๗. วงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖
โดย บ้านธัมมะ  1 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35147

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 393

๗. วงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖

ว่าด้วยพระประวัติของพระโสภิตพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 393

๗. วงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖

ว่าด้วยพระประวัติของพระโสภิตพุทธเจ้า

[๗] ต่อจากสมัยของพระเรวตพุทธเจ้า พระ พุทธเจ้าพระนามว่า โสภิตะ ผู้นำโลก ผู้ตั้งมั่น มีจิต สงบ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ. พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงกลับพระหฤทัย ในพระนิเวศน์ของพระองค์ ทรงบรรลุพระโพธิญาณ สิ้นเชิง ทรงประกาศพระธรรมจักร.

ตั้งแต่อเวจีนรกขึ้นไป ตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา ในระหว่างมิได้เป็นบริษัทหมู่เดียวกัน ในเพราะการ แสดงธรรม.

พระสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางบริษัทหมู่นั้น. อภิสมัยครั้งที่ ๑ นับไม่ได้ ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.

เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมต่อจาก อภิสมัยครั้งที่ ๑ นั้น ในการประชุมของมนุษย์และ เทวดาทั้งหลาย. อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่มนุษย์ และ เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ.

ต่อมาอีก เจ้าราชบุตรพระนามว่า ชัยเสนะ ทรง ให้สร้างพระอาราม มอบถวายพระพุทธเจ้า ในครั้งนั้น.

พระผู้มีพระจักษุ เมื่อทรงสรรเสริญการบริจาค ทาน ก็ทรงแสดงธรรมโปรดเจ้าราชบุตรพระองค์นั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์พันโกฏิ.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 394

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี สันนิบาต การประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.

พระราชาพระนามว่า อุคคตะพระองค์นั้น ถวาย ทานแด่พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน ในทานนั้น พระอรหันต์ร้อยโกฏิก็มาประชุมกัน.

ต่อมาอีก หมู่คณะ [ธรรมคณะ] ถวายทานแด่ พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน การประชุมครั้งที่ ๒ ได้มี แก่พระอรหันต์เก้าสิบโกฏิ.

ครั้งพระชินพุทธเจ้า ทรงจำพรรษา ณ เทวโลก แล้วเสด็จลงมา การประชุมครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่พระอรหันต์แปดสิบโกฏิ.

สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อ สุชาตะ ครั้งนั้น ได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าทั้งพระสาวก ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าวน้ำ.

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระองค์นั้น ทรง พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่ หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.

พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ ที่น่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไป ยังแม่น้ำเนรัญชรา.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 395

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขา จัดแต่งไว้แล้วเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์. ต่อนั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่ออัสสัตถะ. ท่านจักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุโธทนะ ท่านผู้นี้ จักมี พระนามว่า โคตมะ. พระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระอุป- ติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุง พระชินเจ้าผู้นี้.

พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมาและพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก ว่า อัสสัตถะ.

อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา พระโคตมะผู้มีพระยศพระองค์นั้น มีชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลายพึงพระดำรัสของพระโสภิตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 396

หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันส่งเสียงโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า

ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอน ของพระโลกนาถพระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อ หน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.

พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ร่าเริง สลด ใจ ได้ทำความเพียรอย่างแรงกล้า เพื่อบรรลุประโยชน์ นั้นนั่นแหละ.

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนคร ชื่อว่า สุธัมมะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุธัมมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา.

พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี ทรงมี ปราสาทยอดเยี่ยม ๓ หลงชื่อ กุมุทะ นฬินี ปทุมะ พระสนมนาฏนารี แต่งกายงาม สี่หมื่นสามพันนาง พระมเหสีพระนามว่า มกิลา พระโอรสพระนามว่า สีหะ.

พระผู้เป็นยอดบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ อภิเนษ- กรมณ์โดยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 397

พระโสภิตมหาวีระ ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าว มหาพรหมอาราธนาแล้ว ประกาศพระธรรมจักร ณ สุธัมมราชอุทยานอันยอดเยี่ยม.

พระอัครสาวกชื่อว่า พระอสมะและพระสุเนตตะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระนกุลา และพระสุชาดา พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่าต้นนาคะ.

อัครอุปฐาก ชื่อว่า รัมมะและสุเนตตะ อัครอุป- ฐายิกา ชื่อว่า นกุลา และจิตตา.

พระมหามุนี ทรงสูง ๕๘ ศอก ทรงส่งรัศมี สว่างไปทุกทิศ ดังดวงอาทิตย์อุทัย.

ป่าใหญ่ มีดอกไม้บาน อบอวลด้วยกลิ่นหอม นานา ฉันใด ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า ก็อบอวล ด้วยกลิ่นคือศีล ฉันนั้น.

ขึ้นชื่อว่า มหาสมุทร ใครๆ ก็ไม่อิ่มด้วยการเห็น ฉันใด ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า พระองค์นั้น ใครๆ ก็ไม่อิ่มด้วยการฟัง ฉันนั้น.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระโสภิต พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 398

พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานโอวาทานุศาสน์ แก่ชนที่เหลือแล้ว เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือน ไฟไหม้แล้วก็ดับไป ฉะนั้น. พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้ เสมอพระองค์นั้นด้วย เหล่าพระสาวก ผู้ถึงกำลัง เหล่านั้นด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่า โดยแน่แท้.

พระโสภิตสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จดับขันธ- ปรินิพพาน ณ พระวิหารสีหาราม พระบรมธาตุแผ่ กระจายไปเป็นส่วนๆ ในที่นั้นๆ.

จบวงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 399

พรรณนาวงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖

ภายหลังสมัยของ พระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น เมื่อพระศาสนา ของพระองค์ อันตรธานแล้ว พระโพธิสัตว์พระนามว่า โสภิตะ ทรงบำเพ็ญ บารมีมาสี่อสงไขยกำไรแสนกัป ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงอยู่ตลอด อายุในที่นั้นแล้ว อันทวยเทพอ้อนวอนแล้ว ก็จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ถือ ปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางสุธัมมาเทวี ในราชสกุลของ พระเจ้า สุธัมมราช ใน สุธัมมนคร. พระโพธิสัตว์นั้น ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติ จากพระครรภ์ของพระชนนี ณ สุธัมมราชอุทยาน เหมือนดวงจันทร์ลอด ออกจากหลืบเมฆ ปาฏิหาริย์ในการปฏิสนธิและประสูติของพระองค์มีประการ ดังกล่าวมาก่อนแล้ว.

พระโพธิสัตว์นั้น ครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี เมื่อพระโอรสพระนาม ว่า สีหกุมาร ทรงถือกำเนิดในพระครรภ์ของพระนางมขิลาทวี๑ พระอัครมเหสี ยอดสนมนาฏเจ็ดหมื่นนางแล้ว ทรงเห็นนิมิต ๔ เกิดสลดพระหฤทัย ทรงผนวช ในปราสาทนั่นเอง ทรงเจริญอานาปานัสสติสมาธิในปราสาทนั้นนั่นแหละ ทรง ได้ฌาน ๔ ทรงบำเพ็ญเพียรในปราสาทนั้น ๗ วัน ต่อนั้น เสวยข้าวมธุ- ปายาสรสอร่อยอย่างยิ่ง พระนางมขิลามหาเทวี ถวายแล้ว ทรงเกิดจิตคิดจะ ออกอภิเนษกรมณ์ว่า ขอปราสาทที่ประดับตกแต่งแล้วนี้ จงไปทางอากาศต่อ หน้ามหาชนที่กำลังดูอยู่แล้ว ทำโพธิพฤกษ์ไว้ตรงกลาง แล้วลงเหนือแผ่นดิน และสตรีเหล่านั้น เมื่อเรานั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ ไม่ต้องมีคนบอก จงลงจาก ปราสาทกันเองเถิด พร้อมกับเกิดจิตดังนั้น ปราสาทก็เหาะจากพระราชนิเวศน์ ของพระเจ้าสุธัมมราช ขึ้นสู่อากาศเฉกเช่นอัญชันบรรพตสีเขียวความ ปราสาท นั้น มีพื้นปราสาทประดับด้วยพวงดอกไม้ส่งกลิ่นหอมอบอวล เหมือนประดับ


๑. บาลีเป็นมกิลา


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 400

ประดาทั่วพื้นอัมพรรุ่งโรจน์ดั่งดวงทินกร กลุ่มที่กระทำความงามเสมือนธารน้ำ ทอง และดั่งดวงรัชนีกรในฤดูสารท มีข่ายขึงกระดิ่งงามวิจิตรนานาชนิดห้อย ย้อย เมื่อต้องลมก็ส่งเสียงไพเราะน่ารักน่าใคร่ ดั่งดนตรีเครื่อง ๕ ที่ผู้ชำนาญ บรรเลง.

ด้วยเสียงไพเราะได้ยินมาแต่ไกล เสียงไพเราะนั้น ก็หยังลงสู่โสตของ สัตว์ทั้งหลาย ประหนึ่งถูกประเล้าประโลมทางอากาศ อันไม่ไกลชายวนะอัน งามของต้นไม้ ไม่ต่ำนักไม่สูงนัก ในหมู่มนุษย์ที่ยืนเจรจาปราศรัยกันอยู่ใน บ้านเรือน ทาง ๓ แพร่ง ๔ แพร่ง และในถนนเป็นต้น ประหนึ่งดึงดูดสายตาชน ด้วยสีที่แล่นเรืองรองรุ่งโรจน์ด้วยรัตนะต่างๆ คือกิ่งอันงามของต้นไม้ และ ประหนึ่งโฆษณาปุญญานุภาพก็ดำเนินไปตลอดพื้นคัคนานต์. แม้เหล่าสนมนาฎ นารี ณ ที่นั้น ก็ขับกล่อมประสานเสียงด้วยเสียงอันไพเราะแห่งดนตรีอย่างดีมี องค์ ๕. เขาว่าแม้กองทัพ ๔ เหล่าของพระองค์ ก็งดงามด้วยอาภรณ์คือดอกไม้ หอมและผ้ามีสีสรรต่างๆ ร่วงรุ้งรุ่งโรจน์เกิดจากประกายเครื่องอลังการและ อาภรณ์ประดับกาย ไปแวดล้อมปราสาททางภาคพื้นนภากาศ ดุจกองทัพทวย- เทพ ดุจแผ่นธรณีที่งามน่าดูอย่างยิ่ง.

แต่นั้น ปราสาทก็ไปทำต้นโพธิ์พฤกษ์ชื่อต้นนาคะ ซึ่งสูง ๘๘ ศอก ลำต้นตรงอวบกลม ประดับด้วยดอกใบอ่อนตูมไว้ตรงกลาง แล้วลงตั้งที่พื้น ดิน. สวนเหล่าสนมนาฏนารี ใครๆ มิได้บอก ก็ลงจากปราสาทนั้นหลีกไป. เขาว่า แม้พระโสภิตมหาบุรุษ ผู้งามด้วยคุณสมบัติเป็นอันมากทำมหาชนเป็น บริวารอย่างเดียว ทรงยังวิชชา ๓ ให้เกิดในยามทั้ง ๓ แห่งราตรี. ส่วนกอง กำลังแห่งมาร ก็ไปตามทางที่ไป โดยกำลังธรรมดาของพระมหาบุรุษนั้นนั่น เอง พระผู้มีพระภาคเจ้าโสภิตะ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว ก็ทรงเปล่ง พระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํฯ เปฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ทรงยับยั้ง


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 401

ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ทรงรับการอาราธนาธรรมของท้าวมหาพรหม ทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุว่า จะทรงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ. ก็ทรงเห็น อสมกุมาร และ สุเนตตกุมาร พระกนิษฐภาดา ต่างพระมารดาของพระองค์ว่า กุมารทั้งสองพระองค์นี้ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย สามารถแทงตลอด ธรรมอันละเอียดลุ่มลึกได้ เอาเถิด เราจะแสดงธรรมแก่กุมารทั้งสองนี้แล้ว เสด็จ มาทางอากาศ ลง ณ สุธัมมราชอุทยาน โปรดให้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานเรียกพระกุมารทั้งสองพระองค์มาแล้ว อันพระกุมารพร้อมทั้งบริวารแวด ล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางมหาชน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ต่อจากสมัยของพระเรวตพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า พระนามว่า โสภิตะ ผู้นำโลก ผู้ตั้งมั่น จิตสงบ ไม่ มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.

พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงกลับพระทัย ในพระนิเวศน์ของพระองค์แล้ว ทรงบรรลุพระโพธิ- ญาณสิ้นเชิง ประกาศพระธรรมจักรแล้ว.

บริษัทหมู่หนึ่ง ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างตั้งแต่ อเวจีนรก เบื้องบนตั้งแต่ภวัคคพรหม ก็ได้มีในการ แสดงธรรม.

พระสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ท่ามกลางบริษัทนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ด้วย จำนวนผู้ตรัสรู้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกเคหมฺหิ ได้แก่ ในนิเวศน์ของตน นั่นเอง. อธิบายว่า ณ พื้นภายในปราสาทนั่นแล. บทว่า มานสํ วินิวตฺตยิ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 402

ได้แก่ กลับใจ. อธิบายว่าอยู่ในนิเวศน์ของพระองค์ เปลี่ยนจิตจากความเป็น ปุถุชนภายใน ๗ วันเท่านั้น แล้วทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า เหฏฺา แปลว่า เบื้องต่ำ. บทว่า ภวคฺคา ได้แก่ แต่อกนิษฐภพ. บทว่า ตาย ปริสาย ได้แก่ ท่ามกลางบริษัทนั้น. บทว่า คณนาย น วตฺตพฺโพ ความว่า เกินที่จะนับจำนวนได้. บทว่า ปมาภิสมโย ได้แก่ ธรรมาภิสมัย ครั้งที่ ๑. บทว่า อหุ ความว่า บริษัทนับจำนวนไม่ได้. ปาฐะว่า ปเม อภิสฺมึสุเยว ดังนี้ก็มี. ความว่า ชนเหล่าใด ตรัสรู้ ในการแสดงธรรมของ พระโสภิตพุทธเจ้านั้น ชนเหล่านั้น อันใครๆ กล่าวไม่ได้ด้วยการนับจำนวน.

สมัยต่อมา พระโสภิตพุทธเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้น จิตตปาฏลี ใกล้ประตูกรุงสุทัสสนะ ประทับนั่งทรงแสดงอภิธรรม เหนือพื้น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ โคนต้น ปาริฉัตรในภพดาวดึงส์ อันเป็นภพที่สำเร็จ ด้วยนพรัตน์และทอง. จบเทศนา เทวดาเก้าหมื่นโกฏิตรัสรู้ธรรม นี้เป็น อภิสมัยครั้งที่ ๒. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ต่อจาก อภิสมัยครั้งที่ ๑ นั้น ณ ที่ประชุมเทวดาทั้งหลาย อภิ- สมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ.

สมัยต่อมา พระราชกุมารพระนามว่า ชัยเสนะ ในกรุงสุทัสสนะ ทรงสร้างวิหารประมาณโยชน์หนึ่ง ทรงสร้างพระอาราม ทรงเว้นไว้ระยะต้นไม้ดี เช่นต้น อโศก ต้นสน จำปา กะถินพิมาน บุนนาค พิกุลหอม มะม่วง ขนุน อาสนศาลา มะลิวัน มะม่วงหอม พุดเป็นต้น ทรงมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำอนุโมทนาทาน ทรง สรรเสริญการบริจาคทานแล้วทรงแสดงธรรม. ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ หมู่สัตว์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนี้ จึงตรัสว่า


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 403

ต่อมาอีก เจ้าราชบุตรพระนามว่า ชัยเสนะ ทรง สร้างพระอาราม มอบถวายพระพุทธเจ้าครั้งนั้น.

พระผู้มีพระจักษุ เมื่อทรงสรรเสริญการบริจาค ทาน ก็ทรงแสดงธรรมโปรดเจ้าราชบุตรนั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์พันโกฏิ.

พระราชาพระนามว่า อุคคตะ ก็สร้างพระวิหารชื่อว่า สุนันทะ ใน กรุงสุนันทะ ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ในทานนั้น พระอรหันต์ร้อยโกฏิซึ่งบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาประชุมกัน. พระผู้มีพระภาค เจ้าโสภิตะทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระอรหันต์เหล่านั้น. นี้เป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑. คณะธรรมในเมขลนคร สร้างมหาวิหารที่น่ารื่นรมย์อย่างดี ชื่อว่า ธัมมคณาราม ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานอีก แล้ว ได้ถวายทานพร้อมด้วยบริขารทุกอย่าง. ในสมาคมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในสันนิบาตการประชุมพระอรหันต์เก้าหมื่นโกฏิ ซึ่ง บวชโดยเอหิภิกขุภาวะ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. ส่วนสมัยที่พระผู้มีพระภาค เจ้า ทรงจำพรรษาในภพของท้าวสหัสนัยน์ อันหมู่เทพแวดล้อมแล้ว เสด็จ ลงจากเทวโลก ในดิถีปวารณาพรรษา ทรงปวารณาพร้อมด้วยพระอรหันต์ แปดสิบโกฏิ ในสันนิบาตที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี สันนิบาต ๓ ครั้ง ประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ไร้ มลทินมีจิตสงบ คงที่.

พระราชาพระองค์นั้น พระนามว่า อุคคตะ ถวาย ทานแด่พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน ในกาลนั้น พระอรหันต์ร้อยโกฏิ มาประชุมกัน (ครั้งที่ ๑).


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 404

ต่อมาอีก หมู่ชนชาวเมือง ถวายทานแด่พระผู้ เป็นยอดแห่งนรชน ครั้งนั้น พระอรหันต์เก้าสิบ โกฏิประชุมกันเป็นครั้งที่ ๒.

ครั้งพระชินพุทธเจ้า จำพรรษา ณ เทวโลก เสด็จ ลง พระอรหันต์แปดสิบโกฏิประชุมกันเป็นครั้งที่ ๓.

เล่ากันว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่า สุชาตะ เกิดดีทั้งสองฝ่ายใน กรุงรัมมวดี ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า โสภิตะแล้วตั้งอยู่ในสรณะ ถวายมหาทานตลอดไตรมาสแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธ เจ้าเป็นประธาน. แม้พระโสภิตพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์สุชาตพราหมณ์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ. ด้วย เหตุนั้นจึงตรัสว่า

สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุชาตะ ใน ครั้งนั้น ได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวกให้ อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ.

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น ทรง พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้ จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่ หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.

พระตถาคตตั้งความเพียร ฯลฯ จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ร่าเริง สลด ใจ ได้ทำความเพียรอย่างแรงกล้า เพื่อให้ประโยชน์ นั้นเกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 405

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเมวตฺถมนุปตฺติยา ได้แก่ เพื่อให้เกิด ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น. อธิบายว่า ก็ครั้นฟังพระดำรัสของพระโสภิต พุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า ในอนาคตกาล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม ว่า โคตมะ ดังนี้แล้ว จึงปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่ผิด. บทว่า อุคฺคํ ได้แก่ แรงกล้า. บทว่า ธิตึ ได้แก่ ความเพียร. บทว่า อกาสหึ ตัดบทว่า อกาสึ อหํ แปลว่า ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าโสภิตะ พระองค์นั้น มีพระนครชื่อว่า สุธัมมะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุธัมมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสุเนตตะ และ พระอสมะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า อโนมะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุลา และ พระสุชาดา โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า ต้นนาคะ. พระสรีระสูง ๕๘ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า มกิลา พระโอรสพระนามว่า สีหกุมาร. พระสนมนาฏนารี สามหมื่นเจ็ดพันนาง ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี ทรงออกอภิเนษกรมณ์ โดยเสด็จไปพร้อมกับปราสาท. อุปัฏฐากพระนามว่า พระเจ้าชัยเสนะ. ด้วย เหตุนั้นจึงตรัสว่า

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนครชื่อว่า สุธัมมะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุธัมมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา.

พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระอสมะ และ พระสุเนตตะ มีพระ พุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอโนมะ.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 406

มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุลา และพระ สุชาดา. พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อตรัสรู้ ก็ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่าต้นนาคะ.

พระมหามุนี สูง ๕๘ ศอก ส่งรัศมีสว่างไปทุก ทิศ ดังดวงอาทิตย์อุทัย.

ป่าใหญ่ มีดอกไม้บานสะพรั่ง อบอวลด้วยกลิ่น หอมนานา ฉันใด. ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า ก็ อบอวลด้วยกลิ่น คือศีลฉันนั้นเหมือนกัน.

ขึ้นชื่อว่า มหาสมุทร อันใครๆ ไม่อิ่มได้ด้วย การเห็น ฉันใด ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า อัน ใครๆ ก็ไม่อิ่มด้วยการฟัง ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระโสภิตะ พุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงมีพระชนม์ยืนอย่างนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.

พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานโอวาทานุศาสน์ แก่ชนที่เหลือแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวง ไฟไหม้แล้วก็ดับ ฉะนั้น.

พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มี ผู้เสมอพระองค์นั้นด้วย เหล่าพระสาวก ผู้ถึงกำลัง เหล่านั้นด้วย ทั้งนั้นอันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่า แน่แท้.


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 407

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตรํสีว แปลว่า เหมือนดวงอาทิตย์ ความว่า ส่องแสงสว่างไปทุกทิศ. บทว่า ปวนํ แปลว่า ป่าใหญ่. บทว่า ธูปิตํ ได้แก่ อบ ทำให้มีกลิ่น. บทว่า อตปฺปิโย ได้แก่ ไม่ทำความอิ่ม หรือไม่เกิดความอิ่ม. บทว่า ตาวเท แปลว่า ในกาลนั้น. ความว่า ในกาล เพียงนั้น. บทว่า ตาเรสิ แปลว่า ให้ข้าม. บทว่า โอวาทํ ความว่า การ สอนครั้งเดียว ชื่อว่า โอวาท. บทว่า อนุสิฏฺึ ความว่า การกล่าวบ่อยๆ ชื่อว่า อนุสิฏฐิ [อนุศาสน์]. บทว่า เสสเก ชเน ได้แก่ แก่ชนที่เหลือ ซึ่ง ยังไม่บรรลุการแทงตลอดสัจจะ. บทว่า หุตาสโนว ตาเปตฺวา แปลว่า เหมือนไฟไหม้แล้ว อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. ความว่า พระผู้มี พระภาคเจ้า ปรินิพพาน เพราะสิ้นอุปาทาน. ในคาถาที่เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาวงศ์พระโสภิตพุทธเจ้า