่ชื่อว่ากุศล ด้วยอรรถว่า เกิดแต่ความฉลาด เพราะความเกิดขึ้นแต่ปัญญาชื่อว่าโกสัลละ.
คําว่า กุศล ที่เป็นญาณสัมปยุตจงพักไว้ก่อน แต่คําว่ากุศลที่เป็นญาณวิปปยุต เป็นอย่างไร. แม้กุศลที่เป็นญาณวิปปยุตนั้นก็เป็นกุศลนั่นแหละด้วยรุฬหิศัพท์. เหมือนอย่างว่า พัดที่บุคคลทําด้วยเสื่อรําแพนไม่ได้ทําด้วยใบตาล เขาก็เรียกกันว่า พัดใบตาลนั่นแหละด้วยรุฬหิศัพท์ เพราะสิ่งนั้นคล้ายกัน ฉันใด กุศลแม้เป็นญาณวิปปยุต บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นกุศลนั่นแหละฉันนั้น. แต่เมื่อว่าโดยนิปปริยาย (โดยตรง) กุศลที่เป็นญาณสัมปยุตได้ชื่อว่า กุศล ถึง ๓ อย่างคือด้วยอรรถว่าไม่มีโรค ด้วยอรรถว่าไม่มีโทษ ด้วยอรรถว่าเกิดแต่ความฉลาด. กุศลที่เป็นญาณวิปปยุต ได้ชื่อว่า กุศลเพียง ๒ อย่างเท่านั้น. เพราะฉะนั้น กุศลใดที่กล่าวไว้แล้วโดยการบรรยายถึงชาดกก็ดี โดยการบรรยายถึงพาหิรสูตรก็ดี โดยการบรรยายถึงพระอภิธรรมก็ดี กุศสนั้นทั้งหมดย่อมได้ในจิตนี้ด้วยอรรถแม้ทั้ง ๓. กุศลนี้นั้น ว่าโดยลักขณาทิจตุกกะ คือกุศล
มีสุขวิบากอันไม่มีโทษเป็นลักษณะ มีการกําจัดอกุศลเป็นรส มีการผ่องแผ้วเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโยนิโสมนสิการ หรือมีความไม่มีโทษเป็นปทัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง กุศลชื่อว่า มีความไม่มีโทษเป็นลักษณะนั้นแหล่ะ เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมที่มีโทษ มีความผ่องแผ้วเป็นรส มีวิบาก
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 228
ที่น่าปรารถนาเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโยนิโสมนสิการหรือความไม่มีโทษเป็นปทัฏฐาน.
จริงอยู่ ในธรรมทั้ง ๔ มีลักษณะเป็นต้น สภาวะหรือความเสมอกันแห่งธรรมนั้นๆ ชื่อว่า ลักษณะ. กิจ (หน้าที่การงาน) หรือสัมปัตติ (การถึงพร้อม) ชื่อว่า รส. อาการปรากฏ หรือผล ชื่อว่า ปัจจุปัฏฐาน. เหตุใกล้ ชื่อว่า ปทัฏฐาน. ดังนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวธรรมทั้งหลายมีลักษณะเป็นต้นในที่ใดๆ พึงทราบความแตกต่างกันแห่งธรรมเหล่านั้นในที่นั้นๆ โดยนัยนี้แล.
อธิบายคําว่าจิต
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่าจิต เพราะอรรถว่าย่อมคิด คือว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไปแก่จิตทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺตํ นี้ จิตใดที่เป็นกุศล อกุศล และมหากิริยาจิตฝ่ายโลกียะจิตนั้นชื่อว่าจิต เพราะอรรถว่าย่อมสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี. ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติอันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก. อีกอย่างหนึ่งแม้ทั้งหมด ชื่อว่าจิต เพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร. ชื่อว่าจิต เพราะการทําให้วิจิตรพึงทราบเนื้อความในบทว่า จิตฺตํ นี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
บรรดาจิตเหล่านั้น จิตมีราคะก็อย่างหนึ่ง จิตมีโทสะก็อย่างหนึ่ง จิตมีโมหะก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นกามาวจรก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นรูปาวจรเป็นต้นก็อย่างหนึ่ง จิตมีรูปเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง จิตมีเสียงเป็นต้นเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง บรรดาจิตแม้ที่มีรูปเป็นอารมณ์ จิตที่มีสีเขียวเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีสีเหลืองเป็นต้นเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง แม้จิตที่มีเสียงเป็นต้น
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 229
เป็นอารมณ์ก็นัยนี้แหละ ในจิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมด หีนจิตก็อย่างหนึ่ง มัชฌิมจิตก็อย่างหนึ่ง ปณีตจิตก็อย่างหนึ่ง ถึงในจิตที่เป็นหีนจิตเป็นต้น จิตที่มีฉันทะเป็นอธิบดีก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีวิริยะเป็นอธิบดีก็อย่างหนึ่ง ฯลฯ จิตมีวิมังสาเป็นอธิบดีก็อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความที่จิตเหล่านี้เป็นธรรมวิจิตร ด้วยสามารถแห่งสัมปยุตธรรม ภูมิ อารมณ์ เป็นหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ และอธิบดี. ก็บรรดาจิตเหล่านี้ เป็นจิตแต่ละดวง มิใช่จิตทั้งหลายเลย ถึงอย่างนั้น จิตนั้นก็ชื่อว่า จิต เพราะรวมอยู่ในความวิจิตรทั้งหลาย บรรดาจิตเหล่านั้น จิตดวงใดดวงหนึ่งสมควรเรียกว่าจิต เพราะเป็นธรรมวิจิตร. ชื่อว่า จิต เพราะความวิจิตรอย่างนี้ก่อน.
ชื่อว่า จิต เพราะทําให้วิจิตร อย่างไร?
จริงอยู่ ชื่อว่าวิจิตรอื่นยิ่งกว่าจิตรกรรม ไม่มีในโลก ธรรมดาว่าลวดลายแม้ในความวิจิตรนั้น ก็เป็นความวิจิตรคือความงดงามยิ่งนัก. พวกจิตรกรเมื่อกระทําจิตรกรรมนั้นก็เกิดสัญญาอันวิจิตรว่ารูปมีอย่างต่างๆ เราควรทําอย่างนี้ ในที่นี้ ดังนี้. การทําอันวิจิตร อันสําเร็จแล้วด้วยกิจมีการเขียนการระบายสี การทําสีให้เรืองรอง และการสลับสีเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยสัญญาอันวิจิตร รูปอันวิจิตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ในความวิจิตรกล่าวคือลวดลายย่อมสําเร็จแต่จิตรกรรมนั้น. การเกิดขึ้นแห่งศิสปะอันวิจิตรอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกอย่างนี้ ศิลปะทั้งหมดนั้น อันจิตเท่านั้นคิดว่า รูปนี้จงมีข้างบนรูปนี้รูปนี้จงมีข้างล่างของรูปนี้ รูปนี้จงมีที่ข้างทั้ง ๒ ของรูปนี้แล้วจึงกระทําจิตรกรรมนั้นอันข้างล่างให้วิจิตรแล้ว ฉันใด แม้จิตที่ทําให้สําเร็จความวิจิตร ก็ชื่อว่าจิต ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะกระทําให้วิจิตรด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่งจิตนั่นแหละ ชื่อว่า วิจิตรกว่าจิตรกรรมนั้น เพราะให้สําเร็จจิตรกรรม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 230
ทุกชนิดตามที่คิด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าลวดลายอันวิจิตร พวกเธอเห็นแล้วหรือ พวกภิกษุกราบทูลว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแลอันจิตนั่นเองคิดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตเท่านั้นวิจิตรกว่าลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแล.
อนึ่ง จิตที่เป็นไปภายในต่างชนิดโดยกรรม เพศ สัญญา และโวหารเป็นต้น ในคติทั้งหลาย มีเทวดา มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉานนี้ใด จิตแม้นั้นก็กระทําให้วิจิตรแล้วเหมือนกัน.
จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม อันต่างโดยกรรมมีกายกรรมเป็นต้น ที่เป็นไปโดยนัยมีทาน ศีล ความเบียดเบียน และความโอ้อวดเป็นต้น สําเร็จแล้วด้วยจิต ชื่อว่า มีความต่างกันเพราะกรรม. สัณฐานแห่งอวัยวะมีมือ เท้า ท้อง คือ และหน้าเป็นต้นในคติทั้งหลายนั้นๆ แตกต่างกันไปด้วยความต่างกันแห่งกรรมนั้นแหละ ชื่อว่า ความต่างกันแห่งเพศ. เมื่อสัญญาเกิดขึ้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย ดังนี้ ด้วยสามารถแห่งสัณฐานตามที่ถือเอา เพราะความต่างกันแห่งเพศ ชื่อว่า ความต่างกันแห่งสัญญา. เมื่อชนทั้งหลายร้องเรียกด้วยคําว่า หญิง หรือว่า ชาย ดังนี้ อันสมควรแก่สัญญา เพราะความต่างกันแห่งสัญญา ชื่อว่า ความต่างกันแห่งโวหาร.แต่เพราะเหตุที่บุคคลทํากรรมอันให้เกิดอัตภาพนั้นๆ ด้วยสามารถแห่งความต่างกันแห่งโวหารอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักเป็นหญิง ข้าพเจ้าจักเป็นชาย ข้าพเจ้าจักเป็นกษัตริย์ ข้าพเจ้าจักเป็นพราหมณ์ดังนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ความต่างกันแห่งกรรม เพราะความต่างกันแห่งโวหาร. ก็ความต่างกันแห่งกรรมนั้นๆ เมื่อจะยังภพตามที่ปรารถนาให้เกิดขึ้น ย่อมให้เกิดขึ้นด้วยคติ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ความต่างกันแห่งคติ เพราะความต่างกันแห่งกรรม.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 231
อนึ่ง ความที่สัตว์ทั้งหลายนั้นๆ เกิดเป็นสัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์ ๒ เท้าเป็นต้น เกิดเป็นสัตว์สูงและต่ําเป็นต้นในคตินั้นๆ เกิดเป็นผู้มีผิวพรรณดีและผิวพรรณทรามเป็นต้น เป็นผู้มีลาภและเสื่อมลาภเป็นต้น ในอัตภาพนั้นๆ ย่อมปรากฏเพราะความต่างกันแห่งกรรมนั่นแหละ. เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นไปในภายในต่างโดยกรรม เพศ สัญญา และโวหารเป็นต้น ในคติทั้งหลายอันต่างโดยความเป็นเทวดา มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉานทั้งหมดนั่นแหละ พึงทราบว่าอันจิตนั้นเองกระทําแล้ว. เนื้อความนี้นั้น พึงทราบด้วยสามารถพระสูตรที่ยังมิได้ขึ้นสู่สังคีตินี้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวว่า การกําหนดประเภทของความต่างกันของเพศที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการกําหนดประเภทของความต่างกันแห่งกรรมที่มีมาก การกําหนดประเภทของความต่างกันของความต่างกันของสัญญาที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการกําหนดประเภทของความต่างกันแห่งเพศที่มีมาก การกําหนดประเภทแห่งความต่างกันของโวหารที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งกําหนดประเภทแห่งความต่างกันของสัญญาที่มีมาก การกําหนดประเภทแห่งความต่างกันของกรรมที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการกําหนดประเภทของความต่างกันแห่งโวหารที่มีมาก ความต่างกันแห่งคติของสัตว์ทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ความต่างกันแห่งความอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย คือความสูงต่ํา เลวประณีต ไปสู่สุคติและทุคติ ย่อมปรากฏเพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม ความต่างกันในอัตภาพของสัตว์ทั้งหลายคือความเป็นผู้มีผิวพรรณดีและผิวพรรณทราม ความเป็นผู้มีชาติดีและไม่ดี ความเป็นผู้ที่ทรวดทรงดีและไม่ดีย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม ความต่างกันในโลกธรรมของสัตว์ทั้งหลายในความมีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 232
นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรมดังนี้.
แม้ข้ออื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า
เพศย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัญญาย่อมเป็นไปเพราะเพศ สัตว์ทั้งหลายย่อมลงความต่างกันเพราะสัญญาว่า นี้เป็นหญิงหรือเป็นชาย สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรมหมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ดุจลิ่มสลักเพลารถที่ไปอยู่ บุคคลย่อมได้เกียรติ ได้การสรรเสริญก็เพราะกรรม ย่อมได้ความเสื่อมการถูกประหาร และการจองจําก็เพราะกรรม บุคคลรู้ความต่างกันแห่งกรรมนั้นแล้ว ไฉนเล่าจึงพูดว่ากรรมไม่มีในโลก.
ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรมมีกรรมเป็นกําเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง กรรมย่อมจําแนกสัตว์ทั้งหลายโดยให้เลวและประณีต บัณฑิตพึงทราบความที่จิตเป็นธรรมชาติวิจิตร เพราะความวิจิตรด้วยการกระทําดังพรรณนามาฉะนี้.
จริงอยู่ ความวิจิตรเหล่านี้แม้ทั้งหมดอันจิตนั่นแหละกระทําแล้ว ก็จิตเท่านั้น เป็นธรรมชาติ วิจิตรกว่าความวิจิตรอันใดที่เป็นไปภายในอันจิตกระทําแล้วที่กล่าวแล้วนั้น เพราะความที่จิตไม่ได้โอกาส ไม่มีการกระทําความวิจิตรบางอย่าง หรือว่าเพราะความมีจิตบกพร่องด้วยปัจจัยที่เหลือก็ไม่มีการ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 233
กระทําให้วิจิตรในบางอย่าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นสัตว์หมู่อื่นแม้สักหมู่หนึ่ง ที่วิจิตรเหมือนสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนั่นแหละเป็นธรรมชาติวิจิตรกว่าสัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้นแล ดังนี้.
อธิบายคําว่าอุปปันนธรรม ๔
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า อุปฺปนฺนํ โหติ นี้ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ มีประเภทหลายอย่างด้วยสามารถแห่ง วัตตมานอุปปันนะ ภูตาปคตอุปปันนะ โอกาสกตอุปปันนะ และภูมิลัทธอุปปันนะ.
บรรดาวัตตมานอุปปันนะเป็นต้นเหล่านั้น ธรรมชาติแม้ทั้งหมดกล่าวคือความพรั่งพร้อมด้วยความเกิดขึ้น ความแก่ และความดับ ชื่อว่า วัตตมานอุปปันนะ. กุศลและอกุศลที่เสวยรสแห่งอารมณ์แล้วดับไป กล่าวคือเสวยแล้วก็ดับด้วย กุศลและอกุศลที่เข้าถึงหมวด ๓ มีอุปปาทขณะเป็นต้นแล้วก็ดับกล่าวคือเกิดแล้วก็ดับด้วย กุศลและอกุศลที่ปัจจัยปรุงแต่งที่เหลือด้วยชื่อว่า ภูตาปคตอุปปันนะ. กรรมที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นว่ากรรมทั้งหลายเหล่านี้ใดที่กระทําไว้แล้วในกาลก่อน ดังนี้ แม้เป็นอดีต และเพราะห้ามวิบากอื่นที่มีอยู่แล้ว ให้โอกาสแก่วิบากของตน และวิบากที่มีโอกาสอันกระทําแล้วอย่างนั้น มีอยู่แม้ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนเพราะโอกาสทําแล้วอย่างนั้น ชื่อว่า โอกาสกตอุปปันนะ. อกุศลที่ยังไม่ได้ถอนขึ้นในภูมิทั้งหลายนั้นๆ ชื่อว่า ภูมิลัทธอุปปันนะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งภูมิและภูมิลัทธะในคําว่า ภูมิลัทธอุปปันนะต่อไป. ขันธ์๕ เป็นไปในภูมิ ๓ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ การเกิดขึ้นแห่งกิเลสอันควรแก่การเกิดขึ้น
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 234
ในขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า ภูมิลัทธะ (มีภูมิอันได้แล้ว) จริงอยู่ภูมิเหล่านั้นชื่อว่า อันกิเลสนั้นได้แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภูมิลัทธะ (มีภูมิอันได้แล้ว) บรรดาอุปปันนะ ๔ ตามที่กล่าวมาอย่างนี้ ในคําว่า อุปฺปนฺนํ โหติ นี้ ท่านประสงค์เอา วัตตมานอุปปันนะ.
ว่าด้วยอุปปันนศัพท์
พึงทราบคําจํากัดความในคําว่า อุปฺปนฺนํ โหติ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ เพราะอรรถว่า เคลื่อนจากธรรมส่วนเบื้องต้น (คืออดีต) มุ่งหน้าต่ออุปปาทขณะเป็นต้น. ก็อุปปันนศัพท์นี้ใช้ในอรรถหลายอย่าง คือ ในอดีต (ธรรมที่ล่วงแล้ว) ปฏิลัทธะ (ได้เฉพาะ) สมุฏฐิตะ (ตั้งขึ้นพร้อม) อวิกขัมภิตะ (ข่มไม่ได้) อสมุจฉินนะ (ตัดไม่ได้) ขณัตตยคตะ (ถึงขณะทั้ง ๓).
จริงอยู่ อุปปันนศัพท์นี้มาในความหมายว่าอดีต ดังในประโยคนี้ว่า เตน โข ปน ภิกฺขเว สมเยน กกุสนฺโธ ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ โลเก อุปฺปนฺโน (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก) ดังนี้ มาในความหมายว่า ได้เฉพาะ ดังในประโยคนี้ว่า อายสฺมโต อานนฺทสฺส อติเรกจีวรํ อุปฺปนฺนํ โหติ (อติเรกจีวรเป็นของอันท่านพระอานนท์ได้เฉพาะแล้ว) มาในความหมายว่า ตั้งขึ้นพร้อม ดังในประโยคนี้ว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว อุปฺปนฺนํ มหาเมฆํ ตเมนํ มหาวาโต อนฺตราเยว อนฺตรธาเปติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาเมฆตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ลมใหญ่ย่อมพัดมหาเมฆนี้นั้นให้อันตรธานไปในระหว่างนั่นแหละ) มาในความหมายว่า ข่มไม่ได้ดังในประโยคนี้ว่า อุปฺปนฺนํ คมิยจิตฺตํ ทุปฺปฏิ-
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 235
วิโนทนฺจ อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ปาปเก อกุสเล ธมฺเม านโส อนฺตรธาเปติ (จิตคิดจะไป ข่มไม่ได้ บรรเทาได้ยาก และย่อมยังบาปอกุศลธรรมที่ข่มไม่ได้ ที่ข่มไม่ได้ให้อันตรธานไปโดยฉับพลัน) มาในความหมายว่า ตัดไม่ได้ ดังในประโยคนี้ว่า อริยํ อฏฺงฺคิกํ มคฺคํ ภาเวนฺโต พหุลีกโรนฺโต อุปฺปนฺนุปนฺเน ปาปเก อกุสเล ธมฺเม อนฺตราเยว อนฺตรธาเปติ (บุคคลเจริญกระทําให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมยังบาปอกุศลธรรมที่ยังละไม่ได้ และละไม่ได้ให้อันตรธานไป) มาในความหมายว่า ถึงขณะทั้ง ๓ ดังในประโยคนี้ว่า อุปฺปชฺชมานํ อุปฺปนฺนนฺติ อามนฺตา (ถามว่าจิตกําลังเกิด ชื่อว่าถึงขณะทั้ง ๓ หรือ ตอบว่า ใช่) แม้อุปปันนศัพท์ในที่นี้ ก็พึงทราบว่าถึงขณะทั้ง ๓ เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ในคําว่า อุปฺปนฺนํ โหติ นี้ พึงทราบเนื้อความสังเขปนี้ว่า ถึงขณะทั้ง ๓ กําลังเป็นไปได้แก่ปัจจุบัน.
อธิบายคําว่าจิตเป็นประธาน
ก็คําว่า จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ นี้ คือจิตเป็นประธานแห่งเทศนา ก็จิตย่อมไม่เกิดขึ้นเฉพาะดวงเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเขาพูดว่า พระราชาเสด็จมาแล้ว ดังนี้ ก็พระราชาทรงละบริษัทแล้วมาพระองค์เดียวเท่านั้น ก็หาไม่ แต่ที่แท้แล้วย่อมปรากฏว่า มาพร้อมกับบริษัททีเดียว ฉันใด แม้จิตนี้ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเกิด มาพร้อมกับกุศลธรรมเกิน ๕๐ โดยแท้. อนึ่ง คําว่า จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ นี้ พระมีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอรรถว่าเป็นประธาน (เป็นสภาพถึงก่อน).
จริงอยู่ เพ่งถึงโลกิยธรรมแล้ว จิตก็เป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน แต่เพ่งถึงโลกุตรธรรมแล้ว ปัญญาเป็นใหญ่ เป็นธุระเป็นประธาน เพราะเหตุ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 236
นั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นถึงปริยายพระวินัยแล้ว เมื่อจะตรัสถามปัญหาก็ไม่ตรัสถามว่า เธอมีผัสสะเป็นอย่างไร มีเวทนาเป็นอย่างไร มีสัญญาเป็นอย่างไร มีเจตนาเป็นอย่างไร ย่อมตรัสถามทําจิตเท่านั้นให้เป็นธุระว่า ดูก่อนภิกษุ เธอมีจิตเป็นอย่างไร ดังนี้ เมื่อภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ไม่มีไถยจิต ดังนี้ พระองค์ก็ไม่ตรัสว่า ภิกษุไม่มีไถยผัสสะ ก็ไม่ต้องอาบัติเป็นต้น แต่ย่อมตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิต ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อถึงปริยายพระวินัยทรงยกจิตขึ้นเป็นธุระเท่านั้นก็หาไม่ เมื่อทรงแสดงโลกิยเทศนาแม้อื่น ก็ทรงแสดงทําจิตนั่นแหละให้เป็นธุระ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นส่วนอกุศล เป็นฝ่ายอกุศลธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีใจเป็นประธาน ใจย่อมเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น ดังคาถาประพันธ์ที่ตรัสไว้ว่า
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน มีใจประเสริฐที่สุด สําเร็จด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว จะพูดก็ตาม จะกระทําก็ตาม เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น ทุกข์ย่อมตามเขาไป เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคตัวลากเกวียน ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน มีใจประเสริฐที่สุด สําเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว จะพูดก็ตาม จะกระทําก็ตาม เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น สุขย่อมไปตามเขา เหมือนเงาไปตามตัว
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 237
ฉะนั้น สัตว์โลกอันจิตย่อมนําไป ย่อมกระเสือกกระสนไปเพราะจิต สัตว์ทั้งหมดทีเดียว ย่อมเป็นไปตามอํานาจของธรรมอันหนึ่งคือจิต ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง ย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นประภัสสร แต่ก็จิตนั้นแลเศร้าหมองแล้ว เพราะอุปกิเลสทั้งหลายจรมา. ดูก่อนคหบดี เมื่อบุคคลไม่รักษาจิต แม้กายกรรมก็ชื่อว่าเธอไม่รักษา แม้วจีกรรมก็ชื่อว่าไม่รักษา แม้มโนกรรมก็ชื่อว่าไม่รักษา ดูก่อนคหบดี เมื่อบุคคลรักษาจิต ฯลฯ ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตพยาบาท ฯลฯ ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตไม่พยาบาท ฯลฯ ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตถูกกิเลสรั่วรด ฯลฯ ดูก่อนคหบดีเมื่อจิตไม่ถูกกิเลสรั่วรดกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี ก็ไม่ถูกกิเลสรั่วรด เพ่งถึงโลกิยธรรมอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า จิตเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน ดังนี้ก็บรรดาสูตรที่กล่าวแล้วเหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านไม่ถือสูตรหนึ่งหรือสองสูตร แต่ถือสูตรแม้ทั้งหมดเพื่อตามรักษาสูตรไว้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จะตรัสถามโลกุตรธรรมก็ไม่ตรัสถามว่า เธอบรรลุผัสสะไหน บรรลุเวทนาไหน บรรลุสัญญาไหน บรรลุเจตนาไหน และบรรลุจิตไหน ดังนี้ ทรงถามทําปัญญาให้เป็นธุระว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบรรลุปัญญาไหน หรือว่า เธอบรรลุมรรคปัญญาที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่หรือ ดังนี้.
ในที่นี้พึงทราบพระสูตรเป็นต้นอย่างนี้ว่า กุศลธรรมทั้งปวงมีปัญญาเป็นเยี่ยมย่อมไม่เสื่อม ก็ปัญญามีประโยชน์อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 238
ศรัทธาที่คล้อยตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญานั้น ย่อมดํารงอยู่ วิริยะที่คล้อยตามศรัทธานั้นย่อมดํารงอยู่ สติที่คล้อยตามวิริยะนั้นย่อมดํารงอยู่ สมาธิที่คล้อยตามสตินั้น ก็ย่อมดํารงอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เพ่งถึงโลกุตรธรรมแล้วพึงทราบว่า ปัญญาเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน ดังนี้ แต่นี้เป็นโลกิยเทศนา เพราะฉะนั้น เมื่อทรงแสดงจิตให้เป็นธุระ จึงตรัสว่า อุปฺปนฺนํ โหติ ดังนี้.
อธิบายคําว่าโสมนัสสสหคตะ
คําว่า โสมนสฺสสหคตํ ได้แก่ถึงภาวะมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นกับโสมนัส กล่าวคือการเสวยอารมณ์ที่ยินดีเหมือนน้ำผึ้ง ก็สหคตศัพท์นี้ใช้ในอรรถเหล่านี้ คือ ความเป็นอย่างนั้น (ตัพภาวะ) เจือแล้ว (โวกิณณะ) ที่อาศัย (นิสสยะ) อารมณ์ (อารัมมณะ) และความเกี่ยวข้อง (สังสัฏฐะ).
บรรดาอรรถเหล่านั้น สหคตศัพท์นี้พึงทราบว่า ใช้ในความหมายว่า ความเป็นอย่างนั้น เหมือนในประโยคว่า ยายํ ตณฺหา โปโนพฺภวิกา นนฺทิราคสหคตา (ตัณหานี้ใด อันก่อให้เกิดในภพใหม่ เพราะความเป็นอย่างนั้นแห่งนันทิราคะ (ตัณหา) อธิบายว่า เป็นความกําหนัดด้วยความเพลิดเพลิน. ใช้ในความหมายว่า เจือแล้ว เหมือนในประโยคว่า ยายํ ภิกฺขเว วีมํสา โกสชฺชสหคตา โกสชฺชสมฺปยุตฺตา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวิมังสานี้ใด เจือแล้วด้วยความเกียจคร้าน ประกอบแล้วด้วยความเกียจคร้าน) ในอธิการนี้พึงทราบอธิบายว่า วิมังสานี้เจือแล้วด้วยความเกียจคร้านที่เกิดขึ้นในระหว่างๆ. ใช้ในความหมายว่า อาศัย เหมือนในประโยคว่า อฏฺิกสฺาสหคตํ สติสมฺโพชฌงฺคํ ภาเวติ (ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์อาศัย
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 239
อัฏฐิกสัญญา) อธิบายว่า เจริญอัฏฐิกสัญญาได้เฉพาะแล้ว เพราะอาศัยอัฏฐิกสัญญา. ใช้ในความหมายว่า อารมณ์ เหมือนในประโยคว่า ลาภี โหติ รูปสหคตานํ วา สมาปตฺตีนํ อรูปสหคตานํ วา (ภิกษุมีปกติได้สมาบัติทั้งหลายมีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีอรูปเป็นอารมณ์) อธิบายว่า มีรูปหรืออรูปเป็นอารมณ์. ใช้ในความหมายว่า ความเกี่ยวข้อง เหมือนในประโยคว่า อิทํ สุขํ อิมาย ปีติยา สหคตํ โหติ สหชาตํ สํสฏฺํ สมฺปยุตฺตํ (สุขนี้เป็นธรรมชาตสหรคตแล้ว เกิดพร้อมแล้ว เกี่ยวข้องแล้วสัมปุตแล้วด้วยปีตินี้) ในบทว่า สังสัฏฐะ นี้ ท่านประสงค์เอาความหมายนี้เท่านั้น. จริงอยู่ จิตที่เกี่ยวข้องกับโสมนัสในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าโสมนัสสสหคตะ ดังนี้.
ว่าด้วยสังสัฏฐศัพท์
อนึ่ง แม้สังสัฏฐศัพท์นี้ ก็ใช้ในอรรถมากอย่างคือในความหมายว่าเช่นเดียวกัน (สทิเส) กิเลสรั่วรด (อวสฺสุเต) ความสนิทสนมฉันท์มิตร (มิตฺตสนฺถเว) เกิดพร้อมกัน (สหชาเต).
จริงอยู่สังสัฏฐศัพท์นี้มาในความหมายว่า เช่นเดียวกัน ดังในประโยคนี้ว่า กีเส ถูเล จวิวชฺเชตฺวา สํสฏฺา โยชิตา หยา (ม้าทั้งหลายที่เทียมแล้ว ยกเว้นม้าผอมทั้งหลาย และม้าอ้วนทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน). มาในความหมายว่า กิเลสรั่วรด ดังในประโยคว่า สํสฏฺาว ตุมฺเห อยฺเย วิหรถ (แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านจงชุ่มด้วยกิเลสเถิด). มาในความหมายว่า สนิทสนมฉันท์มิตร ดังในประโยคว่า คิหิสํสฏฺโ วิหรติ (ภิกษุสนิทสนมฉันท์มิตรกับคฤหัสถ์). มาในความหมายว่า เกิดพร้อมกัน ดังในประโยคว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 240
อิทํ สุขํ อิมาย ปีติยา สหคตํ โหติ สหชาตํ สํสฏฺํ สมฺปยุตฺตํ (สุขนี้ สหรคตแล้ว เกิดร่วมกัน เกิดพร้อมกัน สัมปยุตกันด้วยปีตินี้) สังสัฏฐศัพท์ในที่แม้นี้ ประสงค์เอาในความหมายว่า เกิดพร้อมกัน (สหชาตะ) ก็ในอรรถเหล่านั้น ธรรมที่สหรคต ชื่อว่า ไม่เกิดพร้อมกัน ไม่เกี่ยวข้องกันไม่สัมปยุตกัน ย่อมไม่มี แต่ว่าธรรมที่เกิดพร้อมกัน เกี่ยวข้องกัน สัมปยุตกัน มีบ้างไม่มีบ้าง. จริงอยู่ เมื่อรูปธรรมกับอรูปธรรมเกิดพร้อมกัน รูปย่อมเกิดพร้อมกับอรูป แต่ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน อรูปก็เหมือนกัน เกิดพร้อมกับรูปแต่ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน และรูปเกิดพร้อมกับรูปก็ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน. ส่วนอรูปโดยแน่นอนทีเดียวเกิดพร้อมกันเกี่ยวข้องกัน สัมปยุตกันกับอรูปทีเดียว เพราะฉะนั้น ทรงหมายเอาการเกิดพร้อมกันนั้น จึงตรัสคําว่า โสมนสฺสสหคตํ ดังนี้.
อธิบายคําว่าญาณสัมปยุต
บทว่า าณสมฺปยุตฺตํ แปลว่า สัมปยุตด้วยญาณ อธิบายว่าประกอบด้วยอาการมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นเสมอกัน. ก็คําใดที่ควรกล่าวในญาณสัมปยุตนี้ คํานั้นข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในเวทนาติกะในการพรรณนาบทมาติกานั่นแหละ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ญาณนั้นสัมปยุตด้วยลักษณะนี้ คือ เกิดพร้อมกัน (เอกุปฺปาทา) ดับพร้อมกัน (เอกนิโรธา) มีวัตถุเดียวกัน (เอกวตฺถุกา) มีอารมณ์เดียวกัน (เอการมฺมณา).
ส่วนนิทเทส (การชี้แจง) โดยอุกฤษฏ์มีดังนี้
ก็ในอรูป แม้เว้นความมีวัตถุเป็นอันเดียวกัน ก็ได้สัมปโยคะ
ถามว่า ด้วยคํามีเท่านี้ ท่านกล่าวไว้อย่างไร
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 241
ตอบว่า ท่านกล่าวมหาจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัสในกามาจรทั้งหลายที่เป็นติเหตุกญาณสัมปยุต เป็นอสังขาริก.
จริงอยู่ ทรงถือเอากุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ ๔ ด้วยคําถามที่มิได้กําหนดแน่นอนว่า ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ดังนี้ ด้วยพระบาลีว่า กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ (กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นแล้ว) ดังนี้ ทรงเว้นกุศลจิตเป็นไปในภูมิ ๓ ทรงถือเอากามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงเท่านั้น. พระบาลีว่า โสมนสฺสสหคตํ ดังนี้ทรงเว้นอุเบกขาสหรคต ๔ อย่างจากกามาวจรกุศลจิตนั้นนั่นแหละ แล้วทรงถือเอาเฉพาะโสมนัสสสหคตจิตเฉพาะ ๔ อย่าง ด้วยพระบาลีว่า าณสมฺปยุตฺตํ ดังนี้ ทรงเว้นจิตที่เป็นญาณวิปปยุต ๒ ดวงจากจิตที่เป็นโสมนัสสสหคตนั้นนั่นแหละ แล้วทรงถือเอาเฉพาะจิตที่เป็นญาณสัมปยุต ๒ ดวงเท่านั้น. ส่วนความที่จิตเป็นอสังขาริกมิได้ทรงถือเอา เพราะความที่จิตเป็นอสังขาริกนั้นมิได้ตรัสไว้ แม้มิได้ทรงถือเอาความที่จิตเป็นอสังขาริกแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะพระบาลีว่า สสงฺขาเรน ข้างหน้าแม้จะมิได้ตรัสว่า อสงฺขาเรน ไว้ในที่นี้ บัณฑิตก็พึงทราบความที่จิตเป็นอสังขาริกเพราะได้ทรงกําหนดเพื่อแสดงมหาจิตนี้ตั้งแต่ต้นทีเดียว จึงทรงเริ่มเทศนานี้ดังนี้ ในข้อนี้ พึงทราบว่าท่านทําความสันนิษฐานไว้อย่างนี้.
อธิบายคําว่าอารมณ์
บัดนี้ เพื่อแสดงจิตนั้นนั่นแหละโดยอารมณ์ จึงตรัสคําว่า รูปารมฺมณํ วา เป็นต้น.
จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อแสดงอรูปธรรมทั้งหลายย่อมทรงแสดงด้วยวัตถุหรือด้วยอารมณ์หรือวัตถุและอารมณ์ หรือว่าด้วยภาวะพร้อมทั้งรส. อรูปธรรมทั้งหลายที่ทรงแสดงด้วยวัตถุ ดังในประโยคมีอาทิว่า จักขุสัมผัส
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 242
ฯลฯ มโนสัมผัส เวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัสจักขุวิญญาณ ฯสฯ มโนวิญญาณดังนี้. และทรงแสดงอรูปธรรมทั้งหลายด้วยอารมณ์ดังในประโยคมีอาทิว่า รูปสฺา ฯเปฯ ธมฺมสฺา รูปสฺเจตนา ฯเปฯ ธมฺมสฺเจตนา ดังนี้. และทรงแสดงอรูปธรรมทั้งหลาย ทั้งวัตถุและอารมณ์ ดังในประโยคมีอาทิว่า จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุและรูป ผัสสะ คือ การประชุมธรรมทั้ง ๓ ฯลฯ มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยมนะและธรรมทั้งหลาย ผัสสะคือการประชุมแห่ง ธรรมทั้ง ๓ ดังนี้. ทรงแสดงอรูปธรรมทั้งหลาย ด้วยภาวะพร้อมทั้งรส ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงเกิดขึ้น ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงในฐานะนี้ด้วยอารมณ์จึงตรัสคําว่า รูปารมฺมณํ วา เป็นต้น.
บรรดาธรรมที่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นต้นนั้น รูปมีสมุฏฐาน ๔ ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันนั่นแหละ เรียกว่า รูปารมณ์. เสียงมีสมุฏฐาน ๒ ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันนั่นแหละเรียกว่าสัททารมณ์. คันธะมีสมุฏฐาน ๔ ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันนั่นแหละ เรียกว่า คันธารมณ์. รสนั่นแหละมีสมุฏฐาน ๔ ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เรียกว่า รสารมณ์. โผฏฐัพพะนั่นแหละมีสมุฏฐาน ๔ ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เรียกว่าโผฏฐัพพารมณ์. ธรรมทั้งหลายนั่นแหละกล่าวคือโคจร (อารมณ์) ของจิตที่มีสมุฏฐานหนึ่งมีสมุฏฐานสอง มีสมุฏฐานสาม มีสมุฏฐานสี่ แม้ไม่เกิดจากสมุฏฐานไหนๆ ที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน ทั้งธรรมที่ไม่พึงกล่าวและที่เหลือจากธรรมที่กล่าวแล้ว เรียกว่า ธรรมารมณ์.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 243
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใด แม้มีรูปเป็นต้นที่ไม่มาสู่คลอง ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมารมณ์ทั้งนั้น ธรรมเหล่านั้นถูกปฏิเสธด้วยสูตรนี้.
ข้อนี้ สมกับคําที่พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับเอาโคจรวิสัยของกันและกัน (รับเฉพาะของตนเอง) มีใจเป็นที่พึ่ง ใจเท่านั้นย่อมรับโคจรวิสัยของอินทรีย์ ๕ เหล่านั้น ดังนี้.
จริงอยู่ อารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น แห่งอินทรีย์ ๕ เหล่านั้นชื่อว่า โคจรวิสัย รูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้น อันใจเสวยอยู่ ก็คือรูปารมณ์เป็นต้นนั่นแหละ เพราะฉะนั้น จึงสําเร็จประโยชน์นี้อนึ่งความที่ญาณทั้งหลายมีทิพยจักขุญาณเป็นต้น มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ ก็ย่อมสําเร็จประโยชน์นี้เหมือนกัน เพราะว่า การกําหนดโดยนัยที่กล่าวว่า รูปารมณ์เป็นต้น ที่ไม่มาสู่คลองนั่นแหละเป็นอารมณ์ของทิพยจักษุญาณเป็นต้น แต่รูปารมณ์เหล่านั้นไม่เป็นธรรมารมณ์มีอยู่ดังนี้.
บรรดาอารมณ์มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น อารมณ์แต่ละอารมณ์ย่อมมาสู่คลองในทวารทั้งสอง. จริงอยู่ รูปารมณ์กระทบจักขุประสาทแล้ว มาสู่คลองมโนทวารในขณะนั้นทันทีอธิบายว่า เป็นปัจจัยแก่ภวังคจลนะ. แม้สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ก็นัยนี้. เหมือนอย่างว่า นกบินมาทางอากาศ ซ่อนตัวอยู่ที่ยอดต้นไม้นั่นแหละ ย่อมกระทบกิ่งไม้ด้วย เงาของนกนั้นย่อมกระทบแผ่นดินด้วย การกระทบที่กิ่งไม้ และการแผ่ไปแห่งเงาที่แผ่นดินย่อมมีในขณะเดียวกัน คือไม่ก่อนไม่หลังกัน ฉันใด การกระทบจักขุประสาทเป็นต้นของรูปที่เป็นปัจจุบันเป็นต้น และการมาสู่คลองมโนทวาร เพราะ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 244
สามารถให้ภวังค์ไหวย่อมมีในขณะเดียวกันนั่นแหละ ไม่ก่อนไม่หลังกันฉันนั้น. ลําดับนั้น มหาจิตนี้ก็เกิดขึ้นในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งอารมณ์เหล่านั้นอันติดต่อกันไปแห่งอาวัชชนจิตเป็นต้น ที่ตัดภวังค์แล้วเกิดขึ้นในจักขุทวารเป็นต้น มีโวฏฐานจิต (๑) เป็นที่สุด แต่ว่าในมโนทวารล้วนๆ ไม่มีกิจกระทบกับประสาท โดยปกติอารมณ์เหล่านี้ ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่นที่ดมแล้ว รสที่ลิ้มแล้ว กายที่กระทบแล้วเท่านั้น.
ถามว่า อารมณ์เหล่านี้มาสู่คลอง (มโนทวาร) อย่างไร.
ตอบว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทําประทักษิณมหาเจดีย์ประดับตกแต่งแล้ว ฉาบทาด้วยปูนขาว วิจิตรด้วยสีมีหรดาลและมโหศิลาเป็นต้น มีการปักธงชัยและธงแผ่นผ้ามีประการต่างๆ ผูกพวงดอกไม้ล้อมประทีปและมาลัยรุ่งโรจน์อยู่ด้วยสิริอันรื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษที่ฐานพระเจดีย์ ๑๖ ชั้น แล้วยืนประคองอัญชลี แลดูอยู่ถือปีติพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เมื่อบุคคลนั้นเห็นพระเจดีย์ ยังปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ให้เกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว ภายหลังไปในที่ใดที่หนึ่ง นั่งในที่พักเป็นที่พักในเวลากลางคืนและกลางวันรําพึงอยู่ มหาเจดีย์ที่ประดับตกแต่งแล้ว เช่นเดียวกับที่มาสู่คลองในจักขุทวารนั่นแหละ เป็นเหมือนเวลาที่กระทําประทักษิณแล้วไหว้พระเจดีย์ฉะนั้น รูปารมณ์ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่ตนเห็นมาก่อน ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อบุคคลฟังเสียงพระธรรมกถึกผู้กล่าวธรรมกถาด้วยเสียงอันไพเราะ หรือฟังเสียงนักสวดซึ่งสวดอยู่ด้วยเสียงไพเราะ ภายหลังไปนั่งในที่ใดที่หนึ่งแล้วรําพึงอยู่ธรรมกถา หรือเสียงสรภัญญะเป็นเหมือนมาสู่คลองในโสตทวาร และเหมือนเวลาให้สาธุการแล้วฟังธรรม ฉะนั้น สัททารมณ์ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งเสียงที่ฟังแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
(๑) โวฏฐัพพนจิต
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 245
อนึ่ง เมื่อบุคคลได้ของหอม หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมแล้วบูชาที่อาสนะหรือที่องค์พระเจดีย์ ด้วยจิตที่มีกลิ่นเป็นอารมณ์ ภายหลังนั่ง ณ ที่ใดที่หนึ่งรําพึงอยู่ คันธารมณ์นั้นย่อมเป็นราวกะมาสู่คลองในฆานทวาร เป็นเหมือนเวลาที่ทําการบูชา คันธารมณ์นั้นย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งกลิ่นที่เคยสูดดมแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อบุคคลได้ขาทนียะและโภชนียะอันประณีตแล้ว แบ่งปันแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายแล้วบริโภค ต่อมาภายหลังได้โภชนะมีหญ้ากับแก้เป็นต้นในที่ใดที่หนึ่งแล้วรําพึงว่า ในเวลานั้น เราแบ่งโภชนะอันประณีตกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายแล้วบริโภค รสารมณ์นั้นเป็นเหมือนมาสู่คลองในชิวหาทวาร เป็นเหมือนเวลาที่บริโภค รสารมณ์ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรสที่ตนได้ลิ้มแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อบุคคลใช้สอยเตียงและตั่ง หรือเครื่องปูลาด หรือผ้าห่มมีเนื้ออ่อนนุ่ม มีสัมผัสเป็นสุข ภายหลังต้องนอนที่นอนที่ไม่ดีในที่ใดที่หนึ่งก็รําพึงอยู่ว่า เมื่อก่อนเราใช้เตียงและตั่งอ่อนนุ่ม ดังนี้ โผฏฐัพพารมณ์นั้นเป็นเหมือนมาสู่คลองในกายทวาร เป็นราวกะว่าเวลาเสวยสัมผัสอันดี ฉะนั้นโผฏฐัพพารมณ์ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งการกระทบ ด้วยประการฉะนี้ในมโนทวารล้วนๆ กิจคือการกระทบประสาท (ทั้ง ๕) ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้ ตามปกติ อารมณ์เหล่านี้ พึงทราบว่า ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เคยเห็นแล้ว เสียงที่ได้ฟังแล้ว กลิ่นที่เคยสูดดมแล้ว รสที่เคยลิ้มแล้วและโผฏฐัพพะที่กระทบแล้ว ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 246
ว่าโดยนัยอรรถกถามุตตกะ
บัดนี้ ในการที่อารมณ์มาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เคยเห็นแล้วเป็นต้นตามปกติ มีอีกนัยหนึ่งคือ อรรถกถามุตตกะ (นอกจากอรรถกถา) อนึ่ง เบื้องต้นบัณฑิตพึงทราบรูปทั้งหลายที่เห็นแล้วเป็นต้นเหล่านี้ว่า ทิฏฺํ สุตํ เป็นความเกี่ยวข้องกันทั้ง ๒ บท.
ในคําว่า ทิฏฺํ สุตํ เหล่านั้น รูปที่เคยถือเอาด้วยสามารถแห่งทวาร ๕ ชื่อว่า ทิฏฺํ และรูปเป็นต้นที่บุคคลไม่เห็นโดยประจักษ์แต่ถือเอาโดยการได้ฟังมา ชื่อว่า สุตํ. การเกี่ยวเนื่องกันด้วยบทว่า ทิฏฺํ สุตํ เหล่านี้แม้ทั้ง ๒ ชื่อว่า อุภยสัมพันธะ บัณฑิตพึงทราบว่า อารมณ์เหล่านี้ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารด้วยสามารถแห่งรูปที่เห็นแล้วเป็นต้น แม้เหล่านี้อย่างนี้ การมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เห็นแล้วในคําว่า ทิฏฺํ สุตํ นั้นเท่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วโดยนัยทั้งหลาย ๕ นัย นั่นแหละ.
ก็คนบางคนได้ยินว่า รูป ชื่อเห็นปานนี้ เกิดด้วยบุญอันประเสริฐยิ่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสุรเสียงก็ไพเราะยิ่ง กลิ่นดอกไม้ทั้งหลายในที่บางแห่ง หอมชื่นใจยิ่งแก่คนบางคน รสของผลไม้ทั้งหลายก็อร่อยยิ่งแก่คนบางคน สัมผัสของผ้านุ่งห่มเป็นต้นก็เป็นสุขยิ่งแก่คนบางคน ดังนี้ รูปเป็นต้นเหล่านั้นสักว่าฟังมาเท่านั้น มิได้กระทบกับประสาทมีจักขุประสาทเป็นต้นของบุคคลนั้นเลยย่อมมาสู่คลองในมโนทวาร ลําดับนั้น จิตนั้นของบุคคลนั้นย่อมเป็นไปด้วยอํานาจความเลื่อมใสในรูปหรือในเสียง หรือว่าย่อมเป็นไปในกลิ่นเป็นต้นด้วยอํานาจความปรารถนาถวายทานแก่พระอริยะทั้งหลาย หรือว่าด้วยสามารถแห่งการอนุโมทนา ในทานทั้งหลายอันบุคคลเหล่าอื่นถวายแล้ว รูปเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารด้วยสามารถแห่งการได้ฟังมาแล้วด้วยประการฉะนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 247
โดยประการอื่นอีกรูปเป็นต้นที่เห็นมาแล้ว เคยฟังมาแล้ว ตามที่กล่าวยังมีอยู่ คือ อารมณ์เหล่านั้นย่อมมาสู่คลองในมโนทวาร โดยความเนื่องกันรูปที่เห็นแล้วและเสียงที่ฟังแล้ว โดยไม่กระทบกับจักขุประสาทเป็นต้นนั่นแหละโดยนัยมีอาทิว่า รูปเช่นนี้ของพระพุทธเจ้านั้นจักมีแก่พระพุทธเจ้าผู้ทรงอุบัติขึ้นในกาลต่อไป ดังนี้ ทีนั้น มหาจิตนี้ก็มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นนั้น ของบุคคลนั้นก็จะเป็นไปโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเหล่านี้ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารด้วยสามารถความเกี่ยวข้องแห่งรูปที่เห็นแล้วและเสียงที่เคยฟังแล้วทั้งสองด้วยประการฉะนี้.
ก็คําที่กล่าวแม้นี้เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ส่วนโดยพิสดาร บัณฑิตพึงทราบการมาสู่คลองในมโนทวารของอารมณ์เหล่านั้นนั่นแหละ ด้วยอํานาจแห่งศรัทธา ความพอใจ อาการปริวิตก ทิฏฐิ การเข้าไปเพ่ง และขันติเป็นต้น ก็อารมณ์ที่มาสู่คลองเหล่านี้ด้วยอาการอย่างนี้เป็นจริงบ้างไม่จริงบ้างเพราะฉะนั้น นัยนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงไม่ถือเอาในอรรถกถา ด้วยคําตามที่กล่าวมานี้ ชวนะมีอารมณ์อย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดในทวารทั้งหลายทั้งสอง จริงอยู่ ชวนจิตที่มีรูปเป็นอารมณ์ย่อมเกิดขึ้นในจักขุทวารบ้าง ในมโนทวารบ้าง แม้ในสัททารมณ์เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
ในทวารทั้ง ๒ เหล่านั้น ชวนจิตที่มีรูปเป็นอารมณ์เมื่อเกิดในมโนทวารมี ๓ อย่างเท่านั้น คือ
๑. ทานมัย (ชวนจิตเกิดแต่การให้ทาน)
๒. สีลมัย (ชวนจิตเกิดแต่การรักษาศีล)
๓. ภาวนามัย (ชวนจิตเกิดแต่ภาวนา)
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 248
ในชวนจิตที่เกิดแต่ทานมัยเป็นต้นเหล่านั้น แต่ละอย่างก็มีถึง ๓ อย่างคือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แม้ในสัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ในบรรดาชวนจิตที่มีรูปเป็นอารมณ์เหล่านั้น มหากุสลจิตดวงหนึ่ง เมื่อทํารูปให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ย่อมทําสี กล่าวคือ สุภนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งในดอกไม้ผ้า และธาตุทั้งหลายที่มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง และขาวที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ายินดีให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.
ถามว่า ก็อิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) เป็นที่ตั้งแห่งโลภะมิใช่หรือ ไฉนจิตนี้จึงเกิดมีชื่อว่า กุศลเล่า.
ตอบว่า ที่มีชื่อว่า กุศล ด้วยสามารถแห่งการกําหนด (นิยมิต) ด้วยสามารถแห่งการเปลี่ยน (ปริณามิต) ด้วยสามารถแห่งความประพฤติดี (สมุทาจาร) ด้วยสามารถแห่งการผูกใจ (อาภุชิต) .
จริงอยู่ จิตของบุคคลใด ชื่อว่า กําหนด ในเพราะการทํากุศลว่า กุศลเท่านั้นเราควรกระทํา ดังนี้. ที่ชื่อว่า เปลี่ยนไป ในเพราะการยังอกุศลที่เป็นไปให้กลับแล้วทํากุศล. ที่ชื่อว่า ประพฤติดี ด้วยการประพฤติกุศลนั่นแหละ โดยการการทําบ่อยๆ และความคํานึงเป็นไปแล้ว โดยแยบคายด้วยอุปนิสสัยทั้งหลาย มีการอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังพระสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทําไว้ในกาลก่อน ๑ ชื่อว่า การผูกใจ. ธรรมดาว่า กุศลย่อมเกิดแก่จิตนั้น ด้วยสามารถแห่งการกําหนด ด้วยสามารถแห่งการเปลี่ยน ด้วยสามารถการประพฤติดี และด้วยสามารถแห่งการผูกใจนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 249
ก็ความที่มหากุศลเป็นโสมนัสสสหคตะในจิตนี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งอารมณ์. จริงอยู่ จิตนี้ชื่อว่าเกิดเป็นโสมนัสเพราะความเกิดขึ้นในอารมณ์ที่น่าปรารถนา และเหตุทั้งหลายมีความเป็นผู้มากด้วยศรัทธาเป็นต้นก็เกิดขึ้นในจิตที่มีโสมนัสสสหคตะนี้เหมือนกัน เพราะว่าโสมนัสย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ไม่มีศรัทธา และเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเห็นแม้รูปของพระตถาคตซึ่งเป็นอิฏฐารมณ์โดยส่วนเดียว และบุคคลเหล่าใดไม่เห็นอานิสงส์ในการสร้างกุศล โสมนัสก็ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลเหล่านั้น แม้บุคคลอื่นให้อุตสาหะสร้างกุศล เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตเป็นโสมนัสสสหคตะในที่นี้อย่างนี้คือ ความเป็นมากด้วยศรัทธา ความเป็นผู้มีทิฏฐิบริสุทธิ์ และความเป็นผู้มีปกติเห็นอานิสงส์.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ อย่าง ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยปีติสัมโพชฌงค์คือ
๑. พุทธานุสติ
๒. ธรรมานุสติ
๓. สังฆานุสติ
๔. สีลานุสติ
๕. จาคานุสติ
๖. เทวตานุสติ
๗. อุปสมานุสติ
๘. การเว้นบุคคลที่เศร้าหมอง
๙. การคบบุคคลผู้น่ารัก
๑๐. การพิจารณาพระสูตรเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
๑๑. ความเป็นผู้น้อมไปในปีติสัมโพชฌงค์นั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 250
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตเป็นโสมนัสสสหคตะในที่นี้ ด้วยเหตุทั้งหลายแม้เหล่านี้. ส่วนความพิสดารของธรรมที่เป็นเหตุเหล่านี้จักแจ่มแจ้งในโพชฌงค์วิภังค์.
อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตที่เป็นโสมนัสสสหคตะเป็นธรรมสัมปยุตด้วยญาณในที่นี้ด้วยเหตุเหล่านั้น คือ โดยกรรม โดยความเกิดขึ้นโดยความแก่รอบแห่งอินทรีย์ และความเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส.
จริงอยู่ บุคคลใดแนะนําธรรมแก่ชนเหล่าอื่น คือให้ศึกษาสิปปายตนะ (คือวิชาขี่ช้าง ขี่ม้า และขับรถเป็นต้น) กัมมายตนะ (คือวิชากสิกรรม พาณิชยกรรม และหัตถกรรมเป็นต้น) และวิชชัฏฐาน (คือ ดาราศาสตร์โหราศาสตร์ แพทยศาสตร์ และไสยศาสตร์) อันไม่มีโทษ ถวายเครื่องสักการะอาราธนาพระธรรมกถึกให้แสดงธรรม ดังความปรารถนาว่าในกาลต่อไปข้าพเจ้าจักเป็นผู้มีปัญญาดังนี้ แล้วถวายทานมีประการต่างๆ กุศลที่เป็นญาณสัมปยุต เมื่อเกิดแก่บุคคลนั้นเข้าไปอาศัยกรรมเห็นปานนี้ แล้วย่อมเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลนั้นเกิดในโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน บทแห่งธรรมที่ง่ายย่อมปรากฏแก่เขาในที่นั้น.
กุศลจิตญาณสัมปยุต เมื่อเกิดก็อาศัยความเกิดขึ้น โดยนัยนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งสติช้า แต่ว่า สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณวิเศษเร็วพลัน ดังนี้.
อนึ่ง กุศลญาณสัมปยุตจิตเมื่อเกิดแม้เพราะอาศัยความแก่รอบแห่งอินทรีย์ของบุคคลผู้ประกอบ คือการแก่รอบแห่งอินทรีย์ของบุคคลผู้บรรลุหมวด ๑๐ แห่งปัญญา (วิปัสสนาญาณ ๑๐) เกิดขึ้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 251
ก็กิเลสทั้งหลายอันบุคคลใดข่มไว้แล้ว กุศลญาณสัมปยุตจิตของบุคคลนั้น เมื่อเกิดก็อาศัยความที่คนเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสเกิดขึ้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
โยคา เว ชายเต ภูริ อาโยคา ภูริสงฺขโย
เอตํ ทฺวิธา ปถํ ตฺวา ภวาย วิภวาย จ
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
ภูริปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล ความเสื่อมสิ้นไปแห่งภูริปัญญาย่อมเกิดเพราะการไม่ประกอบ บัณฑิตรู้ทางสองแพร่ง แห่งความเจริญและความเสื่อมนี้แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญาเพียงดังแผ่นดิน (ภูริปัญญา) จะเจริญขึ้นเถิด.
บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตเป็นญาณสัมปยุตโดยเหตุเหล่านี้ คือโดยกรรม โดยความเกิดขึ้น โดยความแก่รอบแห่งอินทรีย์ และโดยความเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส ด้วยประการนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ อย่าง ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ
๑. ความสอบถาม (ปริปุจฺฉกตา)
๒. การทําวัตถุภายในและภายนอกให้สะอาด (วตฺถุวิสทกิริยา)
๓. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน (อินฺทฺริยสมตฺตปฏิปาทนตา)
๔. การเว้นบุคคลผู้ทรามปัญญา (ทุปฺปฺปุคฺคลปริวชฺชนตา)
๕. การคบผู้มีปัญญา (ปฺวนฺตปุคฺคลเสวนตา)
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 252
๖. การพิจารณาจริยาด้วยญาณอันลึกซึ้ง (คมฺภิราณจริยปจฺจเวกฺขณตา)
๗. ความน้อมจิตเพื่อให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้น (ตทธิมุตฺตตา)
บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตเป็นญาณสัมปยุตในที่นี้ ด้วยเหตุทั้งหลายเหล่านี้ ส่วนความพิสดารแห่งเหตุทั้ง ๗ เหล่านี้ จักแจ่มแจ้งในอรรถกถาแห่งโพชฌงค์วิภังค์.
ก็กุศลจิตที่เกิดขึ้นเป็นญาณสัมปยุตด้วยอาการอย่างนี้ชื่อว่า อสังขาริก เพราะความที่จิตนั้นเป็นสภาพเกิดขึ้นโดยอสังขาร (คือไม่มีการปรุงแต่ง หรือไม่มีการชักชวน) โดยไม่มีปโยคะ (การประกอบ) โดยไม่คิดด้วยอุบายกุศลจิตที่ชื่อว่า อสังขาริกนี้นั้น มีสีที่น่าปรารถนาเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้นโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นโดยกําหนด ๓ อย่าง คือ ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย.
ถามว่า กุศลญาณสัมปยุตจิตที่ชื่อว่าอสังขาริกในทานมัยเป็นต้นนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ตอบว่าก็เมื่อใด บุคคลได้ดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาดอกไม้ที่มีสีเขียว เหลือง แดง และขาวเป็นต้น แล้วรําพึงถึงสีดอกไม้นั้น แล้วบูชาพระพุทธรัตนะเป็นต้น ด้วยคิดว่า เราถวายสีเป็นทาน ดังนี้ เมื่อนั้นบุญย่อมสําเร็จด้วยทาน. ในทานมัยนั้น มีเรื่องเล่าไว้ดังนี้.
ได้ยินว่า ผู้รักษาเรือนคลัง ชื่อว่า สังฆมิต ได้ผ้าลายทอง (ขจิตด้วยทอง) ผืนหนึ่งจึงคิดว่าผ้าแม้นี้มีสีเหมือนทอง แม้พระสัมมาสัมพุทธะก็มีพระฉวีวรรณเหมือนทอง ผ้ามีสีเหมือนทองสมควรแก่ผู้ที่มีผิวพรรณดังทองเท่านั้น และการให้สีจักมีแก่พวกเราดังนี้ จึงให้เอาขึ้นไปห่มพระมหาเจดีย์
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 253
กุศลญาณสัมปยุตจิตในกาลแม้เห็นปานนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นทานมัย.
ก็เมื่อใด บุคคลได้ไทยธรรม (วัตถุที่ควรให้) เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละแล้วบูชาพระรัตนตรัยมีพุทธรัตนะเป็นต้น ด้วยการคิดว่า นั่นเป็นวงศ์ตระกูลเป็นแบบแผนตระกูล เป็นประเพณีตระกูล เป็นวัตรของเรา ดังนี้ เมื่อนั้นย่อมเป็นสีลมัย.
ก็เมื่อใด บุคคลทําการบูชาพระไตรรัตน์ด้วยวัตถุเช่นนั้น แล้วเริ่มตั้งความสิ้นไป เสื่อมไป ด้วยมนสิการว่า สี (วรรณะ) นี้ จักถึงความสิ้นไปจักถึงความเสื่อมไป ดังนี้ เมื่อนั้น ย่อมเป็นภาวนามัย.
อนึ่ง กุศลญาณสัมปยุตจิตเป็นทานมัยยังเป็นไปอยู่ ในกาลใดความเป็นไปของบุคคลผู้บูชาพระไตรรัตน์ด้วยมือของตน ในกาลนั้น เป็นกายกรรม. ในกาลใด เมื่อบุคคลจะบูชาพระไตรรัตน์จึงสั่งบุตร ภรรยา ทาสกรรมกร และบุรุษเป็นต้นให้บูชา ในกาลนั้น เป็นวจีกรรม. ในกาลใดบุคคลปรารภวัตถุวัตถุทานที่มีอยู่ มีประการตามที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแหละ แล้วคิดว่าเราจักให้สีเป็นทาน (วณฺณทานํ) ดังนี้ ในกาลนั้น เป็นมโนกรรม.
อีกอย่างหนึ่ง เพ่งถึงสํานวนพระวินัยแล้ว กุศลจิตนั้น ชื่อว่า เป็นทานโดยลักษณะนี้ว่า การเปล่งวาจาว่า เราจักถวาย จักกระทําดังนี้ แต่ถ้าเพ่งถึงสํานวนพระอภิธรรมแล้ว จิตนั้นย่อมเป็นกุศลจําเดิมแต่เวลาที่ใจคิดปรารภถึงวัตถุที่มีอยู่ว่า เราจักให้ ดังนี้. ท่านอธิบายไว้ว่า ในกาลอื่นอีก บุคคลนั้นจักกระทํากิจที่ควรกระทําด้วยกายหรือด้วยวาจา. ทานมัยตามที่กล่าวมานี้จึงมี ๓ อย่าง ด้วยอํานาจแห่งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 254
ก็ในกาลใด บุคคลได้วัตถุมีประการตามที่กล่าวแล้ว ย่อมบูชาพระไตรรัตน์ด้วยมือของตน ด้วยอํานาจแห่งวงศ์ตระกูลเป็นต้น ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น ก็เป็นสีลมัย หรือเป็นกายกรรม. ในกาลใด สั่งให้บุตรและภรรยาเป็นต้นด้วยอํานาจแห่งวงศ์ตระกูลเป็นต้นบูชา ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น เป็นวจีกรรม ในกาลใด บุคคลคิดว่า เราจักถวายสีเป็นทาน (วณฺณทานํ) ดังนี้ เพราะปรารภวัตถุที่มีอยู่ว่า วงศ์ตระกูลของเรา แบบแผนตระกูล ประเพณีตระกูลวัตรนั้นของเรา ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น ก็เป็นมโนกรรม. กุศลจิตที่เป็นสีลมัยมี ๓ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมด้วยประการฉะนี้.
ส่วนในกาลใด บุคคลได้วัตถุมีประการดังกล่าวแล้วนั้น เมื่อเดินบูชาพระไตรรัตน์ ก็เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไป ในกาลนั้น กุศลญาณสัมปยุตจิตที่เป็นภาวนามัย ย่อมเป็นกายกรรม เมื่อบุคคลเริ่มรู้ตลอดเพราะวาจา ก็เป็นวจีกรรม เมื่อบุคคลไม่ให้ส่วนแห่งกายและวาจาเคลื่อนไหว เริ่มตั้งการรู้ตลอดด้วยใจเท่านั้น ก็เป็นมโนกรรมอย่างเดียว กุศลญาณสัมปยุตจิตที่เป็นภาวนามัยมี ๓ อย่าง ด้วยอํานาจกาย วาจา และใจ ด้วยประการฉะนี้ ในอธิการนี้พระธรรมราชา ทรงจําแนกแสดงกุศลที่มีรูปเป็นอารมณ์ไว้ด้วยกรรม ทวาร ๙ อย่าง ด้วยอํานาจแห่งบุญกิริยาวัตถุ ๓ ด้วยประการฉะนี้ แม้ในสัททารมณ์เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
ความจริง กุศลจิตนี้กระทําเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีในเสียงกลองเป็นต้นให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นด้วยการกําหนด ๓ อย่างโดยนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ. ในบรรดากุศลจิตที่เป็นทานมัยเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า เสียงใครๆ ไม่อาจเพื่อหยิบมาวางไว้ในมือแล้วให้ เหมือนถอนเหง้าบัวขึ้น หรือ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 255
เหมือนวางกําดอกอุบลเขียวไว้ในมือได้ แต่เมื่อบุคคลทําเสียงพร้อมด้วยวัตถุให้อยู่ ชื่อว่า ย่อมให้เสียงเป็นทาน เพราะฉะนั้น ในกาลใด บุคคลคิดว่า เราจักถวายเสียงให้เป็นทานดังนี้ จึงทําการบูชาพระไตรรัตน์ด้วยเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง มีกลองและตะโพนเป็นต้น แล้วให้หยุดเครื่องดนตรีมีกลองเป็นต้น ด้วยคิดว่า เราจักถวายทานด้วยเสียงของเรา จึงถวายเภสัช น้ำมัน น้ำอ้อยเป็นต้น ด้วยเปล่งเสียงถวายภิกษุผู้เป็นธรรมกถา ย่อมโฆษณาการฟังธรรม ย่อมสวดสรภัญญะ ย่อมกล่าวธรรมกถา ย่อมกล่าวอุปนิสินนกถา อนุโมทนากถา ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น ย่อมเป็นทานมัย. ในกาลใด บุคคลกระทําวิธีอย่างนี้นั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งวงศ์ตระกูลเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งวัตรในกาลนั้น กุศลจิตนั้น ย่อมเป็นสีลมัย. ในกาลใด บุคคลกระทําวิธีนั้นทั้งหมดแล้วเริ่มพิจารณาว่า เสียงนี้มีประมาณเท่านี้ แม้มีประมาณเท่าพรหมโลกก็จักถึงความสิ้นไป จักถึงความเสื่อมไป ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น ย่อมเป็นภาวนามัย.
บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น จะกล่าวกุศลจิตที่เป็นทานมัยก่อน
ในกาลใด บุคคลถือเอาเครื่องดนตรีมีกลองเป็นต้น กระทําการบูชาพระไตรรัตน์ด้วยมือของตน แม้จะตั้งไว้เพื่อต้องการบูชาประจําก็วางไว้ด้วยมือของตน ย่อมเดินโฆษณาการฟังธรรม ย่อมไปกล่าวธรรมกถา สวดสรภัญญะด้วยคิดว่า เราจักให้เสียงของเราเป็นทานดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตนั้นก็เป็นกายกรรม. ในกาลใด สั่งบุคคลอื่นว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พ่อจงไป จงทําเสียงของพวกเราให้เป็นทานบูชาพระไตรรัตน์ ดังนี้ คิดว่า เราจักให้เสียงของเราเป็นทาน จึงสั่งบุคคลอื่นว่า พวกท่านจงวางกลองนี้ ตะโพนนี้ ที่ลานพระเจดีย์ ย่อมโฆษณาธรรมสวนะเองทีเดียว ย่อมกล่าวธรรมกถา ย่อมสวด
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 256
สรภัญญะ ในกาลนั้น กุศลจิตนั้นย่อมเป็นวจีกรรม. ในกาลใด บุคคลไม่ให้ส่วนแห่งกาย แห่งวาจาไหว สละวัตถุอันมีอยู่ด้วยใจว่า เราจักให้เสียงเป็นทาน ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นมโนกรรม.
กุศลจิตแม้ที่เป็นภาวนามัย ในกาลใด บุคคลกําลังเดิน เริ่มตั้งความสิ้นไป เสื่อมไปในเสียง ในกาลนั้น กุศลจิตนั้นก็เป็น กายกรรม. ก็หรือว่าเมื่อบุคคลไม่ยังส่วนแห่งกายให้ไหวพิจารณาอยู่ตามวาจา กุศลจิตที่เป็นภาวนามัยก็เป็นวจีกรรม. เมื่อบุคคลไม่ให้กายและวาจาไหว พิจารณาอยู่ซึ่งสัททายตนะด้วยใจเท่านั้น กุศลจิตที่เป็นภาวนามัยนั้นก็เป็น มโนกรรม. พระธรรมราชาทรงจําแนกแสดงแล้วซึ่งกุศลจิตแม้มีเสียงเป็นอารมณ์ ด้วยกรรมและทวาร ๙ ด้วยสามารถแห่งบุญกิริวัตถุ ๓ อย่าง ดังพรรณนามาฉะนี้.
กุศลจิตนี้กระทํากลิ่นอันน่าชอบใจแม้ในกลิ่นที่เกิดแต่รากไม้เป็นต้นให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น โดยการกําหนด ๓ อย่าง โดยนัยที่กล่าวแล้วหนหลังนั่นแหละ ในกาลใด บุคคลได้กลิ่นหอมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกลิ่นทั้งหลายมีกลิ่นที่เกิดแต่รากไม้เป็นต้นแล้วคํานึงถึงด้วยอํานาจแห่งกลิ่น คิดว่า เราจักถวายกลิ่นของเราให้เป็นทาน ดังนี้ จึงบูชาพระพุทธรัตนะเป็นต้น ในกาลนั้นกุศลจิตก็เป็นทานมัย. บัณฑิตพึงทราบคําทั้งหมดโดยพิสดาร โดยนัยที่กล่าวไว้ในการให้สีเป็นทานนั่นแหละ พระธรรมราชา ทรงจําแนกแสดงซึ่งกุศลจิตแม้มีกลิ่นเป็นอารมณ์ ด้วยกรรมและทวาร ๙ ด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
ก็กุศลจิตที่ทํารสอันน่าชอบใจในรสทั้งหลายมีรสเกิดจากรากเป็นต้นให้เป็นอารมณ์ ย่อมเกิดขึ้นด้วยการกําหนด ๓ อย่าง โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ ในกาลใด บุคคลได้รสที่น่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่งในรส
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 257
ทั้งหลายมีรสเกิดแต่รากเป็นต้นนั้น แล้วรําพึงด้วยสามารถแห่งรส ย่อมให้ย่อมสละด้วยคิดว่า เราจักให้รสของเราเป็นทาน ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตเป็นทานมัย ดังนี้. พึงทราบข้อความทั้งปวง โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้ในการให้สีเป็นทาน. ก็ในกุศลจิตที่มีสีลมัยนี้ มีเรื่องทั้งหลายมาในมหาอรรถกถา ตั้งแต่เรื่องพระเจ้าทุฏฐคามนิอภัย ทรงพระดําริว่า ธรรมดาว่า การไม่ถวายสังฆทานแล้วบริโภค เราไม่เคยประพฤติ ดังนี้ จึงให้ถวายทานแก่ภิกษุประมาณ ๑,๒๐๐ รูป แล้วจึงเสวยพระกระยาหารมีรสดี. ข้อความที่แตกต่างกันมีเพียงเท่านี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมราชา ทรงจําแนกแสดงกุศลจิตแม้มีรสเป็นอารมณ์ ด้วยกรรมและทวาร. โดยบุญกิริยาวัตถุ ๓ นั่นแหละ.
แม้ในโผฏฐัพพารมณ์ มหาภูตรูป ๓ คือ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ชื่อว่า โผฏฐัพพารมณ์. ในฐานะนี้ บัณฑิตไม่ทําการประกอบด้วยอํานาจแห่งธาตุทั้ง ๓ เหล่านั้น พึงทําการประกอบด้วยสามารถแห่งเตียงและตั่งเป็นต้น. จริงอยู่ ในกาลใด บุคคลได้วัตถุอันควรถูกต้องน่าปรารถนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวัตถุทั้งหลายมีเตียงและตั่งเป็นต้น แล้วคํานึงถึงด้วยอํานาจแห่งการถูกต้อง ย่อมให้ ย่อมบริจาค ด้วยคิดว่า เราจักให้โผฏฐัพพะเป็นทานของเรา ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตก็ย่อมเป็นทานมัย ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบข้อความทั้งปวง โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้ในการให้สีเป็นทานนั่นแหละ พระธรรมราชา ทรงจําแนกแสดงกุศลจิตแม้มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ด้วยกรรมและทวาร ๙ ด้วยบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างดังพรรณนานามาฉะนี้.
แต่ว่า ในธรรมารมณ์ ได้แก่ธรรมทั้งหลายที่เป็นปริยาปันนะและอปริยปันนะในธรรมายตนะเหล่านี้คืออายตนภายใน ๖ ลักษณะ ๓ อรูปขันธ์ ๓ สุขุมรูป ๑๕ นิพพาน และบัญญัติ ชื่อว่า ธรรมารมณ์ แต่ในฐานะนี้ บัณฑิต
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 258
ไม่ทําการประกอบไว้ด้วยอํานาจแห่งธรรมเหล่านี้ พึงประกอบไว้ด้วยการให้โอชะ การให้ปานะ และการให้ชีวิตเป็นทาน. จริงอยู่ กุศลจิตนี้ กระทําธรรมารมณ์อันน่ายินดีในโอชะเป็นต้น ให้เป็นอารมณ์ เกิดขึ้นด้วยการกําหนด ๓ อย่าง โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ในธรรมารมณ์นั้น เมื่อใดบุคคลย่อมถวายเนยใสเนยข้นเป็นต้น โดยคิดว่า เราถวายโอชะเป็นทาน ย่อมถวายน้ำปานะ ๘ อย่างโดยคิดว่า เราถวายน้ำปานะให้เป็นทาน ดังนี้ ย่อมถวายสลากภัต ปักขิยภัต สังฆภัตเป็นต้น โดยคิดว่า เราถวายชีวิตเป็นทาน ดังนี้ย่อมถวายเภสัชแก่ภิกษุผู้ไม่ผาสุกทั้งหลาย ให้หมอมารักษา ให้เผาตาข่าย ให้รื้อรอบ ให้ทําลายกรงนก ให้พ้นจากเรือนจํา ให้ตีกลองห้ามฆ่าสัตว์ กระทําเห็นปานนี้แม้อื่นๆ เพื่อป้องกันชีวิต ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นทานมัย อนึ่งในกาลใด บุคคลคิดว่า การให้โอชะเป็นทาน ให้น้ำปานะเป็นทาน ให้ชีวิตเป็นทาน เป็นวงศ์ตระกูลวงศ์ของเรา เป็นแบบแผนของตระกูล เป็นประเพณีของตระกูล ดังนี้ จึงยังทานมีโอชะเป็นต้น ให้เป็นไปด้วยวัตรเป็นประธานในกาลนั้น กุศลจิตย่อมเป็นสีลมัย. ในกาลใด เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไปในธรรมารมณ์ ในกาลนั้น กุศลจิตย่อมเป็นภาวนามัย. อนึ่ง กุศลจิตที่เป็นทานมัยแม้กําลังเป็นไป คือ ในกาลใด บุคคลย่อมถวายโอชะเป็นทาน น้ำปานะเป็นทาน ชีวิตเป็นทานด้วยมือของตน ในกาลนั้น ย่อมเป็นกายกรรม ในกาลใดใช้ให้บุตรและภรรยาเป็นต้นให้ถวายทาน ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นวจีกรรมในกาลใด ไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้เคลื่อนไหว ย่อมคิดด้วยใจว่า เราจักถวายวัตถุที่มีอยู่ด้วยอํานาจแห่งการให้โอชะเป็นทาน ให้น้ำปานะเป็นทาน ให้ชีวิตเป็นทาน ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นมโนกรรม.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 259
อนึ่ง ในกาลใด บุคคลย่อมให้วัตถุอันมีอยู่มีประการตามที่กล่าวแล้วด้วยมือของตน ด้วยอํานาจแห่งวงศ์ตระกูลเป็นต้น ในกาลนั้น กุศลจิตที่เป็นสีลมัย ย่อมเป็นกายกรรม. ในกาลใด ใช้ให้บุตรและภรรยาเป็นต้นให้ถวายด้วยอํานาจแห่งวงศ์ตระกูลนั่นแหละ ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นวจีกรรม. ในกาลใด ย่อมคิดด้วยใจว่า เราจักถวายวัตถุอันมีอยู่มีประการตามที่กล่าวแล้วด้วยอํานาจแห่งวงศ์ตระกูลเป็นต้นนั่นแหละในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นมโนกรรม.
อนึ่ง บุคคลเดินไปแล้ว เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไปในธรรมารมณ์กุศลจิตที่เป็นภาวนามัย ย่อมเป็นกายกรรม. เมื่อบุคคลไม่ยังส่วนแห่งกายให้ไหวแล้ว เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไปด้วยวาจา กุศลจิต ย่อมเป็นวจีกรรม.บุคคลไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้ไหว เริ่มตั้งซึ่งความสิ้นไปเสื่อมไปด้วยใจเท่านั้น กุศลจิตย่อมเป็นมโนกรรม. กุศลจิตที่เป็นภาวนามัย ๓ อย่าง ย่อมมีด้วยอํานาจกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ด้วยประการฉะนี้. พระธรรมราชาทรงจําแนกแสดงกุศลจิตที่เป็นธรรมารมณ์ ในที่นี้ด้วยกรรมและทวาร ๙ ด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างดังพรรณนามาฉะนี้.
จิตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้ ด้วยอํานาจแห่งวัตถุต่างกัน และอารมณ์ต่างกัน. แต่จิตนี้ บัณฑิตย่อมได้ในวัตถุเดียวกัน ด้วยอํานาจแห่งอารมณ์ที่ต่างกัน. ถามว่า ได้อย่างไร ตอบว่า เพราะในปัจจัย ๔ อย่าง เฉพาะในจีวร (เอกวัตถุ) บัณฑิตย่อมได้อารมณ์ ๖ อย่าง. จริงอยู่สีแห่งจีวรที่ย้อมใหม่ เป็นสีที่ชอบใจ น่าดูนี้เรียกว่า มีสีเป็นอารมณ์. อนึ่งในเวลาใช้สอยย่อมส่งเสียงดังปฏะปฏะ นี้เป็นสัททารมณ์. ในผ้านั้น มีกลิ่นเปลือกไม้ไทรดําเป็นต้น นี้เป็นคันธารมณ์. อนึ่ง รสารมณ์ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งรสคือการใช้สอย. ในผ้านั้นมีสัมผัสเป็นสุข นี้เป็นโผฏฐัพพา-
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 260
รมณ์. สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยจีวร นี้เป็นธรรมารมณ์. รสารมณ์บัณฑิตย่อมได้ในบิณฑิตโดยนิปปริยาย (โดยตรง) ทีเดียว. บัณฑิตทําการประกอบจิตในปัจจัย ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ต่างๆ อย่างนี้แล้วพึงทราบความต่างกันแห่งจิตที่เป็นทานมัยเป็นต้น. อนึ่ง อารมณ์เป็นสภาวะผูกพันจิตนี้ เป็นอารมณ์แล้ว จิตก็ไม่เกิดขึ้น ส่วนทวารไม่ผูกพันจิตไว้ ถามว่า เพราะเหตุไรตอบว่า เพราะกรรมเป็นสภาพไม่ผูกพัน. จริงอยู่ เมื่อกรรมไม่ผูกพันจิตไว้ แม้ทวาร ก็ชื่อว่าไม่ผูกพันเหมือนกัน.
กามาวจรกุศลและทวารกถา
ว่าด้วยกายกรรมและทวาร
ก็เพื่อประกาศเนื้อความนี้ ในมหาอรรถกถาท่านกล่าวทวารกถาไว้ในฐานะนี้. ในทวารกถานั้น ชื่อการตั้งมาติกาในทวารกถานี้มีประมาณเท่านี้คือ
กรรม ๓
ทวารแห่งกรรม ๓
วิญญาณ ๕
ทวารวิญญาณ ๕
ผัสสะ ๖
ทวารผัสสะ ๖
อสังวร ๘
ทวารแห่งอสังวร ๘
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 261
สังวร ๘
ทวารแห่งสังวร ๘
อกุศลกรรมบถ ๑๐
กุศลกรรมบถ ๑๐
ในการตั้งมาติกาเหล่านั้น กรรม ๓ อย่าง ท่านกล่าวไว้ก่อนแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นท่านก็เว้นกรรม ๓ เหล่านั้น แล้วแสดงจําแนกทวารแห่งกรรม ๓ โดยความเป็นเบื้องต้นก่อน.
ถามว่า ทวารแห่งกรรม ๓ เป็นไฉน?
ตอบว่า ทวารแห่งกายกรรม ทวารแห่งวจีกรรม ทวารแห่งมโนกรรม.
ในทวารแห่งกายกรรมนั้น กายมี ๔ อย่าง คือ อุปาทินนกกาย (กายที่มีใจครอง) ๑. อาหารสมุฏฐานกาย ๑ อุตุสมุฏฐานกาย ๑ จิตตสมุฏฐานกาย ๑ บรรดากาย ๔ เหล่านั้น รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ๘ คือ มีจักขายตนะเป็นต้น (๑) มีชีวิตินทรีย์เป็นที่สุดก็ดี รูป ๘ คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชาที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานก็ดี ชื่อว่า อุปาทินนกกาย.
รูป ๘ เหล่านั้นนั่นแหละเกิดแต่อาหาร ชื่อว่า อาหารสมุฏฐานิกกาย. รูป ๘ เกิดแต่อุตุ ชื่อว่า อุตุสมุฏฐานนิกกาย. รูป ๘ เกิดแต่จิต ชื่อว่า จิตตสมุฏฐานิกกาย.
ในบรรดาอุปาทินนกายเป็นต้นเหล่านั้น คําว่า ทวารแห่งกายกรรมมิได้เป็นชื่อของอุปาทินนกกาย มิได้เป็นชื่อของกายนอกนี้ แต่ในรูป ๘ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีวิญญัติรูปหนึ่ง รูปนี้ ชื่อว่า ทวารแห่งกายกรรม ตามที่ท่านกล่าวไว้ว่า รูปที่ชื่อว่า กายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน? ความเคร่งตึง
(๑) จักขุโสตฆานชิวหากายอิตถิปุริสชีวิตินทรียรูป.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 262
ความเคร่งตึงด้วยดี กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี การเคลื่อนไหวกายให้รู้ความหมายกิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่ให้ผู้อื่นรู้ความหมายของกายของผู้มีจิตเป็นกุศล หรือผู้มีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากตะ หรือผู้ก้าวไปข้างหน้าหรือถอยกลับ หรือแลดูข้างหน้า หรือเหลียวดูซ้ายขวา หรือเหยียด หรือคู้แขน อันใด รูปนี้นั้น เรียกว่า กายวิญญัติ.
จริงอยู่ จิตที่เกิดขึ้นว่า เราจักก้าวไปข้างหน้า จักถอยกลับ ดังนี้ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น ในขณะแห่งจิตที่เกิดขึ้นนั้น วาโยธาตุมีจิตเป็นสมุฏฐานในภายในแห่งรูปกลาปทั้ง ๘ เหล่านี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ วรรณะ คันธะ รสะ โอชะ ซึ่งอาศัยธาตุทั้ง ๔ นั้น ย่อมค้ำจุนทรงไว้ ยังรูปกายที่เกิดพร้อมกับตนนั้นให้เคลื่อนไหว ให้ก้าวไปข้างหน้าให้ถอยกลับ.
ในบรรดารูปกลาป ๘ เหล่านั้น วาโยธาตุที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแรกในบรรดาชวนจิต ๗ ดวง ในอาวัชชนวิถีหนึ่ง ย่อมสามารถค้ำจุน ดํารงไว้ซึ่งรูปกายที่เกิดพร้อมกับตนได้ แต่ไม่อาจให้เคลื่อนไหวไปมา แม้ในชวนจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ส่วนวาโยธาตุที่ตั้งขึ้นด้วยชวนจิตด้วยที่ ๗ ได้วาโยธาตุที่ตั้งขึ้นด้วยชวนจิต ๖ ดวงเบื้องต้น เป็นปัจจัยอุปถัมภ์แล้ว ย่อมสามารถเพื่อค้ำจุน เพื่อทรงไว้ เพื่อยังรูปที่เกิดพร้อมกับตนให้เคลื่อนไหวให้ก้าวไปข้างหน้า ให้ถอยกลับ ให้แลดู ให้เหลียวซ้ายแลขวา ให้คู้เข้าให้เหยียดออก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เกิดการเดินไปเกิดการเดินมา ชื่อว่าเกิดการเดินไปเดินมา คือ ย่อมถึงคําอันบุคคลพึงกล่าวว่า ไปได้โยชน์หนึ่ง ไปได้ ๑๐ โยชน์ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 263
เหมือนอย่างว่า เมื่อเกวียนที่พึงลากไปด้วยแอก ๗ แอก โคที่เทียมแล้วในแอกคู่แรก ย่อมสามารถเพื่อค้ำจุน เพื่อทรงแอกไว้ได้ก่อน แต่ไม่อาจให้ล้อหมุนไป แม้ในคู่ที่ ๒ เป็นต้นก็เหมือนกัน แต่ว่าในกาลใด สารถีผู้ฉลาดเทียมคู่โคที่ ๗ ที่แอกนั่งที่ทูบเกวียน ถือเชือกแล้วเอาปลายปฏักกระตุ้นคู่โคจําเดิมแต่โคคู่แรกทั้งหมด ในกาลนั้น คู่โคทั้งหมดทีเดียวก็รวมกําลังกันทรงแอกและให้ล้อหมุนไป ย่อมถึงคําอันบุคคลพึงพูดได้ว่า โคพาเกวียนไปได้ ๑๐ โยชน์ พาไป ๒๐ โยชน์ฉันใด คําอุปมาเป็นเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น.
ในบรรดากาย ๔ เหล่านั้น กายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ไม่ใช่วิญญัติ แต่วิการแห่งอาการหนึ่งที่สามารถเพื่อเป็นปัจจัยเพื่อให้ค้ำจุน ทรงไว้ซึ่งรูปกายที่เกิดพร้อมกับวาโยธาตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้ไหวได้ นี้ชื่อว่า วิญญัติ. วิญญัตินั้นไม่ใช่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เหมือนรูป ๘ อย่าง. เหมือนอย่างคํามีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะ ชื่อว่า ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ เพราะความที่ธรรมทั้งหลายมีประเภทที่ไม่เที่ยงเป็นต้นต้องแก่และตาย ฉันใด วิญญัติแม้นั้น ชื่อว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะความที่รูปทั้งหลายมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นสภาพประกาศให้รู้ ฉันนั้น.
ก็วิญญัตินั้น เรียกว่า วิญญัติ เพราะประกาศให้รู้. ประกาศให้รู้อะไร? ประกาศให้รู้ทางกายอย่างหนึ่ง จริงอยู่ บุคคลยืนอยู่ในคลองแห่งจักษุย่อมยกมือหรือเท้า สั่นศีรษะหรือยักคิ้ว อาการของมือเป็นต้นนี้ เป็นการให้รู้ได้ด้วยจักษุ แม้วิญญัติก็ไม่รู้ได้ด้วยตา แต่รู้ได้ด้วยใจเท่านั้น เพราะว่าบุคคลย่อมเห็นสีเป็นอารมณ์ เป็นไปต่างๆ ด้วยสามารถแห่งการเคลื่อนไหวมือเป็นต้น แต่ว่า บุคคลคิดถึงรูปที่ประกาศให้รู้ ด้วยจิตทางมโนทวารแล้วจึงรู้ว่า บุคคลนี้เห็นจะให้เราทําสิ่งนี้และสิ่งนี้ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 264
เหมือนอย่างว่า พวกมนุษย์ให้ผูกใบตาลเป็นต้นที่ยอดต้นไม้ในสถานที่มีน้ำในฤดูแล้งในป่าโดยประสงค์ว่า ชนทั้งหลายจักรู้ซึ่งความที่น้ำมีอยู่ในที่นี้ด้วยสัญญานี้หรือชักธงขึ้นที่ประตูร้านสุรา หรือว่า ลมพัดต้นไม้สูงให้หวั่นไหว หรือว่า เมื่อปลาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ ฟองน้ำก็ผุดขึ้นข้างบน หรือเศษหญ้าและใบไม้ที่ถูกน้ำซัดไปติดอยู่ที่ทางไปของห้วงน้ำใหญ่ในกาลใด บุคคลเห็นใบตาลธง กิ่งไม้ ฟองน้ำ เศษหญ้าและใบไม้ แม้ไม่เห็นด้วยตาแต่ก็ย่อมรู้ด้วยมโนวิญญาณว่า ในที่นี้น้ำจักมี สุราจักมี ต้นไม้นี้ถูกลมพัด ปลาจักมีภายในน้ำห้วงน้ำจักไหลท่วมที่มีประมาณเท่านี้ฉันใด แม้วิญญัติ ก็ฉันนั้น ไม่รู้ด้วยตา รู้ได้ด้วยใจ เพราะว่า บุคคลย่อมเห็นสีเป็นอารมณ์เคลื่อนไหวไปมา ด้วยอํานาจแห่งการยกมือเป็นต้นด้วยตาเท่านั้น แต่เขาคิดด้วยจิตทางมโนทวารจึงรู้ว่า บุคคลนี้เห็นจะให้เราทําอย่างนี้ๆ
ก็วิญญัตินี้ ชื่อว่า วิญญัติ เพราะการประกาศให้รู้อย่างเดียวก็หาไม่ที่แท้แล้ว ชื่อว่า วิญญัติ เพราะควรรู้ก็มีทีเดียว. เพราะว่า วิญญัตินี้ย่อมปรากฏแก่ชนทั้งหลายเหล่าอื่น โดยที่สุดแม้แก่สัตว์เดรัจฉานบ้าง. จริงอยู่สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายมีสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก กา โคเป็นต้น ที่ประชุมกันในที่นั้น เมื่อบุคคลจับท่อนไม้ หรือก้อนดินแสดงอาการขว้างป่า สัตว์นี้ก็รู้ว่าเขาต้องประหารพวกเรา ย่อมหนีไปที่ใดที่หนึ่ง แต่เมื่อบุคคลอื่นอยู่ในภายในกําแพงและฝาเรือนเป็นต้น เวลานั้นก็เป็นเวลาที่รูปไม่ปรากฏ ในขณะนั้นรูปไม่ปรากฏแก่เขาถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่า วิญญัตินั่นแหละ เพราะเป็นธรรมชาติปรากฏแก่ผู้อยู่เฉพาะหน้า.
ถามว่า เมื่อกายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานกําลังไหว กายที่มีสมุฏฐาน ๓ ย่อมไหวไปด้วย หรือไม่ไหวไป.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 265
ตอบว่า กายมีสมุฏฐาน ๓ แม้นั้นก็ไหวไปเหมือนกัน.
กายที่มีสมุฏฐาน ๓ นั้น มีคติเหมือนกายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน คล้อยตามกายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยแท้. เหมือนอย่างว่า เมื่อน้ำกําลังไหลไปอยู่แม้เศษไม้แห้ง หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งเป็นต้นที่ตกไปสู่น้ำ ก็ย่อมไหลไปตามน้ำ (มีคติอย่างน้ำ) ทีเดียว คือ เมื่อน้ำไหลไป เศษไม้แห้งเป็นต้น ก็ย่อมลอยไป เมื่อน้ำหยุด เศษไม้แห้งเป็นต้นนั้นก็หยุด ฉันใดคําอุปมาเป็นเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้บัณฑิตพึงทราบ ฉันนั้น วิญญัติในรูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานแม้นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อ ทวารแห่งกายกรรม ด้วยประการฉะนี้.
ก็เจตนาที่ให้สําเร็จในทวารนั้นเป็นเหตุให้บุคคลฆ่าสัตว์ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร งดเว้นจากปาณาติบาต ข้อนี้ชื่อว่า กายกรรม. เมื่อปรวาทีมีอยู่อย่างนี้ บัณฑิตก็พึงดํารงไว้ด้วยนัยแห่งคําว่ากายเป็นทวาร เจตนาที่สําเร็จในทวารนั้นเป็นกายกรรม คือ เป็นกุศล หรือว่าเป็นอกุศล ดังนี้. แต่เมื่อปรวาทีไม่มี ก็พึงดํารงติกะว่า กายกรรมเป็นกุศล หรือกุศล หรืออัพยากตะ ดังนี้ให้บริบูรณ์ ในข้อนั้น เปรียบเหมือนประตูพระนคร ย่อมตั้งไว้ในที่ที่เขาสร้างไว้แล้ว ย่อมไม่เลื่อนไปเลื่อนมาแม้สักองคุลี ก็มหาชนย่อมสัญจรไปทางประตูนั้นๆ ฉันใด ทวารก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะเที่ยวไปหาได้ไม่ ส่วนกรรมย่อมเที่ยวไปโดยการเกิดขึ้นในทวารนั้นๆ ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
ทฺวาเรจรนฺติ กมฺมานิ น ทฺวารา ทฺวารจาริโน
ตสฺมา ทฺวาเรหิ กมฺมานิ อฺมฺํ ววฏฺิตา.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 266
กรรมทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในทวาร ทวารทั้งหลายไม่เที่ยวไปกับทวารทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกําหนดกรรมทั้งหลายกับทวารทั้งหลายไว้ด้วยกัน.
ในคาถานั้น อธิบายว่า ทวารย่อมได้ชื่อตามกรรม แม้กรรมก็ได้ชื่อตามทวาร. เหมือนอย่างว่า ที่เป็นที่เกิดแห่งวิญญาณเป็นต้น ย่อมได้ชื่อว่า ทวารแห่งวิญญาณ ทวารแห่งผัสสะ ทวารแห่งความไม่สํารวม ทวารแห่งความสํารวม ดังนี้ ฉันใด ที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งกายกรรม ก็ได้ชื่อว่าทวารแห่งกายกรรม ฉันนั้น. แม้ในทวารแห่งวจีกรรมและมโนกรรมก็นัยนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้นั้นๆ ย่อมได้ชื่อตามต้นไม้นั้นๆ ว่า เทวดาไม้งิ้ว (สิมฺพลิเทวตา) เทวดาใบไม้เหลือง (ปลาสเทวตา) เทวดาต้นสะเดา (ปุจิมนฺทเทวตา) เทวดาไม้สะคร้อ ฉันใดแม้กรรมที่บุคคลทําแล้วด้วยกายทวาร ย่อมได้ชื่อตามทวารว่า กายกรรม ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้ในวจีกรรมและมโนกรรมก็นัยนี้เหมือนกัน. ในบรรดากายและกรรมนั้น กายก็เป็นอย่างหนึ่ง กรรมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ท่านเรียกกายและกรรมนั้นว่ากายกรรม เพราะความที่กรรมนั้นกระทําด้วยกายด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
หากกรรมกระทําด้วยกาย เรียกว่ากายกรรม กายและกายกรรม ท่านก็กําหนดไว้ด้วยกัน หากกรรมกระทําด้วยเข็ม เรียกว่าสุจิกรรม เข็มและสุจิกรรม ท่านก็กําหนดไว้ด้วยกัน หากกรรมกระทําด้วยมีด เรียกว่าวาสิกรรม มีดและวาสิกรรม ท่านก็กําหนด
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 267
ไว้ด้วยกัน หากกรรมกระทําด้วยบุรุษเรียกว่า ปุริสกรรม บุรุษและปุริสกรรมท่านก็กําหนดไว้ด้วยกัน ฉันใด หากกรรมกระทําด้วยกาย ก็เรียกว่ากายกรรม กายและกายกรรม ท่านกําหนดไว้ด้วยกัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น การกําหนดเฉพาะทวารก็ไม่ถูก การกําหนดเฉพาะกรรมก็ไม่ถูก ถามว่า ไม่ถูกอย่างไร ตอบว่า เพราะบาลีว่า ทฺวาเร จรนฺติ กมฺมานิ (กรรมทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในทวาร) แม้วจีกรรมก็ย่อมเป็นไปในกายวิญญัติ เพราะฉะนั้น การกําหนดวจีวิญญัตินั้นว่าทวารแห่งกายกรรมดังนี้ก็ไม่ถูก ทั้งกายกรรมก็ย่อมเป็นไป แม้ในวจีวิญญัติ เพราะเหตุนั้น การกําหนดวจีวิญญัตินั้นว่า กายกรรมก็ไม่ถูก. การกําหนดอย่างนั้นมิใช่ไม่ถูก เพราะเหตุไร เพราะความเป็นไปโดยมาก และเพราะเป็นไปมากในทวารนั้น. จริงอยู่ กายกรรมเท่านั้น ย่อมเป็นไปโดยมากในกายวิญญัติ วจีกรรมนอกนี้ไม่เป็นไปโดยมาก เพราะฉะนั้น ความที่กายวิญญัตินี้เป็นทวารแห่งกายกรรมสําเร็จแล้วเป็นไปโดยมากแห่งกายกรรม เปรียบเหมือนบ้านพราหมณ์ สวนมะม่วง และไม้กากะทิงเป็นต้น ชื่อว่า บ้านพราหมณ์เป็นต้น เพราะฉะนั้น การกําหนดทวารจึงถูก เพราะกายกรรมย่อมเป็นไปมากในกายทวารทีเดียว ส่วนในวจีทวารเป็นไปน้อย ฉะนั้น การที่ทวารนี้เป็นกายกรรมสําเร็จเป็นไปมากในกายทวาร เปรียบเหมือนโคจรของนายพรานป่าและกุมาริกาอ้วนเป็นต้น ชื่อว่า นายพรานป่าเป็นต้น ฉะนั้น แม้การกําหนดกรรมจึงถูกต้อง ด้วยประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยทวารแห่งกายกรรม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 268
กถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม
ก็ในกถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม ชื่อว่า วาจา มี ๓ อย่าง คือ เจตนา วิรติ สัททะ (เสียง) บรรดาวาจา ๓ อย่างเหล่านั้น วาจานี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ เหล่านั้น เป็นวาจาสุภาษิต มิใช่วาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ เป็นวาจาที่ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน ดังนี้ชื่อว่า เจตนาวาจา. วาจานี้ว่า การงด การเว้น จากวจีทุจริต ๔ ฯลฯ อันใดนี้ตรัสเรียกว่า สัมมาวาจา ดังนี้ ชื่อว่า วิรติวาจา. วาจานี้ว่า จริงอยู่วาจาที่เปล่ง คลองแห่งคํา การเปล่งขึ้น เสียงกึกก้อง ทําเสียงให้กึกก้อง วาจาการเปล่งวาจา ดังนี้ ชื่อว่า สัททวาจา.
บรรดาวาจาทั้ง ๓ เหล่านั้น คําว่า วจีกรรมทวาร มิใช่เป็นชื่อของเจตนา มิใช่เป็นชื่อของวิรติ แต่ว่าวิญญัติอย่างหนึ่งซึ่งมีเสียงร่วมด้วยมีอยู่นี้ชื่อว่า ทวารแห่งวจีกรรม. วจีทวารที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า รูปที่เป็นวจีวิญญัตินั้น เป็นไฉน? การพูด การเปล่งออก คลองแห่งวาจาการเปล่งขึ้น เสียงกึกก้อง การทําเสียงให้กึกก้อง วาจา การเปล่งวาจา แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากตะ อันใดดังนี้ นี้เรียกว่า วาจา. วิญญัติ การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมายทางวาจา อันใด รูปนี้นั้น เรียกว่า วจีวิญญัติ.
จริงอยู่ เมื่อเราตรึกว่า เราจักกล่าวคํานี้ เราจักกล่าวคํานั้น ชื่อว่า เสียงอันแผ่ไปด้วยวิตก ย่อมเกิดขึ้น. วาทะนี้มาในมหาอรรถกถาว่า เสียงนี้มิได้รู้ได้ด้วยโสตะ รู้ได้ด้วยใจ ดังนี้ แต่ในอรรถกถาที่มาทั้งหลาย อธิบาย
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 269
คําว่า วิตกฺกวิปฺผารสทฺทํ (เสียงที่แผ่ไปด้วยวิตก) เป็นเสียงของคนหลับและประมาทแล้ว กําลังบ่นเพ้ออันเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งการแผ่ไปของวิตก. คําว่า สุตฺวา นั้น ความว่า เมื่อบุคคลนั้นฟังแล้วตรึกซึ่งเรื่องใด เสียงอันแผ่ไปแห่งวิตกนั้นเกิดขึ้นแล้ว ด้วยอํานาจแห่งเรื่องนั้น ก็จักทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นอย่างนั้นบ้าง ครั้นกล่าวด้วยประการฉะนั้นแล้ว ก็กล่าวแม้เรื่องทั้งหลาย. แม้ในปัฏฐานก็มีพระบาลีอันมาแล้วว่า สัททายตนะ มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณด้วยอารัมมณปัจจัย ดังนี้เพราะฉะนั้น ชื่อว่า เสียงที่แผ่ไปแห่งวิตกที่รู้ไม่ได้ด้วยโสตะ ซึ่งเกิดขึ้นเว้นจากการกระทบกับวิญญัติย่อมไม่มี ก็จิตเมื่อเกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้าจักกล่าวคํานี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวคํานั้น ดังนี้ ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น ๘ รูป คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ วรรณะ คันธะ รส โอชา ปฐวีธาตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในภายในแห่งรูป ๘ เหล่านั้น กระทบอยู่ซึ่งอุปทินนกกายก่อนจึงเกิดขึ้น เสียงย่อมเกิดขึ้นด้วยกายกระทบกับปฐวีธาตุนั้น นี้ชื่อว่า เสียงที่มีจิตเป็นสมุฏฐานนี้ไม่ใช่วิญญัติ แต่ว่า วิการแห่งอาการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นปัจจัยแก่การกระทบอุปทินนกกายของปฐวีธาตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานนั้น นี้ชื่อว่า วจีวิญญัติ นอกจากนี้ คําทั้งปวงมีอาทิว่า สา อฏ รูปานิ วิย น จิตฺตสมุฏานา วจีวิญญัตินั้น ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เหมือนรูปทั้ง ๘ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
จริงอยู่ แม้ในที่นี้บุคคลฟังเสียงของผู้เรียกว่า ติสสะ ทัตตะ มิตตะดังนี้ แล้วก็คิดถึงวิญญัติ ด้วยมโนทวารจิตแล้วย่อมรู้ว่า ผู้นี้เห็นจะให้กระทําสิ่งนี้และสิ่งนี้ ดังนี้ อนึ่ง แม้วาจานี้ ก็ย่อมปรากฏแก่สัตว์เดรัจฉาน ดุจกาย-
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 270
วิญญัติ. จริงอยู่ แม้สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายพึงเสียงว่า เจ้าจงมา เจ้าจงไป ดังนี้ก็รู้ว่า บุคคลนี้เห็นจะให้ทําชื่อสิ่งนี้ จึงเดินมาและเดินไป.
ก็วาระนี้ว่า เสียงย่อมยังกายอันมีสมุฏฐาน ๓ อย่าง ย่อมให้ไหวหรือไม่ให้ไหว ดังนี้ ไม่มีในวจีวิญญัตินี้ แม้กิจคือการอุปถัมภ์แห่งเสียงที่มีจิตเป็นสมุฏฐานดวงก่อนก็ไม่มี แต่ว่า เจตนาใดที่ให้สําเร็จ แม้ในวจีทวารนั้น และเจตนาที่เป็นเหตุพูดเท็จ กล่าวส่อเสียด กล่าวคําหยาบ กล่าวเพ้อเจ้อ เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น นี้ชื่อว่า วจีกรรม. เบื้องหน้าแต่นี้บัณฑิตพึงทราบการกําหนดกรรม การกําหนดทวารโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั้นแล.
จบ กถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม
กถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม
ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรมต่อไปใจ ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งจิตที่เป็นกามาวจรจิตเป็นต้น ชื่อว่า มโน (ใจ) ในบรรดามโนที่เป็นกามาวจรเป็นต้นเหล่านั้น มโนแม้ทั้งหมดมี ๘๙ อย่างคือ มโนที่เป็นกามาวจร ๕๔ อย่าง มโนที่เป็นรูปาวจรมี ๑๕ อย่างมโนที่เป็นอรูปาวจรมี ๑๒ อย่าง มโนที่เป็นโลกุตตรมี ๘ อย่าง ในบรรดามโนเหล่านั้น ธรรมดามโนนี้ไม่ควรกล่าวว่าไม่เป็นมโน เหมือนอย่างว่าธรรมดาว่า เจตนานี้ ไม่ควรกล่าวว่าไม่เป็นกรรม เพราะโดยที่สุดแม้เจตนาที่สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๕) ในมหาปกรณ์ก็ทรงแสดงไว้ว่า เป็นกรรมนั่นแหละ ฉันใด ธรรมดาว่า มโนนี้ก็ไม่ควรกล่าวว่า ไม่ใช่มโนทวารฉันนั้นเหมือนกัน.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 271
ในอธิการว่าด้วยมโนทวารนี้ มีผู้ท้วงกล่าวว่าธรรมดาว่า กรรมนี้ย่อมทําซึ่งอะไร ตอบว่า ย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวม ย่อมตั้งใจ ย่อมดําริย่อมให้สําเร็จ. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เจตนาในปัญจวิญญาณย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวมซึ่งอะไร ตอบว่าย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวม ซึ่งสหชาตธรรมทั้งหลาย. จริงอยู่ เจตนาในปัญจวิญญาณแม้นั้น ย่อมประมวล ย่อมตกแต่ง ย่อมรวบรวม ย่อมตั้งใจ ย่อมดําริ ย่อมให้สําเร็จสัมปยุตขันธ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน. อีกอย่างหนึ่ง มีประโยชน์อะไร ด้วยการกล่าวถึงข้อนี้ เพราะท่านได้กล่าวคํานี้ไว้ด้วยสามารถแห่งการรวบรวมมโน (ใจ) ไว้ทั้งหมด ก็ในอธิการว่าด้วยมโนทวารนี้ มีคําสันนิษฐานดังนี้ มโน ๒๙ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกุศลและอกุศลอันเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม แต่เจตนาใดที่ให้สําเร็จในมโนทวารนั้นย่อมถือเอาซึ่งอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทัสสนะ และความไม่มีอภิชฌา ไม่พยาบาท และสัมมาทัสสนะ ด้วยเจตนาใด นี้ชื่อว่า มโนกรรม. เบื้องหน้าแต่นี้บัณฑิตพึงทราบการกําหนดกรรมและการกําหนดทวารทั้งหมด โดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ดังนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 272
กถาว่าด้วยกรรม ๓ (๑)
ชื่อว่า ทวารแห่งกรรม ๓ เหล่านี้ บัดนี้ จะกล่าวถ้อยคําพิสดารการตั้งมาติกาในกถาว่าด้วยทวารที่กล่าวค้างไว้ ตั้งแต่กรรม ๓ ตามที่ได้แสดงทวารแห่งกรรมเหล่านั้นแล้ว เว้นกรรม ๓ เหล่านั้นไว้. จริงอยู่ กรรม ๓ คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ถามว่า ชื่อว่า กรรม นี้ได้แก่อะไรบ้างตอบว่า ได้แก่ เจตนา และธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาบางอย่าง บรรดาธรรมทั้งสองเหล่านั้น ความที่เจตนาเป็นกรรม มีพระสูตรเหล่านั้นกล่าวไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้วจึงกระทํากรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (และคําว่า) ดูก่อนอานนท์ จริงอยู่เมื่อกายมีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนาเป็นเหตุ (เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ) ดูก่อนอานนท์ หรือเมื่อวาจามีอยู่ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนาเป็นเหตุ ดูก่อนอานนท์หรือว่าเมื่อใจมีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนาเป็นเหตุ (และคําว่า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓ อย่างเป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกําไร มีทุกข์เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มโนสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกําไร มีสุขเป็นวิบาก (และคําว่า) ดูก่อนอานนท์ ถ้าโมฆบุรุษ ชื่อว่า สมิทธินี้ถูกปาฏลิบุตรปริพาชกถามอย่างนี้พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านปาฏลิบุตร ท่านกระทํากรรมเนื่องด้วยสัญเจตนา ย่อมเสวยสุขเนื่องด้วยสุขเวทนา ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ฯลฯ
(๑) กถานี้เป็นลําดับแรกแต่ท่านแสดงไว้ที่ ๒
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 273
ท่านก็ย่อมเสวยอทุกขมสุขเนื่องด้วยอทุกขมสุขเวทนา ดังนี้ ดูก่อนอานนท์ เมื่อสมิทธิโมฆบุรุษนั้นพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่า พยากรณ์โดยชอบแก่ปาฏลิบุตรปริพาชก. ความที่เจตนาเป็นกรรมมีพระสูตรเพียงเท่านี้ก่อน.
ส่วนความที่สัมปยุตตธรรมด้วยเจตนาเป็นกรรม ท่านแสดงไว้โดยกรรมจตุกกะ (หมวด ๔ แห่งกรรม) สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ เหล่านั้น เรากระทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว กรรม ๔ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมดํามีวิบากดําก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดําทั้งขาวมีวิบากทั้งดําทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดําไม่ขาวมีวิบากไม่ดําไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรมก็มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดําไม่ขาวมีวิบากไม่ดําไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดําไม่ขาวมีวิบากไม่ดําไม่ขาว ย่อมเป็นเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดําไม่ขาวมีวิบากไม่ดําไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดําไม่ขาวมีวิบากไม่ดําไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ธรรม ๑๕ อย่าง ต่างโดยโพชฌงค์และองค์มรรคเหล่านั้น ทรงแสดงไว้ด้วยกรรมจตุกกะ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง พึงทราบธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ๒๑ อย่าง กับธรรม ๖ อย่างเหล่านั้น คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ อนภิชฌา อัพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ.
บรรดาธรรมเหล่านั้น โลกุตตรมรรคเมื่อจะรวมเป็นพวก ก็ย่อมรวมกรรม ๓ อย่าง มีกายกรรมเป็นต้น. จริงอยู่การสํารวมจากการประพฤติก้าวล่วงความทุศีลทางวาจา พึงทราบว่าเป็น วาจสิกะ สัมมากัมมันตะเป็นกายกรรม สัมมาวาจาเป็นวจีกรรม เมื่อถือเอากรรมทั้งสองหมวดนี้ สัมมาอาชีวะย่อม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 274
ชื่อว่าเป็นอันถือเอาแล้ว เพราะเป็นพวกแห่งกรรมทั้งสองนั้นทีเดียว. ส่วนการสํารวมจากการก้าวล่วงความทุศีลทางใจ พึงทราบว่าเป็น มานสิกะ มานสิกะ (การสํารวมทางใจ) นั้น มี ๕ อย่างด้วยสามารถแห่ง ทิฏฐิ สังกัปปะ วายามะ สติ และสมาธิ มานสิกะแม้ ๕ อย่างนี้ ชื่อว่า มโนกรรม โลกุตตรมรรคเมื่อรวมเป็นพวกก็ย่อมรวมกรรม ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
ในที่นี้ ชื่อว่า การเทียบเคียงกับทวาร จริงอยู่ กรรมที่ถึงความหวั่นไหวในกายทวารและวจีทวารแต่ไม่ถึงกรรมบถก็มี กรรมที่ถึงความปรากฏเป็นไปในมโนทวารแต่ไม่ถึงกรรมบถก็มี ท่านจึงถือเอากรรมนั้นๆ (ที่ไม่เป็นกรรมบถ) กระทําให้เป็นพวกของทวารนั้นๆ ทีเดียว. ในเรื่องนั้นมีนัยดังนี้.
บุคคลใดคิดว่าจักไปล่าเนื้อ จึงจัดแจงธนู ฟันเชือก ลับหอกบริโภคอาหารแล้วนุ่งห่มเสื้อผ้า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ กรรมก็ถึงความหวั่นไหว แล้วในกายทวาร. เขาเที่ยวไปในป่าตลอดวันย่อมไม่ได้อะไรโดยที่สุด แม้กระต่ายและแมว. ถามว่า อกุศลนี้ ชื่อว่า เป็นกายกรรมหรือไม่ ตอบว่า ไม่เป็น ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่ถึงกรรมบถ. แต่พึงทราบว่า อกุศลจิตนี้ชื้อว่า กายทุจริตอย่างเดียว. แม้ในการไปจับปลาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน แม้ในวจีทวาร บุคคลสั่งว่า เราจักไปล่าเนื้อ พวกเจ้าจงเตรียมธนูเป็นต้นโดยเร็วเถิด ดังนี้ เมื่อไม่ได้อะไรในป่าโดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นถึงความหวั่นไหวในวจีทวารแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ไม่เป็นวจีกรรม. พึงทราบว่าอกุศลจิตนั้น ชื่อว่า เป็นวจีทุจริตอย่างเดียว. ส่วนในมโนทวาร เมื่อวธกเจตนาเพียงเกิดขึ้นเท่านั้นก็ย่อมเป็นอันทําลายกรรมบถทีเดียว. อนึ่ง ประเภทกรรมบถนั้นย่อมมี ด้วยอํานาจแห่งความพยาบาท มิใช่ด้วยอํานาจแห่งปาณาติบาต จริงอยู่ กายกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมตั้งขึ้นในกายทวารและวจีทวาร ไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร วจีกรรมที่เป็นอกุศลก็เหมือนกัน. แต่มโนกรรมที่เป็น
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 275
อกุศลย่อมตั้งขึ้นในทวารแม้ทั้งสาม. กายกรรม วจีกรรม และมโนทวาร ที่เป็นกุศลก็เหมือนกัน.
ถามว่า เป็นอย่างไร?
ตอบว่า เมื่อบุคคลฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร กรรมย่อมเป็นกายกรรมเท่านั้น แม้ทวารก็เป็นกายทวารเหมือนกัน กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ก่อน ส่วนอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็นไปฝ่ายเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริก (กล่าวอ้างไม่ได้ว่ามีหรือไม่มี) บ้าง.
แต่เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงไปฆ่าผู้นี้ จงลักสิ่งของชื่อนี้ กรรมเป็นกายกรรม สําหรับทวารเป็นวจีทวาร กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารอย่างนี้ ส่วนอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้นเป็นไปในฝ่ายเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ชื่อว่า คําอธิบายที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้.
ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารก็มี อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้น ถูกอาจารย์อื่นท้วงว่า ท่านจงนําสูตรที่ยกขึ้นในการรวบรวม (สังคายนา) ทั้ง ๓ ดังนี้ จึงนําชื่อกุลุมพสูตรนี้มาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง สมณะ หรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีฤทธิ์ถึงความชํานาญจิต เพ่งดูสัตว์ในเกิดในครรภ์ของหญิงอื่นด้วยใจอันลามกว่าโอหนอ สัตว์ในครรภ์นี้ อย่าพึงคลอดออกมาด้วยความสวัสดี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฆ่าสัตว์ในครรภ์ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. อาจารย์วิตัณฑวาทีครั้นนําสูตรนี้มาแล้ว จึงกล่าวว่า ก็เพียงแต่คิดเท่านั้น สัตว์เกิดในครรภ์ของหญิงนั้นก็ย่อมย่อยยับไปเหมือนก้อนฟองน้ำ ในการย่อยยับแห่งครรภ์นี้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 276
มีการไหวส่วนแห่งกายหรือส่วนแห่งวาจาแต่ที่ไหนเล่า ก็กายกรรมที่เป็นอกุศลนี้ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารทีเดียว ดังนี้.
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า พวกเราจักพิจารณาเนื้อความพระสูตรของท่าน ดังนี้ แล้วพากันพิจารณาโดยนัยที่ท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวถึงการฆ่าสัตว์อื่นด้วยฤทธิ์ ก็ธรรมดาว่าฤทธิ์นั้นมี ๑๐ อย่างคือ อธิษฐานอิทธิ วิกุพพนอิทธิ มโนมยอิทธิ ญาณวิปผารอิทธิ สมาธิวิปผารอิทธิ อริยอิทธิ กัมมวิปากชอิทธิ ปุญญวโตอิทธิ วิชชามยอิทธิ ภาวนามยอิทธิ ที่ชื่อว่า ฤทธิ์ ด้วยอรรถว่าสําเร็จ เพราะการประกอบโดยชอบในคุณนั้นๆ เป็นปัจจัย บรรดาฤทธิ์เหล่านั้น ท่านกล่าวถึงฤทธิ์อย่างไหน. ท่านวิตัณฑวาทีตอบว่า ภาวนามยอิทธิ. ถามว่า กรรมคือการฆ่าสัตว์อื่นมีได้ด้วยภาวนามยอิทธิหรือ. ท่านวิตัณฑวาทีตอบว่า ใช่. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การฆ่าสัตว์อื่นด้วยภาวนามยอิทธินั้นมีได้ครั้งหนึ่ง. เหมือนหม้อน้ำเต็มด้วยน้ำบุคคลประสงค์จะประหารผู้อื่นจึงขว้างไปแล้ว แม้หม้อก็แตก แม้น้ำก็พินาศไปฉันใด กรรม คือ การฆ่าผู้อื่นด้วยภาวนามยอิทธิ ย่อมมีได้ครั้งหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ต่อจากนั้นไปฤทธิ์นั้นก็เสื่อม.
ลําดับนั้น อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านวิตัณฑวาทีนั้นว่ากรรม คือการประหารผู้อื่นด้วยภาวนามยอิทธิ มิได้มีหนึ่งครั้งสองครั้งเท่านั้น แล้วจึงถามท่านวิตัณฑวาทีซึ่งไม่ดําเนินไปด้วยวาจาตามประกาศให้รู้ว่า ภาวนามยอิทธิเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หรือเป็นอัพยากตะ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เป็นสวิตักกวิจาร ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร. บุคคลใดรู้ปัญหานี้ บุคคลนั้นย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า ภาวนามยอิทธิย่อมเป็นกุศลบ้าง เป็นอัพยากตะบ้าง เป็นที่ตั้งของอทุกขมสุขบ้าง เป็นอวิตักกอวิจาร และเป็นรูปาวจรเท่านั้น. อาจารย์
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 277
วิตัณฑวาทีนั้นจะพึงถูกผู้อื่นถามว่า เจตนาที่ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ย่อมรวมเข้ากันได้กับส่วนไหนในบรรดากุศลเป็นต้น. เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาทีรู้อยู่ก็ย่อมบอกว่า เจตนาที่ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นอกุศล เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีวิตกและวิจารเป็นกามาวจรเท่านั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้นก็พึงบอกวิตัณฑวาทีว่า ปัญหาของท่านไม่สมกับเป็นกุศลติกะ ไม่สมกับเวทนาติกะ ไม่สมกับวิตักกติกะ ไม่สมกับภุมมันตระ (คือกามาวจรเป็นต้น) . อาจารย์วิตัณฑวาทีจะกล่าวว่า ก็สูตรใหญ่อย่างนี้ไม่มีประโยชน์หรือ? พวกอาจารย์พึงตอบว่า มิใช่ ไม่มีประโยชน์ แต่ว่าท่านย่อมไม่รู้ประโยชน์ของสูตรนั้นว่า สมณะหรือพราหมณ์นั้นมีฤทธิ์ถึงความชํานาญทางใจ. จริงในที่นี้ท่านไม่ประสงค์เอาภาวนามยอิทธิ แต่ประสงค์เอาอาถัพพนิทธิ.
จริงอยู่ อาถัพพนิทธินั้น เมื่อได้ ย่อมได้ในคําว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ ถึงความชํานาญทางใจนี้ แต่ว่า อาถัพพนิทธินั้น พ้นจากกายทวารและวจีทวารแล้วก็ไม่อาจทําได้ เพราะว่า บุคคลผู้ประกอบอาถัพพนิทธิทั้งหลาย ต้องบริโภคของไม่เค็ม ปูลาดหญ้าแพรก นอนบนพื้นดิน ประพฤติตบะตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ตกแต่งพื้นที่ป่าช้า แล้วยืนอยู่ในย่างเท้าที่ ๗ ทําให้มือหมุนไปมาร่ายมนต์ด้วยปาก ทีนั้นการทําของพวกเขาจึงสําเร็จ ฤทธิ์แม้นี้พ้นจากกายทวารและวจีทวารแล้ว ก็ไม่อาจทําได้ เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงถึงความตกลงว่ากายกรรมย่อมไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร ดังนี้.
ก็เมื่อบุคคลกล่าวมุสาวาทเป็นต้นด้วยศีรษะและมือ กรรมเป็นวจีกรรม แต่ทวารเป็นกายทวาร แม้วจีกรรมที่เป็นอกุศลก็ย่อมตั้งขึ้นในกายทวารด้วยประการฉะนี้. ส่วนอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ก็เมื่อบุคคลทําการ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 278
เปล่งวาจากล่าวมุสาวาทเป็นต้น แม้กรรมก็เป็นวจีกรรม แม้ทวารก็เป็นวจีทวารเหมือนกัน วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารด้วยประการฉะนี้. ส่วนอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้นเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ชื่อว่า คําชี้แจงที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายมีเพียงเท่านี้.
ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารก็ได้. อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นถูกอาจารย์อื่นซักว่า ท่านจงนําสูตรที่ขึ้นสู่การรวบรวมทั้งสามครั้งมา จึงนําสูตรอุโปสถขันธกะมาว่า ก็ภิกษุใดเมื่อถูกสวดประกาศถึง ๓ ครั้ง ระลึกได้ แต่ไม่ทําให้แจ้งซึ่งอาบัติที่มีอยู่ ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติสัมปชานมุสาวาท ดังนี้. ครั้นท่านนําสูตรนี้มาแล้วก็กล่าวว่า ภิกษุนั้นไม่กระทําให้แจ้งอาบัติอย่างนี้ เป็นผู้นิ่งเฉย ย่อมต้องอาบัติอื่น การไหวส่วนแห่งกาย หรือวาจาในที่นี้มีที่ไหน ก็วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารนั่นแหละ ดังนี้.
อาจารย์ทั้งหลายพึงถามวิตัณฑวาทีนั้นว่า ก็สูตรที่ท่านกล่าวนี้ มีเนื้อความที่ควรแนะนํา หรือมีเนื้อความอธิบายไว้แล้ว อย่างไร? วิตัณฑวาทีกล่าวว่า สูตรของข้าพเจ้านี้ มีเนื้อความอธิบายไว้แล้วดังนี้ แล้วถูกกล่าวเตือนว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้ พวกเราจักช่วยกันพิจารณาดูเนื้อความของสูตรนั้นดังนี้ แล้วพึงถาม อย่างนี้ว่า มีอาบัติอะไรในเพราะสัมปชานมุสาวาท. เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาทีรู้อยู่ก็จักบอกว่า เป็นอาบัติทุกกฏในเพราะสัมปชานมุสาวาท จากนั้นก็พึงถูกกล่าวว่า วินัยมีมูลเหตุสองอย่าง คือ กายและวาจา จริงอยู่พระสัมมาสัมพุทธะทรงบัญญัติอาบัติทั้งหมดในทวารทั้ง ๒ เหล่านี้เท่านั้น ขึ้นชื่อว่า การบัญญัติอาบัติ ในมโนทวารย่อมไม่มี ท่านรู้วินัยบัญญัติมากไป
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 279
บุคคลใดบัญญัติอาบัติในฐานะอันพระศาสดาไม่บัญญัติไว้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมกล่าวตู่พระสัมมาสัมพุทธะ ย่อมประหารชินจักร ครั้นถูกข่มด้วยถ้อยคําเป็นต้นอย่างนั้นแล้วก็พึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมตั้งขึ้นเพราะการกระทําหรือ หรือว่าเพราะการไม่กระทํา ดังนี้ เมื่อวิตัณฑวาทีทราบอยู่ก็จักทบอกว่า เพราะการไม่กระทํา จากนั้น ก็พึงบอกท่านว่า ภิกษุผู้ไม่ทําให้แจ้งอาบัติย่อมทํากิริยาอย่างไหน ท่านวิตัณฑวาทีเมื่อไม่เห็นการกระทําแน่แท้ก็จักถึงความลําบากใจ ลําดับนั้น อาจารย์ทั้งหลายพึงให้วิตัณฑวาทีนั้นยอมจํานนด้วยเนื้อความแห่งสูตรนี้. ก็ในสูตรนี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้
ถามว่า สัมปชานมุสาวาท ที่ท่านกล่าวว่าเป็นอาบัติ เป็นอาบัติอะไร คือ เป็นอาบัติประเภทไหน ตอบว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ก็อาบัติทุกกฏนั้นแลว่าโดยลักษณะแห่งมุสาวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอาบัติซึ่งมีการไม่ทําในวจีทวารตามพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสมุฏฐาน สมจริงดังคําที่ตรัสไว้ในปริวาร ว่าด้วยเสทโมจนคาถาว่า
ภิกษุไม่เจรจากับมนุษย์ไรๆ ไม่เปล่งวาจาพูดกับผู้อื่น แต่ต้องอาบัติทางวาจา ไม่ต้องอาบัติทางกาย ปัญหานี้ท่านผู้รู้ทั้งหลายคิดกันแล้ว ดังนี้.
ในที่นี้ พึงถึงความตกลงว่า วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร ด้วยประการฉะนี้.
ก็แต่ในกาลใด บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอภิชฌายังส่วนแห่งกายให้ไหว กระทํากิจมีการถือเอาด้วยมือเป็นต้น มีใจสหรคตด้วยพยาบาทมีการถือไม้เป็นต้น มีใจสหรคตด้วยมิจฉาทิฏฐิคิดว่า พระขันธกุมาร พระศิวะประเสริฐ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 280
ที่สุด จึงทํากิจมีการอภิวาท อัญชลีกรรม และตกแต่งตั่งน้อยสําหรับภูต เพื่อพระศิวะนั้น ในกาลนั้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นกายทวาร มโนกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวาร ด้วยประการฉะนี้ แต่เจตนาในที่นี้เป็นอัพโพหาริก.
ในกาลใด บุคคลมีใจสหรคตด้วยอภิชฌา ยังส่วนแห่งวาจาให้ไหวเพ่งดูอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นโดยพูดว่า โอหนอของผู้อื่นพึงเป็นของเราดังนี้ มีใจสหรคตด้วยพยาบาท กล่าวว่า ขอสัตว์เหล่านี้ถูกเบียดเบียน จงถูกฆ่า จงขาดสูญ หรือว่า จงอย่าได้มี ดังนี้ มีใจสหรคตด้วยมิจฉาทิฏฐิย่อมกล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บุคคลเซ่นสรวงแล้วไม่มีผลเป็นต้น ในกาลนั้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นวจีทวาร มโนกรรมย่อมตั้งขึ้นในวจีทวาร ด้วยประการฉะนี้ เจตนาในที่นี้ก็เป็น อัพโพหาริก.
ก็ในกาลใด บุคคลไม่ยังส่วนแห่งกายวาจาให้ไหว นั่งแล้วในที่ลับ ให้จิตทั้งหลายเกิดขึ้นสหรคตด้วยอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ ในกาลนั้นกรรมเป็นมโนกรรม แม้ทวารก็เป็นมโนทวารเหมือนกัน มโนกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวาร ด้วยประการฉะนี้. ก็ในที่นี้ เจตนาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารเท่านั้น มโนกรรมที่เป็นอกุศลบัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารแม้ทั้ง ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็คําที่ท่านกล่าวว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่เป็นกุศลก็เหมือนกันนั้น มีนัยดังต่อไปนี้.
จริงอยู่ ในกาลใด บุคคลไม่สามารกล่าววาจาด้วยเหตุบางอย่าง ย่อมถือเอาสิกขาบทเหล่านี้ ด้วยมือและศีรษะว่า ข้าพเจ้าย่อมงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร ดังนี้ ในกาลนั้น กรรม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 281
เป็นกายกรรม แม้ทวารก็เป็นกายทวารเหมือนกัน กายกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ ธรรมมีอภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้นย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง.
แต่ในกาลใด บุคคลเปล่งวาจารับสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละในกาลนั้น กรรมเป็นกายกรรม แต่ทวารเป็นวจีทวาร กายกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารอย่างนี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง.
แต่ในกาลใด เมื่อพระภิกษุให้สิกขาบทเหล่านั้นอยู่ บุคคลไม่ให้ส่วนแห่งกายและวาจาให้ไหว ย่อมรับเอาด้วยใจเท่านั้นว่า ข้าพเจ้าย่อมงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร ดังนี้ ในกาลนั้น กรรมเป็นกายกรรม แต่ทวารเป็นมโนทวาร กายกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารอย่างนี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ก็เมื่อบุคคลรับสิกขาบททั้ง ๔ มีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น ด้วยกายเป็นต้นโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ วจีกรรมที่เป็นกุศล บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมตั้งขึ้นในทวารทั้ง ๓ดังนี้ แม้ในที่นี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้น ก็ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้างเป็นอัพโพหาริกบ้าง.
แต่ว่า บุคคลยังส่วนแห่งกายให้ไหวไปด้วยจิตอันสหรคตด้วยอนภิชฌาเป็นต้น กระทําการปัดกวาดลานพระเจดีย์ ทําการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น และไหว้พระเจดีย์เป็นต้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นกายทวาร มโนกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ แต่ว่าเจตนาในที่นี้ เป็นอัพโพหาริกเท่านั้น เมื่อบุคคลมีจิตสหรคตด้วยอนภิชฌา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 282
ยังส่วนแห่งวาจาให้ไหว ไม่เพ่งดูว่า โอหนอ วัตถุเครื่องปลื้มใจของคนอื่นพึงเป็นของเราดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยอัพยาบาท กล่าวอยู่ว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขีอตฺตานํ ปริหรนฺตุ ดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยสัมมาทิฏฐิ เปล่งวาจาว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผลเป็นต้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นวจีทวาร มโนกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารอย่างนี้ แต่เจตนาในที่นี้เป็นอัพโพหาริก แต่เมื่อบุคคลไม่ให้กายและวาจาไหว นั่งในที่ลับให้จิตเกิดขึ้นสหรคตด้วยอนภิชฌาเป็นต้น ด้วยใจเท่านั้น กรรมเป็นมโนกรรม แม้ทวารก็เป็นมโนทวารเหมือนกัน มโนกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารอย่างนี้ แต่ในฐานะนี้ เจตนาก็ดีธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารเท่านั้น.
บรรดากรรมและทวารเหล่านั้น บุคคลเมื่อกล่าวว่า เมื่อปาณาติบาตและอทินนาทานทั้งหลายที่ตั้งขึ้นด้วยอาณัติ แม้กรรมก็เป็นกายกรรม แม้ทวารก็เป็นกายทวารด้วยอํานาจแห่งกรรมนั่นแหละ ดังนี้ ย่อมรักษากรรมชื่อว่า ย่อมทําลายทวาร เมื่อกล่าวว่า บรรดามุสาวาทเป็นต้นที่ตั้งขึ้นด้วยมือและศีรษะ แม้ทวารก็เป็นกายทวาร แม้กรรมก็เป็นกายกรรมด้วยอํานาจแห่งทวารนั่นแหละ ดังนี้ ย่อมรักษาทวาร ชื่อว่า ย่อมทําลายกรรม เพราะฉะนั้น ไม่ควรทําลายทวารด้วยคิดว่า เราจักรักษากรรม และไม่พึงทําลายกรรม ด้วยคิดว่า เราจักรักษาทวาร อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบกรรมและทวารโดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ เพราะว่า เมื่อบุคคลกล่าวอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ทําลายกรรมและทวารดังนี้แล.
จบกถาว่าด้วยกรรม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 283
อธิบายว่าด้วยวิญญาณ ๕ เป็นต้น
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยวิญญาณ ๕ และทวารวิญญาณ ๕ ต่อไป.
ชื่อว่าวิญญาณ ๕ คือ
๑. จักขุวิญญาณ
๒. โสตวิญญาณ
๓. ฆานวิญญาณ
๔. ชิวหาวิญญาณ
๕. กายวิญญาณ
ชื่อว่าทวารวิญญาณ ๕ คือ
๑. ทวารแห่งจักขุวิญญาณ
๒. ทวารแห่งโสตวิญญาณ
๓. ทวารแห่งฆานวิญญาณ
๔. ทวารแห่งชิวหาวิญญาณ
๕. ทวารแห่งกายวิญญาณ
เจตนาที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งทวาร ๕ เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่าไม่เป็นกายกรรม ไม่เป็นวจีกรรม เป็นแต่มโนกรรมเท่านั้น. แต่ชื่อว่า สัมผัสเหล่านั้นมี ๖ คือจักขุสัมผัส โสต ฆาน ชิวหา กาย มโนสัมผัส. ชื่อว่า ทวารแห่งสัมผัสเหล่านี้มี ๖ คือ ทวารแห่งจักขุสัมผัส ทวารแห่งโสต ฆาน ชิวหากาย มโนสัมผัส. ชื่อว่า อสังวร ๘ เหล่านั้น คือ จักขุอสังวร โสต ฆาน ชิวหา ปสาทกาย โจปนกายอสังวร วาจาสังวร มโนอสังวร. อสังวร ๘ เหล่านั้น ว่าโดยอรรถได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ ความเป็นผู้ทุศีล
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 284
(ทุสฺสีลยํ) ความเป็นผู้หลงลืมสติ (มุฏสสจฺจํ) ความไม่รู้ (อฺาณํ) ความไม่อดทน (อกฺขนฺติ) ความเกียจคร้าน (โกสชฺชํ) บรรดาธรรม ๕ เหล่านั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นในจิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดในปัญจทวาร แต่ย่อมเกิดในขณะแห่งชวนจิตเท่านั้น ธรรมนั้นแม้เกิดขึ้นในชวนจิต ท่านเรียกว่า อสังวร (ความไม่สํารวม) ในทวาร ๕.
จริงอยู่ ผัสสะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ ชื่อว่าจักขุสัมผัส เจตนาชื่อว่า มโนกรรม จิตนั้น ชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม ในจักขุวิญญาณนี้อสังวร ๕ อย่างยังไม่มี. ผัสสะที่เกิดพร้อมกับสัมปฏิฉันนจิต ชื่อว่ามโนสัมผัส เจตนาชื่อว่า มโนกรรม จิตนั้นชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรมในสัมปฏิจฉันนจิตแม้นี้ อสังวรก็ยังไม่มี. แม้ในสันติรณจิตและโวฏฐัพพนจิตก็มีนัยนี้แหละ. แต่ว่าผัสสะที่เกิดพร้อมกับชวนจิตชื่อว่า มโนสัมผัส เจตนาชื่อว่า มโนกรรม จิตนั้นชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม ความไม่สํารวมในชวนจิตนั้น ชื่อว่า จักขุอสังวร (ความไม่สํารวมทางจักษุ) . แม้ในโสตฆานชิวหาปสาทกายทวาร ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็ในกาลใด ชวนจิตทางมโนทวารมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ เว้นวจีทวาร ย่อมเกิดขึ้นยังความไหวกายทวารล้วนให้เป็นไปอยู่ ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ชื่อว่า มโนสัมผัสเจตนาชื่อว่า กายกรรม แต่จิตนั้นเป็นอัพโพหาริก ไม่ถึงการนับว่าเป็นมโนทวาร เพราะความไหวเกิดแล้ว ก็ความไม่สํารวมในชวนะนี้ ชื่อว่าความไม่สํารวมทางกาย (กายอสังวร)
ในกาลใด ชวนจิตเช่นนั้นนั่นแหละ จากกายทวาร เกิดขึ้นยังการไหววจีทวารล้วนๆ ให้เป็นไปอยู่ ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 285
ชื่อว่า มโนสัมผัส เจตนาชื่อว่า วจีกรรม แต่จิตนั้นเป็นอัพโพหาริกไม่ถึงการนับว่าเป็นมโนทวาร เพราะความไหวเกิดขึ้นแล้ว ความไม่สํารวมในชวนจิตนี้ ชื่อว่า วาจาอสังวร (ความไม่สํารวมทางวาจา) .
แต่ในกาลใด ชวนจิตเช่นนั้นเว้นจากกายทวารและวจีทวาร เป็นมโนทวารล้วนๆ เกิดขึ้น ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ชื่อว่ามโนสัมผัส เจตนาชื่อว่า มโนกรรม จิตชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม ความไม่สํารวมในชวนจิตนี้ ชื่อว่า มโนอสังวร (ความไม่สํารวมทางใจ)
บัณฑิตพึงทราบทวารแห่งอสังวร ๘ เหล่านี้ คือ ทวารแห่งอสังวรทางจักษุ ทวารแห่งอสังวรทางโสต ฆาน ชิวหา ปสาทกาย โจปนกายวาจา มโน ด้วยอํานาจแห่งอสังวร ๘ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนชื่อว่า สังวร ๘ เหล่านี้ คือ จักขุสังวร (สํารวมทางตา) โสตสังวร ฆานสังวร ชิวหาสังวร ปสาทกายสังวร โจปนกายสังวร วาจาสังวร มโนสังวร. บรรดาสังวรเหล่านั้น ว่าโดยอรรถได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้คือ ศีล สติ ญาณ ขันติ วิริยะ ในบรรดาธรรมทั้ง ๕ แม้เหล่านั้นแม้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดในจิตทั้งหลาย มีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดในปัญจทวาร ธรรมนั้นย่อมเกิดในขณะแห่งชวนจิตเท่านั้น แม้เกิดในชวนจิตท่านก็เรียกว่า สังวรในปัญจทวาร.
บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้นแม้ทั้งหมด โดยนัยที่กล่าวแล้วในอสังวรซึ่งมีคําว่า จกฺขุวิฺาณสหชาโต หิ ผสฺโส จกฺขุสมฺผสฺโส (จริงอยู่ ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ ชื่อว่า จักขุสัมผัส) เป็นต้นด้วยสามารถแห่งสังวร ๘ เหล่านี้อย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบสังวรทวาร (ทวารแห่งสังวร) ๘ เหล่านั้น คือ ทวารแห่งสังวรทางจักษุ ฯสฯ ทวารแห่งสังวรทางมโนตามที่กล่าวแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 286
กถาว่าด้วยอกุศลกรรมบถ
ก็ชื่อว่าอกุศลกรรมบถเหล่านี้มี ๑๐ คือ
ปาณาติบาต
อทินนาทาน
กาเมสุมิจฉาจาร
มุสาวาท
ปิสุณาวาจา
ผรุสวาจา
สัมผัปปลาปะ
อภิชฌา
พยาบาท
มิจฉาทิฏฐิ.
บรรดาอกุศลกรรมบถเหล่านั้น การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่า ปาณาติบาต ท่านอธิบายว่า การทําลายชีวิต คือการฆ่าสัตว์. ก็ในคําว่าปาณาติบาตนี้ โดยโวหารได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ได้แก่ชีวิตินทรีย์ ๒ อย่าง วธกเจตนา (เจตนาฆ่า) ของบุคคลผู้มีความสําคัญในสัตว์นั้น ว่ามีชีวิต เป็นไปทางทวารใดทวารหนึ่งของกายทวาร หรือวจีทวารที่ตั้งขึ้นด้วยความพยาบาทเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปาณาติบาต. ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายมีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้นที่ไม่มีคุณ ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยในเพราะสัตว์เล็ก ชื่อว่ามีโทษมากในเพราะร่างกายใหญ่. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะมีความพยาบาทมาก. แม้จะมีความพยายามเสมอกันก็มีโทษมากเพราะวัตถุใหญ่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 287
บรรดาสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ปาณาติบาตนั้นชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะสัตว์มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมากเพราะมีคุณมาก. เมื่อสัตว์นั้นมีสรีระและคุณเท่ากัน ก็พึงทราบว่า ปาณาติบาตมีโทษน้อยเพราะความที่กิเลสทั้งหลาย และความพยายามอ่อน ชื่อว่ามีโทษมากเพราะกิเลสและความพยายามกล้า.
องค์ (ส่วนประกอบ) ของปาณาติบาตนั้น มี ๕ อย่าง คือ
๑. ปาโณ (สัตว์มีชีวิต)
๒. ปาณสฺิตา (รู้ว่าสัตว์มีชีวิต)
๓. วธกจิตฺตํ (มีจิตคิดฆ่า)
๔. อุปกฺกโม (มีความพยายาม)
๕. เตน มรณํ (สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น)
ปาณาติบาตนั้น ประโยค ๖ คือ
๑. สาหัตถิกปโยคะ
๒. อาณัตติกปโยคะ
๓. นิสสัคคิยปโยคะ
๔. ถาวรปโยคะ
๕. วิชชามยปโยคะ
๖. อิทธิมยปโยคะ
ก็อรรถนี้ข้าพเจ้าให้พิสดารอยู่ย่อมจะชักช้าไป เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่ยังอรรถนั้น และอรรถอื่นอย่างเดียวกันให้พิสดาร แต่ผู้ต้องการอรรถพิสดารพึงตรวจดูอรรถกถาพระวินัยชื่อ สมันตปาสาทิกา แล้วถือเอาเถิด.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 288
ว่าด้วยอทินนาทาน
การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ชื่อว่า อทินนาทาน ท่านอธิบายว่า การนําภัณฑะ (สิ่งของ) ของคนอื่นไป คือการลัก การขโมย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทินฺนํ ได้แก่สิ่งของที่บุคคลอื่นหวงแหน. อธิบายว่าบุคคลอื่นใช้ของที่ให้ทําแล้วตามชอบใจในสิ่งใด ไม่มีความผิค ไม่มีโทษเถยยเจตนาของบุคคลผู้มีความสําคัญ ในวัตถุอื่นบุคคลอื่นหวงแหนนั้น ก็รู้ว่าผู้อื่นหวงแหนแล้ว ให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามถือเอาสิ่งนั้น จึงชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย ในเพราะวัตถุอันเป็นของมีอยู่ของผู้อื่นน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก ในเพราะวัตถุประณีต เพราะเหตุไรจึงมีโทษมาก เพราะวัตถุที่ลักไปนั้นเป็นของประณีต เมื่อวัตถุเสมอกันอทินนาทานนั้นชื่อว่ามีโทษมาก เพราะเป็นวัตถุของบุคคลผู้มีคุณอันยิ่ง ชื่อว่ามีโทษน้อยในเพราะวัตถุอันมีอยู่ของบุคคลผู้มีคุณอันเลว โดยเทียบกับผู้มีคุณนั้นๆ.
อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ
๑. ปรปริคฺคหิตํ (สิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)
๒. ปรปริคฺคหิตสฺิตา (รู้ว่าสิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)
๓. เถยฺยจิตฺตํ (มีจิตคิดลัก)
๔. อุปกฺกโม (มีความพยายาม)
๕. เตน หรณํ (นําสิ่งของนั้นไปด้วยความพยายามนั้น)
อทินนาทานนั้น มีประโยค ๖ มีสาหัตถิกปโยคะเป็นต้น ประโยคเหล่านั้นแล ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจแห่งอวหาร (การขโมย) ๕ เหล่านี้ คือ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 289
๑. เถยยาวหาร (การลักโดยขโมย)
๒. ปสัยหาวหาร (การลักโดยข่มขู่)
๓. ปฏิจฉันนาวทาร (การลักโดยปกปิด)
๔. ปริกัปปาวหาร (การลักโดยกําหนดไว้)
๕. กุสาวหาร (การลักโดยจับสลาก)
เนื้อความในที่นี้ท่านย่อไว้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้ในสมันตปาสาทิกาแล้ว.
ว่าด้วยกาเมสุมิจฉาจาร
ก็พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า กาเมสุมิจฉาจาร ต่อไป
คําว่า กาเมสุ ได้แก่การเสพเมถุน. การประพฤติลามกอันบัณฑิตติเตียนโดยส่วนเดียว ชื่อว่า มิจฉาจาร. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ได้แก่เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้องที่เป็นไปทางกายทวารโดยประสงค์อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร.
อคมนียฐาน ๒๐
ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น มีหญิง ๒๐ จําพวกได้แก่หญิงที่มารดารักษาเป็นต้น ๑๐ จําพวกแรก คือ
๑. หญิงที่มารดารักษา
๒. หญิงที่บิดารักษา
๓. หญิงที่มารดาบิดารักษา
๔. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
๕. หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
๖. หญิงที่ญาติรักษา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 290
๗. หญิงที่ตระกูลรักษา
๘. หญิงที่มีธรรมรักษา
๙. หญิงที่รับหมั้นแล้ว
๑๐. หญิงที่กฎหมายคุ้มครอง
และหญิงที่เป็นภรรยามีการซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้ คือ
๑. ภรรยาที่ซื้อไถ่มาด้วยทรัพย์
๒. ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ
๓. ภรรยาที่อยู่ด้วยโภคะ
๔. ภรรยาที่อยู่ด้วยผ้า
๕. ภรรยาที่ทําพิธีรดน้ำ (จุ่มน้ำ)
๖. ภรรยาที่ชายปลงเทริดลงจากศีรษะ.
๗. ภรรยาที่เป็นทาสีในบ้าน
๘. ภรรยาที่จ้างมาทํางาน
๙. ภรรยาที่เป็นเชลย
๑๐. ภรรยาที่อยู่ด้วยกันครู่หนึ่ง
หญิง ๒๐ พวกนี้ ชื่อว่า อคมนียฐาน (คือฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง) ก็บรรดาหญิงทั้งหลาย หญิง ๑๒ จําพวก ที่บุรุษไม่ควรล่วงเกิน คือ หญิงที่รับหมั้นและกฎหมายคุ้มครองแล้วรวม ๒ จําพวกและหญิงที่เป็นภรรยา ๑๐ จําพวกมีหญิงที่เป็นภรรยาไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น นี้ ชื่อว่า อคมนียฐาน.
ก็มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย ก็เพราะอคมนียฐานเว้นจากคุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่า มีโทษมาก ในเพราะอคมนียฐานถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น
มิจฉาจารนั้นมี (องค์) ๔ คือ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 291
๑. อคมนียวตฺถุ (วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)
๒. ตสฺมึ เสวนจิตตํ (มีจิตคิดเสพในอคมนียวัตถุนั้น)
๓. เสวนปฺปโยโค (พยายามเสพ)
๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ (การยังมรรคให้ถึงมรรค)
ประโยคของมิจฉาจารนั้น มีหนึ่งคือ สาหัตถิกปโยคะเท่านั้น.
ว่าด้วยมุสาวาท
ความพยายามทางวาจา (วจีปโยคะ) หรือความพยายามทางกายอันทําลายประโยชน์ ของบุคคลผู้มุ่งกล่าวให้ขัดแย้งกัน ชื่อว่า มุสา. ก็เจตนาอันให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายหรือทางวาจาที่มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนเป็นอย่างอื่น ของบุคคลอื่น โดยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่า มุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง เรื่องอันไม่เป็นจริง ไม่ใช่ของแท้ ชื่อว่า มุสา. การให้บุคคลรู้เรื่องไม่จริงไม่แท้นั้น โดยภาวะว่าจริง ว่าแท้ เรียกว่า วาทะ ก็ว่าโดยลักษณะ เจตนาที่ให้ตั้งขึ้นด้วยเคลื่อนไหวอย่างนั้น ของบุคคลผู้ประสงค์ให้คนอื่นรู้ถึงเรื่องไม่จริงแท้ เรียกว่า มุสาวาท.
มุสาวาทนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ผู้พูดทําลายประโยชน์นั้นน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะทําลายประโยชน์มาก. อีกอย่างหนึ่งมุสาวาทของคฤหัสถ์ทั้งหลายที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ไม่มี ดังนี้ เพราะประสงค์จะไม่ให้วัตถุที่มีอยู่ของตน ชื่อว่า มีโทษน้อย. มุสาวาทที่ตนเป็นพยานกล่าวเพื่อทําลายประโยชน์ ชื่อว่า มีโทษมาก. มุสาวาทของบรรพชิตทั้งหลายที่เป็นไปโดยนัยปูรณกถาว่า น้ำมันในบ้าน วันนี้เห็นทีจะไหลไปเหมือนแม่น้ำ โดยประสงค์จะหัวเราะกันเล่น เพราะน้ำมันหรือเนยใสเพียงเล็กน้อย ชื่อว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 292
มีโทษน้อย แต่มุสาวาทของบรรพชิตผู้กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ไม่เห็นเลยว่าเห็น ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษมาก. (องค์) ของนี้
มุสาวาทนั้น มี ๔ อย่าง คือ
๑. อตถํ วตฺถุ (เรื่องไม่จริง)
๒. วิสํวาทนจิตฺตํ (คิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน)
๓. ตชฺโช วายาโม (พยายามเกิดด้วยความคิดนั้น)
๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ (คนอื่นรู้เนื้อความนั้น)
ประโยคของมุสวาทมีอย่างเดียวคือ สาหัตถิกปโยคะเท่านั้น. มุสาวาทนั้นพึงทราบโดยการกระทํากิริยาของผู้กล่าวให้คลาดเคลื่อนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา. ถ้าบุคคลอื่นรู้เนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้นเจตนาอันตั้งขึ้นด้วยกิริยานี้ ย่อมผูกพันโดยกรรมที่เป็นมุสาวาทในขณะนั้นทีเดียว. อนึ่ง เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงกล่าวแก่บุคคลนี้ ดังนี้ก็ดี เมื่อเขียนหนังสือทิ้งไปข้างหน้าก็ดี เมื่อเขียนติดไว้ที่ข้างฝาเรือนเป็นต้นโดยประสงค์ว่าบุคคลนี้พึงทราบอย่างนี้ก็ดี โดยประการที่ให้บุคคลอื่นกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากกาย หรือจากวัตถุเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา เพราะฉะนั้น แม้ประโยคทั้งหลายคือ อาณัตติปโยคะ นิสสัคคิยปโยคะ ถาวรปโยคะ ก็ย่อมสมควรในมุสาวาทนี้ แต่เพราะไม่มีมาในอรรถกถาทั้งหลาย จึงควรพิจารณาก่อนแล้วถือเอา.
ว่าด้วยปิสุณาวาจาเป็นต้น
พึงทราบวินิจฉัยในปิสุณาวาจาเป็นต้น
บุคคลย่อมกล่าววาจาก่อนบุคคลใดย่อมกระทําความรักของตนในหัวใจของบุคคลนั้น ให้เกิดการป้ายร้ายแก่บุคคลอื่น วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา. ก็วาจาใด ย่อมกระทําความหยาบคายให้ตนบ้าง ให้ผู้อื่นบ้าง วาจานั้น ชื่อว่า ผรุสวาจา. อีกอย่างหนึ่ง วาจาใด ทําความหยาบคายเอง ไม่เพราะหู ไม่จับใจ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 293
วาจานี้ ชื่อว่า ผรุสวาจา. บุคคลย่อมพูดเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ภาวะนั้น ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ แม้เจตนา ก็ได้ชื่อว่า ปิสุณาวาจาเป็นต้นนั่นแหละเพราะเป็นเหตุของวาจาเหล่านั้น. ก็เจตนานั้นเองท่านประสงค์เอาในที่นี้.
บรรดาวาจาเหล่านี้ เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายและวาจาเพื่อความแตกแยกของชนเหล่าอื่น หรือทําความรักให้แก่ตน ชื่อว่า ปิสุณาวาจา เจตนาที่เป็นปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่า มีโทษน้อยเพราะทําความแตกแยกให้บุคคลผู้มีคุณน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะบุคคลนั้นมีคุณมาก.
ส่วนประกอบ (องค์) ของปิสุณาวาจามี ๔ คือ
๑. ภินฺทิตพฺโพ ปุโร (มีคนอื่นที่ตนพึงทําให้แตกกัน)
๒. เภทปุเรกฺขารตา (ความเป็นผู้มีเจตนากล่าวให้แตกกัน) ด้วยประสงค์ว่า ชนเหล่านี้จักเป็นไปต่างๆ กันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือว่า เป็นผู้ใคร่จะทําตนให้เป็นที่รักว่าเราจักเป็นที่รักใคร่จักเป็นที่คุ้นเคยด้วยอุบายอย่างนี้
๓. ตชฺโช วายาโม (มีความพยายามเกิดขึ้นด้วยจิตนั้น)
๔. ตสฺส ตทตฺถวิชานนํ (บุคคลนั้นรู้ความหมายนั้น)
ก็เมื่อบุคคลอื่นไม่แตกกัน กรรมบถก็ไม่แตกเมื่อบุคคลแตกกันนั่นแหละกรรมบถจึงแตกทีเดียว.
เจตนาหยาบคายโดยส่วนเดียว ที่ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายและวาจาอันตัดความรักของผู้อื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา. เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งผรุสวาจานั้น มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า เด็กชายคนหนึ่งไม่เชื่อฟังถ้อยคําของมารดาไปป่า มารดาไม่อาจให้เขากลับได้ จึงได้ด่าว่าขอให้แม่ควายดุร้ายจงไล่ตามมัน ดังนี้ ทีนั้นแม่ควายในป่าก็ได้ปรากฏแก่เขา เหมือนอย่างมารดานั้นกล่าวนั่นแหละ เด็กได้ทํา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 294
สัจจกิริยาว่า แม่ของข้าพเจ้าย่อมพูดคําใดด้วยปาก (ไม่คิดร้าย) ขอคํานั้นจงอย่ามี ถ้าแม่คิดคําใดด้วยความตั้งใจ ขอคํานั้นจงมีเถิด ดังนี้. แม่ควายได้ยืนอยู่ เหมือนบุคคลผูกไว้ในที่นั้นนั่นแหละ.
ความพยายามแม้อันตัดเสียซึ่งความรักอย่างนี้ ย่อมไม่ชื่อว่า ผรุสวาจาเพราะความที่จิตอ่อน. จริงอยู่ ในกาลบางครั้ง มารดาและบิดาย่อมพูดกะบุตรน้อยแม้อย่างว่า ขอให้พวกโจรจงตัดพวกเจ้าให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ดังนี้ แต่ท่านทั้งสองนั้นไม่ปรารถนาอะไรๆ แม้กลีบดอกอุบลตกไปถูกบุตรเหล่านั้น. อนึ่ง ในกาลบางคราว อาจารย์และอุปัชฌาย์ ย่อมกล่าวกะศิษย์ผู้อาศัยอย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่มีหิริ ไม่มีโอตัปปะ พูดอะไร พวกเจ้าจงไล่เขาออกไปเสีย แต่ที่แท้ท่านเหล่านั้น ย่อมปรารถนาซึ่งความถึงพร้อมแห่งการเล่าเรียนและการบรรลุมรรคผลของศิษย์เหล่านั้น ไม่ชื่อว่า ผรุสวาจา เพราะความที่จิตอ่อนแม้ฉันใด ไม่ชื่อว่า เป็นผรุสวาจา เพราะเป็นวาจาอ่อนหวาน ฉันนั้นก็หาไม่ ด้วยว่าคําพูดของบุคคลผู้ประสงค์จะให้คนอื่นตายว่า พวกท่านจงให้ผู้นี้นอนเป็นสุข ดังนี้ ย่อมไม่เป็นผรุสวาจาหาไม่ ก็วาจานั้นเป็นผรุสวาจาแท้เป็นวาจามีจิตหยาบ. วาจานั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะความที่บุคคลนั้นมีคุณน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะบุคคลนั้นมีคุณมาก.
ผรุสวาจานั้นมีองค ์๓ คือ
๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร (มีคนอื่นที่ตนพึงด่า)
๒. กุปิตจิตฺตํ (มีจิตโกรธ)
๓. อกฺโกสนา (การด่า)
อกุศลเจตนาอันยังบุคคลอื่นรู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ซึ่งตั้งขึ้นด้วยการพยายามทางกายและวาจา ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 295
มีโทษน้อย เพราะความที่มีการส้องเสพน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะมีการซ่องเสพมาก
องค์ของสัมผัปปลาปะมี ๒ คือ
๑. ภารตยุทฺธสีตาหรณาทินิรตฺถกกถาปุเรกฺขารตา (ความเป็นผู้มีเจตนาจะพูดเรื่องไร้ประโยชน์มีภารตยุทธ์และการลักพานางสีดาไปเป็นต้น)
๒. ตถารูปีกถากถนํ (การกล่าววาจาเช่นนั้น)
ก็เมื่อบุคคลอื่นไม่ถือเอาถ้อยคํานั้น กรรมบถก็ไม่แตก เมื่อมีผู้อื่นถือสัมผัปปลาปะนั่นแหละ กรรมบถจึงแตกไป.
ธรรมชาติที่เพ่งเล็ง ชื่อว่า อภิชฌา. อธิบายว่า เป็นผู้มุ่งต่อสิ่งของของผู้อื่น ย่อมเป็นไปโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่สมบัติของผู้อื่น อภิชฌานั้นมีการเพ่งเล่งภัณฑะของบุคคลอื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่า โอหนอ สิ่งนี้พึงเป็นของเรา ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อยและโทษมาก เหมือนอทินนาทาน.
อภิชฌานั้น มีองค์ ๒ คือ
๑. ปรภณฺฑํ (สิ่งของของบุคคลอื่น)
๒. อตฺตโนปริณามนฺจ (น้อมมาเพื่อตน)
ที่จริง เมื่อความโลภในวัตถุอันเป็นของผู้อื่น แม้เกิดแล้ว กรรมบถยังไม่แตกไปก่อน จนกว่า เขาน้อมมาเพื่อตนด้วยคําว่า โอหนอ วัตถุนี้พึงเป็นของเรา ดังนี้.
สภาวธรรมที่ยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้พินาศไป ชื่อว่า พยาบาท. พยาบาทนั้นมีความมุ่งร้ายเพื่อให้ผู้อื่นพินาศเป็นลักษณะมีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนผรุสวาจา.
พยาบาทนั้นมีองค์ ๒ คือ
๑. ปรสตฺโต (สัตว์อื่น)
๒. ตสฺส จ วินาสจินฺตา (ความคิดที่ให้สัตว์นั้นพินาศไป)
ที่จริง เมื่อความโกรธมีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งแม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถยังไม่แตกไปก่อน ตราบจนกว่าจะคิดยังสัตว์ให้พินาศว่า ไฉนหนอ สัตว์นี้พึงขาดสูญพึงพินาศดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 296
ธรรมชาติที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดโดยความไม่ถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีความเห็นวิปริตเป็นลักษณะโดยนัยเป็นอาทิว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนสัมผัปปลาปะ อีกอย่างหนึ่ง อนิยตฉาทิฏฐิมีโทษน้อย นิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก.
องค์ของมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ
๑. วตฺถุโน จ คหิตาการวิปรีตตา (เรื่องทั้งหลายวิปริตจากอาการที่ถือเอา)
๒. ยถา จ ตํ คณฺหาติ ตถาภาเวน ตสฺสูปฏฺานํ (ความปรากฏแห่งเรื่องนั้นโดยความไม่เป็นจริงตามที่ยึดถือ)
บรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น กรรมบถย่อมแตกไปเพราะนัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ และอกิริยทิฏฐิเท่านั้น กรรมบถย่อมไม่แตกไปเพราะทิฏฐิอื่นๆ.
ว่าด้วยอกกุศอกุศลกรรมบถ ๕ ประเภท
พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถ ๑๐ แม้เหล่านี้ โดยอาการ ๕ คือโดยธรรม (ธมฺมโต) โดยโกฏฐาส (โกฏฺาสโต) โดยอารมณ์ (อารมฺ-มณโต) โดยเวทนา (เวทนาโต) โดยมูล (มูลโต).
บรรดาอาการ ๕ เหล่านั้น คําว่า โดยธรรม ความว่า ก็บรรดาอกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น อกุศลกรรมบถ ๗ โดยลําดับ (คือกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔) เป็นธรรมคือเจตนาเท่านั้น อกุศลกรรมบถ ๓ มีอภิชฌาเป็นต้นเป็นธรรมที่สัมปยุตกับเจตนา.
คําว่า โดยโกฏฐาส ได้แก่อกุศลกรรมบถ ๘ ที่ไม่เป็นมูล คืออกุศลกรรมบถ ๗ โดยลําดับ และมิจฉาทิฏฐิ ๑. อภิชฌาและพยาบาทเป็นกรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย. จริงอยู่ อภิชฌา คือ โลภะเพ่งถึงมูล ย่อมเป็นอกุศลมูล พยาบาท คือโทสะ ย่อมเป็นอกุศลมูล.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 297
คําว่า โดยอารมณ์ ได้แก่ ปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์เพราะมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. มิจฉาจาร มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอํานาจโผฏฐัพพะ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มิจฉาจารมีสัตว์เป็นอารมณ์ ดังนี้บ้าง. มุสาวาทมีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. ปิสุณาวาจา มีอารมณ์เหมือนมุสาวาท ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์เท่านั้น. สัมผัปปลาปะ มีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยสามารถธรรมคือ ทิฏฐะ สุตะ มุตะ วิญญาตะ อภิชฌา ก็เหมือนกัน พยาบาท มีสัตว์เป็นอารมณ์เท่านั้น.มิจฉาทิฏฐิ มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอํานาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓.
คําว่า โดยเวทนาได้แก่ ปาณาติบาตเป็นทุกขเวทนา. จริงอยู่ พระราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว แม้ทรงพระสรวลอยู่ ก็ทรงตรัสว่า พวกเธอจงไปฆ่ามันเสียแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เจตนาที่ถึงความตกลงพระทัยของพระราชาเหล่านั้นก็เป็นเจตนาสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาโดยแท้. อทินนาทานมีเวทนา ๓ จริงอยู่ อทินนาทานนั้น เมื่อบุคคลเห็นภัณฑะของผู้อื่นร่าเริงยินดีถือเอาก็เป็นสุขเวทนา เมื่อมีความหวาดกลัวถือเอาก็เป็นทุกขเวทนา หรือเมื่อพิจารณาผลอันไหลออกของอทินนาทานก็เป็นทุกขเวทนาเหมือนกัน แต่ในเวลาที่ลักไปตั้งอยู่ในภาวะความเป็นกลาง อทุกขมสุขเวทนาก็เกิดขึ้น. มิจฉาจารมีเวทนา ๒ คือด้วยสามารถแห่งสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา แต่ในจิตที่ตกลงใจไม่เป็นอุเบกขาเวทนา. มุสาวาท มีเวทนา ๓ โดยนัยที่กล่าวแล้วในอทินนาทานนั่นแหละ ปิสุณาวาจาก็มีเวทนา ๓ เหมือนกัน. ผรุสวาจา เป็นทุกขเวทนา. สัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓. จริงอยู่ ในเวลาบุคคลผู้ยินดีร่าเริง กล่าวเรื่องมีการลักพานางสีดาและภารตยุทธ์เป็นต้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นกําลังให้สาธุการ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 298
มีการยกขึ้นซึ่งแผ่นผ้าเป็นต้น สัมผัปปลาปะนั้น ย่อมเป็นสุขเวทนา. ครั้นเมื่อบุคคลคนหนึ่งให้สินจ้างไว้ก่อน แต่มาภายหลังคนอื่นพูดว่า ขอท่านจงกล่าวเรื่องตั้งแต่ต้น ดังนี้ ในเวลาที่กําลังเล่าเรื่อง โทมนัสเกิดขึ้น ด้วยคิดว่า เราจักกล่าวกถาเบ็ดเตล็ดไม่สืบต่อกันหรือไม่หนอ ดังนี้ ย่อมเป็นทุกขเวทนา. เมื่อเขากล่าวกถาเฉยๆ ย่อมเป็นอทุกขมสุขเวทนา. อภิชฌา มีเวทนา ๒ ด้วยสามารถแห่งสุขเวทนา และอุเบกขาเวทนา. มิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ เหมือนอภิชฌา. พยาบาท เป็นทุกขเวทนา.
คําว่า โดยมูล คือ ปาณาติบาตมี ๒ มูล ด้วยสามารถแห่งโทสมูลและโมหมูล. อทินนาทาน ก็มี ๒ มูล คือด้วยอํานาจแห่งโทสะกับ โมหะ หรือว่าด้วยอํานาจแห่งโลภะกับโมหะ มิจฉาจาร ก็มีมูล ๒ คือด้วยอํานาจแห่งโลภะและโมหะนั่นแหละ มุสาวาท มี ๒ มูล ด้วยสามารถแห่งโทสะกับโมหะ หรือโลภะกับโมหะ ปิสุณาวาจา และสัมผัปปลาปะก็มี๒ เหมือนกันผรุสวาจา มี ๒ มูล ด้วยสามารถแห่งโทสะและโมหะ. อภิชฌามีมูลเดียวด้วยสามารถแห่งโมหะ พยาบาทก็มีมูลเดียวเหมือนกัน มิจฉาทิฏฐิมี ๒ มูลด้วยอํานาจแห่งโลภมูลและโมหมูลแล.
จบกถาว่าด้วยอกุศลบถ
กถาว่าด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐
ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ การงดเว้นจากปณาติบาตเป็นต้น (มี๗ อย่าง) อนภิชฌา อัพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า กุศลกรรมบถ. บรรดากุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น ปาณาติบาตเป็นต้นมีเนื้อความตามที่กล่าว
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 299
ไว้แล้วนั่นแหละ ธรรมที่ชื่อว่า วิรัติ (วิรติ) เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้นด้วยธรรมนี้ หรือว่าเป็นตัวงดเว้น หรือว่า ธรรมนี้เป็นเพียงการงดเว้นเท่านั้น. การงดเว้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตสัมปยุตด้วยกุศลจิต ตามที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การงดการเว้นจากปาณาติบาตอันใด มีในสมัยนั้น ดังนี้
วิรัติ (การงดเว้น) นั้น มี ๓ ประเภท คือ
สัมปัตตวิรัติ
สมาทานวิรัติ
สมุจเฉทวิรัติ
บรรดาวิรัติ ๓ ประเภทนั้น วิรัตเมื่อเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ได้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย ซึ่งพิจารณาถึงความเกิด (ชาติ) ความเสื่อม (วย) และพาหุสัจจะเป็นต้นของตนแล้ว ไม่ก้าวล่วงวัตถุที่ถึงพร้อมด้วยคิดว่า การกระทําเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่พวกเราดังนี้ พึงทราบว่าเป็น สัมปัตตวิรัติ. สัมปัตตวิรัตินั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ เหมือนวิรัติของอุบาสก ชื่อ จักกนะ ในเกาะสีหลดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า โรคเกิดขึ้นแก่มารดาของนายจักกนะนั้น ในเวลาที่เขายังเป็นเด็กทีเดียว. หมอบอกว่า ควรได้เนื้อกระต่ายสด ลําดับนั้น พี่ชายของนายจักกนะจึงส่งให้นายจักกนะได้ด้วยคําว่า พ่อจักกนะจงไปเที่ยวหาที่ไร่นานายจักกนะนั้นก็ไปในที่นั้น ก็ในสมัยนั้น มีกระต่ายตัวหนึ่งมาเพื่อจะเคี้ยวกินข้าวกล้าอ่อน มันเห็นนายจักกนะนั้นก็แล่นไปโดยเร็ว ได้ถูกเถาวัลย์พันไว้จึงส่งเสียงกิริกิริ ดังนี้. นายจักกนะไปตามเสียงนั้น จับมันแล้วคิดว่า เราจักปรุงยาให้มารดา แล้วคิดอีกว่า เราฆ่าสัตว์อื่นเพราะชีวิตมารดาเป็นเหตุ นี้ไม่สมควรแก่เรา ลําดับนั้น จึงปล่อยไปโดยกล่าวว่า เจ้าจงไปกินหญ้าและน้ำ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 300
พร้อมกับกระต่ายทั้งหลายในป่าเถิด. เขาถูกพี่ชายถามว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าได้กระต่ายแล้วหรือ เขาบอกเรื่องนั้นทั้งหมด ลําดับนั้น จึงถูกพี่ชายด่าเอา นายจักกนะนั้นไปสู่สํานักมารดาแล้ว กล่าวอธิษฐานสัจจะว่า ตั้งแต่เกิดแล้วข้าพเจ้ายังไม่รู้จักการแกล้งฆ่าสัตว์มีชีวิตเลย ดังนี้ ทันใดนั้น มารดาของเขาก็หายจากโรค.
ก็วิรัติเมื่อเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย ในเวลาสมาทานสิกขาบทนั่นแหละ และในกาลต่อไปถึงสละชีวิตของคนก็ไม่ก้าวล่วงวัตถุพึงทราบว่า เป็น สมาทานวิรัติ. เหมือนวิรัติของอุบาสกผู้อาศัยอยู่ที่ภูเขาชื่อว่า ทันตรวัฑฒมานะ.
ได้ยินว่า อุบาสกนั้นรับสิกขาบททั้งหลายในสํานักของพระเถระปิงคลพุทธรักขิตตะ ผู้อยู่ในอัมพรวิหารแล้วไปไถนา. ครั้งนั้น โคของเขาหายไปเขาตามหาโคนั้น จึงขึ้นไปยังภูเขาชื่อว่า ทันตรวัฑฒมานะ งูใหญ่ได้รัดเขาในที่นั้น เขาคิดว่า เราจักตัดศีรษะงูนั้นด้วยมีอันคมนี้ แล้วคิดอีกว่า เรารับสิกขาบททั้งหลายในสํานักครูที่ควรแก่การยกย่องแล้วพึงทําลายเสีย ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราเลย ดังนี้. เขาคิดอย่างนี้จนถึง ๓ ครั้ง แล้วตัดสินใจว่า เราจักสละชีวิต จักไม่สละสิกขาบท ดังนี้ จึงทิ้งมีดอันคมที่วางบนบ่า ทันทีนั้นแหละงูใหญ่ก็ปล่อยเขาได้เลื้อยไปแล้ว.
วิรัติ ที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค พึงทราบว่าเป็น สมุจเฉทวิรัติ จําเดิมแต่สมุจเฉทวิรัติเกิดขึ้นแล้ว แม้จิตของพระอริยบุคคลทั้งหลายก็ไม่เกิดขึ้นว่าเราจักฆ่าสัตว์ ดังนี้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 301
ว่าด้วยกุศลกรรม ๕ ประเภท
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยกุศลกรรมบถเหล่านี้ โดยอาการ ๕ อย่างเหมือนอกุศลกรรมบถ คือ โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล.
บรรดากุศลกรรม ๕ ประเภทนั้น คําว่า โดยธรรม ความว่า จริงอยู่ บรรดากรรมบถเหล่านั้น กรรมบถ ๗ โดยลําดับ (กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔) ย่อมเป็นเจตนาและเป็นทั้งวิรัติ กรรมบถ ๓ เบื้องปลายเป็นธรรมสัมปยุตด้วยเจตนาเท่านั้น.
คําว่า โดยโกฏฐาส ความว่า กรรมบถ ๗ โดยลําดับเป็นกรรมบถอย่างเดียวไม่เป็นมูล. กรรมบถ ๓ เบื้องปลายเป็นกรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย. จริงอยู่ อนภิชฌา คือ อโลภะเพ่งถึงมูลแล้วก็เป็นกุศลมูล อัพยาบาท คืออโทสะเป็นกุศลมูล สัมมาทิฏฐิ คือ อโมหะเป็นกุศลมูล.
คําว่า โดยอารมณ์ ความว่าอารมณ์ทั้งหลายของปาณาติบาตเป็นต้นนั่นแหละก็เป็นอารมณ์ของกุศลกรรมเหล่านั้น. จริงอยู่ การงดเว้น (วิรัติ) จากวัตถุที่พึงก้าวล่วงนั่นแหละ ชื่อว่า เวรมณี. เหมือนอย่างว่า อริยมรรคมีนิพพานเป็นอารมณ์ย่อมละกิเลสทั้งหลาย ฉันใด ก็กรรมบถเหล่านี้มีชีวิตินทรีย์เป็นต้นเป็นอารมณ์ พึงทราบว่า ย่อมละความเป็นผู้ทุศีลทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น ฉันนั้น.
คําว่า โดยเวทนา ความว่า กุศลกรรมบถทั้งหมดเป็นสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา. จริงอยู่ เพ่งถึงกุศลแล้ว ชื่อว่า ทุกขเวทนาย่อมไม่มี.
คําว่า โดยมูล ความว่า กรรมบถ ๗ โดยลําดับ ย่อมมี ๓ มูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ มี ๒ มูลของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ. และมี ๒ มูล ของ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 302
บุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยอนภิชฌาและญาณ มีมูลเดียวของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ แต่อโลภะไม่เป็นมูลของตนกับตน แม้ในอัพยาบาทก็มีนัยนี้แหละ สัมมาทิฏฐิมี ๒ มูล ด้วยอํานาจแห่งอโลภะและอโทสะ ชื่อว่า กุศลกรรมบถ มี ๑๐ เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบชื่อการเทียบเคียงกรรมบถ ในที่นี้. จริงอยู่อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจทวารแห่งผัสสะ ๕ ย่อมเป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจทวารแห่งมโนสัมผัส ย่อมเป็นกรรมแม้ทั้ง ๓ อย่าง. เพราะว่า อสังวรนั้นถึงการไหวในกายทวารแล้ว ย่อมเป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล ถึงความไหวในวจีทวาร ก็เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล ไม่ถึงการไหวในทวารทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล. อสังวรอันเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๕ เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยทวารแห่งอสังวรที่กายไหว ย่อมเป็นกายกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยทวารแห่งอสังวรโดยให้วาจาไหว ย่อมเป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรโดยใจไหวไป ย่อมเป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น กายทุจริต ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. วจีทุจริต ๔ อย่าง ก็เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศลนั่นแหละ มโนทุจริต ๓ อย่าง ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น.
แม้สังวรก็เกิดด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๕ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. ส่วนสังวรแม้นี้เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งมโนสัมผัส ก็เป็นกรรมแม้ทั้ง ๓ ดุจอสังวร. สังวรแม้เกิดแล้วด้วยสามารถทวารแห่งสังวร ๕ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรไหวกายก็เป็นกายกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรให้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 303
ไหววาจา ก็เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรทางใจ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเหมือนกัน กายสุจริต ๓ อย่าง ย่อมเป็นกายกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. วจีสุจริต ๔ อย่าง ย่อมเป็นวจีกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. มโนสุจริต ๓ อย่าง ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเหมือนกัน.
กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๕ แต่ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งมโนสัมผัสเท่านั้น. วจีกรรมฝ่ายอกุศลก็เหมือนกัน แต่มโนกรรมฝ่ายอกุศลย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสัมผัส ๖. มโนกรรมนั้นถึงความไหวในกายทวารและวจีทวารแล้ว ก็เป็นกายกรรมและวจีกรรมฝ่ายอกุศล. มโนกรรมนั้นไม่ถึงความไหวในกายทวารและวจีทวารก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. เหมือนอย่างว่า กายกรรมฝ่ายอกุศล ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๕ ฉันใด กายกรรมฝ่ายอกุศลก็ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้ด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๕ ฉันนั้น คือย่อมเกิดด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรอันยังกายให้ไหว และด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรทางวาจาย่อมไม่เกิดด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรทางมโน. แม้วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๕ ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรอันยังกายและวาจาให้ไหว ย่อมไม่เกิดด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรทางมโน. มโนกรรมฝ่ายอกุศลย่อมเกิด แม้ด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๘ นั้นแหละ แม้ในกายกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนต่างกันมีดังนี้.
กายกรรมและวจีกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งอสังวรทางมโน ฉันใด กายกรรมและวจีที่เป็นกุศลก็ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรทางมโนทวาร ฉันนั้น. แต่ว่า กายกรรมและวจีกรรม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 304
ฝ่ายกุศลเหล่านั้น ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้ไหวรับสิกขาบททั้งหลาย แม้ในทวารแห่งมโนสังวร.
ด้วยประการดังกล่าวมาแล้ว กุศลจิตที่เป็นกามาวจร ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้นในมโนทวารนั้น ด้วยสามารถแห่งกรรมและทวาร ๓ อย่าง ไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งวิญญาณ ๕. การเสวยอารมณ์เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรืออทุกขมสุขนี้อันใด ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย. ก็โดยนัยนี้กุศลจิตที่เป็นกามาวจร ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๖ ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวร ๘ ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ เพราะฉะนั้น กุศลจิตนี้จึงเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งกรรม ๓ อย่าง หรือด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๖ หรือด้วยสามารถทวารแห่งสังวร ๘ หรือว่า ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐. เมื่อคําว่า กามาวจรกุศลจิตย่อมเกิดขึ้นปรารภรูปารมณ์ ฯลฯ หรือธรรมารมณ์ ดังนี้ตรัสแล้วกามาวจรกุศลจิตทั้งหมดก็เป็นอันตรัสไว้แล้วแล.
จบกถาว่าด้วยทวาร
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 305
อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์
พึงทราบการประกอบเนื้อความในพระบาลีนี้ว่า ยํ ยํ วา ปนารพฺภ ดังต่อไปนี้ บรรดารูปารมณ์เป็นต้นตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ปรารภรูปเป็นอารมณ์ คือกระทํารูปให้เป็นอารมณ์ หรือปรารภเสียงเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือปรารภธรรมารมณ์เกิดขึ้น ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ ย่อมเป็นเช่นกับทรงรับรองอารมณ์หนึ่งเท่านั้น ในบรรดาอารมณ์เหล่านี้ อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งของจิตนี้. ก็จิตนี้ของบุคคลคนหนึ่ง ในสมัยหนึ่ง ปรารภรูปารมณ์เกิดขึ้นหรือปรารภอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้มีเสียงเป็นต้นของบุคคลอื่นในสมัยอื่นจึงเกิดขึ้นอีกทีเดียว. อนึ่ง เมื่อจิตนี้มีอารมณ์เกิดขึ้นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีลําดับแม้นี้ว่า จิตดวงหนึ่งปรารภรูปารมณ์ก่อน ในภพหนึ่งเป็นไปแล้ว จึงปรารภสัททารมณ์ในภายหลัง ดังนี้. แม้ลําดับนี้ว่า ในบรรดาอารมณ์ที่มีรูปเป็นต้นมีสีเขียวเป็นอารมณ์ก่อนแล้ว มีสีเหลืองเป็นอารมณ์ในภายหลัง ดังนี้ ก็ไม่กําหนดไว้ เพื่อแสดงจิตนั้นนั่นแหละมีอารมณ์ทุกอย่างนี้ และความไม่มีลําดับ และแม้ในความไม่มีลําดับ ก็ยังไม่มีความกําหนดอารมณ์ มีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น จึงตรัสคําว่า ยํ ยํ วา ปนารพฺภ ดังนี้ คํานี้ท่านอธิบายไว้ว่า บรรดาอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้นเหล่านี้ มิใช่มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอารมณ์เดียว ที่แท้แล้วปรารภอารมณ์อะไรก็ได้เกิดขึ้น และจิตนั้นแม้เมื่อเกิดขึ้นอย่างนี้ ก็ไม่เกิดขึ้นแม้โดยลําดับอย่างนี้ว่า มีรูปเป็นอารมณ์ก่อนภายหลังจึงมีเสียงเป็นอารมณ์ แต่ว่า ปรารภอารมณ์ใดๆ ก็ได้ เกิดขึ้น. อธิบายว่า กระทําอารมณ์อย่างใดก็ตามในบรรดารูปารมณ์เป็นต้น เกิดขึ้นโดย
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 306
ปฏิโลมหรือโดยอนุโลม หรือโดยนัยมีอารมณ์อย่างหนึ่งคั่นหรือสองอย่างคั่นเป็นต้น. และแม้รูปารมณ์ทั้งหลายก็ไม่เกิดโดยกําหนดแม้นี้ว่า จิตมีสีเขียวเป็นอารมณ์ก่อน ภายหลังจึงมีสีเหลืองเป็นอารมณ์ แต่ปรารภอารมณ์ใดๆ ก็ได้ อธิบายว่า จิตปรารภรูปารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดารูปารมณ์ทั้งหลายมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้นเกิดขึ้น. แม้ในสัททารมณ์เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ นี้เป็นการประกอบความอธิบายไว้อย่างหนึ่งก่อน ยังมีข้อความที่ควรแนะนําอื่นอีก ดังต่อไปนี้.
รูปเป็นอารมณ์ของจิตนี้ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จิตนี้จึงชื่อว่า มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ ธรรมเป็นอารมณ์ของจิตนี้มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จิตนี้จึงชื่อว่า มีธรรมเป็นอารมณ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสว่า จิตมีรูปารมณ์ ฯลฯ หรือมีธรรมารมณ์เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้ แล้วจึงตรัสอีกว่า ก็หรือว่าจิตปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ดังนี้ เนื้อความแห่งพระดํารัสที่ตรัสว่า จิตปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นดังนี้นั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในรูปเป็นต้นเหล่านั้นเถิด.
ส่วนในมหาอรรถกถา มีข้อความกล่าวไว้เพียงเท่านี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เยวาปนกนัยไว้ ไม่มีอะไรใหม่ คือเป็นอารมณ์ที่ถือเอาแล้วในหลังนั่นแหละ แล้วตรัสพระดํารัสนี้ เพื่อกล่าวปรารภรูป ฯลฯ หรือปรารภธรรม หรือปรารภอารมณ์นี้หรืออารมณ์นั้น ดังนี้.
อธิบายคําว่าธรรมมีผัสสะเป็นต้น
คําว่า ตสฺมึสมเย นี้เป็นคําปฏินิทเทส (คือการวกกลับมาอธิบายอีก) โดยกําหนดสมัยที่ทรงยกขึ้นแสดงโดยไม่แน่นอน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 307
ทราบเนื้อความแห่งคําว่า ตสฺมึ สมเย นั้นว่า กามาวจรกุศลจิต เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะก็เกิดขึ้นในสมัยนั้นนั่นแหละ ดังนี้.
ในเนื้อความเหล่านั้น คําที่เป็นมติของอาจารย์ทั้งหลายนอกจากอรรถกถากล่าวไว้ดังนี้ว่า พึงทําการประกอบการอธิบายธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นเหมือนจิตนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งบทที่คิดได้ โดยนัยมีอาทิว่า ผัสสะย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ ถามว่า ผัสสะย่อมเกิดเป็นอะไร ตอบว่า ย่อมเกิดเป็นกามาวจรเป็นกุศล เป็นโสมนัสสสหคตะ เพราะว่า ในเวทนาย่อมไม่ได้ในคําว่าโสมนัสสสหคตะ และในปัญญินทรีย์ก็ย่อมไม่ได้ในคําว่า ญาณสัมปยุตเพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า ด้วยสามารถแห่งบทที่คิดได้ดังนี้ แต่คําที่อาจารย์กล่าวแล้วนี้ไม่ควรเห็นเป็นสาระ.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในคําว่า ผสฺโส โหติ เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสผัสสะไว้ก่อน.
ตอบว่า เพราะผัสสะยังจิตให้ตกไปก่อน (๑)
จริงอยู่ ผัสสะเป็นธรรมยังจิตให้ตกไปก่อนในอารมณ์ ถูกต้องอารมณ์เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัส ผัสสะก่อน ก็จิตถูกต้องอารมณ์ด้วยผัสสะ เสวยอารมณ์ด้วยเวทนา จําอารมณ์ได้ด้วยสัญญา ย่อมคิดด้วยเจตนา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้อันผัสสะถูกต้องแล้วย่อมเสวยอารมณ์ ผู้อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมจําอารมณ์ ผู้อันผัสสะถูกต้องแล้วย่อมคิดอารมณ์ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะนี้เป็นปัจจัยที่มีกําลังของสัมปยุตธรรมที่เกิดพร้อมกัน เหมือนปราสาท ชื่อว่า เสาเป็นปัจจัยสําคัญของทัพสัมภาระที่เหลือ
(๑) บาลีบางแห่งว่า จิตฺตสฺส ปมาภินิปาตตฺตา แปลว่า เพราะเป็นการประชุมร่วมกันแห่งจิตเป็นครั้งแรก.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 308
คือ ขื่อ ไม้ระแนง เชิงฝายอดกลอน จั่วดั้ง แป เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยเสาตั้งอยู่บนเสา ฉะนั้น ผัสสะนี้เป็นเช่นกับเสา สัมปยุตตธรรมที่เกิดพร้อมกันเป็นเช่นกับทัพสัมภาระที่เหลือ แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสผัสสะก่อน แต่ข้อความที่กล่าวแล้วนี้มิใช่เป็นเหตุ (การณะ) เพราะว่า ธรรมข้อนี้ไม่ได้เพื่อจะกล่าวว่า ผัสสะนี้เกิดขึ้นก่อนธรรมที่เกิดขึ้นในจิตดวงหนึ่ง แต่สัมปยุตตธรรมนี้เกิดภายหลัง ดังนี้ ทั้งเหตุ (การณะ) ของผัสสะ แม้ในความเป็นแห่งปัจจัยที่มีกําลังก็ไม่ปรากฏ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผัสสะไว้ก่อน ด้วยวาระแห่งเทศนาเท่านั่น. ความจริงแม้จะนํามากล่าวว่า เวทนาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด สัญญาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด เจตนาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด จิตย่อมเกิดดังนี้ก็ควร. ก็ผัสสะนั่นเอง พึงทราบว่า ตรัสไว้ก่อนโดยวาระแห่งเทศนาดังนี้. อนึ่ง ในผัสสะนี้ ฉันใด แม้ธรรมที่เหลือนอกนี้ ก็พึงทราบฉันนั้น ชื่อว่าลําดับแห่งธรรมที่เกิดและเกิดหลัง บัณฑิตไม่พึงแสวงหาแต่พึงแสวงหาธรรมทั้งหลาย โดยความหมายแห่งคํา (วจนัตถะ) ลักษณะและรสเป็นต้นเท่านั้น คือ
ความหมายของคําว่าผัสสะ
ผุสตีติ ผสฺโส ธรรมชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่ากระทบอารมณ์ผัสสะนั้นมีลักขณาทิจตุกกะดังนี้.
ผุสนลกฺขโณ มีกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ
สํฆฏนรโส มีการประสานเป็นกิจ
สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺาโน มีการประชุมพร้อมกันเป็นปัจจุปัฏฐาน
อาปาถคตวิสยปทฏฺาโน มีอารมณ์มาสู่คลองเป็นปทัฏฐาน
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 309
จริงอยู่ ผัสสะนี้ แม้มิใช่รูปธรรมแต่ก็เป็นไปโดยอาการการถูกต้องอารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ ผัสสะนี้แม้ไม่ติดกับอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ก็ประสานจิตกับอารมณ์เหมือนรูปกับจักษุและเสียงกับโสต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการประสานเป็นกิจรส อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่า มีการประสานเป็นสัมปัตติรส เพราะการเกิดประสานวัตถุกับอารมณ์ สมดังคําอรรถกถากล่าวไว้ว่า ผัสสะที่เป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่ามีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะไม่มีก็หามิได้ แต่ผัสสะที่เป็นไปทางปัญจทวารเท่านั้น มีการประสานเป็นรส จริงอยู่ คําว่า มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะก็ดี มีการประสานเป็นรสก็ดี เป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปทางปัญจทวาร คําว่ามีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะเป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปทางมโนทวาร แต่คําว่า มีการประสานเป็นรส หาได้เป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปทางมโนทวารไม่ ครั้นท่านกล่าวคํานี้แล้ว ได้นําสูตรนี้มาว่า ดูก่อนมหาบพิตร แพะสองตัวชนกัน พึงเห็นจักษุเหมือนแพะตัวหนึ่ง พึงเห็นรูปเหมือนแพะตัวที่สอง พึงเห็นผัสสะเหมือนการชนกันของแพะทั้งสองนั้น ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะและมีการประสานเป็นรสด้วยอาการอย่างนี้ อนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร เหมือนฝ่ามือทั้งสองประสานกัน คือพึงเห็นจักษุเหมือนฝ่ามือข้างหนึ่ง พึงเห็นรูปเหมือนฝ่ามือข้างที่สอง พึงเห็นผัสสะเหมือนการประสานกันของฝ่ามือทั้งสองนั้น ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ. แต่มีการประสานเป็นรส ด้วยประการฉะนี้ ความพิสดารมีเพียงเท่านี้.
อีกอย่างหนึ่ง ตรัสธรรมมีจักขุวิญญาณเป็นต้น โดยชื่อว่าจักขุเป็นต้นในประโยคว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เป็นต้น (เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ) ฉันใด แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า จักขุวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้น ตรัสไว้โดยชื่อจักขุ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 310
เป็นต้นฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในคํามีอาทิว่า เอวํ จกฺขุ ทฏพฺพํ ดังนี้ โดยนัยนี้ว่า พึงเห็นจักขุวิญญาณ ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะการประสานจิตกับอารมณ์ในสูตรแม้นี้ ผัสสะจึงสําเร็จเป็นการประสานเป็นรสด้วยกิจรสเป็นอรรถ.
ก็ผัสสะนั้น ชื่อว่ามีการประชุมพร้อมกันเป็นปัจจุปัฏฐาน เพราะแสดงให้ทราบด้วยอํานาจแห่งการกระทําของตน กล่าวคือการประชุมพร้อมกันของธรรม ๓ (อารมณ์ วัตถุ วิญญาณ) . จริงอยู่ ผัสสะนี้ประกาศให้รู้ด้วยอํานาจแห่งการกระทําในที่นั้นๆ อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ผัสสะ เพราะมีการประชุมสภาวธรรม ๓ อย่าง เพราะฉะนั้น พึงทราบบทแห่งพระสูตรนี้ว่า ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีการประชุมแห่งสภาวธรรม ๓ ดังนี้ หาใช่ผัสสะเพียงการประชุมเท่านั้นไม่ แต่ผัสสะย่อมปรากฏโดยอาการนั้นนั่นแหละ เพราะการประกาศแล้วอย่างนี้ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า มีการประชุมพร้อมกันเป็นอาการปรากฏ ดังนี้.
อนึ่ง ผัสสะนั้น ชื่อว่ามีเวทนาเป็นปัจจุปัฏฐาน เพราะปัจจุปัฏฐานคือมีผลเป็นอรรถจริงอยู่ ผัสสะนี้ ย่อมยังเวทนาให้ปรากฏ คือย่อมให้เกิดขึ้นอนึ่ง ผัสสะนี้ เมื่อจะให้เวทนาเกิดขึ้น แม้จะมีปัจจัยอื่นกล่าวคือวัตถุและอารมณ์ แต่ก็ทําให้เวทนาเกิดขึ้นเฉพาะในจิต ซึ่งเป็นที่อาศัยของตนเท่านั้นเพราะตนอาศัยจิต พึงทราบว่า ไม่ทําให้เกิดเวทนาในวัตถุ หรืออารมณ์แม้จะเป็นปัจจัยของตน เหมือนกับไออุ่นที่อาศัยอยู่ในธาตุคือครั่ง ย่อมทําให้เกิดความอ่อนในครั่งอันเป็นที่อาศัยของตน แม้เพราะความร้อนภายนอกเป็นปัจจัยแต่ไม่ทําให้เกิดความอ่อนในความร้อน กล่าวคือถ่านที่ปราศจากเปลวไฟในภายนอก แม้จะเป็นปัจจัยของตน ผัสสะนี้ท่านเรียกว่า มีอารมณ์ที่มาสู่คลอง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 311
เป็นปทัฏฐาน (คือเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น) เพราะความเกิดขึ้นแห่งผสัสะไม่มีการขัดขวางในอารมณ์ ที่ประมวลมาแห่งธรรมเหล่านั้น และอินทรีย์ที่ปรุงแต่งดีแล้ว ดังนี้.
ความหมายของคําว่าเวทนา
เวทยตีติ เวทนา ธรรมที่ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า รู้สึกอารมณ์ เวทนานั้นมีลักขณาทิจตุกกะดังนี้
เวทยิตลกฺขณา มีการรู้สึกอารมณ์เป็นลักษณะ
อนุภวนรสา มีการเสวยรสอารมณ์เป็นกิจ
อิฏฺาการสมโภครสา หรือมีความเสวยอารมณ์ที่ชอบเป็นกิจ
เจตสิกอสฺสาทปจฺจุปฏฺานา มีความพอใจทางเป็นปัจจุปัฏฐาน
ปสฺสทฺธิปทฏฺานา มีปัสสัทธิเป็นปทัฏฐาน.
จริงอยู่ เวทนาเป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่า ไม่มีการรู้สึกอารมณ์เป็นลักษณะก็หาไม่ แต่ท่านกล่าวว่า เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นรส ย่อมได้เฉพาะสุขเวทนาเท่านั้น แล้วกลับปฏิเสธวาทะนั้นอีก แล้วแสดงเนื้อความนี้ว่า สุขเวทนาก็ตาม ทุกขเวทนาก็ตาม อุเบกขาเวทนาก็ตาม ทั้งหมด มีการเสวยอารมณ์เป็นรส จริงอยู่ มุ่งถึงฐานะการเสวยอารมณ์เป็นรสแล้วสัมปยุตตธรรมที่เหลือย่อมเสวยอารมณ์เพียงบางส่วน คือผัสสะก็เพียงกระทบอารมณ์เท่านั้น สัญญามีเพียงจําอารมณ์เท่านั้น เจตนามีเพียงความตั้งใจเท่านั้น วิญญาณมีการรู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น แต่เวทนาเท่านั้นย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์โดยส่วนเดียวเพราะความเป็นเจ้าของโดยความเป็นใหญ่ เป็นผู้สมควร จริงอยู่ เวทนาเปรียบเหมือนพระราชา ธรรมที่เหลือเหมือนพ่อครัว พ่อครัวยังโภชนะมีรส
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 312
อันเลิศต่างๆ ให้เรียบร้อยแล้วใส่สมุกประทับตรา ยกไปวางไว้ในสํานักพระราชา ทําลายตราแล้วเปิดสมุก แล้วพนักงานก็ถือเอาส่วนข้างบนจากกับแกงทั้งหลายใส่ภาชนะเพื่อลองชิมดูว่ามีโทษหรือไม่มีโทษ จากนั้นก็น้อมโภชนะมีรสต่างๆ ไปถวายพระราชา พระราชาเท่านั้นทรงเป็นเจ้าของเสวยได้ตามปรารถนา เพราะทรงเป็นใหญ่และทรงมีอํานาจ ธรรมนอกนั้นเสวยรสอารมณ์บางส่วน เหมือนพ่อครัวเพียงแต่ชิม และทดลองชิมพระกระยาหารเพียงบางส่วนเท่านั้น ฉันใด แม้ธรรมที่เหลือก็ฉันนั้น ย่อมเสวยรสอารมณ์เพียงบางส่วนเท่านั้น เหมือนอย่างว่า พระราชาทรงเป็นเจ้าของ เพราะพระองค์ทรงเป็นใหญ่เป็นผู้สมควร ย่อมเสวยตามความพอพระทัย ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้นย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์ โดยความเป็นเจ้าของ เพราะความเป็นใหญ่ เป็นผู้สมควร เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นรส. ในการกําหนดเนื้อความที่สอง เวทนาที่ท่านประสงค์เอาในที่นี้ ท่านกล่าวว่า เวทนา (สุขเวทนา) ว่ามีการเสวยอาการที่น่าปรารถนาเป็นรส เพราะอรรถว่า ย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์ มีอาการน่าปรารถนาตามที่ประสบ ก็เวทนานี้ เมื่อว่าโดยความชอบใจ ท่านกล่าวว่า มีความพอใจเป็นปทัฏฐานหมายถึงการปรากฏโดยสภาวะของตน ก็เพราะบุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมเสวยความสุข ฉะนั้น พึงทราบว่า เวทนานี้มีความสงบเป็นปทัฏฐาน ดังนี้.
ความหมายของคําว่าสัญญา
นีลาทิเภทํ อารมฺมณํ สฺชานาตีติ สฺา ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมจําอารมณ์มีสีเขียวเป็นต้น สัญญานั้นมีลักขณาทิจตุกกะ ดังนี้
(๑) ที่อื่นใช้ ผสฺสปทฏฺานา มีผัสสะเป็นปทัฏฐาน.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 313
สฺชานนลกฺขณา สัญญานั้นมีการจําเป็นลักษณะ
ปจฺจาภิฺาณรสา มีการทําเครื่องหมายเป็นรส.
จริงอยู่ สัญญาเป็นไปในภูมิ ๔ ไม่ชื่อว่ามีความจําได้หามีไม่ สัญญาทั้งหมดล้วนมีความจําเป็นลักษณะทั้งนั้น. ก็ในที่นี้ สัญญาใดย่อมจําได้โดยเครื่องหมาย สัญญานั้น ชื่อว่า มีการทําเครื่องหมายเป็นรส. พึงทราบความเป็นไปแห่งสัญญานั้นในเครื่องหมายนั้นอีก และในเวลาที่บุรุษกําหนดเครื่องหมายด้วยไฝดําเป็นต้น แล้วจําเครื่องหมายของบุคคลนั้นอีกว่า บุคคลนี้ชื่อโน้นด้วยเครื่องหมายนั้น และในเวลาที่ขุนคลังผู้รักษาเครื่องประดับของพระราชาผูกชื่อหนังสือไว้ที่เครื่องประดับนั้น เมื่อพระราชาตรัสว่า เจ้าจงนําเครื่องประดับชื่อโน้นมา ขุนคลังก็จุดประทีปแล้วเข้าไปในห้องด้วยประทีปนั้น อ่านหนังสือแล้วก็นําเครื่องประดับนั้นๆ นั่นแหละมาได้.
อีกนัยหนึ่ง ก็เมื่อว่าโดยการรวบรวมธรรมทั้งหมด สัญญามีการจําได้เป็นลักษณะ มีการทํานิมิตโดยปัจจัยให้จําได้อีกเป็นรส เหมือนช่างถากเป็นต้นทําเครื่องหมายที่ไม้เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งนิมิตตามที่ตนทําไว้ ชื่อว่า การกระทําความโน้มน้าวไว้เป็นปัจจุปัฏฐาน เหมือนคนตาบอดแสดงช้างหรือว่ามีการตั้งอยู่ในอารมณ์ไม่นานเป็นปัจจุปัฏฐาน เพราะไม่หยั่งลงในอารมณ์เหมือนสายฟ้า หรือความที่มีอารมณ์ตามที่ปรากฏเป็นปทัฏฐาน เหมือนกับสัญญาที่เกิดขึ้นแก่ลูกเนื้อทั้งหลายในหุ่นหญ้าว่าเป็นคน. ก็ในที่นี้ สัญญาใดเป็นญาณสัมปยุต สัญญานั้นก็เป็นไปตามญาณนั่นแหละ ธรรมที่เหลือทั้งหลายบัณฑิตพึงทราบเหมือนปฐวีธาตุเป็นต้น ในสสัมภารปฐวีธาตุเป็นต้น ดังนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 314
ความหมายของคําว่าเจตนา
เจตยตีติ เจตนา ธรรมที่ชื่อว่า เจตนา เพราะอรรถว่า ตั้งใจอธิบายว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรมกับตนให้เป็นไปในอารมณ์ เจตนานั้นมีลักขณาทิจตุกกะ ดังนี้.
เจตยิกลกฺขณา มีการตั้งใจเป็นลักษณะ คือมีความจงใจเป็นลักษณะ
อายูหนรสา มีการประมวลมาเป็นรส. จริงอยู่ เจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่า ไม่มีความจงใจเป็นลักษณะก็หาไม่. เจตนาทั้งหมดมีความตั้งใจเป็นลักษณะทั้งนั้น ก็เจตนาที่มีการประมวลมาเป็นรสย่อมเป็นทั้งกุศล และอกุศลทั้งนั้น เพ่งถึงฐานะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรม และอกุศลกรรมแล้ว สัมปยุตธรรมที่เหลือก็มีกิจเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ว่าเจตนามีอุตสาหะยิ่งนัก มีความพยายามยิ่งนัก คือมีอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า ด้วยเหตุนั้น อาจารย์ในปางก่อน จึงกล่าวว่า ก็แล เจตนานี้ตั้งอยู่ในสภาพความเป็นเจ้าของแท้ เจ้าของนา เรียกว่า เจ้าของแท้ เหมือนอย่างว่า บุรุษเจ้าของนาชวนบุรุษรวมแรงกัน ๕๕ คน หยั่งลงนาพร้อมกันโดยบอกว่า เราจักเกี่ยวข้าวดังนี้ เจ้าของนามีความอุตสาหะยิ่ง มีความพยายามยิ่ง คือมีความอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า ย่อมบอกกล่าวถึงเขตมีคําว่า พวกท่านจงเกี่ยวติดต่อกันไป ดังนี้แล้วจัดแจงสุราอาหารและของหอมเป็นต้น นําไปให้ชนเหล่านั้น ย่อมชี้ทางให้เท่าๆ กัน ฉันใด ข้ออุปไมยนี้บัณฑิตพึงทราบฉันนั้นเถิด จริงอยู่ เจตนาเหมือนบุรุษเจ้าของนา ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล ๕๕ ที่เกิดขึ้นด้วยสามารถเป็นองค์ของจิต เหมือนบุรุษผู้ร่วมแรงกัน ๕๕ คน เพราะเพ่งถึงฐานะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรมและอกุศลกรรม เจตนาก็มีความอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 315
เหมือนเวลาที่บุรุษเจ้าของนาทําการอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า บัณฑิตพึงทราบความที่เจตนานั้นมีความประมวลมาเป็นรส ด้วยประการฉะนี้.
ก็เจตนานั้น มีการจัดแจงเป็นปทัฏฐาน (สํวิทหนปจฺจุปฏฺานา) จริงอยู่ เจตนานี้เมื่อจัดแจงย่อมปรากฏเหมือนศิษย์ผู้ใหญ่ และนายช่างใหญ่เป็นต้นผู้สามารถทํากิจของตนและของผู้อื่นให้สําเร็จ. เหมือนอย่างว่า ศิษย์ผู้ใหญ่ เห็นพระอุปัชฌาย์มาแต่ไกล เมื่อตนเองสาธยายอยู่ ก็ยังเตือนศิษย์ผู้น้อยนอกนี้ ให้สาธยายตามอัชฌาศัยของตนๆ เมื่อศิษย์ผู้ใหญ่นั้นเริ่มสาธยาย ศิษย์ผู้น้อยแม้เหล่านั้น ก็สาธยาย เพราะคล้อยตามศิษย์ผู้ใหญ่นั้น ฉันใด และเปรียบเหมือนนายช่างใหญ่ เมื่อตนเองถากก็ยังช่างถากแม้นอกนี้ให้เป็นไปในกรรมคือการถากของตนๆ เพราะว่า เมื่อนายช่างใหญ่นั้นเริ่มถาก ช่างถากเหล่านั้นก็ย่อมถากตามนายช่างใหญ่นั้น ฉันใด และเปรียบเหมือนแม่ทัพเมื่อตนเองรบ ก็เตือนนักรบแม้นอกนี้ให้ทําการรบ เพราะว่า เมื่อแม่ทัพเริ่มทําการรบ นักรบแม้เหล่านั้นก็ทําการรบตามแม่ทัพนั้น ฉันใด แม้เจตนานี้ก็ฉันนั้น แม้เป็นไปในอารมณ์ด้วยกิจของตนอยู่ ก็ยังสัมปยุตตธรรมแม้อื่นๆ ให้เป็นไปในการกระทําของตนๆ เพราะว่า เมื่อเจตนานั้น เริ่มกิจของตนแม้ธรรมที่สัมปยุตกับเจตนานนั้นก็เริ่ม เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เจตนานั้นทํากิจของตนและของผู้อื่นให้สําเร็จ เหมือนศิษย์ผู้ใหญ่และนายช่างใหญ่เป็นต้น. ก็เจตนานี้ พึงทราบว่า ปรากฏเป็นไปโดยภาวะที่ให้สัมปยุตธรรมให้อุตสาหะในการระลึกถึงการงานที่รีบด่วนเป็นต้น ดังนี้.
ความหมายของคําว่าจิต
ความหมายของคําแห่งจิต ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า อารมฺมณํ จินฺเตตีติ จิตฺตํ (ธรรมที่ชื่อว่าจิต เพราะอรรถว่า คิดซึ่งอารมณ์) นั่นแหละ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 316
ก็เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น จิตมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ (วิชานนลกฺขณํ) มีการเป็นหัวหน้าเป็นรส (ปุพฺพงฺคมรสํ) มีการเกี่ยวข้องกันเป็นปัจจุปัฏฐาน (สนฺธานปจฺจุปฏานํ) มีนามรูปเป็นปทัฏฐาน (นามรูปปทฏานํ) จริงอยู่ จิตที่เป็นไปในภูมิ ชื่อว่า ไม่มีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะก็หาไม่ จิตทั้งหมดมีการรู้แจ้งอารมณ์ทั้งนั้น.
ก็เพ่งถึงทวารแล้ว จิตก็เป็นหัวหน้าคือมีปกติเที่ยวไปก่อนในที่เป็นที่กระทําให้แจ่มแจ้งซึ่งอารมณ์ จริงอยู่ บุคคลย่อมรู้แจ้งรูปารมณ์อันเห็นด้วยจักษุ ด้วยจิตนั่นแหละ ฯลฯ ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ อันรู้แล้วด้วยใจด้วยจิตนั่นแหละ เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้รักษาพระนครนั่งอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ในท่ามกลางพระนครย่อมใคร่ครวญ ย่อมกําหนดชนผู้มาแล้วๆ ว่า คนนี้เป็นเจ้าถิ่น คนนี้เป็นผู้จรมา ฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยฉันนั้น. ข้อนี้เหมือนกับคําที่พระมหาเถระนามว่านาคเสนกล่าวไว้ว่า ธรรมดาบุคคลผู้รักษาพระนครนั่งอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ท่ามกลางพระนครพึงเห็นบุคคลผู้มาจากทิศตะวันออก พึงเห็นบุคคลผู้มาจากทิศตะวันตก จากทิศทักษิณ จากทิศอุดร ฉันใด ข้าแต่มหาบพิตร ฉันนั้นนั่นแหละ บุคคลย่อมเห็นรูปใดด้วยจักษุ ย่อมรู้แจ้งรูปนั้นด้วยวิญญาณ ย่อมฟังเสียงใดด้วยโสต ย่อมสูดกลิ่นด้วยฆานะ ย่อมลิ้มรสด้วยชิวหา ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ย่อมรู้แจ้งธรรมด้วยใจ ย่อมรู้แจ้งสิ่งนั้นๆ ด้วยวิญญาณ เพราะเพ่งถึงทวารแล้ว จิตเท่านั้นเป็นหัวหน้า เป็นธรรมชาติเที่ยวไปข้างหน้า ในฐานะที่กระทําอารมณ์ให้แจ่มแจ้งอย่างนี้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่า มีการเป็นหัวหน้าเป็นรส ดังนี้.
จิตนี้นั้น ดวงหลังๆ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมปรากฏติดต่อกันทีเดียวเพราะทําดวงต้นๆ ให้สืบต่อกันนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการเกี่ยวข้องกัน
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 317
เป็นปัจจุปัฏฐาน แต่ว่า ในปัญจโวการภพ (ภพที่มีขันธ์ ๕) จิตนั้น มีนามรูปเป็นปทัฏฐาน ในจตุโวการภพ มีนามเท่านั้นเป็นปทัฏฐานโดยแน่นอน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จิตมีนามและรูปเป็นปทัฏฐาน ดังนี้.
ถามว่า ก็จิตนี้ เป็นจิตดวงเดียวกันกับจิตที่แสดงมาข้างต้นหรือเป็นดวงอื่น ตอบว่า เป็นดวงเดียวกันนั่นแหละ. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร จึงกล่าวอีกเล่า. ตอบว่า คํานี้อรรถกถาและอาจารย์ทั้งหลายยังมิได้วิจารในคําแห่งจิตนี้. ก็ในคําแห่งจิตนี้ มีการประกอบดังนี้ เหมือนอย่างว่าพระอาทิตย์เป็นต้นที่บัญญัติ เพราะอาศัยรูปเป็นต้น ว่าโดยความหมายก็มิใช่สิ่งอื่นที่นอกไปจากรูปเป็นต้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ แม้จะกล่าวว่า สมัยใดพระอาทิตย์ย่อมอุทัย สมัยนั้น รูปคือแสงแห่งพระอาทิตย์นั้น ย่อมปรากฏดังนี้ ขึ้นชื่อว่า พระอาทิตย์อื่น นอกจากรูปเป็นต้นย่อมไม่มี ฉันใด จิตนี้ย่อมมีฉันนั้น หามิได้ พระองค์ทรงบัญญัติจิต เพราะอาศัยธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น แต่เมื่อว่าโดยความหมาย จิตนั้นก็เป็นอีกดวงหนึ่ง นอกจากธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้นโดยแท้ เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงเนื้อความว่า สมัยใด จิตย่อมเกิดขึ้น สมัยนั้น จิตดวงอื่นอีกนอกจากธรรมมีผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ จิตนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ทรงตรัสไว้อีก.
เหมือนอย่างว่า เมื่อพระองค์ทรงกําหนดสมัยด้วยบุคคลผู้เจริญมรรคในพระบาลีมีคําเป็นต้นว่า สมัยใด บุคคลเจริญมรรค ฯลฯ มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์เพื่อความเกิดขึ้นในรูปภพ สมัยนั้น ผัสสะย่อมมีดังนี้ ผู้ใดย่อมเจริญมรรคในสมัย ว่าโดยอรรถ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นหามิได้ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ในข้อที่กล่าวแล้วนั้น จึงตรัสว่า ผัสสะย่อมมี เวทนาย่อมมี ฉันใด
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 318
แต่มิได้ตรัสว่า บุคคลใดย่อมเจริญมรรค ผู้นั้นย่อมมีฉันนั้น แต่เมื่อทรงกําหนดสมัยด้วยจิต ในพระบาลีมีคําเป็นต้นว่า สมัยใด กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้น ดังนี้ จิตทรงกําหนดไว้ด้วยสมัย ว่าโดยอรรถแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้น หามิได้ แต่ตรัสว่า ผัสสะย่อมมี เวทนาย่อมมี ในสมัยนั้นฉันใด แม้จิตนี้ก็ย่อมมี ฉันนั้น ดังนี้ เพื่อแสดงเนื้อความแม้นี้ พึงทราบว่า ทรงตรัสจิตนี้อีก ก็ในข้อนี้ มีข้อสันนิษฐาน ดังต่อไปนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจิต เพื่อประมวลมาไว้ในอุทเทสวารและเพื่อทรงจําแนกในนิทเทสวาร จริงอยู่ พระองค์ทรงกําหนดสมัยไว้ด้วยจิตศัพท์ซึ่งเป็นศัพท์ต้นอย่างเดียวเพื่อทรงแสดงธรรมในสมัยซึ่งมีการกําหนดด้วยจิต จึงเริ่มตรัสว่า ผสฺโส โหติ เป็นต้น แม้จิตนั้นก็ย่อมมีในสมัยนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เพื่อประมวลมาซึ่งจิตแม้นั้น จึงตรัสคําว่าจิตนี้อีก. อนึ่ง เมื่อไม่ตรัสคําว่า จิตนี้ในที่นี้ ก็ไม่อาจเพื่อจําแนกในนิทเทสวารได้ว่าจิตในสมัยนั้น เป็นไฉน? ด้วยเหตุนั้น การจําแนกจิตนั้นนั่นเองก็จะหายไป เพราะฉะนั้นนั่นแหละ พึงทราบว่า เพื่อทรงจําแนกจิตนั้นในนิทเทสวาร จึงตรัสจิตนี้อีก.
อีกอย่างหนึ่ง ในอรรถกถาท่านวิจารว่า คําว่า จิตเกิดขึ้นในคําว่า อุปฺปนฺนํ โหติ นี้ ว่าเป็นเพียงหัวข้อแห่งเทศนาเท่านั้น แต่จิตนี้มิได้เกิดขึ้นได้เพียงดวงเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น แม้ในคําว่า อุปฺปนฺนํ นี้ ก็มิได้ถือเอาจิตอย่างเดียว แต่ถือเอาจิตกับกุศลธรรมเกิน ๕๐ ทีเดียว โดยประการฉะนี้จึงเริ่มตรัสคําว่า ผสฺโส โหติ เป็นต้น เพื่อแสดงจิตนั้น ในที่นั้นโดยสังเขปแล้วแสดงโดยประเภทโดยถือเอาจิตและเจตสิกธรรมทั้งปวงนั้น และโดยย่อในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่า แม้จิตก็พึงตรัสไว้เหมือนธรรมมีผัสสะเป็นต้น ฉะนี้แล.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 319
ความหมายของคําว่าวิตก
วิตกฺเกตีติ วิตกฺโก วิตกฺกนํ วา วิตกฺโก ธรรมที่ชื่อว่า วิตก เพราะอรรถว่า ตรึก อีกอย่างหนึ่ง การตรึก คือ การจดอารมณ์ ชื่อว่าวิตก. วิตกนี้นั้น มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อภินิโรปนลกฺขโณ) จริงอยู่ วิตกนั้นยกจิตขึ้นในอารมณ์. เหมือนอย่างว่าคนบางคนอาศัยญาติ หรือมิตรที่เป็นราชวัลลภ จึงเข้าไปสู่พระราชมณเฑียรได้ฉันใด จิตก็อาศัยวิตก ฉันนั้น เพราะฉะนั้น วิตกนั้น ท่านจึงกล่าว มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ.
อนึ่ง พระนาคเสนเถระกล่าวว่า วิตกมีการเคาะอารมณ์เป็นลักษณะ ขอถวายพระพรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุคคลตีกลอง หลังจากนั้นก็มีเสียงกลองดังกระหึ่มออกไป ฉันใด มหาบพิตรพึงเข้าพระทัย วิตกเหมือนบุคคลตีกลอง พึงเข้าพระทัย วิจารเหมือนเสียงกลองดังกระหึ่ม ฉันนั้น.
วิตกนั้นมีการกระทําให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นรส (อาหนนปริยาหนนรโส) จริงอย่างนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมกระทําจิตนั้น อันวิตกให้กระทบแล้วบ่อยๆ วิตกนั้นมีการนําจิตมาในอารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยปจฺจุปฏฺาโน) และมีนามขันธ์ ๓ ที่เหลือ (เวทนา สัญญาวิญญาณขันธ์) เป็นปทัฏฐาน (เสสขนฺธตฺตยปทฏฺาโน) (๑)
อารมฺมเณ เตน จิตตํ วีจรตีติ วิจาโร ธรรมที่ชื่อว่า วิจาร เพราะเป็นเหตุให้จิตเที่ยวไปในอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง การเที่ยวไป คือการสัญจรไปตามอารมณ์ ชื่อว่า วิจาร. วิจารนั้นมีการเคล้าคลึงในอารมณ์เป็นลักษณะ
(๑) บาลีว่า เสสขนฺธตฺตยปทฏฺาโน ไม่มีในที่นี้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 320
(อารมฺมณานุมชฺชนลกฺขโณ) มีการประกอบสหชาตธรรมไว้ในอารมณ์นั้นเป็นรส (ตตฺถ สหชาตานุโยชนรโส) มีการผูกพันจิตไว้ในอารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน (จิตฺตอนุปปพนฺธปจฺจุปฏาโน) .
อนึ่ง เมื่อความไม่แยกจากกันแห่งวิตกและวิจารในจิตตุปบาทบางแห่งแม้มีอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ การทําจิตตกไปในอารมณ์ครั้งแรก ชื่อว่า วิตก เพราะอรรถว่าเป็นธรรมหยาบ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมถึงก่อน เพราะอรรถว่ายกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เหมือนการเคาะระฆัง. การผูกพันในอารมณ์ ชื่อว่า วิจาร เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสุขุม เพราะอรรถว่าเคล้าคลึงในอารมณ์ เหมือนเสียงครางของระฆัง ฉะนั้น. ก็ในธรรม ๒ อย่างนั้น วิตกมีการแผ่ไป เป็นการแผ่ไปโดยรอบในกาลเกิดขึ้นแห่งจิต จับอารมณ์ครั้งแรกเหมือนการขยับปีกของนกตัวที่ต้องการบินขึ้นในอากาศ และเหมือนภมรมีจิตผูกพันในกลิ่น มุ่งหน้าบินลงสู่ดอกปทุม ฉะนั้น. วิจารมีความเป็นไปสงบ ไม่มีการแผ่ไปของจิตเกินไป เหมือนการกางปีกของนกตัวที่ต้องการบินไปในอากาศ และเหมือนภมรตัวที่บินลงที่ดอกปทุมแล้วบินเคล้าเคลียเบื้องบน ฉะนั้น. แต่ในอรรถกถาทุกนิบาต ท่านกล่าวไว้ว่า วิตกเป็นไปโดยการยกจิตขึ้นในอารมณ์ เหมือนนกใหญ่บินไปในอากาศ กระพือปีกทั้งสองให้จับลมแล้วให้ปีกทั้งสองติดลมบินไป เพราะว่าวิตกนั้นมีอารมณ์เป็นหนึ่งแน่วแน่. ส่วนวิจารเป็นไปโดยการเคล้าอารมณ์ เหมือนนกใหญ่ขยับปีกเพื่อให้จับลมเป็นไป เพราะว่า วิจารนั้น มีการเคล้าในอารมณ์ ดังนี้. ถ้อยคําในอรรถกถาทุกนิบาตนั้น เหมาะสมอย่างยิ่งในการที่จิตผูกพันในอารมณ์เป็นไป. แต่ว่าการแปลกกันแห่งวิตกและวิจารนั้น ย่อมปรากฏชัดในฌานที่หนึ่งและที่สอง.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลเอามือข้างหนึ่งจับภาชนะสําริดที่ติดสนิมไว้ให้มั่น แล้วเอามืออีกข้างหนึ่งขัดสีด้วยจุณน้ำมัน หรือมูลสัตว์ที่เหมาะสม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 321
วิตกเหมือนมือที่จับไว้มั่น วิจารเหมือนมือที่ขัดสี อนึ่ง เมื่อช่างหม้อใช้ไม้ตีหมุนจักรทําภาชนะ วิตกเหมือนกับมือที่กดไว้ วิจารเหมือนกับมือที่หมุนไปทางโน้นและทางนี้. อนึ่ง เมื่อบุคคลทําวงกลม วิตกคือการจดจ่ออยู่ซึ่งอารมณ์เหมือนเหล็กแหลมที่ปักยันไว้ท่ามกลาง วิจารเคล้าอารมณ์เหมือนเหล็กแหลมที่หมุนไปรอบๆ ข้างนอก ฉะนั้น.
ความหมายของคําว่าปีติ
ปีนยตีติ ปีติ ธรรมที่ชื่อว่า ปีติ เพราะเอิบอิ่ม ปีตินั้นมีการชื่นชมยินดีเป็นลักษณะ (สมฺปิยายนลกฺขณา) มีการทํากายและจิตให้เอิบอิ่มเป็นรส หรือว่าซาบซ่านไปเป็นรส (กายจิตฺตปีนนรสา ผรณรสา วา) มีการฟูกายและใจเป็นปัจจุปัฏฐาน (โอทคฺยปจฺจุปฏฺานา) ก็ปีตินั้นมี ๕ อย่าง คือ
ขุททกาปีติ
ขณิกาปีติ
โอกกันติกาปีติ
อุพเพงคาปีติ
ผรณาปีติ.
บรรดาปีติเหล่านั้น ขุททกาปีติ สามารถเพื่อทําเพียงขนในร่างกายให้ชูชันเท่านั้น. ขณิกาปีติ ย่อมเป็นเช่นกับความเกิดขึ้นแห่งฟ้าแลบขณะหนึ่งๆ โอกกันติกาปีติ ก้าวลงสู่กายแล้ว ครั้นก้าวลงแล้วก็แตกไป เหมือนคลื่นที่ฝังสมุทร อุพเพงคาปีติ เป็นปีติมีกําลัง ทํากายให้ฟูขึ้นถึงการลอยไปในอากาศได้.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 322
จริงอย่างนั้น พระมหาติสสเถระผู้อยู่ในปุณณวัลลิกวิหารในวันปุรณมีเวลาเย็นไปสู่ลานพระเจดีย์เห็นแสงสว่างดวงจันทร์ จึงหันหน้าไปทางพระมหาเจดีย์แล้วรําพึงว่า เวลานี้พวกบริษัท ๔ กําลังไหว้พระมหาเจดีย์กันหนอดังนี้ ยังอุพเพงคาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ให้เกิดขึ้นด้วยสามารถอารมณ์ที่เห็นตามปกติ ลอยขึ้นไปในอากาศแล้วไปยืนอยู่เฉพาะที่ลานแห่งพระมหาเจดีย์นั่นแหละ เหมือนลูกข่างอันวิจิตรที่ขว้างไปที่พื้นที่ฉาบไว้ด้วยปูนขาว.
อนึ่ง แม้กุลธิดาคนหนึ่งในบ้านวัตตกาลก ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้คิริกัณฑวิหาร ลอยขึ้นไปในอากาศด้วยอุพเพงคาปีติ มีพระพุทธคุณที่มีกําลังเป็นอารมณ์ ได้ยินว่า มารดาบิดาของกุลธิดานั้นเมื่อไปวิหารเพื่อต้องการฟังธรรมในเวลาเย็นได้บอกว่า แม่เจ้ามีภาระหนัก ไม่อาจเพื่อเที่ยวไปในเวลาอันไม่ควรกับพวกแม่ได้ พวกแม่จะฟังธรรมให้ส่วนบุญนั้นแก่เจ้าแล้วพากันไป. กุลธิดานั้นแม้อยากจะไป แต่ไม่อาจขัดขืนคําของมารดาบิดาได้ จึงหยุดอยู่ข้างหลังยืนอยู่ที่ประตูบ้าน แลดูอยู่ซึ่งลานพระเจดีย์ที่คิริกัณฑวิหารทางอากาศด้วยแสงจันทร์ ได้เห็นการบูชาดวงประทีปแห่งพระเจดีย์ และได้เห็นบริษัท ๔ กระทําการบูชาพระเจดีย์ด้วยมาลา และของหอมเป็นต้นแล้วกระทําประทักษิณได้ฟังเสียงสาธยายเป็นคณะของหมู่ภิกษุ. ทีนั้นเมื่อนางคิดว่า โอมนุษย์ผู้มีบุญเหล่านั้นพากันไปวิหารย่อมได้เพื่อการเดินเวียนที่เนินพระเจดีย์ และได้การฟังธรรมกถาที่ไพเราะเห็นปานนี้ ดังนี้แล้ว กําลังมองดูพระเจดีย์เช่นกับกองแก้วมุกดานั่นแหละ อุพเพงคาปีติก็เกิดขึ้น. นางลอยไปในอากาศหยั่งลงที่ลานพระเจดีย์ทางอากาศก่อนกว่ามารดาบิดาทีเดียว แล้วไหว้พระเจดีย์ ยืนฟังธรรมอยู่. ทีนั้น มารดาและบิดาจึงมาถึงแล้วถามนางกุลธิดานั้นว่า แม่เจ้ามาทางไหนนางตอบว่า มาทางอากาศ มิได้มาตามทาง มารดาบิดากล่าวว่า แม่ชื่อว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 323
พระขีณาสพทั้งหลายจึงท่องเที่ยวไปทางอากาศได้ เจ้ามาได้อย่างไร? นางตอบว่า เมื่อลูกยืนแลดูพระเจดีย์อยู่โดยแสงจันทร์ ปีติมีกําลังมีพุทธคุณเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้น ทีนั้น ดิฉันไม่ทราบว่าตนยืนหรือนั่งลอยไปสู่อากาศด้วยนิมิตที่ถือเอานั่นแหละ แล้วยืนอยู่ที่ลานพระเจดีย์ อุพเพงคาปีติมีการลอยไปในอากาศ ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนผรณาปีติเกิดขึ้นแล้วก็แผ่ไปสู่สรีระทั้งสิ้น เหมือนถุงที่เต็มด้วยลม และเหมือนท้องภูเขาที่ห้วงน้ำใหญ่ไหลเข้าไปซึมซาบแล้ว.
ก็ปีติ ๕ อย่างเหล่านั้น เมื่อถือเอาครรภ์ถึงความแก่รอบย่อมยังปัสสัทธิ ๒ อย่าง คือกายปัสสัทธิ และจิตตปัสสัทธิ ให้บริบูรณ์. ปัสสัทธิเมื่อถือเอาครรภ์ถึงความแก่รอบย่อมยังสุข ๒ อย่างคือกายิกสุข และเจตสิกสุขให้บริบูรณ์ความสุข เมื่อถือเอาครรภ์ถึงความแก่รอบย่อมยังสมาธิ ๓ อย่างคือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ให้บริบูรณ์. บรรดาปีติเหล่านั้น ปีติ ๒ อย่างเว้นปีติที่ถึงความสมบูรณ์ด้วยอัปปนา ย่อมควรในกามาวจรนี้.
ความหมายของคําว่าสุข
สุขยตีติ สุขํ ธรรมที่ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า สบายอธิบายว่าความสุขย่อมเกิดแก่ผู้ใด ก็ทําบุคคลนั้นให้ถึงความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมเคี้ยวกินอย่างดี และย่อมขุด (ทําลาย) อาพาธทางกายทางใจ เพราะเหตุนั้นธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่าสุข. สุขนี้เป็นชื่อของโสมนัสสเวทนา. บัณฑิตพึงทราบลักษณะเป็นต้นของสุขนั้นโดยนัยที่กล่าวแล้วในบทแห่งเวทนานั้นแหละ อีกนัยหนึ่ง สุขมีการยินดีเป็นลักษณะ (สาตลกฺขณํ) มีการยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้เจริญเป็นรส (สปฺปยุตฺตานํ อุปพฺรูหนรสํ) มีการอนุเคราะห์เป็น
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 324
ปัจจุปัฏฐาน (อนุคฺคหณปจฺจุปฏานํ) อนึ่ง เมื่อปีติและสุขเหล่านั้นไม่แยกจากกันมีอยู่ในที่บางแห่ง ความยินดีในการได้อิฏฐารมณ์เป็นปีติ การเสวยรสอารมณ์ที่ได้แล้ว เป็นสุข ปีติมีในที่ใด สุขก็มีในที่นั้น สุขมีในที่ใดในที่นั้นไม่แน่ว่าเป็นปีติ ปีติท่านสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ สุขท่านสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์. ปีติย่อมมีในกรณีที่บุคคลเหน็ดเหนื่อยในทางกันดารได้เห็นหรือได้ยินน้ำในป่า. สุขย่อมมีในเวลาที่บุคคลนั้นเข้าไปสู่ร่มเงาในป่า และใช้สอยน้ำฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า บุรุษเดินทางไกลกันดารมาก มีเหงื่อโซมตัว มีความอยากกระหายเห็นบุรุษเดินทางสวนนาก็พึงถามว่า มีน้ำดื่มที่ไหนบ้าง บุรุษนั้นตอบว่า ผ่านดงไปมีสระธรรมชาติและป่าสูง ท่านไปในที่นั้นจักได้ ดังนี้เขาฟังคําบอกบุรุษคนนั้นแล้วก็พึงมีใจร่าเริง ยินดี เมื่อเขาไปจากที่นั้นเห็นกลีบ ก้าน ใบดอกอุบลเป็นต้นตกเกลื่อนที่แผ่นดิน ก็เป็นผู้มีจิตยินดีร่าเริงอย่างดี เมื่อเดินไปเห็นบุรุษมีผ้าเปียก ผมเปียก ฟังเสียงไก่ป่าและนกยูงป่าเป็นต้น พึงเห็นไพรสณฑ์อันเขียวเช่นกับข่ายแก้วมณีเกิดที่ในเขตสระธรรมชาติพึงเห็นดอกอุบลและดอกโกมุทเป็นต้นซึ่งเกิดในสระ พึงเห็นน้ำใสสะอาด เขาก็มีความยินดีร่าเริงยิ่ง จึงก้าวลงสู่สระธรรมชาติ อาบดื่มตามชอบใจระงับความกระวนกระวายแล้ว เคี้ยวกินเหง้ารากใบบัวเป็นต้น ประดับดอกอุบลเขียวเป็นต้น เอารากบัวขาวพาดที่บ่าขึ้นจากสระนุ่งผ้าตากผ้าที่แดดนอนอยู่ใต้ร่มเงาอันเย็น เมื่อลมอ่อนๆ โชยมาก็พึงกล่าวว่า สุขหนอ สุขหนอดังนี้ คําอุปมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบพึงเห็นอย่างนี้ว่า
ก็ปีติมีอาการร่าเริงยินดีในอารมณ์อันเป็นส่วนเบื้องต้น พึงเห็นเหมือนเวลาที่ร่าเริงยินดีนับตั้งแต่เวลาที่บุรุษนั้นได้ยินว่ามีสระธรรมชาติและไพรสณฑ์
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 325
จนกระทั่งถึงการเห็นน้ำ. สุขดํารงอยู่ด้วยอาการเสวยรสอารมณ์ถึงแล้วซึ่งกําลังพึงเห็นเหมือนบุคคลอาบน้ำ ดื่มแล้วนอนรําพึงว่า สุขหนอ สุขหนอ ที่ร่มเงาไม้อันเย็นเมื่อลมอ่อนๆ โชยมากระทบ. ก็สุขนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะความปรากฏในสมัยนั้นๆ ดังนี้ คํานี้ท่านกล่าวอธิบายว่า ก็ในที่ใดมีปีติ แม้สุขก็มีอยู่ในที่นั้นนั่นแล.
อธิบายว่าด้วยเอกัคคตาแห่งจิต
ความที่จิตมีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตา คําว่าจิตตัสเสกัคคตานี้ เป็นชื่อของสมาธิ. ก็ในบรรดาธรรมมีลักษณะเป็นต้นของสมาธินั้น ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาก่อนแล้ว. สมาธินั้นมีความเป็นประธานเป็นลักษณะ (ปาโมกฺขลกฺขโณ) และมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ (อวิกฺเขปลกฺขโณ).
จริงอยู่ สมาธิชื่อว่า เป็นประธานแห่งธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เพราะกุศลธรรมทั้งปวงสําเร็จด้วยสมาธิ เหมือนช่อฟ้าเรือนยอดชื่อว่าเป็นประธานของทัพสัมภาระของเรือนที่เหลือ เพราะเป็นเครื่องยืดไว้ เพราะเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรว่า มหาบพิตร ไม้จันทันทั้งหลายไม่ว่าอันใดแห่งเรือนยอด ไม้จันทันทั้งหมดเหล่านั้นไปรวมที่ยอดเรือนน้อมไปที่ยอด ไปประชุมกันยอด เงื้อมไปที่ยอดยอดเรือน บัณฑิตกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าไม้จันทันเหล่านั้น ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร กุศลธรรมไม่ว่าชนิดใด กุศลธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดน้อมไปสู่สมาธิ ประชุมลงที่สมาธิเงื้อมไปสู่สมาธิ สมาธิ บัณฑิต ย่อมเรียกว่าเป็นเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้นฉันนั้น สมาธิชื่อว่า มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ เพราะไม่ให้สหชาตธรรมทั้งหลายฟุ้งซ่านกระจัดกระจาย เหมือนพระราชาจอมทัพเสด็จไปสู่ที่ทหาร
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 326
ประชุมกันเนืองแน่น ในที่ที่พระองค์เสด็จไปๆ ทหารย่อมพรั่งพร้อมทําลายทหารข้าศึก ย่อมคล้อยตามพระราชานั่นแหละ.
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า สมาธิกล่าวคือเอกกัคคตาแห่งจิตนี้ มีความไม่ซ่านไปเป็นลักษณะ หรือมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ มีการประมวลมาซึ่งสหชาตธรรมทั้งหลายเข้าด้วยกันเป็นรสดุจน้ำประมวลจุรณสําหรับอาบน้ำ (ทําจุรณให้เป็นก้อน) มีความเข้าไปสงบเป็นปัจจุปัฎฐาน หรือมีญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน คือว่า บุคคลมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมทราบชัด ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ว่าโดยพิเศษ สมาธิมีสุขเป็นปทัฏฐาน บัณฑิตพึงทราบ ความตั้งอยู่แห่งจิต เหมือนการตั้งอยู่แห่งเปลวประทีปทั้งหลายที่ปราศจากลม ฉะนั้น.
ความหมายของคําว่าสัทธินทรีย์
ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้เชื่อ หรือเชื่อเองหรือเป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น ก็ชื่อว่า ศรัทธา. ศรัทธานั้น ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดี โดยครอบงําความไม่มีศรัทธา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่น ในการน้อมใจเชื่อเป็นลักษณะ. ศรัทธานั่นเองเป็นอินทรีย์ชื่อว่า สัทธินทรีย์. ก็ศรัทธานั้น มีการเลื่อมใสเป็นลักษณะ และมีความแล่นไปเป็นลักษณะ ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้นย่อมข่มนิวรณ์ทั้งหลาย ย่อมให้กิเลสสงบ ย่อมให้จิตผ่องใส ย่อมทําจิตไม่ให้ขุ่นมัว เหมือนแก้วมณีพระเจ้าจักรพรรดิอันทําน้ำให้ใสสะอาดใส่ในน้ำแล้วสามารถทําให้น้ำใสย่อมให้โคลนสาหร่าย จอกแหน เปือกตมสงบ ย่อมให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัวฉะนั้น. กุลบุตรโยคาวจรให้ทานก็ดีสมาทานศีลก็ดีกระทําอุโบสถกรรมก็ดี เริ่มภาวนาก็ดีด้วยจิตอันผ่องใส พึงทราบศรัทธานั้น อย่างนี้ว่ามีความเลื่อมใสเป็นลักษณะเพราะเหตุนั้น ท่านพระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระยามิลินทร์ว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 327
มหาบพิตร พระเจ้าจักรพรรดิข้ามแม่น้ำน้อยพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา น้ำนั้นพึงกระทบกระเทือนด้วยช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้าทั้งหลายก็ขุ่นมัว ขุ่นข้นเป็นเปือกตม พระราชาทรงข้ามไปแล้ว จึงสั่งมนุษย์ทั้งหลายว่า แนะพนายพวกเธอจงนําน้ำดื่มมา เราจักดื่มน้ำนั้น ก็พระราชามีแก้วมณีสําหรับทําน้ำให้ใสสะอาด พวกมนุษย์จึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วเอาแก้วมณีอันทําน้ำให้ใสนั้นใส่ลงในน้ำ พร้อมกับการตกไปในน้ำ โคลน สาหร่าย จอกแหนเปือกตมก็สงบ น้ำพึงเป็นน้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัว จากนั้นพวกมนุษย์ก็น้อมน้ำดื่มถวายพระราชา กราบทูลว่า ขอพระองค์ผู้สมมติเทพ จงทรงดื่มพระเจ้าข้า.
ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์พึงเห็นจิตเหมือนน้ำ พึงเห็นกุลบุตรโยคาวจรเหมือนมนุษย์เหล่านั้น พึงเห็นกิเลสทั้งหลายเหมือนโคลนสาหร่าย จอกแหนเปือกตม พึงเห็นศรัทธาเหมือนแก้วมณีทําน้ำให้ใสสะอาดขอถวายพระพรมหาบพิตรศรัทธาเมื่อเกิดย่อมข่มนีวรณ์ทั้งหลายจิตปราศจากนิวรณ์ก็ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว เหมือนเมื่อใส่แก้วมณีอันยังน้ำให้ใสสะอาดแล้วโคลน สาหร่าย จอกแหนเปือกตมย่อมสงบ น้ำย่อมใสสะอาดไม่ขุ่นมัว ฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า เหล่าชนผู้กลัวอาศัยมหานทีที่เกลื่อนกล่นไปด้วยจระเข้มังกร และรากษสร้ายเป็นต้น ก็ยืนอยู่ที่ฝังแม่น้ำทั้งสอง ส่วนทหารผู้ใหญ่ผู้กล้าในสงครามมาถึงจึงถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงยืนอยู่ เมื่อเขากล่าวว่า พวกเราไม่อาจข้ามเพราะมีภัยเฉพาะหน้า จึงจับดาบที่ตนเคยชํานาญมาแล้วนั้น แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงมาข้างหลังเรา อย่ากลัวเลย แล้วก้าวลงสู่แม่น้ำ ป้องกันจระเข้เป็นต้นที่มาแล้วๆ กระทําความสวัสดีแก่พวกมนุษย์ทั้งหลาย นําจากฝังนี้ไปฝังโน้น จากฝังโน้นมาที่ฝังนี้ ฉันใด เมื่อบุคคล
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 328
ให้ทานรักษาศีล กระทําอุโบสถกรรม เริ่มภาวนา ศรัทธาย่อมเป็นหัวหน้าเป็นภาวะนําหน้าไป เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า ศรัทธา มีการแล่นไปเป็นลักษณะ ดังนี้.
อีกนัยหนึ่ง ศรัทธามีการเชื่อเป็นลักษณะ หรือมีการเชื่อมั่นเป็นลักษณะ. มีการผ่องใสเป็นรส ราวกะแก้วมณีทําน้ำให้ใสสะอาด หรือว่ามีการแล่นไปเป็นรสเหมือนการข้ามห้วงน้ำ มีการไม่ขุ่นมัวเป็นปัจจุปัฏฐานหรือมีการน้อมใจเชื่อเป็นปัจจุปัฏฐาน มีวัตถุเป็นตั้งแห่งศรัทธาเป็นปทัฏฐานหรือมีโสดาปัตติยังคะเป็นปทัฏฐาน บัณฑิตพึงเห็นเหมือนมือ ทรัพย์สมบัติ และพืช.
ความหมายของคําว่า วิริยินทรีย์
ความเป็นแห่งบุคคลผู้กล้า ชื่อว่า วิริยะ หรือการงานของบุคคลผู้กล้า ชื่อว่า วิริยะ หรือว่า ชื่อว่า วิริยะ เพราะอรรถว่า พึงดําเนินไปคือให้เป็นไปโดยวิธี คือโดยนัย โดยอุบาย วิริยะนั้นนั่น แหละ ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดีเพราะครอบงําโกสัชชะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะของความเพียร. ความเพียรนั่นแหละเป็นอินทรีย์ชื่อว่า วิริยินทรีย์. ก็วิริยะนี้นั้น มีการอุปถัมภ์คือค้ำจุนไว้เป็นลักษณะ และมีความประคองไว้เป็นลักษณะ เหมือนอย่างว่าเรือนเก่า ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยเสาอื่นนํามาค้ำจุนไว้ ฉันใด พระโยคาวจรก็เหมือนกันนั่นแหละ เป็นผู้ได้อุปถัมภ์แล้วด้วยความอุปถัมภ์ของความเพียรกุศลธรรมทั้งปวงจึงไม่เสื่อมสูญไป พึงทราบความที่วิริยินทรีย์นั้น มีความอุปถัมภ์คือค้ำจุนไว้เป็นลักษณะอย่างนี้ก่อน ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 329
จึงถวายพระพรกะพระยามิลินทร์ว่า มหาบพิตร วิริยะมีการอุปถัมภ์คือค้ำจุนไว้เป็นลักษณะ กุศลธรรมทั้งหมดมีวิริยอุปถัมภ์ค้ำจุนแล้ว ย่อมไม่เสื่อมไปเหมือนเมื่อบ้านเก่าจะพังไป ได้ไม้อื่นมาค้ำจุนไว้ บ้านเรือนที่มีเสาอุปถัมภ์ค้ำจุนแล้วนั่นแหละก็ไม่พึงล้มไป ฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า กองทัพน้อยและกองทัพใหญ่ทําสงครามกัน กองทัพน้อยถอยร่นมา ทีนั้นเขาพึงกราบทูลพระราชา พระราชาพึงส่งพลและพาหนะไป กองทัพของพระองค์อันพลและพาหนะสนับสนุนแล้ว พึงยังกองทัพของข้าศึกให้พ่ายแพ้ฉันใด วิริยะก็เหมือนกันนั่นแหละ ย่อมไม่ทําให้สัมปยุตธรรมที่เกิดพร้อมกันให้ล้าให้ถอย ย่อมยกคือย่อมประคองไว้ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า วิริยะ มีความประคองไว้เป็นลักษณะ.
อีกนัยหนึ่ง วิริยะมีความอุตสาหะเป็นลักษณะ มีความอุปถัมภ์สหชาตธรรมทั้งหลายเป็นรส มีความไม่ท้อถอยเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความสลดใจเป็นปทัฏฐาน เพราะพระบาลีว่า สํวิคฺโค โยนิโส ปทหติ (ความสลดย่อมเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย) หรือมีวัตถุแห่งวิริยารัมภะเป็นปทัฏฐาน. บัณฑิตพึงทราบว่า ความเพียรอันเริ่มตั้งไว้โดยชอบ เป็นมูลเหตุแห่งสมบัติทั้งปวง ดังนี้.
ความหมายของคําว่า สตินทรีย์
ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะเป็นเหตุระลึก หรือว่าย่อมระลึกเอง หรือว่าเป็นเพียงการระลึกเท่านั้น. ก็สตินั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถเป็นอธิบดีโดยครอบงําความเป็นผู้หลงลืมด้วยสติ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการอุปการะ สตินั่นแหละเป็นอินทรีย์
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 330
ชื่อว่า สตินทรีย์. ก็สตินี้นั้นมีการระลึก (การไม่ฟันเฟือน) เป็นลักษณะและมีการเข้าไปประคองไว้เป็นลักษณะ สติย่อมให้กําหนด ย่อมให้ระลึกกุศลกรรมโดยชอบ เหมือนขุนคลังของพระราชารักษารัตนะ ๑๐ อย่าง ย่อยังพระราชาให้กําหนด ให้ระลึกถึงอิสริยสมบัติในเวลาเย็นเวลาเช้า ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระราชาว่า มหาบพิตร ขุนคลังของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมให้พระเจ้าจักรพรรดิให้ระลึกถึงอิสริยสมบัติทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าว่า ข้าแต่เทวะ ช้างมีประมาณเท่านี้ ม้ามีประมาณเท่านี้ รถมีประมาณเท่านี้ พลเดินเท้ามีประมาณเท่านี้ เงินมีประมาณเท่านี้ ทองมีประมาณเท่านี้ สมบัติทั้งปวงมีประมาณเท่านี้ ขอเทวะจงระลึกถึงอิสริยสมบัตินั้น ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมให้ระลึกถึงกุศลธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อินทรีย์ ๔ เหล่านี้ พละ ๕ เหล่านี้ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ นี้อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้สมถะ นี้วิปัสสนา เหล่านี้เป็นอริยสัจ นี้เป็นวิชชา นี้เป็นวิมุตติ เหล่านั้นเป็นโลกุตรธรรม มหาบพิตร สติมีการระลึกเป็นลักษณะอย่างนี้แล.
ก็สติใคร่ครวญคติทั้งหลายแห่งธรรมที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ รู้ว่าธรรมทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้นเหล่านี้ ว่าไม่มีประโยชน์ ย่อมบรรเทาธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ รู้ว่าธรรมมีกายสุจริตเป็นต้นเหล่านี้เป็นประโยชน์ ย่อมประคับประคองธรรมที่เป็นประโยชน์ เหมือนปริณายกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิรู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นประโยชน์ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมนําสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป ย่อมน้อมเข้ามาซึ่งสิ่งเป็นประโยชน์ ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระถึงถวายพระพรพระราชาว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 331
มหาบพิตร ปริณายกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์แก่พระเจ้าจักรพรรดิว่า สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่พระราชาสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งเหล่านั้นเป็นอุปการะ สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นอุปการะดังนี้ จากนั้นก็จะบรรเทา (กําจัด) สิ่งไม่เป็นประโยชน์ ย่อมประคับประคองสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติฉันนั้นเหมือนกันแลเมื่อเกิดขึ้น ย่อมใคร่ครวญสติทั้งหลายแห่งธรรมที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์ธรรมเหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ดังนี้ จากนั้นย่อมบรรเทา (กําจัด) ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ ย่อมประคับประคองธรรมที่เป็นประโยชน์มหาบพิตร สติมีการประคับประคองเป็นลักษณะอย่างนี้แล.
ก็อีกนัยหนึ่ง สติมีการระลึกเป็นลักษณะ มีการไม่หลงลืมเป็นรสมีการอารักขา (การรักษาอารมณ์) เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีการมุ่งต่ออารมณ์เป็นปทัฏฐาน มีการจําได้อันมั่นคงเป็นปทัฏฐาน หรือว่ามีกายคตาสติปัฏฐานเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน ก็บัณฑิตพึงเห็นสติเหมือนเสาเขื่อน เพราะตั้งอยู่มั่นคงในอารมณ์ และเหมือนนายทวารผู้รักษาประตู เพราะรักษาทวารทั้งหลายมีจักขุทวารเป็นต้น.
ความหมายของสมาธินทรีย์
ธรรมที่ชื่อว่า สมาธิ เพราะตั้งมั่น คือวางจิตไว้ในอารมณ์โดยชอบก็สมาธินั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดี เพราะครอบงําความฟุ้งซ่าน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน. สมาธินั่นแหละเป็นอินทรีย์ชื่อว่า สมาธินทรีย์
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 332
ก็ธรรมมีลักษณะเป็นต้นของสมาธินั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ความหมายของคําว่า ปัญญินทรีย์
ปชานาตีติ ปฺา ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่าย่อมรู้ทั่ว. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอริยสัจทั้งหลายโดยนัยมีคําว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมให้รู้ ถามว่า ย่อมให้รู้อะไร? ตอบว่า ย่อมให้รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.
ก็ปัญญานั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดีเพราะครอบงําอวิชชา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะแห่งการเห็น. ปัญญานั่นแหละเป็นอินทรีย์ชื่อว่า ปัญญินทรีย์. ก็ปัญญานี้นั้นมีการส่องแสงเป็นลักษณะ. และมีการรู้ทั่วเป็นลักษณะ เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคลจุดประทีปให้สว่างในเวลากลางคืนในบ้านที่มีฝา ๔ ด้านความมืดย่อมหมดไป แสงสว่างย่อมปรากฏฉันใด ปัญญามีการส่องสว่างฉันนั้นเหมือนกัน. ธรรมดาแสงสว่างเสมอด้วยแสงสว่างของปัญญาย่อมไม่มี. จริงอยู่เมื่อมหาบุรุษผู้มีปัญญานั่งโดยบัลลังก์หนึ่ง หมื่นโลกธาตุก็มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระราชาว่ามหาบพิตร ในเวลาที่มืดค่ําแล้ว บุรุษพึงเอาประทีปเข้าไปวางไว้ในบ้านประทีปที่นําเข้าไปแล้วย่อมกําจัดความมืด ย่อมยังโอภาสให้เกิดขึ้น ย่อมยังแสงสว่างให้รุ่งโรจน์ ย่อมทํารูปทั้งหลายให้ปรากฏ ฉันใด มหาบพิตร ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้นย่อมกําจัดความมืดคือ อวิชชา ย่อมยังโอภาส
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 333
คือวิชชาให้เกิด ย่อมยังแสงสว่างคือญาณให้รุ่งโรจน์ และย่อมทําอริยสัจจะทั้งหลายให้ปรากฏ มหาบพิตร ปัญญามีการส่องสว่างเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ที่เลวและประณีต ทีดําและขาว และที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ เหมือนแพทย์ผู้ฉลาดย่อมรู้เภสัชเป็นต้นที่เป็นที่สบายและไม่สบายแก่บุคคลผู้ป่วย ฉะนั้น. สมดังคําพระธรรมเสหาบดีกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส ธรรมชาติใดย่อมรู้ทั่ว เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ปัญญา. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วว่า นี้ทุกข์เป็นต้น ข้อความนี้บัณฑิตพึงให้พิสดาร. พึงทราบความที่ปัญญานั้นมีความรู้ทั่วเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดสภาวะเป็นลักษณะ หรือการแทงตลอดไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะดุจการแทงของลูกศรที่นายขมังธนูผู้ฉลาดยิงไปฉะนั้น มีการส่องให้เห็นอารมณ์เป็นรสดุจประทีป มีการไม่หลงใหลเป็นปัจจุปัฏฐานดุจผู้ชี้ทางแก่บุคคลไปมาฉะนั้น.
ความหมายของคําว่า มนินทรีย์
ธรรมที่ชื่อว่า มนะ เพราะย่อมรู้ คือย่อมรู้แจ้ง.
แต่ท่านอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า มนะ เพราะย่อมรู้อารมณ์ เหมือนบุคคลนับอยู่ด้วยทะนาน และเหมือนชั่งอยู่ด้วยชั่งใหญ่ฉะนั้น. มนะนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะแห่งความรู้. มนะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ จึงชื่อว่า มนินทรีย์.มนะนี้เป็นคําไวพจน์ของจิตตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 334
ความหมายของคําว่า โสมนัสสินทรีย์
บุคคลชื่อว่า สุมนะ เพราะมีใจงาม เพราะสัมปโยคะด้วยปีติและโสมนัส ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีใจงาม ชื่อว่า โสมนัสสะ โสมนัสสะนั้นชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะแห่งความยินดี. โสมนัสสะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์นี้เป็นไวพจน์ของเวทนาตามที่กล่าวแล้วในหนหลังแล.
ความหมายของชีวิตินทรีย์
ธรรมที่ชื่อว่า ชีวิต เพราะเป็นเหตุให้ธรรมที่สัมปยุตด้วยชีวิตินทรีย์นั้นเป็นอยู่. ชีวิตนั้นชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะแห่งการตามรักษา. ชีวิตนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ ชีวิตินทรีย์นั้น เป็นอธิบดีในความเป็นไปและสืบต่อ. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น ชีวิตินทรีย์มีการตามรักษาธรรมที่เกิดแล้วโดยไม่เว้นตนเป็นลักษณะ มีการเป็นไปแห่งสัมปยุตธรรมเหล่านั้นเป็นรส มีการดํารงอยู่แห่งสัมปยุตตธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน มีธรรม (คือ เวทนา สัญญาวิญญาณ) ที่เป็นอยู่เป็นปทัฏฐานะ เมื่อการทรงไว้มีการตามรักษาเป็นต้นแม้มีอยู่ ชีวิตินทรีย์ก็ย่อมตามรักษาธรรมในขณะที่มีอยู่เท่านั้น เหมือนน้ำตามรักษาอยู่ซึ่งดอกอุบลเป็นต้น และย่อมรักษาธรรมทั้งหลายอันเกิดขึ้น เพราะปัจจัยตามความเป็นของตนดุจแม่นมเลี้ยงดูกุมาร และเป็นไปโดยสัมพันธ์กับธรรมที่ตนให้เป็นไปดุจต้นหนยังเรือให้แล่นไป ชีวิตินทรีย์นั้นให้เป็นไปเหนือภังคขณะไม่ได้ เพราะความที่ตนและธรรมที่ตนให้เป็นไปไม่มี ย่อมไม่ตั้งอยู่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 335
ในภังคขณะเพราะตนเองก็ต้องแตกดับ ดุจไส้น้ำมันสิ้นไปอยู่ เปลวประทีปก็ดับไป บัณฑิตไม่พึงเห็นชีวิตินทรีย์ว่าเว้นจากอานุภาพแห่งการรักษา การให้เป็นไป การดํารงไว้เพราะชีวิตินทรีย์ยังอานุภาพนั้นๆ ให้สําเร็จ ดังนี้.
อธิบายว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นต้น
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น องค์มรรคที่ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าการเห็น. ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าการยกขึ้น. ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าการประคอง. ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะอรรถว่าการอุปการะ. ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าการไม่ฟุ้งซ่าน. ก็ว่าโดยวจนัตถะ คือความหมายของพระบาลี ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นชอบหรือว่าเป็นเหตุให้เห็นชอบ. ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะดําริชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ดําริชอบ. ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะพยายามชอบหรือว่าเป็นเหตุให้พยายามชอบ. ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะระลึกชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ระลึกชอบ. ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะตั้งมั่นโดยชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ตั้งมั่นโดยชอบ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบวจนัตถะขององค์มรรคนั้นโดยนัยแม้นี้ว่า ทิฏฐิอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วเป็นทิฏฐิดีชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. ส่วนธรรมมีลักษณะเป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
อธิบายว่าด้วยศรัทธาพละเป็นต้น
ธรรมมีศรัทธาพละเป็นต้น มีเนื้อความตามกล่าวไว้แม้ในศรัทธาพละนั่นแหละ แต่ว่าพึงทราบว่า พละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า วิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 336
ชื่อว่า สติพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความหลงลืมสติ. ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความฟุ้งซ่าน. ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา. ชื่อว่า หิริพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในอหิริกะ. ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในอโนตตัปปะ นี้เป็นการพรรณนาเนื้อความด้วยอํานาจบททั้งสอง ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาพละ ๗ เหล่านั้น พละ ๕ เบื้องต้นข้าพเจ้าประกาศแล้วโดยลักษณะเป็นต้นนั่นแหละ พละ ๒ บทหลัง มีคําอธิบายว่า ธรรมที่ชื่อว่า หิริ เพราะละอายแต่กายทุจริตเป็นต้น คําว่า หิรินี้ เป็นชื่อของความละอาย ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะความเกรงกลัวแต่กายทุจริตเป็นต้นเหล่านั้นเหมือนกัน คําว่า โอตตัปปะนี้ เป็นชื่อของความเกรงกลัวต่อบาป. เพื่อการแสดงความต่างกันแห่งหิริและโอตตัปปะทั้ง ๒ นั้น ท่านจึงเริ่มตั้งมาติกา (แม่บท) นี้ว่า สมุฏานํ อธิปติลชฺชาภยลกฺขเณน วา (สมุฏฐาน อธิบดีลัชชาภัยและลักษณะ) ดังนี้.
ว่าโดยสมุฏฐานเป็นต้น ชื่อว่า หิริ เพราะมีเหตุภายในเป็นสมุฏฐาน. ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะมีเหตุภายนอกเป็นสมุฏฐาน. ชื่อว่า หิริ เพราะมีอัตตาเป็นอธิบดี ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะมีโลกเป็นอธิบดี. ชื่อว่า หิริ เพราะตั้งอยู่โดยสภาพแห่งความละอาย. ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะตั้งอยู่โดยสภาพแห่งความกลัว. ชื่อว่า หิริ เพราะมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะ ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะมีความกลัวโทษและเห็นเป็นลักษณะ บรรดาหิริและโอตตัปปะเหล่านั้น บุคคลย่อมให้หิริอันมีเหตุภายในเป็นสมุฏฐานด้วยเหตุ ๔ คือ พิจารณาถึงชาติ พิจารณาถึงวัย พิจารณาถึงความเป็นผู้กล้า พิจารณาถึงความเป็นพหูสูต. ถามว่า พิจารณาอย่างไร ตอบว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 337
เบื้องต้นบุคคลพิจารณาถึงชาติอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การกระทําความชั่วนี้ไม่ใช่การงานของบุคคลสมบูรณ์ด้วยชาติ การงานนี้เป็นของบุคคลผู้มีชาติมีพวกประมงเป็นต้น การงานนี้ไม่สมควรแก่บุคคลผู่สมบูรณ์ด้วยชาติ เช่นดังเรา แล้วไม่ทําปาณาติบาต เป็นต้น ชื่อว่า ยังหิริให้ตั้งขึ้น.
อนึ่ง บุคคลผู้พิจารณาถึงวัยอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การทําบาปนี้เป็นการกระทําอันคนหนุ่มทั้งหลายพึงกระทํา การทํานี้ไม่สมควรแก่ผู้ดํารงอยู่ในวัยเช่นอย่างเรา แล้วไม่ทําปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมยังหิริให้ตั้งขึ้น.
อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงความเป็นผู้กล้าอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การทําบาปนี้เป็นการทําของบุคคลผู้มีชาติอ่อนแอ การทํานี้ไม่สมควรแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความกล้าเช่นเรา แล้วไม่ทําปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมยังหิริให้ตั้งขึ้น.
อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงความเป็นพหูสูตอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าการทําบาปนี้เป็นการกระทําของบุคคลอันพาลไม่ใช่ของบัณฑิต การทํานี้ไม่สมควรแก่บุคคลผู้เป็นพหูสูต ผู้เป็นบัณฑิตเช่นกับเราแล้วไม่ทําบาป ชื่อว่า ย่อมยังหิริให้ตั้งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลชื่อว่า ย่อมยังหิริอันมีเหตุภายในเป็นสมุฏฐานให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ๔ อย่าง ก็และครั้นให้ตั้งขึ้น คือให้หิริเข้าไปตั้งไว้ในจิตของตนไม่กระทําบาปกรรม ชื่อว่า หิริ มีเหตุภายในเป็นสมุฏฐานด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ชื่อว่า โอตตัปปะ มีเหตุภายนอกเป็นสุมุฏฐาน อย่างไร
ตอบว่า ถ้าท่านจักทําบาป ท่านก็จักถูกบริษัท ๔ ติเตียน จริงอยู่ เมื่อบุคคลพิจารณาอยู่อย่างนี้ว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 338
วิญูชนทั้งหลายจักติเตียนเธอ เธอจักเป็นอันบุคคลผู้มีศีลทั้งหลายเว้นแล้วเหมือนชาวพระนครเว้นของไม่สะอาด
ดูก่อนภิกษุ เธอจักทําอย่างไรเล่า ดังนี้.
บุคคลนั้นย่อมไม่ทําบาปกรรมเพราะโอตตัปปะอันเหตุภายนอกเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า โอตตัปปะ มีเหตุภายนอกเป็นสมุฏฐาน ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ชื่อว่า หิริ มีอัตตาเป็นอธิบดี อย่างไร.
ตอบว่า กุลบุตรบางคนในโลกนี้กระทําตนให้เป็นใหญ่ให้เป็นหัวหน้าแล้วคิดว่า การทําความชั่วไม่สมควรแก่บุคคลผู้บวชด้วยศรัทธา เป็นพหูสูต ผู้ปฏิบัติธุดงค์ ผู้เช่นกับเราแล้วไม่ทําบาปกรรม ชื่อว่า หิริ มีอัตตาเป็นอธิบดี อย่างนี้ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลนั้นกระทําตนเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ให้เป็นหัวหน้าแล้วย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมไม่มีโทษ ย่อมบริหารตนให้หมดจด ดังนี้.
ถามว่า ชื่อว่า โอตตัปปะ มีโลกเป็นอธิบดี อย่างไร
ตอบว่า กุลบุตรบางคนในโลกนี้กระทําโลกให้เป็นใหญ่ให้เป็นหัวหน้า แล้วไม่ทําบาปกรรม เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่าก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่แล อนึ่ง ในโลกสันนิวาสใหญ่แล ย่อมมีสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของผู้อื่น สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แม้แต่ที่ไกล แม้แต่ที่ใกล้เราก็มองไม่เห็นท่าน สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมรู้ชัดซึ่งจิตแม้ด้วยจิต ท่านแม้เหล่านั้นจักรู้เราอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงดูกุลบุตรนี้ซิ เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน แต่เกลื่อนกล่นด้วยอกุศลธรรมอันลามกอยู่ ดังนี้ ถึงเทวดาทั้งหลายที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้ใจผู้อื่นก็มีอยู่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 339
เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แม้แต่ที่ไกล แม้ท่านอยู่ใกล้พวกเราก็ไม่เห็นเทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตแม้ด้วยจิต ถึงพวกเทวดาเหล่านั้นก็จักรู้เราอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงดูกุลบุตรนี้ซิ เป็นผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายอยู่ ดังนี้ บุคคลนั้นกระทําโลกเท่านั้นให้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าแล้วย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมไม่มีโทษ ย่อมบริหารตนให้หมดจด ชื่อว่า โอตตัปปะ มีโลกเป็นอธิบดีด้วยประการฉะนี้.
ก็บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคําว่า หิริ อันตั้งขึ้นด้วยสภาวะ คือความละอาย และโอตตัปปะอันตั้งขึ้นด้วยสภาวะคือความกลัวต่อไป คําว่าละอาย ได้แก่ อาการที่น่าละอาย อธิบายว่า หิริตั้งอยู่โดยสภาวะที่น่าละอายนั้น. คําว่า กลัว ได้แก่กลัวอบาย อธิบายว่า โอตตัปปะตั้งอยู่โดยสภาวะที่กลัวนั้น. หิริและโอตตัปปะแม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมปรากฏในการเว้นจากความชั่ว. จริงอยู่ คนบางคนก้าวลงสู่ธรรมคือ ความละอายในภายใน ย่อมไม่ทําบาป เหมือนอย่างกุลบุตรบางคนผู้กระทําการถ่ายอุจจาระปัสสาวะเป็นต้น เห็นบุคคลแม้คนเดียวที่ตนควรละอายก็พึงถึงอาการละอาย พึงแอบแล้วเป็นผู้ละอายแล้วไม่ทําการถ่ายอุจจาระปัสสาวะฉะนั้น. คนบางคนเป็นผู้กลัวต่อภัยในอบายแล้วก็ไม่ทําบาปกรรม. ในอธิการแห่งหิริและโอตตัปปะนั้น มีข้ออุปมาดังนี้เปรียบเหมือนก้อนเหล็ก ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งเย็นแต่เปื้อนคูถ ก้อนหนึ่งร้อนลุกโพลง บรรดาก้อนเหล็กทั้ง ๒ นั้น คนฉลาดรังเกียจก้อนเหล็กที่เย็นแต่เปื้อนคูถจึงไม่จับ รังเกียจก้อนเหล็กนอกนี้เพราะกลัวความร้อน ในการอุปมานั้น พึงทราบการที่บุคคลก้าวลงสู่ธรรม คือความละอายภายในแล้วไม่ทําบาปเหมือนคนฉลาดไม่จับก้อนเหล็กเย็นที่เปื้อนคูถเพราะความรังเกียจ. พึงทราบการไม่ทําบาปเพราะกลัวอบาย เหมือนบุคคลไม่จับก้อนเหล็กร้อนเพราะกลัวความร้อน ฉะนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 340
หิริมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะ โอตตัปปะมีความกลัวโทษและเห็นภัยเป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง ๒ แม้นี้จึงปรากฏในการเว้นจากบาปเหมือนกัน. จริงอยู่ คนบางคนยังหิริอันมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะให้ตั้งขึ้น แล้วไม่ทําบาปด้วยเหตุ ๔ คือ พิจารณาถึงชาติที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงศาสดาที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงความเป็นทายาทที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงเพื่อนพรหมจารีที่เป็นใหญ่ บางคนยังโอตตัปปะอันมีความกลัวโทษและเห็นภัยเป็นลักษณะให้ตั้งขึ้น แล้วไม่ทําบาปด้วยเหตุ ๔ คือ ภัยเกิดแต่การติเตียนตนเอง ภัยเกิดแต่การติเตียนแต่ผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่ทุคติ. บรรดาเหตุทั้ง ๘ เหล่านั้น บัณฑิตพึงกล่าวถึงการพิจารณาชาติที่เป็นใหญ่เป็นต้น และภัยมีการติเตียนตนเองเป็นต้นให้พิสดาร.
ความหมายของคําว่า อโลภะ
ธรรมที่ชื่อว่า อโลภะ เพราะเป็นเหตุให้ไม่โลภ หรือว่า ตัวเองไม่โลภ หรือว่าเป็นเพียงความไม่โลภ. แม้ในอโทสะและอโมหะก็นัยนี้เหมือนกัน บรรดาธรรมทั้ง ๓ เหล่านั้น อโลภะมีความที่จิตไม่กําหนัดในอารมณ์เป็นลักษณะ หรือมีความที่จิตไม่ติดในอารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนหยดน้ำไม่ติดบนใบบัว มีการไม่หวงแหนเป็นรส เหมือนภิกษุพ้นแล้ว มีการไม่ติดใจเป็นปัจจุปัฏฐาน เหมือนบุรุษผู้ตกไปในของไม่สะอาด ฉะนั้น. อโทสะมีการไม่ดุร้ายเป็นลักษณะ หรือว่า มีการไม่พิโรธเป็นลักษณะเหมือนมิตรผู้ช่วยเหลือ มีการกําจัดความอาฆาตเป็นรส หรือว่า มีการกําจัดความเร่าร้อนเป็นรส เหมือนเนื้อไม้จันทน์ มีความร่มเย็นเป็นปัจจุปัฏฐานเหมือนจันทร์เพ็ญ. ส่วนอโมหะพร้อมทั้งลักษณะเป็นต้น ท่านตั้งบทอธิบายเหมือนปัญญินทรีย์ตามที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 341
อนึ่ง ในธรรมทั้ง ๓ เหล่านั้น อโลภะเป็นข้าศึกต่อมลทินคือความตระหนี่ อโทสะเป็นข้าศึกต่อมลทินคือความเป็นผู้ทุศีล อโมหะเป็นข้าศึกต่อความไม่เจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย และในบรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะเป็นเหตุแห่งทาน อโทสะเป็นเหตุแห่งศีล อโมหะเป็นเหตุแห่งภาวนา. บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น บุคคลมีความไม่โลภย่อมถือเอาไม่มาก เพราะผู้โลภจึงถือเอามาก บุคคลไม่มีโทสะย่อมถือเอาไม่พร่อง เพราะผู้โทสะประทุษร้ายจึงถือเอาพร่อง บุคคลไม่มีความหลงย่อมถือเอาไม่วิปริต เพราะผู้หลงจึงถือเอาวิปริต.
อนึ่ง ในบรรดาคุณธรรมเหล่านั้น บุคคลทรงจําโทษที่มีอยู่โดยความเป็นโทษ ย่อมเปิดเผยโทษทั้งหลายไปเพราะความไม่โลภ เพราะว่า บุคคลโลภแล้วย่อมปกปิดโทษ. บุคคลทรงจําคุณที่มีอยู่โดยความเป็นคุณ ย่อมประกาศคุณทั้งหลายให้เป็นไปเพราะความไม่มีโทสะ เพราะว่า บุคคลมีโทสะประทุษร้ายแล้ว ย่อมลบหลู่คุณท่าน. บุคคลทรงจําไว้ซึ่งสภาวะตามความเป็นจริง โดยสภาวะตามความเป็นจริง ย่อมประกาศสภาวะตามความเป็นจริงให้เป็นไปเพราะความไม่หลง เพราะว่า บุคคลหลงย่อมถือเอาสิ่งที่แท้จริง ว่าเป็นสิ่งที่ไม่แท้จริง ถือเอาสิ่งที่ไม่แท้จริง ว่าเป็นสิ่งที่แท้จริง.
อนึ่ง ทุกข์มีการพลัดพรากจากของที่รักย่อมไม่มี เพราะความไม่โลภ เพราะคนโลภแล้ว มีสภาวะยึดถือความรัก และเพราะอดทนต่อการพลัดพรากของที่รักไม่ได้. ทุกข์อันประสบกับของอันไม่เป็นที่รักย่อมไม่มี เพราะความไม่มีโทสะ เพราะบุคคลมีโทสะประทุษร้าย แล้วมีสภาวะยึดสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก และเพราะอดทนต่อการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักไม่ได้. ทุกข์มีการไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาย่อมไม่มี เพราะความไม่หลง เพราะบุคคลผู้ไม่หลงมีการเจริญพิจารณาอย่างนี้ว่า พวกท่านพึงได้สิ่งนั้นในที่นี้แต่ที่ไหน เป็นต้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 342
อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านี้ ชาติทุกข์ย่อมไม่มีเพราะอโลภะ เพราะอโลภะเป็นปฏิปักษ์ต่อตัณหา และชาติทุกข์มีตัณหาเป็นมูล. ชราทุกข์ย่อมไม่มีเพราะอโทสะ เพราะบุคคลมีโทสะกล้าเป็นผู้มีสภาวะคือความชราเร็วพลัน. มรณทุกข์ย่อมไม่มีเพราะอโมหะ เพราะการตายของบุคคลผู้หลงเป็นทุกข์ แต่ทุกข์นั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หลง.
อนึ่ง การอยู่ร่วมกันเป็นสุขของคฤหัสถ์ทั้งหลายเพราะความไม่โลภ การอยู่ร่วมกันเป็นสุขของบรรพชิตทั้งหลายเพราะความไม่หลง การอยู่ร่วมกันเป็นสุขของคฤหัสถ์และบรรพชิตแม้ทั้งหมด เพราะความไม่มีโทสะ.
อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น ว่าโดยพิเศษ ความเกิดขึ้นในปิตติวิสัยย่อมไม่มีเพราะความไม่โลภ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายโดยมากย่อมเข้าถึงปิตติวิสัยเพราะตัณหา ด้วยว่า ความไม่โลภเป็นปฏิปักษ์ต่อตัณหา. ความเกิดในนรกย่อมไม่มีเพราะความไม่มีโทสะ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงนรกเช่นกับโทสะ เพราะความเป็นผู้ดุร้ายด้วยโทสะ ด้วยว่าอโทสะเป็นปฏิปักษ์ต่อโทสะ. การเกิดในกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานย่อมไม่มีเพราะความไม่หลง จริงอยู่บุคคลทั้งหลายผู้หลงเป็นนิตย์ด้วยโมหะย่อมเข้าถึงกําเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยว่าอโมหะเป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ. บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะย่อมไม่ทําความเกี่ยวข้องด้วยอํานาจแห่งราคะ อโทสะย่อมไม่ทําความเกี่ยวข้องด้วยอํานาจแห่งโทสะ อโมหะย่อมไม่ทําความเป็นกลางด้วยอํานาจแห่งโมหะ.
อนึ่ง ว่าโดยคุณธรรมเหล่านั้นแม้ทั้ง ๓ ย่อมได้สัญญา ๓ เหล่านี้ ตามลําดับ คือ เนกขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหึสาสัญญา และสัญญา ๓ เหล่านี้ คือ อสุภสัญญา อัปปมาณสัญญา ธาตุสัญญา ก็การเว้นธรรมที่สุดคือกามสุขัลลิกานุโยคย่อมมีเพราะอโลภะ การเว้นธรรมที่สุดคือ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 343
อัตตกิลมถานุโยคย่อมมีเพราะอโทสะ การดําเนินไปด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นมัชฌิมาย่อมมีเพราะอโมหะ อนึ่ง การทําลายอภิชฌากายคัณฐะย่อมมีเพราะอโลภะ การทําลายพยาปาทกายคัณฐะย่อมมีเพราะอโทสะ การทําลายคัณฐะทั้ง ๒ที่เหลือย่อมมีเพราะอโมหะ และสติปัฏฐาน ๒ ข้อเบื้องต้น ย่อมสําเร็จด้วยอานุภาพ (ความยิ่งใหญ่) แห่งคุณธรรม ๒ ข้อเบื้องต้น สติปัฏฐาน ๒ ข้อหลังย่อมสําเร็จด้วยอานุภาพแห่งคุณธรรมข้อหลังเท่านั้น.
อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะย่อมเป็นปัจจัยแก่ความไม่มีโรคเพราะบุคคลไม่โลภแล้วย่อมไม่เสพอสัปปายะ แม้เป็นอารมณ์ของโลภะ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ไม่โลภจึงไม่มีโรค. อโทสะย่อมเป็นปัจจัยแก่ความหนุ่มสาวเพราะบุคคลไม่มีโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็ไม่ถูกไฟคือโทสะอันนํามาซึ่งความเป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น และผมหงอกแผดเผาอยู่ ย่อมเป็นหนุ่มสาวได้นาน. อโมหะย่อมเป็นปัจจัยแก่ความมีอายุยืน เพราะบุคคลผู้ไม่หลง รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ก็เว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เสพสิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงเป็นผู้มีอายุยืน.
อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะเป็นปัจจัยแก่โภคสมบัติ เพราะคนไม่โลภแล้วก็เป็นผู้ได้เฉพาะซึ่งโภคะด้วยจาคะ. อโทสะเป็นปัจจัยแก่การได้มิตตสมบัติ เพราะเมื่อบุคคลไม่มีโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็ได้มิตรและการไม่เสื่อมมิตร. อโมหะเป็นปัจจัยแก่อัตตสมบัติ เพราะบุคคลไม่หลง เมื่อทําประโยชน์ของตนนั่นแหละ ย่อมชื่อว่ายังตนให้ถึงพร้อม. อโลภะเป็นปัจจัยแก่ทิพยวิหาร อโทสะเป็นปัจจัยแก่พรหมวิหาร อโมหะเป็นปัจจัยแก่อริยวิหาร.
อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขารทั้งหลายฝ่ายตนได้ด้วยอโลภะ เพราะสัตว์และสังขารเหล่านั้นพินาศไป ก็ไม่มี
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 344
ความทุกข์อันมีความเกี่ยวข้องกันเป็นเหตุ ผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขารทั้งหลายฝ่ายอื่นได้ด้วยอโทสะ. เพราะบุคคลไม่มีโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็ไม่มีความสําคัญแม้ในบุคคลทั้งหลายที่จองเวรกัน. ผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขารทั้งหลายในฝ่ายความเฉยได้ด้วยอโมหะ. เพราะคนไม่หลงก็ไม่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมด. การเห็นอนิจจังย่อมมีด้วยอโลภะ เพราะบุคคลโลภแล้วย่อมไม่เห็นสังขารแม้ไม่เที่ยงโดยความเป็นไม่เที่ยงโดยมุ่งจะใช้สอย. การเห็นทุกข์ย่อมมีด้วยอโทสะเพราะคนมีอัชฌาศัยไม่มีโทสะ กําหนดสละอาฆาตวัตถุได้แล้วย่อมเห็นสังขารนั่นแหละ โดยความเป็นทุกข์. การเห็นอนัตตาย่อมมีด้วยอโมหะ เพราะคนไม่หลงเป็นผู้ฉลาดในการถือเอาสภาวะตามความเป็นจริง ย่อมรู้ขันธ์ ๕ ซึ่งมิใช่ผู้เป็นใหญ่โดยมิใช่ผู้เป็นใหญ่. การเห็นอนิจจังเป็นต้น ย่อมมีด้วยคุณธรรม ๓ เหล่านั้น ฉันใด แม้คุณธรรม ๓ เหล่านั้น ก็ย่อมมีด้วยการเห็นอนิจจังเป็นต้นฉันนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ความไม่โลภย่อมมีเพราะการเห็นอนิจจลักษณะ ความไม่โกรธย่อมมีเพราะการเห็นทุกขลักษณะ ความไม่หลงย่อมมีเพราะการเห็นอนัตตลักษณะ. เพราะว่า ชื่อว่าใครรู้โดยชอบว่า สิ่งนี้เป็นของไม่เที่ยงดังนี้แล้ว พึงให้ความรักเกิดขึ้นเพื่อต้องการสิ่งไม่เที่ยงนั้น หรือรู้อยู่ว่านี้เป็นทุกข์ในสังขารดังนี้แล้ว. พึงยังความทุกข์ที่เกิดจากความโกรธจัดแม้อื่นให้เกิดซ้ำอีกทีเดียว และรู้ถึงความว่างเปล่าแห่งอัตตาแล้ว ก็พึงถึงความหลงใหลอีกเล่า ดังนี้.
ความหมายของคําว่า อนภิชฌา
ธรรมที่ชื่อว่า อนภิชฌา เพราะไม่เพ่งเล็ง. ชื่อว่า อัพยาบาท เพราะยังสุขทางกายสุขทางใจ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และการได้เกียรติ ที่ได้เฉพาะแล้วด้วยอานุภาพแห่งความดีไม่ให้พินาศ. ชื่อว่า
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 345
สัมมาทิฏฐิ เพราะย่อมเห็นโดยชอบ หรือเห็นอันงาม. คําว่า อนภิชฌา เป็นต้นเหล่านั้นเป็นชื่อของธรรมมีความไม่โลภเป็นต้นนั่นแหละก็ธรรมเหล่านี้พึงทราบว่า ในตอนต้นท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งความเป็นมูล ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งกรรมบถ.
แม้หิริและโอตตัปปะก็พึงทราบว่า ในตอนต้นท่านถือเอาด้วยอํานาจแห่งความเป็นพละ ในที่นี้พึงทราบด้วยอํานาจแห่งโลกบาล. จริงอยู่ธรรมทั้ง ๒ นี้ย่อมรักษาโลก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ ย่อมรักษาโลก ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน? คือ หิริและโอตตัปปะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรม ๒ เหล่านี้แลย่อมรักษาโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสุกกธรรม ๒ เหล่านี้ไม่พึงคุ้มครองโลกไซร้ ในโลกนี้ก็ไม่พึงปรากฏ คําว่า แม่ น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู ชาวโลกจักถึงแล้วซึ่งการปะปนกันเหมือนอย่างพวกแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสุกกธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ย่อมคุ้มครองโลก ฉะนั้น จึงยังปรากฏคําว่าแม่ น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู ดังนี้.
ความหมายของยุคลธรรม
ความสงบกายชื่อว่า กายปัสสัทธิ ความสงบจิตชื่อว่า จิตตปัสสัทธิ คําว่า กาย ในคําว่า กายปัสสัทธินี้ ได้แก่ ขันธ์ ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น อนึ่ง ปัสสัทธิธรรมทั้ง ๒ แม้เหล่านี้รวมกันแล้ว พึงเห็นว่ากายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิ มีการระงับความกระวนกระวายทางกายและทางจิตเป็นลักษณะ มีการกําจัดความกระวนกระวายทางกายและจิตเป็นรส มีการเยือกเย็นไม่
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 346
เร่าร้อนแห่งกายและจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกาย (เจตสิก) และจิตเป็นปทัฏฐานเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีอุทธัจจะอันกระทําความไม่สงบเป็นต้นแห่งกายและจิต.
ความเบาแห่งกาย ชื่อว่า กายลหุตา. ความเบาแห่งจิต ชื่อว่าจิตตลหุตา. ลหุตาทั้ง ๒ นั้น พึงเห็นว่า มีความสงบความหนักกายและจิตเป็นลักษณะ มีการกําจัดความหนักกายและจิตเป็นรส มีความไม่ชักช้าแห่งกายและจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสมีถีนมิทธะเป็นต้นที่กระทําความหนัก.
ความอ่อนแห่งกาย ชื่อว่า กายมุทุตา. ความอ่อนแห่งจิต ชื่อว่า จิตตมุทุตา. กายและจิตตมุทุตาเหล่านั้น มีความสงบความกระด้างกายและจิตเป็นลักษณะ มีการกําจัดความกระด้างกายและจิตเป็นรส มีการไม่คับแค้นใจเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสมีทิฏฐิและมานะเป็นต้น อันการทําความที่กายและจิตให้กระด้าง.
ความควรแก่การงานของกาย ชื่อว่า กายกัมมัญญตา ความควรแก่การงานของจิต ชื่อว่า จิตตกัมมัญญตา. กัมมัญญตาทั้ง ๒ นั้น มีการเข้าไปสงบความไม่ควรแก่การงานของกายและจิตเป็นลักษณะ มีการกําจัดการไม่ควรแก่การงานของกายและจิตเป็นรส มีการถึงพร้อมด้วยการทํากายและจิตสมควรแก่อารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์ที่เหลือ อันกระทําความไม่ควรแก่การงานของกายและจิต. และพึงเห็นกัมมัญญตาทั้ง ๒ นั้น เป็นธรรมนํามาซึ่งความเลื่อมใส ในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสทั้งหลาย เป็นการนํามาซึ่งความเกษมเหมาะสมในการทําประโยชน์เกื้อกูลดุจความหมดจดแห่งทอง ฉะนั้น
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 347
ความเป็นแห่งการคล่องแคล่วของกาย ชื่อว่า กายปาคุญญตา ความเป็นแห่งการคล่องแคล่วของจิต ชื่อว่า จิตตปาคุญญตา. ปาคุญญตาทั้ง ๒นั้น มีการไม่ขัดข้องของกายและจิตเป็นลักษณะ มีการกําจัดความขัดข้องของกายและจิตเป็นรส มีการปราศจากโทษเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส คือความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้นอันกระทําความขัดข้องของกายและจิต.
ความตรงของกาย ชื่อว่า กายุชุกตา ความตรงของจิต ชื่อว่า จิตตุชุกตา. อุชุกตาทั้ง ๒ นั้น มีการตรงของกายและจิตเป็นลักษณะ มีการกําจัดการคดของกายและจิตเป็นรส มีการซื่อตรงของกายและจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงทราบว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีมายาและสาเถยยะเป็นต้น อันกระทําความคดโค้งของกายและจิต.
ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะระลึก ชื่อว่า สัมปชัญญะ เพราะรู้ตัวอธิบายว่าย่อมรู้โดยประการต่างๆ รอบด้าน ก็บรรดาธรรมทั้ง ๒ นั้น พึงทราบสัมปชัญญะ ๔ ประเภทเหล่านี้ คือ สาตถกสัมปชัญญะ สัปปายสัมปชัญญะ โคจรสัมปชัญญะ อสัมโมหสัมปชัญญะ ส่วนธรรมมีลักษณะเป็นต้นของสติและสัมปชัญญะเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในสตินทรีย์ และปัญญินทรีย์นั่นแหละ คู่ธรรมนี้ ตรัสไว้ในหนหลังแล้ว ในที่นี้ตรัสไว้อีกด้วยสามารถแห่งความเป็นธรรมมีอุปการะด้วยประการฉะนี้.
ธรรมที่ชื่อว่า สมถะ เพราะสงบธรรมที่เป็นข้าศึกมีกามฉันทะเป็นต้น. ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะเห็นธรรมทั้งหลายโดยอาการต่างๆ ด้วยสามารถแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น โดยอรรถะวิปัสสนานี้ก็คือปัญญานั่นเอง. ธรรมมีลักษณะเป็นต้นแห่งสมถะและวิปัสสนาแม้เหล่านั้นมีเนื้อความตามที่กล่าวไว้แล้วในหน-
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 348
หลังนั่นแล แต่ถือเอาในที่นี้อีกด้วยสามารถแห่งธรรมยุคนัทธะ (ธรรมเนื่องกันเหมือนแอก).
ธรรมที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองสหชาตธรรม. ที่ชื่อว่า อวิกเขปะ เพราะความไม่ฟุ้งซ่านโดยปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน คือ อุทธัจจะ ธรรมมีลักษณะเป็นต้น แม้แห่งธรรมทั้ง ๒ นี้ กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ ก็ธรรมทั้ง ๒ นี้ พึงทราบว่าถือเอาในที่นี้เพื่อการประกอบวิริยะและสมาธิแล.
อธิบายคําว่า เยวาปนกนัย
คําว่า เยวาปน ตสฺมึ สมเย อฺเปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา อรูปิโน ธมฺมา อิเม ธมฺมา กุสลา (ก็หรือว่า ในสมัยนั้น ธรรมที่มิใช่รูป ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น แม้อื่นใดมีอยู่ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศล) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
กุศลธรรมเกิน ๕๐ (ปโรปณฺณาสธมฺมา) เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงโดยลําดับว่า ผัสสะย่อมมี ฯลฯ อวิกเขปะย่อมมีอย่างเดียวก็หาไม่ โดยที่แท้ทรงแสดงว่า ในสมัยใด มหาจิตเป็นอสังขาริก ดวงที่หนึ่งสหรคตด้วยโสมนัสสติเหตุกะฝ่ายกามาวจรย่อมเกิดขึ้น ในสมัยนั้น ธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเยวาปนกธรรม ที่สัมปยุตด้วยธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ มีผัสสะเป็นต้น ซึ่งอาศัยปัจจัยอันสมควรแก่ตนๆ เกิดขึ้น ชื่อว่าอรูป เพราะความไม่มีรูป ซึ่งกําหนดได้โดยสภาวะ ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นกุศล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมราชาครั้นแสดงธรรมเกิน ๕๐ ที่ยกขึ้นไว้ในบาลีด้วยอํานาจแห่งส่วนประกอบของจิตด้วยพุทธพจน์มีประมาณเท่านี้แล้วจึงทรงแสดงธรรม ๙ อย่าง แม้อื่นอีกด้วยสามารถแห่งเยวาปนกธรรม. จริงอยู่บรรดาบทพระสูตรเหล่านั้นๆ ธรรม ๙ เหล่านี้ย่อมปรากฏ คือ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 349
ฉันทะ ๑ อธิโมกข์ ๑ มนสิการ ๑ ตัตรมัชฌัตตตา ๑ กรุณา ๑ มุทุตา ๑ กายทุจริตวิรัติ ๑ วจีทุจริตวิรัติ ๑ มิจฉาชีววิรัติ ๑.
อนึ่ง ในมหาจิตดวงที่หนึ่งแม้นี้ ฉันทะในกุศลธรรมของความเป็นผู้ใคร่เพื่อกระทําก็มีอยู่ แต่ไม่ได้ยกไว้ในพระบาลีด้วยอํานาจแห่งส่วนประกอบของจิต ในที่นี้ ฉันทะนั้นท่านจึงถือเอาด้วยสามารถแห่งเยวาปนกธรรม. อธิโมกข์ก็มี มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา และบุรพภาคของเมตตาก็มี เมื่ออโทสะทรงถือเอาแล้ว บุรพภาคของเมตตานั้นก็เป็นอันถือเอาด้วยเหมือนกันถึงบุรพภาคของกรุณา บุรพภาคของมุทิตา บุรพภาคของอุเบกขาก็มี แต่เมื่อตัตรมัชฌัตตตาทรงถือเอาแล้ว บุรพภาคของอุเบกขานั้นก็ย่อมเป็นอันถือเอาแล้วโดยแท้ สัมมาวาจาก็มี สัมมากัมมันตะก็มี สัมมาอาชีวะก็มี แต่ท่านไม่ได้ยกขึ้นไว้ในบาลีด้วยสามารถแห่งส่วนประกอบของจิต ในที่นี้ ธรรมมีสัมมาวาจาเป็นต้น แม้นั้นก็ถือเอาด้วยอํานาจแห่งเยวาปนกธรรม แต่ในบรรดาธรรม ๙ อย่างเหล่านั้น ธรรม ๔ อย่าง ที่ได้ในขณะเดียวกัน คือ ฉันทะ ๑ อธิโมกข์ ๑ มนสิการ ๑ ตัตรมัชฌัตตตา ๑ ที่เหลือนอกนั้นได้ในขณะต่างกัน.
เหมือนอย่างว่า บุคคลย่อมละมิจฉาวาจาด้วยจิตดวงนี้ ย่อมบําเพ็ญสัมมาวาจาด้วยอํานาจวิรัติ ในกาลใด ในกาลนั้น ธรรม ๕ อย่างเหล่านั้น คือธรรม ๔ มีฉันทะเป็นต้น และสัมมาวาจาย่อมเกิดในขณะเดียวกัน. เมื่อใดบุคคลย่อมละมิจฉากัมมันตะ ย่อมบําเพ็ญสัมมากัมมันตะด้วยอํานาจวิรัติ ฯลฯ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมบําเพ็ญสัมมาอาชีวะด้วยอํานาจวิรัติ ฯลฯ เมื่อใดกระทําบริกรรมด้วยกรุณา ฯลฯ ทําบริการด้วยมุทิตา ในกาลนั้น ธรรม ๕ เหล่านี้ย่อมเกิดในขณะเดียวกัน คือ ธรรม ๔ อย่างมีฉันทะเป็นต้น และบุรพภาคของมุทิตา. ก็นอกจากนี้แล้ว เมื่อบุคคลให้ทาน บําเพ็ญศีล เจริญภาวนา
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 350
ย่อมได้ธรรม ๔ อย่าง (ฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่แน่นอน.
อธิบายฉันทะเป็นต้น
บรรดาเยวาปนกธรรมทั้ง ๙ เหล่านี้ ดังที่พรรณนามานี้คําว่า ฉันทะ เป็นชื่อของกัตตุกัมยตา เพราะฉะนั้น ฉันทะนั้น จึงมีความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทําเป็นลักษณะ มีการแสวงหาอารมณ์เป็นกิจ มีการต้องการอารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน อารมณ์ของฉันทะนั้นนั่นแหละเป็นปทัฏฐาน ก็ฉันทะนี้ในการยึดอารมณ์ บัณฑิตพึงเห็นเหมือนจิตเหยียดมือออกไป.
ความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่า อธิโมกข์ อธิโมกข์นั้นมีการตกลงใจเป็นลักษณะ มีการไม่ส่ายไปเป็นรส มีการตัดสินเป็นปัจจุปัฏฐาน มีธรรมที่พึงตกลงใจเป็นปทัฏฐาน อธิโมกข์นี้พึงเห็นเหมือนเสาเขื่อนเพราะความไม่หวั่นไหวในอารมณ์.
การกระทํา ชื่อว่า การะ การกระทําไว้ในใจชื่อว่า มนสิการ ธรรมที่ชื่อว่า มนสิการ เพราะทําใจให้ขึ้นสู่วิถีจากภวังคจิต. มนสิการนี้นั้นมี๓ ประการ คือ
อารัมมณปฏิปาทกะ (สังขารขันธ์)
วิถีปฏิปาทกะ (ปัญจทวาราวัชชนจิต)
ชวนปฏิปาทกะ (มโนทวาราวัชชนจิต).
บรรดามนสิการทั้ง ๓ นั้น มนสิการที่ทําจิตให้รับอารมณ์ ชื่อว่า มนสิการ เพราะกระทําไว้ในใจ. มนสิการที่ทําจิตให้รับอารมณ์นั้น มีการทําสัมปยุตตธรรมให้รับอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประกอบสัมปยุตธรรม
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 351
ทั้งหลายไว้ด้วยอารมณ์เป็นรส มีการมุ่งต่ออารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน นับเนื่องด้วยสังขารขันธ์ (มีอารมณ์เป็นปทัฏฐาน) พึงเห็นเหมือนสารถี เพราะยังสัมปยุตตธรรมให้ดําเนินไปในอารมณ์. ส่วนคําว่า วิถีปฏิปาทกะ นี้ เป็นชื่อของปัญจทวาราวัชชนจิต. คําว่า ชวนปฏิปาทกะ นี้ เป็นชื่อของมโนทวาราวัชชนจิต. มนสิการทั้ง ๒ เหล่านั้น ท่านไม่ประสงค์เอาในที่นี้.
ความเป็นกลางในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตตา ตัตรมัชฌัตตตานั้น มีการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกให้เสมอกันเป็นลักษณะ มีการห้ามจิตและเจตสิกไม่ให้ยิ่งและหย่อนเป็นรส หรือมีการตัดขาดจากการตกไปในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นรส มีความเป็นกลางเป็นปัจจุปัฏฐาน ด้วยอํานาจแห่งความวางเฉยต่อจิตและเจตสิก (และมีสัมปยุตตธรรมเป็นปทัฏฐาน) ตัตรมัชฌัตตตานี้พึงเห็นเหมือนสารถีผู้วางเฉยต่อม้าอาชาไนยทั้งหลายที่วิ่งไปเรียบร้อย ฉะนั้น.
กรุณาและมุทุตา จักมีแจ้งในนิทเทสแห่งพรหมวิหาร อันที่จริงกรุณาและมุทุตานั้นมีข้อที่แปลกกันอยู่เท่านี้ว่า ที่ถึงอัปปนาเป็นรูปาวจร ในที่นี้เป็นกามาวจร.
การงดเว้นจากกายทุจริต ชื่อว่า กายทุจริตวิรัติ. วิรัติ ๒ ที่เหลือก็นัยนี้แหละ. ก็วิรัติแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้นโดยลักษณะเป็นต้น มีการไม่ก้าวล่วงวัตถุมีกายทุจริตเป็นต้นเป็นลักษณะ อธิบายว่า มีการไม่ย่ํายีสัตว์เป็นลักษณะ วิรัติ ๓ นั้นมีการเบือนหน้าจากวัตถุมีกายทุจริตเป็นต้นเป็นรส มีการไม่ทํากายทุจริตเป็นต้นเป็นปัจจุปัฏฐาน มีคุณคือศรัทธา หิริ โอตตัปปะ และความปรารถนาน้อยเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นวิรัติ ๓ นั้นเป็นจิตที่เฉยต่อการทําบาป.
วาระแห่งธัมมุทเทส (ธรรมที่ทรงยกขึ้นแสดง) นี้ มีบทธรรมแม้ทั้งหมด ๖๕ บท คือ ธรรม ๕๖ มีผัสสะเป็นต้น และธรรม ๙ ที่ตรัสไว้ด้วยอํานาจเยวาปนกธรรม.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 352
บรรดาบทเหล่านั้น บางคราวในขณะเดียวกันมี ๖๑ บางคราวมี ๖๐ บทถ้วน เพราะว่า บทธรรมเหล่านั้นที่ตรัสไว้ด้วยอํานาจแห่งการสมบูรณ์ด้วยสัมมาวาจาเป็นต้น ก็มี ๖๑ บท ที่เป็นไปในฐาน ๕ (วิรัติ ๓ อัปปมัญญา ๒) ในฐานะหนึ่งพ้นจากฐาน ๕ เหล่านี้ มีฐานะ ๖๐ ถ้วน แต่ถ้าเว้นเยวาปนกธรรมบทธรรมที่ท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งรุฬหีศัพท์ในพระบาลีมี ๕๖ บท. แต่ถ้าไม่นับบทที่ซ้ำกันในบาลีนี้ ก็มีบทธรรม ๓. ถ้วน คือ หมวด ๕ แห่งผัสสะ (ผสฺสปฺจกํ) วิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ จิตเตกัคคตา ๑ อินทรีย์ ๕ พละ ๒ คือ หิริพละ โอตตัปปพละ มูล ๒ คือ อโลภะ อโทสะ ธรรม ๑๒ มีกายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิเป็นต้น.
บรรดาธรรม ๓๐ เหล่านั้น ธรรม ๑๘ ท่านไม่จําแนกไว้ ธรรม ๑๒ ท่านจําแนกไว้. ธรรม ๑๘ ประการเป็นไฉน? ธรรม ๑๘ ประการเหล่านี้คือ ผัสสะ ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ วิจาร ๑ ปีติ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ ธรรม ๑๒ มีกายปัสสัทธิเป็นต้นท่านไม่จําแนกไว้. ธรรม ๑๒ ประการเหล่านี้ คือ เวทนา ๑ จิต ๑ วิตก ๑ จิตเตกัคคตา ๑ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ หิริพละ ๑ โอตตัปปพละ ๑ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ ท่านจําแนกไว้.
บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรม ๗ ประการจําแนกไว้ในฐานะทั้ง ๒ ธรรมหนึ่งจําแนกไว้ในฐานะทั้ง ๓ ธรรมสองจําแนกไว้ในฐานะ ๔ ธรรมหนึ่งจําแนกไว้ในฐานะ ๖ ธรรมหนึ่งจําแนกไว้ในฐานะ ๗.
ธรรม ๗ เหล่านี้ คือ จิต วิตก ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ จําแนกไว้ในฐานะ ๒ อย่างไร? จริงอยู่บรรดาธรรม ๗ เหล่านั้น จิตก่อนท่านมุ่งถึงธรรมมีหมวด ๕ แห่งผัสสะ ท่านเรียกว่าจิต เพ่งถึงอินทรีย์ท่านเรียกว่า มนินทรีย์. วิตกถึงเป็นองค์ฌานก็เรียกว่าวิตก ถึงเป็นองค์มรรค
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 353
เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ศรัทธาเพ่งเป็นอินทรีย์เรียกว่า สัทธินทรีย์เพ่งถึงเป็นพละเรียกว่า สัทธาพละ หิริเพ่งถึงเป็นพละเรียกว่า หิริพละ เพ่งถึงธรรมหมวด ๒ แห่งโลกบาลเรียกว่า หิริ. แม้ในโอตตัปปะก็นัยนี้เหมือนกัน. อโลภะเพ่งถึงมูลเรียกว่า อโลภะ เพ่งถึงกรรมบถเรียกว่า อนภิชฌา. อโทสะเพ่งถึงมูลเรียกว่า อโทสะ เพ่งถึงกรรมบถเรียกว่า อัพยาบาท. ธรรม ๗ เหล่านี้จําแนกแล้วในฐานะทั้ง ๒.
ส่วนเวทนา เพ่งถึงธรรมหมวด ๕ แห่งผัสสะเรียกว่า เวทนา เพ่งถึงองค์ฌานเรียกว่า สุข เพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์. ธรรมหนึ่งนี้จําแนกไว้ในฐานะ ๓ อย่างนี้.
ส่วนวิริยะเพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่า วิริยินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคเรียกว่า สัมมาวายามะ เพ่งถึงพละเรียกว่า วิริยพละ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะเรียกว่า ปัคคาหะ แม้สติเพ่งถึงอินทรีย์ก็เรียกว่า สตินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคเรียกว่า สัมมาสติ เพ่งถึงพละเรียกว่า สติพละ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะเรียกว่า สติ. ธรรม ๒ เหล่านั้นจําแนกไว้ในฐานะ ๔ ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนสมาธิเพ่งถึงองค์ฌานเรียกว่า จิตเตกัคคตา เพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่า สมาธินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคเรียกว่า สัมมาสมาธิ เพ่งถึงพละเรียกว่า สมาธิพละ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะเรียกว่า สมถะและอวิกเขปะ ธรรมอย่างหนึ่งนี้จําแนกไว้ในฐานะ ๖ ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนปัญญาเพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่า ปัญญินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เพ่งถึงพละเรียกว่า ปัญญาพละ เพ่งถึงมูลเรียกว่าอโมหะ เพ่งถึงกรรมบถเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะเรียกว่า สัมปชัญญะและวิปัสสนา ธรรมหนึ่งนี้จําแนกไว้ในฐานะ ๗ ด้วยประการฉะนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 354
ก็ถ้าบุคคลไรๆ พึงท้วงว่า ในพระบาลีนี้ขึ้นชื่อว่าบทที่ไม่เคยมี หามีไม่ เพราะพระองค์ทรงกําหนดธรรมที่ทรงถือเอาแล้วในหนหลังนั่นแหละมาทําบทให้เต็มในฐานะนั้นๆ กถาที่ไม่มีอนุสนธิเช่นกับสิ่งของอันพวกโจรลักมาสุมกันไว้เช่นกับหญ้าที่ฝูงโคเหยียบย่ําที่ทางเดิน อันพระพุทธเจ้าไม่ทรงรู้แล้วจึงตรัสไว้ไซร้ บุคคลนั้นพึงถูกกล่าวปฏิเสธว่า ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ธรรมดาว่า เทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีอนุสนธิ หามีไม่ เป็นเทศนาที่มีอนุสนธิแม้ถ้อยคําที่ไม่ทรงทราบตรัสไว้ก็ไม่มีเรื่องทั้งหมดพระองค์ทรงทราบแล้วจึงตรัสไว้ทั้งนั้น. จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธะทรงทราบหน้าที่ (กิจ) ของธรรมเหล่านั้นๆ ครั้นทรงทราบกิจนั้นแล้วจึงทรงยกขึ้นจําแนกไปตามหน้าที่ ทรงทราบธรรม ๑๘ อย่าง ว่ามีหน้าที่แต่ละอย่าง จึงทรงยกขึ้นจําแนกไว้ในฐานะแต่ละฐานะ ทรงทราบธรรม ๗ อย่าง มีหน้าที่อย่างละ ๒ จึงทรงยกขึ้นจําแนกในฐานะ ๒ ทรงทราบเวทนามีหน้าที่ ๓ ในฐานะ ๓ จึงทรงยกขึ้นจําแนกในฐานะ ๓ ทรงทราบวิริยะและสติมีหน้าที่๔ อย่าง จึงทรงยกขึ้นจําแนกในฐานะ ๔ ทรงทราบสมาธิมีหน้าที่ ๖ อย่าง จึงทรงยกขึ้นจําแนกในฐานะ ๖ ทรงทราบ ปัญญาที่ ๗ จึงทรงยกขึ้นจําแนกในฐานะ ๗ ในข้อนั้นมีอุปมา ดังนี้.
ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่งทรงเป็นบัณฑิต เสด็จประทับอยู่ในที่เฉพาะพระองค์แล้วทรงดําริว่า เราจักเพิ่มสินจ้างอันสมควรแก่ผู้รู้ศิลปะโดยประการที่ไม่พึงเสียทรัพย์พระคลังหลวงนี้ ท้าวเธอจึงตรัสให้เรียกนักศิลปะทั้งหมดประชุมกัน แล้วตรัสว่า พวกเธอจงเชิญคนที่มีความรู้เฉพาะอย่างเดียวมา เมื่อพระองค์ตรัสให้เรียกอย่างนี้ ชนทั้ง ๑๘ ก็ลุกขึ้นมาแล้วก็พระราชทานให้ชนเหล่านั้นคนละส่วน. เมื่อพระราชาตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ ๒ อย่างจงมา คน ๗ คนพากันมาเฝ้า พระองค์ก็ทรงพระราชทานให้คนเหล่านั้นคนละ ๒ ส่วน
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 355
เมื่อตรัสว่าผู้รู้ศิลปะ ๓ อย่างจงมา มีคนเพียงคนเดียวเข้ามาเฝ้า พระองค์ก็พระราชทานให้คนนั้น ๓ ส่วน เมื่อพระองค์ตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ ๔ อย่างจงมา ก็มีคน ๒ คนเข้ามาเฝ้า พระองค์ก็พระราชทานให้คนละ ๔ ส่วน เมื่อพระองค์ตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ ๕ อย่างจงมา แม้คนเดียวก็ไม่มา เมื่อตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ ๖ อย่างจงมา มีเพียงคนเดียวเท่านั้นเข้ามา พระองค์ก็พระราชทานให้ ๖ ส่วนแก่เขา เมื่อตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ ๗ อย่างจงมา มีเพียงคนเดียวเท่านั้นเข้ามา พระองค์ก็พระราชทานให้เขาถึง ๗ ส่วน.
ในเรื่องนั้นมีข้ออุปมา ดังนี้.
พระมาสัมพุทธะผู้ทรงเป็นธรรมราชาไม่มีใครยิ่งกว่า เปรียบเหมือนพระราชาผู้เป็นบัณฑิต ธรรมทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งการเป็นองค์ของจิต เปรียบเหมือนชนผู้รู้ศิลปะ การที่พระองค์ทรงยกธรรมเหล่านั้นๆ ขึ้นจําแนกด้วยสามารถแห่งหน้าที่ เปรียบเหมือนการเพิ่มค่าจ้างให้สมควรแก่ผู้รู้ศิลปะ ก็ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดเป็นกองแห่งธรรม ๑๗ หมวด คือหมวดธรรม ๕ มีผัสสะเป็นต้น องค์แห่งฌาน ๑ อินทรีย์ ๑ องค์แห่งมรรค ๑ พละ ๑ มูล ๑ กรรมบถ ๑ โลกบาล ๑ ปัสสัทธิ ๑ ลหุตา ๑ มุทุตา ๑ กัมมัญญตา ๑ ปาคุญญตา ๑ อุชุกตา ๑ สัมปชัญญะ ๑ สมถวิปัสสนา ๑ ปัคคาหาวิกเขปะ ๑.
จบกถาว่าด้วยธรรมุทเทสวาร