[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 447
ปัณณาสก์
คหปติวรรคที่ ๓
๘. ทุติยพลสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 447
๘. ทุติยพลสูตร
[๑๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพมีเท่าไร ที่เป็นเหตุให้ เธอผู้ประกอบแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลัง ของภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ ประการ ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลาย ของเราสิ้นแล้ว.
ท่านพระสารีบุตรกราบทูบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลัง ของภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ ประการ ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลาย ของเราสิ้นแล้ว ๘ ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ ผู้ขีณาสพในธรรมวินัยนี้ เห็นสังขารทั้งปวงแจ่มแจ้ง โดยความเป็น ของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพ เห็นสังขารทั้งปวงแจ่มแจ้ง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญา อันชอบตามเป็นจริงนี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัย แล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลาย ของเราสิ้นแล้ว ๑.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 448
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นกามทั้งหลายว่าเปรียบ ด้วยหลุมถ่านเพลิง แจ่มแจ้งด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ข้อที่ ภิกษุขีณาสพเห็นกามทั้งหลายว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง แจ่มแจ้ง ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง นี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิตน้อมไป โน้มไป โอน ไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีแล้วในเนกขัมมะ ปราศจาก อาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิต น้อมไป ฯลฯ ปราศจากอาสวัฏนิยธรรมโดยประการทั้งปวง นี้เป็น กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญสติปัฏฐาน ๔ อบรม ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญสติปัฏฐาน ๔ อบรมดีแล้ว นี้เป็น กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอิทธิบาท ๔ อบรม ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอิทธิบาท ๔ อบรมดีแล้ว นี้เป็น กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอินทรีย์ ๕ อบรม ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอินทรีย์ ๕ อบรมดีแล้ว นี้เป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 449
กำลงของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญโพชฌงค์ ๗ อบรม ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญโพชฌงค์ ๗ อบรมดีแล้ว นี้เป็น กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ อบรมดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ อบรมดีแล้วนี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะ ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ ประการ นี้แล ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.
จบ ทุติยพลสูตรที่ ๘
อรรถกถาทุติยพลสูตรที่ ๘
ทุติยพบสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า พลานิ ได้แก่ กำลังคือพระญาณ. บทว่า อาสวานํ ขยํ ปฏิชานาติ ความว่า ย่อมปฏิญาณพระอรหัต. บทว่า อนิจฺจโต แปลว่า โดยอาการมีแล้วหามีไม่. บทว่า ยถาภูตํ แปลว่า ตามที่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 450
เป็นจริง. บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ได้แก่ ด้วยสัมมาวิปัสสนาและ มรรคปัญญา. บทว่า องฺคารกาสูปมา ความว่า กามเหล่านี้ท่าน เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าทำให้เร่าร้อน. บทว่า วิเวกนินฺนํ ได้แก่ น้อมไปในพระนิพพาน ด้วยอำนาจผลสมาบัติ. บทว่า วิเวกฏฺํ ได้แก่ เว้นหรือห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า เนกฺขมฺมาภิรตํ ได้แก่ ยินดียิ่งในบรรพชา. บทว่า พยนฺตีภูตํ แปลว่า มีที่สุด (คือตัณหา) ไปปราศแล้ว คือ แม้โดยเอกเทศก็ไม่ติดอยู่ ไม่ประกอบไว้ ไม่เกี่ยวข้อง. บทว่า อาสวฏฺานิเยหิ ได้แก่ จากธรรม อันเป็นเหตุแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยอำนาจการประกอบไว้ อธิบาย ว่า จากกิเลลธรรมทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พยนฺตีภูตํ แปลว่า ปราศจากตัณหาอันชื่ออันชื่อตันตี๑ อธิบายว่า ปราศจากตัณหา. บทว่า สพฺพโส อาสวฏฺานิเยหิ ธมฺเมหิ ความว่า จากธรรมอันเป็นไป ในภูมิ ๓ ทั้งหมด. ในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงอริยมรรคทั้งที่เป็น โลกิยะและโลกุตตระ.
จบ อรรถกถาทุติพลสูตรที่ ๘
๑. ตันตี เป็นชื่อของตัณหา เพราะเป็นสายดุจเส้นเชือกผูกโยงสัตว์ใช้ในวัฏฏสงสารฯ