[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
[๓๕๙] อกุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ๔. มุสาวาท ๕. ปิสุณาวาจา ๖. ผรุสวาจา ๗. สัมผัปปลาปะ ๘. อภิชฌา ๙. พยาบาท ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ.
[๓๖๐] กุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฌา ความไม่โลภอยากได้ของเขา
๙. อัพยาบาท ความไม่ปองร้ายเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
ไม่ว่าศีลข้อใด ประการแรกสำคัญที่เจตนา มีเจตนาที่เป็นอกุศลเป็นทุจริตหรือไม่ เมื่อมีเจตนาแล้วก็ค่อยมาพิจารณาว่าครบองค์กรรมบถแต่ละข้อหรือไม่ ซึ่งศีลแต่ละข้อก็จะมีองค์กรรมบถแตกต่างกันไป แต่สำคัญที่เจตนาเป็นอันดับแรก
ดังนั้นจึงจะขอเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับศีล ข้อ ๕ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับสหายธรรมทั้งหลาย ศีลข้อ ๕ ตามที่ได้กล่าวมา คือ จะต้องพิจารณาเจตนาเป็นสำคัญ มีเจตนาจะดื่มสุราหรือไม่ หากมี นั่นเป็นเจตนาที่เป็นอกุศล ทุจริต ส่วนจะดื่มมากหรือน้อยจะเมาหรือไม่เมานั้น เป็นคนละประเด็น ประเด็นคือล่วงศีลอย่างไร ล่วงศีลเพราะมีจิตคิดจะดื่มนั่นคือมีเจตนาที่จะดื่ม มีความพยายามจะดื่ม และดื่มจนล่วงลำคอ เป็นอันล่วงศีลข้อ ๕ ส่วนจะเมาไม่เมา ไม่ใช่ประเด็น เพราะมีเจตนาที่เป็นทุจริตที่จะดื่มสุราแล้วนั่นเอง ส่วน ถ้าดื่มมากก็โทษมากคือผลของกรรมที่เป็นอกุศลก็มาก ดื่มน้อยก็โทษน้อย ดังข้อความในพระไตรปิฎกเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 452
องค์กรรมบถของศีลข้อ ๕
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีองก์ประกอบ ๔ อย่างคือ มชฺชภาโว (ความเป็นของเมา) ๑ ปาตุกมฺยตาจิตฺต (จิตคิดจะดื่ม) ๑ ตชฺโชวายาโม (ความพยายามอันเกิดแต่จิตนั้น) ๑ อชฺโฌหรณ (กลืนให้ล่วงลงในลำคอ) ๑
ก็ภาวะที่ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นั้น มีโทษโดยส่วนเดียวเพราะเขาดื่มด้วยจิตเป็นอกุศลอย่างเดียว
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 452
การดื่มน้ำเมาเพียงเล็กน้อยก็มีโทษน้อย การดื่มน้ำเมาเพียงครั้งอาฬหกะ มากกว่าน้ำเมาเล็กน้อยนั้น มีโทษมาก. เมื่อดื่มน้ำเมามากแล้วยังสามารถให้กายเคลื่อนไหวไปทำกรรมมีการปล้นชาวบ้านเป็นต้น มีโทษมากทีเดียว
จากข้อความข้างต้น เรื่อง ศีลข้อ ๕ ซึ่งค้นมาจากกระดานสนทนายังมีความขัดแย้งกันใน ประเด็น เรื่อง "เป็นกรรมบถ" หรือไม่ การดื่มสุรา "โดยเจตนาดื่มสุรา" ไม่เป็นกรรมบถ ใช่ไหมคะ เพราะ ในพระไตรปิฎกไม่ได้แสดงไว้ใน "อกุศลกรรมบถ ๑๐"
การดื่มสุราไม่เป็นกรรมบถ แต่ผิดศีล ๕ ทำให้ขาดสติ เป็นเหตุให้ล่วงอกุศลกรรมบถข้ออื่นได้ เช่น ฆ่าสัตว์ พูดเท็จ ประพฤติผิดในกาม เป็นต้น ค่ะ
ขอเชิญอ่านความคิดเห็นในหัวข้อนี้ครับ
บ้านธัมมะบอกว่าการ ดื่มสุรา ไม่จัดเป็นกรรม?
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ