[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 61
เถรคาถา จตุกกนิบาต
๑๒. มุทิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมุทิตเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 61
๑๒. มุทิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมุทิตเถระ
[๓๓๔] เรามีความต้องการเลี้ยงชีพ ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ภายหลังกลับได้ศรัทธา มีความเพียรบากบั่นมั่นคง โดย ตั้งใจว่า ร่างกายของเรานี้จงแตกทำลายไป เนื้อหนัง ของเราพึงเหือดแห้งไป แข้งขาทั้งสองของเราจะหลุดจาก ที่ต่อแห่งเข่าทั้งสอง ตกลงไปที่พื้นดินก็ตามที เมื่อเรา ยังถอนลูกศร คือ ตัณหาไม่ได้ เราจักไม่กิน ไม่ดื่ม จักไม่ออกจากวิหาร และจักไม่เอนกายนอน ขอท่านจงดู ความเพียรและความบากบั่นของเรา ผู้อยู่ด้วยความตั้งใจ อย่างนั้น เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.
จบมุทิตเถรคาถา
พระเถระที่กล่าวคาถาองค์ละ ๔ คาถา รวมเป็น ๕๒ คาถา รวม เป็นพระเถระ ๑๓ องค์ คือ :-
๑. พระนาคสมาลเถระ ๒. พระภคุเถระ ๓. พระสภิยเถระ ๔. พระนันทกเถระ ๕. พระชัมพุกถระ ๖. พระเสนกเถระ ๗. พระสัมภูตเถระ ๘. พระราหุลเถระ ๙. พระจันทนเถระ ๑๐. พระธรรมิกเถระ ๑๑. พระสัปปกเถระ ๑๒. พระมุทิตเถระ.
จบจตุกกนิบาตที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 62
อรรถกถามุทิตเถรคาถาที่ ๑๒
คาถาแห่งท่านพระมุทิตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพชึ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็น พระศาสดามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายเตียงๆ หนึ่ง.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน พุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลคฤหบดี ในโกศลรัฐ ได้นามว่า มุทิตะ ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ก็สมัยนั้นตระกูลนั้นได้ถูกพระราชาพัวพันอยู่ด้วย กรณียกิจบางอย่างทีเดียว. ท่านมุทิตะได้กลัวแต่ราชภัย ได้หนีเข้าไปสู่ป่า เข้าไปยังที่อยู่ของพระขีณาสพเถระรูปหนึ่ง.
พระเถระรู้ว่าท่านกลัวจึงปลอบว่า อย่ากลัวเลย. ท่านถามว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ภัยของกระผมนี้จักสงบโดยกาลประมาณเท่าไรหนอ เมื่อ พระเถระกล่าวว่า ล่วงไป ๗ - ๘ เดือน จึงกล่าวว่า กระผมไม่สามารถจะ ยับยั้งอยู่ได้ตลอดกาลประมาณเท่านั้น กระผมจักบวชขอรับ ขอท่านจงบวช ให้กระผมเถิดดังนี้แล้วจึงบวช เพื่อรักษาชีวิตไว้, พระเถระให้เธอบวชแล้ว.
ท่านครั้นบวชแล้ว ได้ศรัทธาในพระศาสนา แม้เมื่อภัยสงบแล้ว การทำสมณธรรมนั่นแหละให้รุ่งโรจน์ เรียนพระกรรมฐาน เมื่อการทำ วิปัสสนากรรม จึงกระทำปฏิญญาโดยนัยมีอาทิว่า เรายังไม่บรรลุพระอรหัต แล้วจักไม่ออกไปภายนอกจากห้องที่อยู่นี้ จึงบำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน๑ว่า
๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๑๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 63
เราเลื่อมใส ได้ถวายเวจกุฎีหลังหนนึ่ง แด่พระผู้มี พระภาคเจ้า เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ พระนามว่าวิปัสสี ด้วยมือของตน เราได้ยานช้าง ยานม้าและยานทิพย์ เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ก็เพราะการถวายเวจกุฎี นั้น ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเวจกุฎีใด ด้วยการ ถวายเวจกุฎีนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ ถวายเวจกุฎี เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ. .. พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็แล ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว เสวยวิมุตติสุข ถูกพวกภิกษุ ผู้เป็นสหาย ถามถึงการที่ท่านบรรลุ เมื่อจะแสดงอาการที่ตนดำเนินจึง กล่าว ๔ คาถา๑ว่า
เรามีความต้องการเลี้ยงชีพ ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ภายหลังกลับได้ศรัทธา มีความเพียรบากบั่นมั่นคง โดย ตั้งใจว่าร่างกายของเรานี้จงแตกทำลายไป เนื้อหนังของ เราพึงเหือดแห้งไป แข้งขาทั้งสองของเราจะหลุดจาก ที่ต่อแห่งเข่าทั้งสอง ตกลงไปที่พื้นดินก็ตามที เมื่อเรายัง ถอนลูกศร คือ ตัณหาไม่ได้ เราจักไม่กิน ไม่ดื่ม จักไม่ ออกจากวิหาร และจักไม่เอนกายนอน ขอท่านจงดูความ เพียรและความบากบั่นของเรา ผู้อยู่ด้วยความตั้งใจอย่าง นั้น เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนา เสร็จแล้ว.
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 64
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชีวิกตฺโถ ได้แก่ ผู้ต้องการเลี้ยงชีพ คือประกอบการเลี้ยงชีพ. อธิบายว่า เราบวชเพื่อต้องเลี้ยงชีพอย่างนี้ว่า เราบวชในที่นี้จักปลอดภัย ไม่ลำบากเป็นอยู่โดยสบาย. บทว่า ลทฺธาน อุปสมฺปทํ ความว่า ตั้งอยู่ในบรรพชาเป็นสามเณรก่อนแล้ว ได้อุปสมบท ด้วยญัตติจตุตถกรรม.
บทว่า ตโต สทฺธํ ปฏิลภึ ความว่า ตั้งแต่เวลาที่ท่านอุปสมบท แล้วนั้น ท่านก็คบหาแต่กัลยาณมิตร เรียน ๒ มาติกา, อนุโมทนา ๓, สูตร บางสูตร สมถกรรมฐาน และวิปัสสนาวิธี เห็นความที่พระพุทธเจ้ามี อานุภาพมาก ได้ศรัทธาในพระรัตนตรัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้เอง โดยชอบ, พระธรรมอันพระองค์ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว.
บทว่า ทฬฺหิวีริโย ปรกฺกมึ ความว่า เป็นผู้ได้ศรัทธาอย่างนี้แล้ว กระทำกรรมวิปัสสนา ไม่นานนักก็เป็นผู้มั่นคงถาวร บากบั่นในการแทง ตลอดสัจจะ เริ่มตั้งไว้โดยชอบในการละอกุศลธรรม ในการถึงพร้อมด้วย กุศลธรรม.
ก็เพื่อแสดงประการที่เราบากบั่นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า กามํ ดังนี้.
บทว่า กามํ ความว่า จงแตกไปตามปรารถนา หรือโดยส่วนเดียว.
บทว่า อยํ กาโย ความว่า กายเน่าของเรานี้ หากแตกไปด้วยความ เพียรเครื่องเผากิเลสนี้ จงแตกไป คือจงขาดแตกไป.
บทว่า มํสเปสี วิสียรุํ ความว่า หากชิ้นเนื้อจะเหือดแห้งไปจาก กายนี้ ด้วยความบากบั่นมั่นนี้ก็จงเหือดแห้งไป คือจงกำจัดไปจากที่นี้ และที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 65
บทว่า อุโภ ชณฺณุกสนฺธีหิ ชงฺฆาโย ปปตนฺตุ เม ความว่า แข้งขาทั้งสองของเราพร้อมด้วยที่ต่อแห่งแข้ง จงแตกตกไปที่พื้นดิน ก็ตามเถิด. บาลีว่า มํ ดังนี้ก็มี บาลีนั้น ก็มีความอย่างนั้น. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
จบอรรถกถามุทิตเถรคาถาที่ ๑๒
จบปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา
จตุกกนิบาต