ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ท่านอาจารย์ เพราะว่าวันหนึ่งๆ ได้ฟังธรรมมากเหลือเกิน ใช่ไหมคะ บางท่านอาจจะฟังหลายๆ ชั่วโมงทีเดียว แต่ว่าจำไม่ได้ว่าที่ได้ฟังมาทั้งหมดนั้น เรื่องอะไรบ้าง แต่ธรรมใดที่จำได้ ก็พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว ทำให้เข้าใจอรรถ รู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ เมื่อเป็นผู้ที่ไม่มีวาจางาม ก็เป็นผู้ที่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกุลแก่ผู้อื่น
อีกท่านหนึ่ง ใน อลังสุตรที่ ๘ ข้อ ๑๕๙ ท่านผู้นี้ เป็นผู้ที่ไม่เข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว จึงไม่เข้าใจ อรรถ และ ธรรม เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ว่าเป็นผู้ที่มีวาจางาม เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้ที่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน มีข้อสงสัยในเรื่องนี้ไหมคะ
ถาม ปฏิบัติอย่างไร จึงจะเรียกว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ท่านอาจารย์ เจริญสติปัฏฐาน ค่ะ
ถาม เจริญสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้นการที่ ...
ท่านอาจารย์ เจริญกุศลทุกประการ ไม่ใช่กระทำอกุศล ถ้าทำอกุศลก็ไม่ใช่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คุณนิภัทร ถ้ายังไม่เข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ก็เป็นแต่เพียงเข้าใจขั้นศีลขั้นทานธรรมดานี้ก็ปฏิบัติในเรื่องศีลเรื่องทาน นี่จะเป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ท่านอาจารย์ สมควรแก่ธรรม ขั้นทาน ขั้นศีล
คุณนิภัทร คือหมายว่า ถ้าเข้าใจธรรมขั้นไหนก็ปฏิบัติธรรมขั้นนั้นให้สมบูรณ์ เรียกว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หรือ
ท่านอาจารย์ ค่ะ
คุณนิภัทร แล้วการที่จะปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ ก็จะต้องมีความสัมพันธ์กับข้อแรกๆ ก่อนที่จะถึงข้อนี้ เช่นต้องฟังให้เข้าใจ ต้องจำให้ได้ ต้องพิจารณาเนื้อความ และจะต้องรู้อรรถ รู้ธรรม หมายความว่า ต้องเข้าใจเนื้อหา สาระของข้อความที่ฟังนั้น จึงจะปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมได้ ถ้าหากฟังไม่เข้าใจแล้ว การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมก็คงปฏิบัติไม่ได้
ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ เพราะฉะนั้นบางท่านที่ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏซึ่งเป็นสติปัฏฐานเลย แต่อยากจะปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัติโดยที่ไม่เข้าใจอะไรเลย ไม่ทำให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่ทำให้เข้าใจตนเองตามความเป็นจริง ก็ย่อมไม่เป็นประโยชน์
คุณอดิศักดิ์ อาจารย์ยกตัวอย่างขึ้นมา ๗ จำพวกด้วยกันใช่ไหมครับ เท่าที่ผมจำได้มี ๗ จำพวก ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เข้าใจได้ เข้าใจไม่ได้ จำได้ จำไม่ได้ จำได้บางอย่าง พิจารณา บางคนก็ไม่พิจารณา ผมก็มาพิจารณาตัวเองว่า เราพิจารณาธรรมได้อรรถ ได้กุศลธรรม ได้ไปแค่ไหนแล้ว เมื่อพิจารณาแล้วก็คิดว่าคงจะจำได้บ้าง จำไม่ได้บ้าง เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แล้วอย่างนี้ จะปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ได้ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่ปฏิบัติถูก ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นเป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คุณอดิศักดิ์ ปฏิบัติธรรมได้สมควรแก่ธรรม แต่ยังไม่แล้ว ใช่ไหมครับอาจารย์
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นพระอรหันต์ค่ะ พอถึงคำว่า ปฏิบัติธรรม ก็สงสัยอีกเหมือนกันนะคะ ว่าปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติธรรมเป็นการอบรมเจริญกุศลทุกประการ และกุศลทุกประการที่จะเจริญขึ้น ก็จะพ้นจากการอบรมเจริญ ปัญญาไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีปัญญา ความเข้าใจในพระธรรม กุศลธรรมทั้งหลายก็เจริญไม่ได้ แต่ที่กุศลทั้งหลายจะเจริญได้ ก็เพราะมีความเข้าใจพระธรรมเพิ่มขึ้น และ สำหรับ หิริ โอตัปปะ ก็เป็นเหตุที่จะให้เกิดปัญญาด้วย
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและอนุโมทนา ทุกท่านครับ
ขอให้ทุกท่านมีความเจริญในธรรมยิ่งๆ ขี้นไปเทอญ
ขออนุโมทนาด้วยครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ปฏิบัติธรรม ก็สงสัยอีกเหมือนกันนะคะ ว่าปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติธรรมเป็นการอบรมเจริญกุศลทุกประการ และกุศลทุกประการที่จะเจริญขึ้น ก็จะพันจากการอบรมเจริญปัญญาไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีปัญญา ความเข้าใจในพระธรรม กุศลธรรมทั้งหลายก็เจริญไม่ได้ แต่ที่กุศลทั้งหลายจะเจริญได้ ก็เพราะมีความเข้าใจพระธรรมเพิ่มขึ้น และสำหรับ หิริ โอตัปปะ ก็เป็นเหตุที่จะให้เกิดปัญญาด้วย
...ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และทุกๆ ท่าน ค่ะ...
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม ...
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนา
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ
ขออนุโมทนา กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ และทุกท่านที่ให้ความรู้ค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ