正思惟
สัมมาสังกัปปะ
問: 請問,在想著佛陀的話時,如果不瞭解的話,這樣子的思惟算是“正思惟”嗎?
ผู้ถาม: ขอเรียนถามว่า ตอนที่กำลังตรึกนึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า หากไม่มีความเข้าใจการคิดพิจารณาเช่นนี้เป็น"สัมมาสังกัปสังกัปปะ"?
Ajhan Sujin: “正思惟”的因緣條件是來自於聽到正確的佛法,仔細正確地去思惟。 如果不是透過聆聽佛陀的教導,我們自己是不可能可以瞭解的。 比如現在每個人會如何思考都不會是一樣的,這是因為過去有著不同的累積。
อ.สุจินต์: การได้ฟังพระธรรมคำสอนที่ถูกต้อง จะเป็นปัจจัยให้มีการคิดพิจารณาถูก หากไม่ได้รับฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีความเข้าใจถูกต้องได้ด้วยตนเอง เช่น ขณะนี้ทุกคนกำลังคิดอะไรก็ย่อมไม่เหมือนกัน แต่ละคนก็แต่ละหนึ่ง เพราะเหตุว่าสะสมมาไม่เหมือน
Jon: 在思惟真相時有可能可以知道,哪一刻是善的或是哪一刻是不善的嗎? 會如何思考是依過去不同的累積。 思考就只是一個瞬間生起就滅去的法,它一直在改變。 如果我們認為想的那一刻一定要是善的,智慧才能夠有機會生起,這似乎是在刻意控制要怎麼想。 當我們在聆聽佛法討論時,我們不會刻意去認為心一定是要有智慧才能夠去瞭解。因為我們就只是聽,然後跟著聽到的內容去思考,就這樣子而已,應該是很自然地去思惟佛法。
จอน: ขณะที่กำลังพิจารณาถึงสิ่งที่มีจริง รู้ไหมว่าขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล? จะคิดอย่างไร นั่นเป็นเพราะว่าการสะสม การคิดพิจารณาก็เป็นเพียงแค่ขณะหนึ่งที่เกิดขึ้นคิดแล้วดับไป แปรเปลี่ยนตลอดเวลา หากเราคิดว่าขณะที่คิดนั้นต้องเป็นไปด้วยกุศล ถึงจะเป็นโอกาสให้ปัญญาเกิดขึ้นได้ นี่ก็จะเป็นการจงใจที่จะคิดพิจารณาให้เป็นไปอย่างไร ในขณะที่กำลังฟังธรรม สนทนาธรรม จะไม่มีการเจาะจงเลยว่า ปัญญาต้องเกิด จึงจะมีความเข้าใจได้ เพราะขณะที่ฟังคือเพียงฟังเท่านั้น จากนั้นก็คิดพิจารณาในสิ่งที่กำลังฟังเท่านั้น เป็นไปตามปกติที่คิดพิจารณาพระธรรม
Ajhan Sujin: 現在正思惟的因緣條件是什麼呢?
อ.สุจินต์: ขณะ เดี๋ยวนี้ มีอะไรเป็นปัจจัยให้สัมมาสังกัปปะไหม?
問: 聆聽佛法。
ผู้ถาม: การฟังพระธรรม
Ajhan Sujin: 不只是聆聽,還要仔細的去思惟。 現在就可以開始去思惟在那裡的是什麼? 這是理智上瞭解的階段也是思慧的關鍵。
อ.สุจินต์: ไม่เพียงแต่ฟังพระธรรม แต่ยังต้องคิดให้ละเอียดกว่านี้อีก ขณะนี้เดี๋ยวนี้เริ่มที่จะคิดพิจารณาถึงสิ่งที่มีจริงๆ ที่อยู่ที่นั่นคืออะไรแล้วหรือยัง? นี่คือการเข้าใจในขั้นปริยัติ ซึ่งเป็นเหตุสำคัญของปัญญาขั้นคิดพิจารณาด้วยด้วย
Sarah: 如果現在聆聽佛法的時候,就只是左耳進右耳出,並沒有仔細去思惟或者只是誦念經文,熟背書裡的文字,這樣不會是正思惟和智慧生起的條件。 沒有人可以控制要每一刻都有正確的思惟去如理作意,因此一開始正見就必須很堅定的建立,沒有人沒有我,當然也就沒有人可以控制。 如果現在有如理作意,那也是因為過去智慧的累積,所以才會有現在這一刻的如理作意。 認為我一定要一直有正確的思惟 ,這樣的誤認為並不會是之後智慧生起的條件,反而會是之後錯誤的見解生起的條件。 現在這一刻去看的,去聽的,去想的都是因緣和合的,這樣子的思惟才會是正思惟生起的條件。
ซาร่า: หากขณะที่กำลังฟังพระธรรม ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา นั่นไม่ใช่การพิจารณาธรรม เป็นเพียงการกล่าวท่องบ่นธรรมะชำนาญในการท่องบ่นเพียงตัวหนังสือ เช่นนี้ ไม่ใช่การคิดพิจารณาธรรมที่ถูกต้อง หรือเป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นได้ ไม่มีใครสามารถที่จะทำให้ทุกๆ ขณะมีแต่โยนิโสมนสิการ มีแต่การคิดพิจารณาที่ถูกต้อง ดังนั้นความเห็นถูก ต้องมั่นคงตั้งแต่เริ่มต้นว่า ไม่มีเรา ไม่มีใคร และแน่นอนว่าไม่มีคนที่จะบังคับบัญชาได้ หากว่าเดี๋ยวนี้มีโยนิโสมนสิการ นั่นก็เป็นเพราะปัญาที่เคยสะสมมาแต่ปางก่อน ดังนั้นจึงมีขณะนี้ที่เป็นไปโดยโยนิโสมนสิการ เข้าใจว่าเราจะต้องตั้งมั่นในโยนิโสมนสิการตลอดเวลาการคิดอย่างนี้ ไม่อาจเป็นปัจจัยให้ปัญญาเกิดได้ แต่กลับจะเป็นปัจจัยให้ความเห็นผิดเกิด ขณะนี้ที่เห็น ที่ได้ยิน ที่กำลังคิดนึกทั้งหมดเกิดเพราะเหตุปัจจัย การคิดพิจารณาอย่างนี้ จึงจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ ความคิดถูกเกิดขึ้นได้
Ajhan Sujin: 不管在那裡的是什麼,我們學習去瞭解它們的真實本質,它們都是沒有我 無我的,是智慧在那一刻瞭解現在在那裡的法。 在思考著食物,思考著去哪裡旅行時,這樣是正確的思惟嗎? 想著要去佈施,想著要去幫助別人,這樣是正確的思惟嗎? 正確的思惟有不同的層次,但正思惟一定會和智慧一起生起。 在佈施的那一刻可能會有善的思惟,但並不一定是八正道的正思惟。
อ.สุจินต์: ไม่ว่าสิ่งที่มีจริงที่อยู่ตรงนั้นคือสิ่งใดก็ตาม การศึกษาธรรมะก็เพื่อรู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริง ทั้งหมดคืออนัตตา ไม่มีเรา เป็นขณะที่ปัญญาเข้าใจสภาพธรรมที่อยู่ที่นั่น เดี๋ยวนี้ กำลังคิดถึงอาหาร คิดว่าจะไปเที่ยวที่ไหน การคิดอย่างนี้เป็นการคิดถูกไหม? คิดที่จะให้ทาน คิดที่จะไปช่วยเหลือบุคคลอื่น การคิดอย่างนี้ถูกต้องไหม? การคิดถูกก็มีหลายระดับ แต่การคิดถูกในสัมมาสังกัปปะต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ขณะที่กำลังให้ทาน ขณะนั้น ความคิดก็คิดเป็นไปในกุศล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเป็นการคิดถูกที่เป็นสัมมาสังกัปปะในมรรค ๘
Sarah: “尋心所” (vitakka) 會和幾乎每一刻的心一起生起,當它和善心一起生起時,比如在慈愛或佈施時,‘‘尋心所‘’ (vitakka) 會是善的思惟,但並不一定是八正道裡的“正思惟”。 同樣的在佈施的那一刻會有善的專注,正確的專注但它並不一定是八正道的正定的程度。 不管發展什麼類型的善,比如佈施慈愛...等等,一開始最重要的是正見的建立。當有了正确的見解才能夠瞭解 什麼是真正的善或不善以及什麼是正思惟,什麼不是正思惟。
ซาร่า: "วิตกเจตสิก" เกิดกับจิตแทบจะทุกดวง ขณะที่วิตกเกิดกับกุศลจิต เช่น ขณะที่เมตตา หรือขณะที่กำลังให้ทาน วิตกเจตสิกก็เป็นไปในกุศล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสัมมาสังกัปปะเป็นความคิดถูกในมรรค๘ เช่นเดียวกันกับขณะที่กำลังให้ทาน เอกัคคตาก็ตั้งมั่นในอารมณ์นั้น การตั้งมั่นในกุศล ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นการตั้งมั่นถูกในระดับสัมมาสมาธิในมรรค๘ ไม่ว่าจะเป็นกุศลประเภทใดที่เจริญขึ้น เช่น ทาน เมตตา...ฯลฯ สิ่งที่สำคัญที่สุดตั้งแต่เริ่มต้นคือมีความเห็นถูก เมื่อมีความเห็นที่ถูกต้อง ถึงจะสามารถเข้าใจจริงๆ ได้ว่าอะไรคือกุศล อะไรคืออกุศลรวมไปถึงอะไรคือความคิดถูก อะไรคือความคิดไม่ถูกด้วย
Ajhan Sujin: 所謂的“思惟”是哪個法呢?
อ.สุจินต์: สภาพที่คิดนึกเป็นธรรมะอะไร?
問: 尋心所。
ผู้ถาม: วิตกเจตสิก
Ajhan Sujin: “尋心所”會和有分心一起生起嗎?
อ.สุจินต์: “วิตกะเจตสิก”เกิดกับภวังคจิตไหม?
問: 會。
ผู้ถาม: เกิดด้วย
Ajhan Sujin: “尋心所”現在有出現嗎?
อ.สุจินต์: เดี๋ยวนี้มี “วิตกเจตสิก”ปรากฎไหม?
問: 它在那裡,但沒有出現。
ผู้ถาม: เขามีอยู่ที่นั่นแต่ไม่ได้ปรากฎ
Ajhan Sujin: 一天中有很多法在那裡,但它們並沒有出現,並不被知道。當我們說“尋心所”是去思惟的法是不夠的。我們很難用一個名詞去含蓋一個法所有的面向和意義。 “觸心所”每一刻都在那裡,但並不被知道。“觸心所”生起去接觸對象所緣,心才能夠去經驗。但並不一定每一刻的心都會有“尋心所”,比如在有分心時雖然並沒有去想,但需要尋心所去投向“觸心所”接觸的對象,心才能執行它的功能。 我們的聽聞討論都是為了培養智慧,智慧逐漸的累積才 能夠真的瞭解佛陀的教導。每天的日常生活中都有機會去瞭解法,而不是只是去記書本上的文字。
อ.สุจินต์: ในวันหนึ่งๆ มีธรรมะอยู่ที่นั่นมากมาย แต่ไม่ปรากฎให้รู้ได้ ขณะที่พูดว่า“วิตกเจตสิก”คือการคิดพิจารณา นั่นยังไม่พอ จะใช้เพียงคำๆ เดียวเพื่อบ่งชี้ถึงอรรถะความลึกซึ้งของสภาวธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง “วิตกเจตสิก”มีอยู่ทุกขณะก็ไม่รู้ “วิตกเจตสิก”เกิดขึ้นกระทบกับสิ่งใด จิตจึงเกิดขึ้นรู้ในสิ่งนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจิตทุกๆ ขณะ จะมี“วิตกเจตสิก”เกิดร่วมด้วยเสมอ ตัวอย่างเช่น ขณะที่เป็นภวังคจิต แม้คิดไม่ปรากฎ แต่ก็ต้องมี“วิตกเจตสิก”ตรึกในอารมณ์กับสิ่งที่“ผัสสเจตสิก”กระทบ จิตนั้นจึงกระทำกิจของจิต การฟังธรรมะ พิจารณาธรรมะ ก็เพื่ออบรมเจริญปัญญา ค่อยๆ สะสมปัญญาจึงจะสามารถเข้าใจในคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ทุกๆ วันในชีวิตประจำวัน เป็นโอกาสที่จะไปเข้าใจธรรมะ เข้าใจสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่ไปจำคำในหนังสือ
Sarah: 知道這些法的細節可以幫助我們瞭解無我的真相。沒有人可以決定觸心所去接觸哪個對象,尋心所去投向哪個對象,它們生起是有它們不同的因緣條件,生起就滅去。 當老師問有分心那一刻有沒有尋心所時,重點並不是要去記住答案,重點是每一刻都是不同的法互相支助生起,每一刻都沒有人,沒有我。
ซาร่า: การเข้าใจความละเอียดของธรรมะ จะช่วยให้เข้าใจความไม่มีเรา ไม่มีอะไรไปกำหนดให้“ผัสสเจตสิก”ไปกระทบอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้ ไม่มีสิ่งใดไปตัดสินให้“วิตกเจตสิก”จรดในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ธรรมะเกิดขึ้นแล้วดับไป ในขณะที่ท่านอาจารย์ถามว่าภวังคจิตมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม? สิ่งที่สำคัญที่สุดคือไม่ใช่เพื่อให้ไปจำคำตอบ แต่เพื่อให้เข้าใจว่าทุกขณะมีสภาพธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นไป ทุกๆ ขณะไม่มีคน ไม่มีเรา อนัตตา
敬感恩阿姜舒淨 (Ajhan Sujin Boriharnwanaket) 的恩惠
น้อมเคารพในคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
謹以此施法之功德與我們在輪迴裡每一世的父母 師長 同修 親友 仙人 各位讀者及其他一切眾生分享
กุศลในการนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศแด่บิดามารดาในทุกภพทุกชาติ ครูบาอาจารย์ ญาติมิตรสหาย เทวดา และผู้อ่าน รวมถึงสัตว์ทั้งหลาย
By line group Just Dhamma
หมายเหตุ
ที่มา การสนทนาธรรมออนไลน์ระหว่างท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ กับ ชาวจีน
สรุปใจความภาษาจีน โดย 陳品彤 เฉินผิ่นถง (คุณแพท)
แปลภาษาไทย โดย คุณปาล สว่างพัฒนกุล (黃如蓮)
อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... บทความแปลภาษาจีน
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
กราบยินดีในความดีคุณซาร่า คุณจอน และยินดีในความดีคุณแพท คุณปาล ค่ะ