กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณา, เห็นกายในกายอยู่นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ในหลายคำสอนและข้อปฏิบัติที่ลึกซึ่ง พระพุทธองค์เน้นเรื่องภิกษุทั้งหลาย เป็นส่วนมาก ผมอ่านแล้วผมไม่ใช่พระภิกษุรู้สึกว่า ผมไม่ควรทำ และปฏิบัติตามไม่น่าจะได้ เพราะเป็นธรรมหรือข้อปฏิบัติของพระ ไม่ใช่ฆารวาสธรรม เป็นของลึกซึ่ง ยากเกินไปหรือเปล่า ทำไมพระพุทธองค์ สอนเน้นแต่พระภิกษุสงฆ์เท่านั้นครับ
คนที่ปฏิบัติได้ต้องเป็นพระภิกษุเท่านั้นหรือครับ หรืออาจเพราะฆารวาสทำแล้วจะได้แค่ครึ่งๆ กลางๆ ทำไม่เสร็จครับ (เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย ไม่มีกัลยาณมิตร)
แต่อภิธรรมที่อ.สุจินต์ อธิบาย นำมาสอน เป็นธรรมลึกซึ่งเกินข้อปฏิบัติหลายข้อนัก มันเหมาะควรสำคัญฆารวาสอย่างผมด้วยหรือครับ
ขอเรียนว่า คำว่า " ภิกษุ " ตามหลักคำสอน มีหลายความหมาย เช่น หมายถึงบรรพชิตบ้าง หมายถึงพระภิกษุสงฆ์บ้าง หมายถึงพระอริยะบ้าง หมายถึงผู้ที่เห็นภัยในวัฏฏะบ้าง ส่วนในสติปัฏฐานสูตร คำว่าภิกษุ ท่านหมายถึงผู้เห็นภัยดังนั้นผู้ที่ศึกษาอบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ว่าจะดำรงอยู่ในเพศใด ก็เรียกว่าภิกษุได้เหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น สรุปคือพุทธบริษัททั้งสี่อบรมเจริญสติปัฏฐานได้ แต่ในบางแห่งท่านอธิบายว่า ที่ตรัสเรียกว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย " เพราะพระภิกษุเป็นหัวหน้าพุทธบริษัท... แต่ในที่นั้นหมายถึง พุทธบริษัททั้งสี่ สำหรับการศึกษาพระธรรมคำสอนที่ละเอียดลึกซึ้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือบรรพชิตก็ควรศึกษาทั้งนั้น ถ้าเข้าใจได้ย่อมเป็นการดีครับ
ขอเชิญคลิกอ่านความหมายภิกษุเพิ่มเติมที่ ความหมายภิกษุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
"ในสติปัฏฐานสูตร คำว่าภิกษุ ท่านหมายถึงผู้เห็นภัย"
ขอขอบคุณและอนุโมทนาครับ
สาธุ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สติปัฏฐานคือการอบรมปัญญาเพื่อระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้
ที่เป็นไปในกาย เวทนา จิต ธรรม เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องของปัญญา ปัญญาไม่ได้
จำกัดเพศ คฤหัสถ์ก็สามารถอบรมเจริญสติปัฏฐานได้เพราะสติปัฏฐานเป็นการรู้สภาพ
ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ไม่ว่าเพศใด สภาพธรรมก็ปรากฎกับทุกคน ขาดแต่เพียงปัญญา
ที่จะไปรู้ความจริงในขณะที่สภาพธรรมปรากฏเท่านั้นครับ สติปัฏฐานพระพุทธองค์จึง
ทรงแสดงไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษ
ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไร เพื่ออัสดงค์ดับไป
แห่งทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุญายธรรม เ พื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้งทางนี้คือสติ-
ปัฏฐาน
สำหรับคำถามที่ว่า แต่อภิธรรมที่อ.สุจินต์ อธิบาย นำมาสอน เป็นธรรมลึกซึ่งเกินข้อปฏิบัติหลายข้อนัก มันเหมาะควรสำคัญฆราวาสอย่างผมด้วยหรือครับ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าพระอภิธรรมคือสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เช่น เห็น เสียง มีจริงเป็นธรรม เป็นอภิธรรม ปัญญาต้องรู้ความจริงที่เป็นอภิธรรมคือรู้ว่าเป้นธรรมเพื่อที่จะละ
ความยึดถือว่าเป็นเรา เป้นสัตว์ บุคคล การอบรมปัญญาเพื่อรู้ความจริงเช่นนี้เป็นเรื่องที่
ยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีทางรู้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นก็คงไม่มีพระอริยสาวกที่
ท่านได้รู้มาแล้ว แต่เพราะท่านอาศัยการสะสมปัญญามาทีละเล็กละน้อยและอาศัยระยะ
เวลายาวนาน วันหนึ่งก็สามารถรู้สามารถเข้าใจได้ครับ ท่านก็เริ่มจากความไม่รู้อย่าง
เช่นเรามาก่อน เพราะฉะนั้นสำคัญที่เหตุคือเริ่มจากความเข้าใจถูกเป็นเบื้องต้นทีละ-
น้อยในเรื่องของการเข้าใจสภาพธรรม เริ่มจากฟังให้เข้าใจ วันหนึ่งก็สามารถเข้าใจและ
ปฏิบัติตามได้ครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์