ฌาณหรือฌาณจิตของศาสนาพุทธ ซึ่งบัญญัติไว้ในพระอภิธรรม โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีสติกำกับอยู่ด้วยหรือไม่ เจริญมรรคปฏิปทา คือ การเจริญมรรคมีองค์ ๘ เช่น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ ฯลฯ เป็นต้น ใช่ไหมครับ
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ วิภังคปกรณ์ - หน้าที่ 280 สุตตันตภาชนีย์ อธิบายว่าภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ทรามได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วบรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิต เป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌาณที่พระอริยะเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้อยู่ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อนมีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ ฯลฯ และ อภิธรรมภาชนีย์ ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกายบรรลุตติยฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา แห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
ขอเจริญในธรรม
ฌานจิตคือ ความสงบของจิตตามหลักคำสอนมี ๒ นัย คือ โลกียฌาน ๑ โลกุตรฌาน ๑ ทั้ง ๒ ฌาน มีสติเกิดร่วมด้วย แต่เป็นสติที่ต่างกันด้วยสมถภาวนากับวิปัสสนาภาวนา ถ้าเป็นโลกุตรฌานมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
อนุโมทนา
อนุโมทนาค่ะ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ