[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 315
ตติยปัณณาสก์
ติกัณฑกีวรรคที่ ๕
๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อม และไม่ให้เสื่อม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 315
๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อม และไม่ให้เสื่อม
[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบทำการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบนอน ๑ ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ภิกษุนั้นไม่พิจารณาจิตที่หลุดพ้นแล้วอย่างไร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 316
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ชอบทำการงาน ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบนอน ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ภิกษุนั้น พิจารณาจิตที่หลุดพ้นแล้วอย่างไร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย.
จบปฐมสมยวิมุตตสูตรที่ ๙
อรรถกถาปฐมสมยวิมุตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมสมยวิมุตตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมยวิมุตฺตสฺส ความว่า ภิกษุชื่อว่า มีจิตพ้นแล้ว ด้วยโลกิยวิมุตติ กล่าวคือ พ้นชั่วสมัย เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย ที่ข่มไว้ได้ ในขณะที่ยังจิตเป็นอัปปนานั่นเอง.
จบอรรถกถา ปฐมสมยวิมุตตสูตรที่ ๙