รัตนที่หาได้ยากในโลก
โดย เจตสิก  30 พ.ย. 2550
หัวข้อหมายเลข 5707

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 429

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า ดูก่อนเจ้าลิจฉวี ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ หาได้ยากในโลก เป็นไฉน?คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระ-ตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑ ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งรัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก. ปิงคิยานีสูตรที่ ๕



ความคิดเห็น 2    โดย orawan.c  วันที่ 30 พ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย และขออนุโมทนา

และขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่......ยาก ๔ ยาก


ความคิดเห็น 3    โดย แช่มชื่น  วันที่ 1 ธ.ค. 2550

รัตนะ ๕ ประการหาได้ยากในโลก เมื่อปรากฏแล้วก็เหมือนแสงสว่างสาดส่องลงไปในทุกที่แม้แต่ที่ๆ พระอาทิตย์ส่องแสงไปไม่ถึง ให้ผู้ที่พอจะมีจักษุ (ปัญญา) พึงเห็น (พระธรรม) ได้ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 1 ธ.ค. 2550

สาธุ สาธุ สาธุ


ความคิดเห็น 5    โดย Muthitas  วันที่ 4 ก.พ. 2567

สาธุครับ


ความคิดเห็น 6    โดย chatchai.k  วันที่ 5 ก.พ. 2567

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

บรรดาทรัพย์เครื่องปลื้มใจและรัตนะทั้งหลายนั้น รัตนะแม้แต่สักอย่างหนึ่ง ซึ่งเสมอด้วยพุทธรัตนะนั้น ไม่มีเลย

ประการที่ ๑ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจชื่อว่ารัตนะ เพราะว่าทำให้เกิดความยำเกรงสิ่งที่เป็นรัตนะ ไม่มีใครทิ้ง ใช่ไหม ไม่มีใครละทิ้ง ไม่มีใครทอดทิ้งสมบัติทั้งหลาย แต่ย่อมทำการพิทักษ์รักษาดูแลเป็นอย่างดี ให้ควรค่าแก่ความเป็นรัตนะนั้นๆ

ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า ทำให้เกิดความเคารพยำเกรง พระตถาคตเท่านั้นชื่อว่ารัตนะ

จริงอยู่ เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติแล้ว เทวดาและมนุษย์ผู้มีศักดิ์มาก ทุกหมู่เหล่า ย่อมไม่ทำความเคารพยำเกรงในรัตนะอื่น ย่อมไม่บูชารัตนะอะไรๆ อื่น จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม เทวดาเหล่าอื่น และมนุษย์ทั้งหลาย มีพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าโกศล และท่านอนาถบิณฑิกะเป็นต้น ก็บูชาตามกำลัง พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ ๙๖ โกฏิ ทรงสร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ทั่วชมพูทวีปอุทิศถวายพระผู้มีพระภาค แม้ทรงปรินิพพานแล้ว

ที่มา ...

รัตนสูตร ๑

รัตนสูตร ๒

รัตนสูตร ๓