อานิสงค์ของการสมาทาน อาชีวัฏฐมกศีล
โดย อ้อม  24 เม.ย. 2549
หัวข้อหมายเลข 1118

ขอเรียนถามว่า

๑ อานิสงค์ของผู้สมาทาน อาชีวัฏฐมกศีล มีอย่างไรบ้าง

๒ อานิสงค์ของ อาชีวัฏฐมกศีล แตกต่างจากศีล ๘ อย่างไรบ้าง



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 24 เม.ย. 2549

อานิสงส์ของกุศลศีล คือ พ้นจากทุกข์มีทุกข์ในอบายเป็นต้น

ความหมายของอาชีวัฏฐมกศีล โปรดอ่านในวิสุทธิมรรค


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 24 เม.ย. 2549


เชิญคลิกอ่านที่..... อภิสมาจาริกศีลและอาทิพรหมจริยกศีล [วิสุทธิมรรค]


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 25 เม.ย. 2549

ผลของการรักษาศีลทำให้เกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์

อานิสงค์ของศีล ทำให้เป็นคนรูปร่างงาม อายุยืน เป็นต้น แต่จุดประสงค์จริงๆ เพื่อขัด

เกลากิเลส และเห็นโทษของการล่วงศีล ทำให้เกิดในอบายภูมิ 4 นรก เปรต อสุรกาย

สัตว์เดรัจฉาน และถึงแม้ว่าจะให้ทานสักเท่าไหร่ หรือรักษาศีลตลอดชีวิต เราก็ต้อง

เวียนว่ายตายเกิดใน 31 ภูมิ อีก มีหนทางเดียว คือ อบรมปัญญาเจริญสติปัฎฐานและ

เจริญบารมี 10 ประการ


ความคิดเห็น 4    โดย shumporn.t  วันที่ 26 เม.ย. 2549

อาทิพรหมจริยา คือ ข้อปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ หมายถึง สิกขาบท ๒๒๗ ที่มาในพระปาฏิโมกข์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูกรอานนท์ ก็แลศีลเป็นกุศล มีความไม่ต้องเดือดร้อน

ใจเป็นผล มีความไม่ต้องเดือดร้อนใจเป็นอานิสงส์ " ตรัสไว้อื่นอีก "ดูกรคฤหบดีทั้ง

หลาย อานิสงส์แห่งศีลมี ๕ ประการ อานิสงส์ ๕ เป็นไฉน?

ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมได้ประสบแห่ง

โภคะใหญ่ มีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๑ แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล

กิตติศัพท์อันงามของผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๒ จะเข้าไป

สู่บริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตามย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เคอะเขินเข้าไป นี้เป็นอานิ-

สงส์ที่ ๓ เป็นผู้ไม่หลงทำกาลกิริยา นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๔ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย

แตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๕ แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล


ความคิดเห็น 5    โดย นอแรด  วันที่ 30 เม.ย. 2549

อาชีวัฏฐมกสีลเว้นอยู่ ๘

๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์

๒ เว้นจากการลักทรัพย์

๓ เว้นจากการพูดเท็จ

๔ เว้นจากการพูดส่อเสียด

๕ เว้นจากการพูดคำหยาบ

๖ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

๗ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๘ เว้นจากอาชีพที่ผิด