อารมณ์
โดย บ้านธัมมะ  9 ธ.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 10631

อา (ทั่ว) + รมณ (ที่ยินดี ที่รื่นรมย์)

ที่มายินดีทั่วของจิต ที่ยึดหน่วงของจิต หมายถึง สิ่งที่จิตรู้ จิตกำลังรู้สิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ของจิต จิตจะเกิดขึ้นโดยปราศจากอารมณ์ไม่ได้ สภาพธรรมทุกอย่างสามารถเป็นอารมณ์ของจิตได้ ไม่ว่าจะเป็นจิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์หรือนิพพานปรมัตถ์ แม้บัญญัติซึ่งไม่ใช่สภาพธรรม เพราะไม่มีจริงโดยปรมัตถ์ ก็เป็นอารมณ์ของจิตได้อารมณ์มี ๖ อย่าง คือ

๑. รูปารมณ์ วัณณรูป ได้แก่ สีต่างๆ

๒. สัททารมณ์ สัททรูปได้แก่ เสียงต่างๆ

๓. คันธารมณ์ คันธรูป ได้แก่ กลิ่นต่างๆ

๔. รสารมณ์ รสรูป ได้แก่ รสต่างๆ

๕. โผฏฐัพพารมณ์ ปฐวีรูป (ดิน) เตโชรูป (ไฟ) วาโยรูป (ลม)

๖. ธัมมารมณ์ อารมณ์ที่รู้ได้ทางใจเท่านั้น ๖ อย่าง ได้แก่

จิต ๘๙

เจตสิก ๕๒

ปสาทรูป ๕

สุขุมรูป ๑๖

นิพพาน

บัญญัติ



ความคิดเห็น 1    โดย suwit02  วันที่ 10 ธ.ค. 2551

สาธุ


ความคิดเห็น 2    โดย pamali  วันที่ 3 ต.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย isme404  วันที่ 19 มิ.ย. 2555
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 4    โดย apichet  วันที่ 26 เม.ย. 2560

อนุโมทนาสาธุครับ


ความคิดเห็น 5    โดย chatchai.k  วันที่ 29 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย Sea  วันที่ 26 ม.ค. 2565

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย Noeng  วันที่ 30 ก.ค. 2565

อารมณ์กับเจตสิกต่างกันไหมครับ


ความคิดเห็น 8    โดย chatchai.k  วันที่ 31 ก.ค. 2565

เรียน ความเห็นที่ 7 ครับ

อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตและเจตสิกรู้ จิตและเจตสิกกำลังรู้สิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิก จิตและเจตสิกจะเกิดขึ้นโดยปราศจากอารมณ์ไม่ได้ สภาพธรรมทุกอย่างสามารถเป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกได้

จิต และ เจตสิก เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน และรู้อารมณ์เดียวกัน สภาพธรรมทุกอย่างสามารถเป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกได้

อารมณ์ที่จิตและเจตสิกรู้ได้ มี ๖ อย่าง คือ

๑. รูปารมณ์ วัณณรูป ได้แก่ สีต่างๆ

๒. สัททารมณ์ สัททรูป ได้แก่ เสียงต่างๆ

๓. คันธารมณ์ คันธรูป ได้แก่ กลิ่นต่างๆ

๔. รสารมณ์ รสรูป ได้แก่ รสต่างๆ

๕. โผฏฐัพพารมณ์ ปฐวีรูป (ดิน) เตโชรูป (ไฟ) วาโยรูป (ลม)

๖. ธัมมารมณ์ อารมณ์ที่รู้ได้ทางใจเท่านั้น ๖ อย่าง ได้แก่

จิต ๘๙

เจตสิก ๕๒

ปสาทรูป ๕

สุขุมรูป ๑๖

นิพพาน

บัญญัติ


ความคิดเห็น 9    โดย Wisaka  วันที่ 13 ก.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ