นิคมกถา ในปฏิสัมภิทามรรค
โดย บ้านธัมมะ  26 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40984

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 838

นิคมกถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 838

นิคมกถา

    ในปฏิสัมภิทามรรคนี้ ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ ๓ วรรค ตามลำดับของขนาดโดยชื่อว่า มหาวรรค มัชฌิมวรรคและจุลวรรค. ในวรรคหนึ่งๆ ท่านแสดงไว้วรรคละ ๑๐ กถา การพรรณนาอุทาน-

    กถาเหล่านี้ ท่านแสดงตามลำดับของกถาเหล่านั้น. กถาเหล่านั้นมี ๑๐ คือ ญาณกถา ๑ ทิฏฐิกถา ๑ อานาปานกถา ๑ อินทริยกถา ๑ วิโมกขกถาเป็นที่ ๕ คติกถา ๑ กรรมกถา ๑ วิปัลลาสกถา ๑ มรรคกถา ๑ มัณฑกถา ๑ รวมเป็น ๑๐ กถา.

    กถาต่อไปคือ ยุคนันธกถา ๑ สัจจกถา ๑ โพชฌังคกถา ๑ เมตตากถา ๑ วิราคกถาเป็นที่ ๕ ปฏิสัมภิทากถา ๑ ธรรมจักกกถา ๑ โลกุตตรกถา ๑ พลกถา ๑ สุญญตากถา ๑

    ปัญญากถา ๑ อิทธิกถา ๑ อภิสมยกถา ๑ วิเวกกถา ๑ จริยากถาเป็นที่ ๕ ปาฏิหาริยกถา ๑ สมสีสกถา ๑ สติปัฏฐานกถา ๑ วิปัสสนากถา ๑ มาติกากถา ๑.

    พระเถระผู้เป็นใหญ่กว่าพระสาวกผู้สดับมาจากพระสุคต ผู้ยินดีในการทำประโยชน์แก่สัตว์ อรรถกถาอันมั่นคง กล่าวปฏิสัมภิทามรรคใดไว้แล้ว อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคนั้น ข้าพเจ้าเริ่มรจนาเพราะอาศัยนัยของอรรถกถาก่อนๆ เป็นข้อยุติอย่างนั้น อรรถกถานั้นจึงถึงความสำเร็จลงได้ด้วยประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 839

    ท่านผู้มีปัญญายิ่ง เป็นผู้ประกอบด้วยคุณคือปัญญาประกอบด้วยศรัทธา ได้กระทำคุณงามความดีไว้ไม่น้อย ณ บริเวณมหาวิหาร พระเถระผู้อาศัยอยู่ในวิหารนี้ มีชื่อปรากฏแล้วว่า โมคคัลลานะ ในพรรษาที่ ๓ ได้เคลื่อนไปแล้ว อรรถกถาอนุโลมตามสมัย ยังประโยชน์ให้เกิดแก่โลก ได้สำเร็จลงเพราะอาศัยพระเถระผู้แสดงเถรวาท ขออรรถกถาอนุโลมตามธรรมอันให้สำเร็จประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น เป็นที่ชื่นชมของสรรพสัตว์ จงถึงความสำเร็จเหมือนอย่างนั้นเถิด.

    ส่วนภาณวาร ๕๘ ภาณวารที่ควรรู้แจ้ง ท่านผู้ฉลาดในการคำนวณไว้ในอรรถกถาสัทธัมมปกาสินี้ภาณวาร จำนวน ๑๔,๐๐๐ และคาถา ๕๐๐ คาถา ท่านคำนวณด้วยการประพันธ์เป็นฉันท์แห่งอรรถกถาสัทธัมมปกาสินีนั้นอย่างรอบคอบ.

    ข้าพเจ้าผู้เอื้อเฟื้อเพื่อให้ศาสนาตั้งอยู่นาน และเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ได้สะสมบุญนี้ ถึงความไพบูลย์ไม่น้อย ขอโลกจงบริโภครสแห่งพระสัทธรรมอันปราศจากมลทินของพระทสพลด้วยบุญนั้น ถึงความสุข ด้วยความสุขแท้จริงเทอญ.

    จบอรรถกถาคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ชื่อสัทธัมมปกาสินี