[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 495
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
ประวัติพระราธเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 495
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
ประวัติพระราธเถระ
ในสูตรที่ ๑๑ พึงทราบวินัจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฎิภาเณยฺยกานํ (๑) ได้แก่ ผู้ให้ปฏิภาณเกิดขึ้นได้ อันนับเป็นเหตุให้ท่านแสดงซ้ำ ซึ่งพระธรรมเทศนาของพระศาสดาได้ทันที ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้
ก็พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล ในเมืองหงสวดี ภายหลัง กำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีปฏิภาณ จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านปรนนิบัติพระตถาคตจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ครั้งพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในสกุลพราหมณ์ กรุงราชคฤห์ บิดามารดาจึงขนานนามว่า ราธมาณพ เวลาแก่เฒ่า เขาคิดว่าเราเป็นผู้ที่บุตรภริยาของตนไม่ต้องการจักบวช ให้เวลาล่วงไปเสีย จึงไปพระวิหาร ขอบรรพชากะพระเถระทั้งหลาย. พระเถระบางพวกไม่ประสงค์ให้บวช ด้วยเห็นว่าเป็นคนแก่ เป็นพราหมณ์แก่เฒ่า. ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์ไปสำนักของพระศาสดา ทำการปฏิสัณฐานแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสสยสมบัติ ความถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย ทรงมี
(๑) บางแห่งเป็น ปฏิภานกภิกฺขูนํ แปลว่า ภิกษุผู้มีปฏิภาณ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 496
พระประสงค์จะยกเรื่องขึ้นจึงตรัสถามว่า พราหมณ์บุตรภริยา ยังปรนนิบัติอยู่หรือ กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ปรนนิบัติแต่ที่ไหนเล่า พวกบุตรภริยา ให้ข้าพระองค์ออกไปจากบ้าน ด้วยเขาคิดว่าข้าพระองค์แก่แล้ว ตรัสถามว่า ท่านบวชเสียไม่ควรหรือพราหมณ์ กราบทูลว่าท่านพระโคดม ใครเล่าจะให้ข้าพระองค์บวช ใครๆ เขาไม่ต้องการข้าพระองค์ดอก เพราะเป็นคนแก่แล้ว พระศาสดาได้ประทานสัญญานัดหมายแก่ท่านพระสารีบุตรเถระ พระเถระรับพระพุทธดำรัสด้วยเศียรเกล้า ให้ราธพราหมณ์บวช ท่านคิดว่า พระศาสดาทรงให้พราหมณ์ผู้นี้บวช ด้วยความเอื้อเฟื้อ ไม่สมควรดูแลพราหมณ์ผู้นี้ ด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ จึงพาพระราธเถระไปที่อยู่ใกล้บ้าน ณ ที่นั้น ท่านมีลาภที่ค่อนข้างหาได้ยาก เพราะยังบวชใหม่ พระเถระจึงให้ที่อยู่ที่ถึงแก่ตน แม้เป็นที่ดีเลิศ ให้บิณฑบาตอันประณีตที่ถึงแก่ตน แก่พระราธเถระนั้น เที่ยวไปบิณฑบาตเอง ท่านพระราธเถระได้เสนาสนะอันสบาย และโภชนะอันสบาย รับกัมมัฏฐานในสำนักท่านพระสารีบุตรเถระ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระก็พาท่านไปเฝ้าพระทศพล พระศาสดาก็ทรงทราบ จึงตรัสถามว่า สารีบุตร นิสสิตที่เรามอบหมายแก่เธอไปเป็นเช่นไร ไม่อยากสึกหรือท่านพระสารีบุตรเถระทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาภิกษุผู้อภิรมย์ยินดียิ่งในพระศาสนา พึงเป็นเช่นนี้พระเจ้าข้า ครั้งนั้นเกิดพูดกันกลางสงฆ์ว่า ท่านพระสารีบุตรเถระ เป็นผู้กตัญญูกตเวที พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่สารีบุตรเป็นผู้กตัญญูกตเวทีในชาตินี้ ยังไม่อัศจรรย์ ในชาติก่อนเธอแม้บังเกิด ในปฏิสนธิของอเหตุกสัตว์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 497
ก็ได้เป็นผู้กตัญญูกตเวทีแล้วเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาลไหนพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ช่างไม้ประมาณ ๕๐๐ คน เข้าไปป่าใหญ่เชิงเขา ตัดทัพพสัมภาระได้แล้ว ผูกแพใหญ่ล่องลงแม่น้ำ มีพระยาช้างเชือกหนึ่ง นัยว่า เอางวงจับกิ่งไม้ ในที่ไม่เรียบร้อยแห่งหนึ่ง ไม่อาจจะธารกิ่งไม้หักได้ ก็เอาเท้าเหยียบลงตรงตอแหลม เท้าถูกตอแทง เกิดทุกขเวทนา ไม่สามารถออกไปเดินได้ ก็นอนลงที่นั้น นั่นแหละ ล่วงไป ๒ - ๓ วัน พระยาช้างนั้นแล เห็นพวกช่างไม้ เดินมาใกล้ตัว ก็คิดว่า เราอาศัยช่างไม้เหล่านี้ คงจักรอดชีวิตแน่ จึงได้เดินไปตามรอยช่างไม้เหล่านั้น พวกเขาเหลียวกลับมาเห็นช้าง ก็กลัวจึงหนีไป พระยาช้างนั้นรู้ว่า เขาหนีก็หยุด ติดตามไปอีกเมื่อเวลาเขาหยุด หัวหน้าช่างไม้คิดว่า ช้างเชือกนี้ เมื่อเราหยุดก็ตาม เมื่อเราหนีก็หยุด คงจักต้องมีเหตุในที่นั้นแน่ ทุกคนจึงพากันปีนขึ้นต้นไม้ นั่งคอยช้างมาพระยาช้างนั้น เดินมาใกล้ช่างไม้เหล่านั้น ก็นอนกลิ้งแสดงเท้าของตนเวลานั้น ช่างไม้ก็เกิดความเข้าใจ โดยกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนั่นมาเพราะเจ็บป่วย ไม่ใช่มาเพราะเหตุอย่างอื่น จึงพากันเข้าไปใกล้พระยาช้างนั้น เห็นตอตำเข้าไปในเท้า ก็รู้ว่า เพราะเหตุนี้เอง มันจึงมา จึงเอามีดที่คม ขวั้นที่ปลายตอแล้วเอาเชือกผูกให้แน่น ช่วยกันดึงออกมาได้ บีบปากแผลของมัน นำเอาหนองและเลือดออก ล้างด้วยน้ำฝาดใส่ยาที่ตนรู้จัก ไม่นานนัก ก็ทำให้มันสบาย พระยาช้างหายป่วยแล้วคิดว่า ช่างไม้เหล่านี้ มีอุปการะแก่เรามาก เราอาศัยช่างไม้เหล่านี้ จึงรอดชีวิต เราควรจะกตัญญูกตเวทีต่อพวกเขา จึงกลับไปที่อยู่ของตน แล้วนำเอาลูกช้างตระกูลคันธะมา พวกช่างไม้เห็นลูกช้าง ก็ปลื้มใจ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 498
อย่างยิ่งว่า ช้างของเราพาลูกมา พระยาช้าง (๑) คิดว่า เมื่อเรายืนอยู่ทำไมหนอ ลูกช้างนี้จึงยังมา มันคงจักไม่รู้เหตุที่เรามา จึงผละออกไปจากที่ๆ ยืน ลูกช้างก็ยังคงเดินตามต้อยๆ ไปข้างหลังพ่อ พระยาช้างรู้ว่าลูกตามมา จึงส่งเสียงสัญญาให้กลับไป ลูกช้างได้ยินเสียงพ่อ ก็กลับไปหาพวกช่างไม้ พวกช่างไม้รู้ว่า ช้างนี่คงจักมาเพื่อให้ลูกช้างเชือกนี้แก่เรา จึงกล่าวว่า เราไม่มีกิจที่จะให้เจ้าทำในสำนักเราดอก จงไปหาพ่อของเจ้าเถิด แล้วก็ส่งลูกช้างกลับไป พระยาช้าง ก็ส่งลูกซึ่งมาหาตนถึง ๓ ครั้ง ไปอยู่ใกล้พวกช่างไม้อีก ตั้งแต่นั้นมา พวกช่างไม้ก็ช่วยกันบำรุงเลี้ยงลูกช้างไว้ในสำนักของตน เวลากิน ต่างให้ก้อนข้าวคนละก้อน เพียงพอแก่ความต้องการของลูกช้างนั้น. ครั้งนั้น (๒) ลูกช้างนั้น ก็ขนทัพสัมภาระที่พวกช่างไม้ตัดไว้ในป่า มาทำเป็นกองไว้ที่ลาน ลูกช้างก็กระทำอุปการะแม้อย่างอื่น โดยทำนองนี้ นี่แล
พระศาสดาทรงชักเหตุนี่มาแสดง แม้ในชาติก่อน พระสารีบุตร ก็เป็นผู้กตัญญูกตเวที ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถระ ได้เป็นช้างใหญ่. ภิกษุผู้หย่อนความเพียรที่มาในอัตถุปปัตติ (เหตุเกิดเรื่อง) ได้เป็นลูกช้าง แต่ถึงคัมภีร์สังยุตตนิกาย ควรกล่าวราธสังยุตทั้งสิ้น และคาถาในพระธรรมบทว่า
(๑) ปาฐะว่า หตฺถินาโค จินฺเตสิ มยิ ติฏฺนฺเต กึนุโข อยํ อาคโตติ มม อาคตการณํ ชานิสฺสตีติ ิตฏฺานโต อปกฺกมิ. พม่าเป็น หตฺถินาโค จินฺเตสิ มยิ ติฏนฺเต "กึนุโข อยํ อาคโต" ติ มม อาคตการณํ ชานิสฺสนฺตี" ติ ิตฏานโต ปกฺกามิ. (แปลตามพม่า)
(๒) ปาฐะว่า อถ โส วฑฺฒกีหิ อตฺตโน คณณโกฏียกํ ทพฺ พสมฺภารํ ... พม่าเป็น โส วฑฺฒกีหิ อพฺโตคณเณ โกฏฏิตํ ทพฺเพสมฺภารํ (แปลตามพม่า)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 499
นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสาเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.
พึงเห็นบัณฑิตผู้กล่าวสอน ชี้โทษพูดข่มไว้ มีปัญญากว้างขวาง เหมือนชี้บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น ก็มีแต่ดี ไม่เสียเลย ดังนี้
ชื่อว่า ธรรมเทศนาของพระเถระ แต่ต่อมา พระศาสดากำลังทรงสถาปนาพระเถระทั้งหลายไว้ ในตำแหน่งทั้งหลายตามลำดับ จึงทรงสถาปนาท่านพระราธเถระไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้ประกอบด้วยปฏิภาณ แล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๑