คงเคยเห็นปลาที่ถูกจับขึ้นมาจากน้ำแล้วว่า ถ้ายังไม่ตายมันจะพยายามกระเสือกกระสนลงไปในน้ำอีก แม้บางทีน้ำนั้นจะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตาม อย่างปลาที่ถูกจับมาขายในตลาด ก็พยายามดิ้นกระเสือกกระสนเหมือนกัน ซึ่งเราก็รู้ว่า มันอยากไปหาที่ๆ มีน้ำถึงจะหยุดกระเสือกกระสน และดำผุดดำว่ายอย่างมีความสุข
วันนี้ท่านอาจารย์พูดในระหว่างรับประทานอาหารกลางวันว่า จิตที่มีความเห็นถูกเพียงชั่วขณะหนึ่งนั้น ก็เหมือนปลาที่ถูกจับขึ้นมาบนบก จะพยายามกระเสือกกระสนลงน้ำไปอีก น้ำนั้นคือห้วงน้ำ (โอฆะ) คือ ความความยินดีในกาม ความเห็นผิด ความยินดีในภพ และความไม่รู้
ใช่เลย เมื่อฟังธรรม มีความเข้าใจ มีความเห็นถูกว่า ทุกอย่างเป็นธรรมเพียงชั่วขณะที่ได้ยิน แล้วก็อยากจะให้มีความเข้าใจนานขึ้น มากขึ้นไปอีก ก็กระเสือกกระสนลงน้ำทันที ทุกขณะที่ได้ยินได้ฟังธรรม พอเข้าใจ แล้วก็หลงลืมทันที ก็เพราะยังพอใจที่จะอยู่ในห้วงน้ำใหญ่นั้นต่อไป ดำผุดดำว่ายเวียนวนอยู่ในสังสารวัฏฏ์เช่นที่ผ่านมาแล้วนานแสนนาน
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 389
"ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกอันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาจรยกขึ้นจากอาลัย คือ กามคุณ ๕ แล้ว ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมารย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันพรานเบ็ด ยกขึ้นจาก (ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น."
จิตเป็นสภาพธรรมที่รักษายากเพราะย่อมไหลไปสู่ที่ต่ำในอารมณ์ต่างๆ ด้วยจิตที่เป็นอกุศล เมื่อได้มีโอกาสฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้นทีละเล็กละน้อย แต่ยังมีความไม่รู้และกิเลสอื่นๆ อีกมากมาย ยังอยู่ในห้วงน้ำ (โอฆะ) ทั้ง 4 คือ
1. กามโอฆะ ห้วงน้ำคือความยินดี พอใจในรูปเสียง กลิ่น รส เป็นต้น
2. ภโวฆะ ห้วงน้ำคือความยินดีพอใจในอัตภาพนี้ ในภพ
3. ทิฎโฐฆะ ห้วงน้ำคือความเห็นผิดประการต่างๆ
4. อวิชโชฆะ ห้วงน้ำคือความไม่รู้ตามความเป็นจริง
สัตว์โลกย่อมจมอยู่ในห้วงน้ำ ดั่งปลาในห้วงน้ำ เมื่อมีโอกาสเจริญปัญญาในหนทางที่ถูก แต่เป็นเพียงปัญญาขั้นการฟังก็ยังจมอยู่ในห้วงน้ำ เมื่อเข้าใจขึ้นก็เหมือนปลาที่ถูกซัดไว้บนบก ย่อมดิ้นรนที่จะลงไปสู่ห้วงน้ำคือกิเลสประการต่างๆ อีก ยังอยากรู้มากๆ ยังอยากได้ผลเร็ว หรือต้องการลาภ สักการะ เป็นต้น
ผู้มีปัญญาจึงพิจารณาตามความเป็นจริง อดทนที่จะฟังธรรมต่อไป ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น แต่เพื่อรู้ความจริงในขณะนี้และไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ
[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 392
ปลานั้นอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากอาลัยคือน้ำแล้วโยนไปบนบก เมื่อไม่ได้น้ำย่อมดิ้นรนฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีปัญญา ไม่ทอดธุระ ย่อมทำจิตนั้นให้ตรง คือให้ควรแก่การงาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อีกนัยหนึ่ง จิตนี้ คือที่ละบ่วงมารลือกิเลสวัฏฏ์ไม่ได้ ตั้งอยู่ย่อมดิ้นรนดุจปลานั้นฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรควรละบ่วงมารเสียคือควรละบ่วงมารกล่าวคือกิเลสวัฏฏ์อันเป็นเหตุดิ้นรนแห่งจิตนั้น ดังนี้แล
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า เป็นเครื่องกั้นการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน เช่น ความสำคัญตนว่ารู้แล้ว เมื่อบุคคลอื่นแสดงธรรมก็ไม่ฟังธรรมค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 237
ฉะนั้น สัตว์โลกอันจิตย่อมนำไป ย่อมกระเสือกกระสนไปเพราะจิต สัตว์ทั้งหมดทีเดียว ย่อมเป็นไปตามอำนาจของธรรมอัน หนึ่งคือจิต ดังนี้.
ตราบใดที่ยังมีกิเลส ก็เหมือนปลาซึ่งเป็นสัตว์เดรัชฉานที่มีธรรมชาติดิ้นรนกระเสือกกระสนหนีภัยอันตรายต่างๆ
เชิญคลิกอ่าน...
ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสน [ธรรมปริยายสูตร]
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาขอบพระคุณมากค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ