ถ. ขณะที่กำลังรับประทานอาหาร อารมณ์ต่างๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มีอยู่พร้อมหมด สมมติว่ามีสีสวยๆ อยู่สีหนึ่ง สติก็ไประลึกที่สีนั้นนานๆ สติระลึกรู้นานๆ ทั้งๆ ที่อย่างอื่นก็มี กำลังเคี้ยวอยู่ รสก็มี โผฏฐัพพะก็มี อะไรก็มี แต่สติไม่ระลึกรู้ กลับไประลึกรู้สิ่งที่ปรากฏอยู่ก่อนนี้นาน ทำให้ผมรู้สึกไม่ชัดแจ้งในใจ
ตามธรรมดา สภาวธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นนิดหนึ่งแล้วก็หายไปๆ ไม่ได้อยู่ให้เรารู้นานๆ จิตรู้อย่างนี้นิดหนึ่ง รู้จริง ไม่ใช่รู้ไม่จริง เวลาอาหารเข้าปาก ก่อนอาหารเข้าปากก็เห็น รู้แล้วว่ามีสี มีอะไรอย่างนี้ ก็สามารถจะรู้ได้หลายสิ่งหลายอย่าง แต่ไม่รู้อย่างนั้น กลับไปรู้อยู่เฉพาะอย่าง เช่นว่า แกงนี้รสดี ก็ไประลึกอยู่ที่รส รสหายไปหมดแล้ว แต่ยังไประลึกที่รสอยู่ อย่างนี้จะเรียกว่าสติไประลึกรู้ผิดๆ ได้ไหม เพราะรสไม่มีแล้ว หายไปหมดแล้ว แต่สิ่งอื่นยังมีอยู่ ยังปรากฏอยู่ แต่ไม่ระลึกรู้
สุ. เคยเผ็ดนานๆ ไหม เผ็ดนานก็มีปรากฏ และสติที่รู้เผ็ดนานนั้นก็บังคับบัญชาไม่ได้ คือ ต้องรู้ความเป็นอนัตตาแล้วไม่หวั่นไหว แต่ก่อนที่จะถึงความไม่หวั่นไหวได้ จะต้องรู้ทั่วจริงๆ ซึ่งในพระไตรปิฎกใช้พยัญชนะว่า รู้ชัด หมายความถึงวิปัสสนาญาณ
กำลังระลึกรู้ทางตา ญาณเกิดได้ไหมที่จะแทงตลอดเพราะไม่หวั่นไหว เพราะรู้ว่าเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม ถ้าจะระลึกรู้นานก็เป็นสติที่ระลึก ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น เมื่อสติจะไประลึกที่นามใดมาก นามใดนาน สามารถที่จะประจักษ์ความเกิดดับของนามนั้นรูปนั้น จนกระทั่งแทงตลอดอริยสัจ ถึงความเป็นพระอรหันต์ก็ได้ แต่ถ้ายังรู้ไม่ทั่ว หวั่นไหวจริงๆ
ที่มา และ อ่านเพิ่มเติม ...
แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 190