วรรคที่ ๑๑ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์
โดย บ้านธัมมะ  17 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42099

[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒

พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ ภาคที่ ๒

ทุติยปัณณาสก์

วรรคที่ ๑๑

ติสโสปิอนุสยากถาและอรรถกถา 1432/284

ญาณกถาและอรรถกถา 1449/296

ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถาและอรรถกถา 1451/299

อิทังทุกขันติกถาและอรรถกถา 1454/303

อิทธิพลกถาและอรรถกถา 1460/309

สมาธิกถาและอรรถกถา 1466/316

ธัมมัฏฐิตตากถาและอรรถกถา 1470/320

อนิจจตากถาและอรรถกถา 1472/323


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 284

วรรคที่ ๑๑

ติสโสปิ อนุสยกถา

[๑๔๓๒] สกวาที อนุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นอัพยากฤตคือวิบาก เป็นอัพยากฤตคือกิริยา เป็น รูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๓] ส. กามราคานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัย เป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๔] ส. ปฏิฆานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 285

ส. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ปฏิฆานุสัย เป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๕] ส. มานานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสัญโญชน์ เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสัญโญชน์ เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มานานุสัย เป็นกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๖] ส. ทิฏฐานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิ สัญโญชน์ เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิ สัญโญชน์ เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 286

ส. ทิฏฐานุสัย เป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๗] ส. วิจิกิจฉานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิจิกิจฉานุสัย เป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๘] ส. ภวราคานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสัญโญชน์ เป็น อัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสัญโญชน์ เป็น อกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ภวราคานุสัย เป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 287

[๑๔๓๙] ส. อวิชชานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอัพยากฤต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัย เป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นอัพยากฤต หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่ พึงกล่าวว่า ผู้มีอนุสัย หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศล มาพบกัน หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นอัพยากฤต น่ะสิ

ส. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไป อยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลมาพบกัน หรือ?


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 288

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นอัพยากฤต น่ะสิ

[๑๔๔๑] ส. อนุสัย เป็นอเหตุกะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น โผฏฐัพพายตนะหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคานุสัย เป็นอเหตุกะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์ ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ เป็นอเหตุกะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ เป็นสเหตุกะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัย เป็นสเหตุกะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิฆานุสัย ฯลฯ มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุสัย เป็นอเหตุกะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอเหตุกะ หรือ?


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 289

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นสเหตุกะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัย เป็นสเหตุกะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นอเหตุกะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นบุคคลและเป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ พึงกล่าวว่า ผู้มีอนุสัย หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนุสัยเป็นสเหตุกะโดยเหตุอันนั้น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นอเหตุกะ น่ะสิ

ส. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต เป็น ไปอยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะเป็นสเหตุกะโดยเหตุอันนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นอเหตุกะ น่ะสิ

[๑๔๔๓] ส. อนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต๑ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


๑. ไม่ประกอบกับจิต.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 290

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏ- ฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ สัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัย สัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๔] ส. กามราคานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน?

ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.

ส. สังขารขันธ์เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 291

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๕] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็น จิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะ นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะ นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วย จิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุต ด้วยจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๖] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็น จิตตวิปปยุต ส่วนกามราคะ นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 292

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีก ส่วนหนึ่งเป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๗] ส. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัย สัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน.

ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.

ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 293

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นจิตตวิปปยุต ส่วนอวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 294

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีก ส่วนหนึ่งเป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไป อยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีอนุสัย หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนุสัย สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.

ส. ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต เป็นไปอยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะ สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.

ติสโสปิ อนุสยกถา จบ

อรรถกถาติสโสปิ อนุสยกถา

ว่าด้วย อนุสัยเป็นธรรม ๓ อย่าง

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นธรรมแม้ทั้ง ๓ คือ เป็นอัพยากตะ เป็น อเหตุกะ และเป็นจิตตวิปปยุต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 295

ลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะและสมิติยะทั้งหลายว่า ปุถุชนเมื่อจิตที่เป็น กุศล และอัพยากตะซึ่งกำลังเป็นไป พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีอนุสัย อนึ่ง เหตุอันใดพึงมีในขณะนั้น อนุสัยทั้งหลายไม่เป็นกับด้วยเหตุอันนั้นด้วย ไม่สัมปยุตกับจิตดวงนั้นด้วย เหตุใด เพราะเหตุนั้น อนุสัยเหล่านั้น จึง เป็นอัพยากตะ เป็นอเหตุกะ เป็นจิตตวิปปยุต ดังนี้ คำถามของสกวาที ในกถาแม้ทั้ง ๓ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ อาจรู้ได้ตามแนวแห่งพระบาลีนั่นแหละ เพราะเป็นนัย ที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ได้ให้พิสดารแล้ว ดังนี้แล.

อรรถกถาติสโสปิอนุสยกถา จบ


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 296

ญาณกถา

[๑๔๔๙] สกวาที ถึงความไม่รู้จะปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่เป็นญาณ วิปปยุตเป็นไปอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เมื่อราคะปราศไปแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจาก ราคะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถึงความไม่รู้จะปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่เป็นญาณ วิปปยุตเป็นไปอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อโทสะปราศไปแล้ว ฯลฯ เมื่อโมหะปราศไปแล้ว ฯลฯ เมื่อกิเลสปราศไปแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า ผู้หมดกิเลส หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๐] ส. เมื่อราคะปราศไปแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจากราคะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว พึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อโทสะปราศไปแล้ว ฯลฯ เมื่อโมหะปราศไปแล้ว ฯลฯ เมื่อกิเลสปราศไปแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้หมดกิเลส หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 297

ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปด้วย ถึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว ถึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า ผู้มีความรู้ ด้วยความรู้ที่เป็นอดีต ชื่อว่าผู้มี ความรู้ ด้วยความรู้ที่ดับแล้ว ที่ปราศไปแล้ว ที่สงบระงับแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ญาณกถา จบ

อรรถกถาญาณกถา

ว่าด้วย ญาณ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า เมื่ออัญญาณ คือ โมหะ แม้ ปราศจากไปแล้วด้วยมรรคญาณ ครั้นเมื่อจิตที่ไม่ประกอบด้วยญาณกำลัง เป็นไป จักขุวิญญาณเป็นต้นเป็นไปอีก มรรคจิตนั้นก็มิใช่กำลังเป็นไป เหตุใด เพราะเหตุนั้น ไม่ควรกล่าวว่า มีญาณ ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที จึงกล่าวคำว่า เมื่อราคะปราศไปแล้ว เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า เมื่ออัญญาณ คือ โมหะ ปราศจากไปแล้ว บัญญัติว่า ผู้มีญาณ ดังนี้ ไม่พึงมีไซร้ ครั้นเมื่อราคะเป็นต้นปราศจากไปแล้ว แม้บัญญัติว่ามีราคะ


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 298

เป็นต้นปราศจากไปแล้วก็ไม่พึงมี ด้วยเหตุนั้น บุคคลผู้ไม่มีความโกรธ พึงเป็นผู้มีความโกรธในบัญญัติว่าด้วยบุคคลนั้นพึงมีหรือ. ปรวาทีเมื่อไม่ เห็นควรในความเป็นผู้มีราคะเป็นต้น ในธรรมเหล่านั้น ซึ่งมีราคะเป็นต้น ที่ปราศจากไปแล้ว จึงตอบปฏิเสธ. ในที่สุดปัญหา ปรวาทีถามปัญหาที่ ควรถามว่า ชื่อว่าผู้มีความรู้ ด้วยความรู้ที่เป็นอดีต เป็นต้น เพราะฉะนั้น สกวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถาญาณกถา จบ


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 299

ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา

[๑๔๕๑] ปรวาที ญาณ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น โผฏฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์สัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๒] ส. ญาณ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน.

ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.

ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 300

ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์แต่เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญา นับเนื่องในสังขารขันธ์แต่เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัญญา นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นจิตตวิปปยุต ส่วน ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง เป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 301

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีก ส่วนหนึ่งเป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ญาณเป็นจิตตวิปปยุต หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ พึง กล่าวว่า ผู้มีญาณ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ญาณ สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ญาณก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.

ส. พระอรหันต์ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจักจุวิญญาณ พึง กล่าวว่า ผู้มีปัญญา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญา สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ปัญญาก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา จบ


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 302

อรรถกถาญาณัง จิตตวิปปยุตตันติกถา

ว่าด้วย ญาณเป็นจิตตวิปปยุต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณที่ไม่ประกอบด้วยจิต คือไม่ประกอบกับจิต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลาย ว่า พระอรหันต์ผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณเป็นต้น คือหมายความ ว่าจักขุวิญญาณจิตเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว ท่านเรียกว่า ผู้มีญาณ เพราะหมาย เอามัคคญาณที่ท่านได้แล้ว แต่ว่าญาณของพระอรหันต์นั้นไม่สัมปยุตด้วย จักขุวิญญาณจิตนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น ญาณจึงไม่ประกอบกับจิต ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็นรูป เป็นต้น เพื่อท้วงด้วย คำว่า ถ้าว่า ญาณไม่ประกอบกับจิตไซร้ ญาณของพระอรหันต์นั้นก็จะ พึงเป็นธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมีรูปเป็นต้นที่ไม่ประกอบกับจิต ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในปริโยสาน ถูกสกวาทีถามว่า พระอรหันต์ผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุ- วิญญาณ หมายความว่าจักขุวิญญาณกำลังเป็นไป พึงกล่าวว่า ผู้มีปัญญา หรือ ปรวาทีย่อมปรารถนาซึ่งคำบัญญัตินั้นด้วยสามารถแห่งการได้ เฉพาะแล้วซึ่งปัญญา เพราะฉะนั้นจึงตอบรับรอง.

อรรถกถาญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา จบ


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 303

อิทังทุกขันติกถา

[๑๔๕๔] สกวาที เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็ เป็นไป หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้สมุทัย ญาณว่า นี้สมุทัย ก็เป็น ไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้นิโรธ ญาณว่า นี้นิโรธ ก็เป็นไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้มรรค ญาณว่า นี้มรรค ก็เป็นไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 304

[๑๔๕๕] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้สมุทัย แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้ สมุทัย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้ ทุกข์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้นิโรธ ฯลฯ นี้มรรค แต่ญาณไม่ เป็นไปว่า นี้นิโรธ ฯลฯ นี้มรรค หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้ ทุกข์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๖] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า รูปไม่เที่ยง ญาณว่า รูปไม่เที่ยง ก็เป็นไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 305

หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า เวทนา ฯลฯ สัญญา สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ไม่เที่ยง ญาณว่า วิญญาณไม่เที่ยงก็เป็นไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๗] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า รูปเป็นอนัตตา ญาณว่า รูปเป็น อนัตตา ก็เป็นไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา ญาณว่า วิญญาณ เป็นอนัตตา ก็เป็นไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๘] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า รูปไม่เที่ยง แต่ญาณไม่เป็นไปว่า


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 306

รูปไม่เที่ยง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่านี้ทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ไม่เที่ยง แต่ญาณไม่เป็นไปว่า วิญญาณไม่เที่ยง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้ ทุกข์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า รูปเป็นอนัตตา แต่ญาณไม่เป็นไป ว่า รูปเป็นอนัตตา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้ ทุกข์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา แต่ญาณไม่เป็นไปว่า วิญญาณ เป็นอนัตตา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 307

ทุกข์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๙] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า อิทํ ทุกฺขํ (นี้ทุกข์) ญาณว่า อิทํ ทุกฺขํ ก็เป็นไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณว่า อิ ญาณว่า ทํ ญาณว่า ทุ และญาณว่า ขํ ก็เป็นไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อิทังทุกขันติกถา จบ

อรรถกถาอิทัง ทุกขันติกถา

พรรณนากถาว่าด้วย การเปล่งวาจาว่านี้ทุกข์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการเปล่งวาจานี้ทุกข์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค เกิด พระโยคาวจรย่อมเปล่งวาจาว่านี้ทุกข์ ฉันใด ญาณว่านี้ทุกข์ย่อม เป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้กล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ฉันนั้น ดังนี้ คำถามของ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองของปรวาทีหมายเอาการ กล่าววาจาเช่นนั้น และความเป็นไปแห่งญาณในขณะแห่งมรรค. อนึ่ง ปรวาทีนั้นปรารถนาว่า ปุถุชนย่อมกล่าววาจาอันประกอบด้วยสัจจะ ที่เหลือ แต่ว่าญาณเช่นนั้นย่อมไม่เป็นไปแก่เขา เหตุใด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงปฏิเสธในปัญหามี สมุทัย เป็นต้น.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 308

คำว่า เมื่อกล่าววาจาว่า รูปไม่เที่ยง เป็นต้น ท่านกล่าวด้วย สามารถแห่งการแสดงปริยายแห่งทุกข์. ก็เมื่อปรวาทีไม่เห็นโวหารเช่นนั้น ในลัทธิของตน จึงตอบปฏิเสธ.

คำว่า ญาณว่า อิ ญาณว่า ทํ เป็นต้น ท่านกล่าวแล้วเพื่อแสดง คำว่า ถ้าว่าญาณในทุกข์ของปุถุชนย่อมเป็นไปได้ไซร้ ก็ย่อมจะเป็นไป ด้วยญาณ ๔ โดยลำดับในอักษร อิ. อักษร ทํ อักษร ทุ. อักษร ขํ (อิทํ ทุกฺขํ) แต่ปรวาทีไม่ปรารถนาเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธ.

อรรถกถาอิทังทุกขันติกถา จบ


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 309

อิทธิพลกถา

[๑๔๖๐] สกวาที ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอด กัลป์ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อายุนั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ คตินั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ การ ได้อัตภาพนั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่เป็นอดีต พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่ เป็นอนาคต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ที่ประกอบด้วยฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงตั้งอยู่ตลอด ๒ กัลป์ พึงตั้งอยู่ตลอด ๓ กัลป์ พึง ตั้งอยู่ตลอด ๔ กัลป์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ยังมีอยู่ หรือ


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 310

ว่าตั้งอยู่ในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือ ไม่มีอยู่.

ป. พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ยังมีอยู่.

ส. หากว่า พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ยังมี อยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ ดังนี้ ฯลฯ

ป. พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ไม่มีอยู่.

ส. ผู้ที่ตายแล้ว พึงตั้งอยู่ ผู้ที่กระทำกาละแล้ว พึงตั้งอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๑] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า ผัสสะ เกิด ขึ้นแล้ว อย่าดับไป ดังนี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า เวทนาเกิดขึ้น แล้ว ฯลฯ สัญญาเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เจตนาเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ จึงเกิดขึ้นแล้ว ศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว วิริยะเกิดขึ้นแล้ว สติเกิดขึ้นแล้ว สมาธิเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ปัญญาเกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป ดังนี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๒] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ หรือ?


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 311

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า รูปจงเป็นของ เที่ยง ดังนี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ จงเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๓] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า สัตว์ทั้งหลาย ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่าได้เกิดเลย ดังนี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า สัตว์ทั้งหลาย ที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายที่มีความเจ็บ เป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าได้ตายเลย ดังนี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ ตลอดกัลป์ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 312

อิทธิบาท ๔ อันผู้หนึ่งผู้ใดอบรม ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็น ที่พึ่งแน่วแน่ ช่ำชอง คล่องแคล่วดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อหวังอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ตลอดกัลป์หรือตลอดกัลป์ส่วนที่เหลือ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ก็พึงตั้งอยู่ ตลอดกัลป์ น่ะสิ.

[๑๔๖๕] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ อย่าง ไม่มีใครๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใครๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ ธรรม ๔ อย่าง เป็นไฉน? คือ (๑) ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย ดังนี้ ไม่มีใครๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหม ก็ตาม ใครๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ (๒) ผู้มีความเจ็บเป็น ธรรมดา อย่าเจ็บเลย ฯลฯ (๓) ผู้มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตายเลย ฯลฯ (๔) กรรมทั้งหลายนั้นใด เป็นบาปข้องอยู่ในสังกิเลส เป็นเหตุให้ เกิดในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อชาติ ชรา มรณะ ต่อไป อันบุคคลทำแม้ในกาลก่อน วิบากแห่งกรรมทั้งหลายนี้ อย่า ได้เกิดเลย ดังนี้ ไม่มีใครๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม


๑. ขุ. อุ. ๒๕/๑๒๗.


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 313

มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใครๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ อย่างนี้แล ไม่มีใครๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใครๆ ในโลกก็ตาม จะเป็น ผู้รับรองได้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยกำลัง แห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์ น่ะสิ.

อิทธิพลกถา จบ

อรรถกถาอิทธิพลกถา

ว่าด้วย กำลังแห่งฤทธิ์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกำลังแห่งฤทธิ์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ผู้ประกอบด้วยกำลัง แห่งฤทธิ์พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ เพราะถือเอาเนื้อความแห่งอานิสงส์ ของอิทธิบาทภาวนาโดยไม่พิจารณา คำถามของสกวาทีว่า ผู้ประกอบ ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์หรือ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น.

ในปัญหานั้น ชื่อว่ากัลป์มี ๓ อย่าง คือ มหากัลป์ กัลปเอกเทส อายุกัลป์. จริงอยู่ มหากัลป์เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่ากัลป์ ซึ่งมาในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัลป์ ๔ เหล่านี้ ดังนี้. ในพระบาลีว่า กัลป์อันเป็นการประมาณอายุเทพชั้นพรหมทั้งหลาย


๑. องฺ. จตุกฺก ๒๑/๑๘๒.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 314

นี้ ท่านเรียกว่ากัลปเอกเท

ส. พระบาลีว่า ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัลป์ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัลป์ นี้ ท่านเรียกว่า อายุกัลป์ อธิบายว่า การดำรงอยู่แห่งอายุอันสมควรแก่อายุ ชื่อว่า การกำหนดอายุด้วยอำนาจ ผลแห่งกรรม หรือด้วยการนับปี. ในปัญหาเหล่านั้น สกวาทีย่อมถาม หมายเอามหากัลป์ ปรวาทีก็ตอบรับรอง. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะ ปรวาทีว่า อายุนั้นสำเร็จด้วยฤทธิ์ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์พึงเป็นอยู่ตลอดมหากัลป์หนึ่ง หรือตลอด ส่วนหนึ่งแห่งมหากัลป์ซึ่งเกินกว่าอายุกัลป์ที่ท่านกำหนดไว้อย่างนี้ว่า ผู้ใดย่อมเป็นอยู่นาน ผู้นั้นก็พึงเป็นผู้มีอายุอยู่ตลอดร้อยปี หรือเกินกว่า เล็กน้อย ดังนี้ ก็อายุของผู้นั้น พึงสำเร็จด้วยฤทธิ์หรือ? ดังนี้. ปรวาที ตอบปฏิเสธ เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ชื่อว่าอินทรีย์ คือชีวิตที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ย่อมไม่มี มีแต่การเกิดขึ้นด้วยกรรมเท่านั้น มีคำถามว่า ก็ในข้อนี้มีอะไรแปลกจากผู้มีฤทธิ์ เพราะแม้ผู้ไม่มีฤทธิ์ก็ พึงดำรงอยู่ตลอดอายุกัลป์ มิใช่หรือ? ตอบว่า พึงทราบข้อแปลกกันแห่ง ชนเหล่านั้นดังนี้ ผู้มีฤทธิ์นั้นสามารถห้ามอันตรายิกธรรมทั้งหลายมิให้ เกิดเป็นไปแก่ชีวิตตลอดชีวิต ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ และย่อมอาจเพื่อจะห้าม อกาลมรณะ คือการตายในเวลาอันไม่สมควรที่จะมี ในระหว่าง แต่กำลัง เช่นนี้ไม่มีแก่ผู้ไม่มีฤทธิ์ ข้อนี้ เป็นการแตกต่างกันระหว่างผู้มีฤทธิ์กับ ผู้ไม่มีฤทธิ์เหล่านั้น. คำว่า พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่เป็นอดีต ... อนาคต นี้ ความว่า สกวาทีย่อมท้วงเพราะการตอบรับรองของปรวาที หมายเอาว่า พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์โดยไม่แปลกกัน. คำว่า พึงตั้งอยู่ตลอด ๒ กัลป์ เป็นต้น ท่านสกวาทีกล่าวเพื่อจะท้วงด้วยคำว่า ผิว่าผู้มีฤทธิ์ย่อมสามารถ


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 315

ก้าวล่วงการกำหนดชีวิตได้ไซร้ ก็ไม่อาจก้าวล่วงการกำหนดชีวิตเพียง กัลป์เดียวเท่านั้น เขาพึงก้าวล่วงแล้วดำรงอยู่ตลอดกัลป์แม้มิใช่น้อยเลย.

คำว่า บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า ผัสสะเกิดขึ้นแล้ว อย่าดับไป ดังนี้หรือ ท่านสกวาทีกล่าว เพื่อแสดงว่า สิ่งทั้งปวงไม่พึง ได้ด้วยฤทธิ์ แม้สิ่งที่เหนืออำนาจฤทธิ์ก็ยังมีอยู่ ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาอิทธิพลกถา จบ


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 316

สมาธกถา

[๑๔๖๖] สกวาที จิตตสันตติ (ความสืบต่อแห่งจิต) เป็นสมาธิ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. จิตตสันตติที่เป็นอดีต เป็นสมาธิ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตตสันตติที่เป็นอนาคต เป็นสมาธิ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ

[๑๔๖๗] ป. สมาธิเป็นไปในจิตตขณะอันหนึ่ง หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่าผู้เข้า สมาบัติหรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อม เพรียงด้วยฆานวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 317

ผู้พร้อมเพรียงด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่สหรคต ด้วยโทสะ ฯลฯ พร้อมเพรียงด้วยจิตที่สหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียง ด้วยจิตที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ ชื่อว่า ผู้เข้าสมาบัติ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๘] ส. จิตตสันตติเป็นสมาธิ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสืบต่อแห่งอกุศลจิต เป็นสมาธิ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตตสันตติที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วย โทสะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะเป็นสมาธิ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส นิครณฐ์ ทั้งหลาย เรานี่แหละพอที่จะไม่หวั่นไหวด้วยกาย ไม่กล่าววาจา เป็นผู้ เสวยสุขโดยส่วนเดียว อยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วัน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น จิตตสันตติ ก็เป็นสมาธิ น่ะสิ. สมาธิกถา จบ


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 318

อรรถกถาสมาธิกถา

ว่าด้วยสมาธิ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสมาธิ. ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของ นิกายสัพพัตถิกวาทะและอุตตราปถกะทั้งหลายว่า ความสืบต่อแห่งจิต เป็นสมาธิ เพราะอาศัยพุทธพจน์ว่า พระตถาคตย่อมอาจเพื่ออยู่เป็นสุข ในคำว่า เราเป็นผู้เสวยพร้อมเฉพาะซึ่งความสุขโดยส่วนเดียวตลอด ๗ คืน ๗ วัน ดังนี้เป็นต้น โดยไม่ถือเอาคำว่า เอกัคคตาเจตสิกแม้เกิดขึ้นแล้วใน ขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าการตั้งใจ ดังนี้ คำถาม ของสกวาทีว่า ความสืบต่อแห่งจิต เป็นต้น หมายชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอดีต เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า การ สืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิไซร้ ชื่อว่าความสืบต่อแห่งจิตเป็นอดีตบ้าง ที่ เป็นอนาคตบ้างมีอยู่ ส่วนการสืบต่อแห่งจิตที่เป็นปัจจุบันนั่นแหละไม่มี ธรรมดาว่าการสืบต่อแห่งจิตนั้นย่อมเป็นของมีอยู่ ความสืบต่อแห่งจิต เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมเป็นสมาธิตามลัทธิของท่านหรือ? ปรวาทีนั้น เมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า อดีตก็ดับไปแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า จิตที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้านั้นแหละทำอยู่ซึ่งกิจ ในการสืบต่อแห่งจิต จิตที่เป็นอดีตและอนาคตชื่อว่าย่อมไม่มี เพราะเป็น จิตที่ดับไปแล้ว และเพราะเป็นจิตที่ยังมิได้เกิดขึ้น ฉะนั้นจิตนั้นจะชื่อว่า เป็นสมาธิได้อย่างไร? คำถามว่า สมาธิเป็นไปขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง เป็นของปรวาที. ต่อจากนั้นก็เป็นคำตอบรับรองของสกวาทีในลัทธิของตน โดยหมายเอาคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สมาธิคือเอกัคคตา ที่


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 319

สัมปยุตด้วยกุศลจิตอันเกิดขึ้นแล้ว ในบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงเจริญสมาธินั้น ดังนี้. คำว่า บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วย จักขุวิญญาณ เป็นต้น ปรวาทีกล่าวโดยการลวง เพราะถือเอาเหตุสักว่า คำว่า ผู้มีขณะแห่งจิตดวงเดียว. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละสกวาทีจึงตอบ ปฏิเสธ. พระสูตรว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... มิใช่หรือ ข้อนี้ย่อมสำเร็จซึ่งความที่จิตนั้นเป็นสภาพไม่ปะปนแก่สมาธิ ที่กำลังเป็นไปด้วยสามารถแห่งการเกิดก่อนและเกิดหลัง แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งความสืบต่อแห่งจิตว่าเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นการพิสูจน์ว่า การสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิ ฉะนี้แล.

อรรถกถาสมาธิกถา จบ


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 320

ธัมมัฏฐิตตากถา

[๑๔๗๐] สกวาที ธรรมฐิติ คือความตั้งอยู่แห่งธรรม เป็นภาวะที่ สำเร็จแล้ว หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่แห่งธรรมฐิตินั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความตั้งอยู่แห่งธรรมฐิตินั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่นั้นๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๗๑] ส. ความตั้งอยู่ของรูป เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของรูปนั้น ก็เป็นภาวะที่ สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของรูปนั้น ก็เป็นภาวะที่ สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่นั้นๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 321

ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความตั้งอยู่ของเวทนา ฯลฯ ความตั้งอยู่ของสัญญา ฯลฯ ความตั้งอยู่ของสังขารทั้งหลาย ฯลฯ ความตั้งอยู่ของวิญญาณ เป็น ภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของวิญญาณนั้น ก็เป็น ภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของวิญญาณนั้น เป็นภาวะ ที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่นั้นๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ธัมมัฏฐิตตากถา จบ


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 322

อรรถกถาธัมมัฏฐิตตากถา

ว่าด้วย ความตั้งอยู่แห่งธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความตั้งอยู่แห่งธรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ชื่อว่าความตั้งอยู่ แห่งธรรมกล่าวคือปฏิจจสมุปบาทหนึ่ง มีอยู่ ธรรมนั้นเป็นของสำเร็จแล้ว เพราะอาศัยบาลีว่า ธาตุนั้นดำรงอยู่แล้วเทียว ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที จึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ความตั้งอยู่แห่งธรรมฐิตินั้น ก็เป็นภาวะสำเร็จ แล้วหรือ เพื่อท้วงด้วยคำว่า ผิว่า ชื่อว่าความตั้งอยู่อันอื่นสำเร็จแล้วแก่ ธรรมทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นต้นที่สำเร็จแล้วมีอยู่ไซร้ ความตั้งอยู่อันอื่น สำเร็จแล้ว ก็ความตั้งอยู่แม้นั้น ย่อมปรากฏตามลัทธิของท่านหรือ ดังนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีลัทธิอย่างนั้น. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบ รับรอง หมายเอาความเป็นอนันตรปัจจัย และความเป็นอัญญมัญญปัจจัย. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง นั่นแล.

อรรถกถาธัมมัฏฐิตตากถา จบ


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 323

อนิจจตากถา

[๑๔๗๒] สกวาที อนิจจตา คือความไม่เที่ยง เป็นภาวะที่สำเร็จ แล้ว หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความไม่เที่ยงแห่งอนิจจตานั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จ แล้วหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความไม่เที่ยงแห่งอนิจจตานั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จ แล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่เที่ยงนั้นๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มีความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทานิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๗๓] ส. ชรา เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความชราแห่งชรานั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความชราแห่งชรานั้น เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความชรานั้นๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 324

[๑๔๗๔] ส. มรณะ เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรณะของมรณะนั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรณะของมรณะนั้นก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรณะนั้นๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มีความ ขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๗๕] ส. รูป เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงของรูป ก็มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่เที่ยงเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยง ของความไม่เที่ยง ก็มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความชราของรูปก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชราเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความชราของชราก็ มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความแตก ความอันตรธาน ของรูปก็มีอยู่ หรือ?


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 325

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรณะเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความแตก ความ อันตรธานของมรณะนั้นก็มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกลาวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็น ภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงของวิญญาณมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนิจจตาเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงของ อนิจจตาก็มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิญญาณ เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความชราแห่ง วิญญาณก็มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรา เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความชราแห่งชรา ก็มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิญญาณ เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความแตก ความ อันตรธานแห่งวิญญาณนั้น ก็มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรณะเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความแตก ความ อันตรธานแห่งมรณะ ก็มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ อนิจจตากถา จบ


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 326

อรรถกถาอนิจจตากถา

ว่าด้วย ความไม่เที่ยง

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความไม่เที่ยง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า แม้ความไม่เที่ยงแห่งรูป เป็นต้นที่ไม่เที่ยง ก็เป็นภาวะสำเร็จแล้ว คือหมายความว่าเกิดขึ้นแล้ว ดุจรูปเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ความ ไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงนั้นก็เป็นภาวะสำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว หรือ? เพื่อท้วงว่า ความไม่เที่ยงเป็นของสำเร็จแล้วราวกะรูปเป็นต้น ตามลัทธิ ของท่านมีอยู่ไซร้ อันความไม่เที่ยงที่สำเร็จแล้วอย่างอื่นก็พึงมีแก่ความ ไม่เที่ยงแม้นั้น ดังนี้. ปรวาทีนั้นปฏิเสธโดยความไม่มีความไม่เที่ยง ๒ อย่างรวมกัน แต่ตอบรับรองเพราะความไม่เที่ยงนั้นย่อมไม่เป็นความ ไม่เที่ยงอีก หมายความว่าความไม่เที่ยงนั้นย่อมอันตรธานไปกับความ ไม่เที่ยงนั้นนั่นแหละ. ลำดับนั้น สกวาทีไม่ให้โอกาสอันมีเลศนัยแก่ปรวาที นั้นจึงยกโทษ คือการไม่เข้าไปตัดวัฏฏะด้วยสามารถแห่งธรรมอื่นๆ ว่าความไม่เที่ยงที่ ๒ ท่านไม่รับรองตามลัทธิของท่านโดยความเป็นภาวะ ไม่เที่ยงนั้นๆ บ้าง โดยความเป็นภาวะไม่เที่ยงอื่นจากนั้นบ้าง จึงกล่าว คำว่า ความไม่เที่ยงนั้นๆ แลไม่มีการทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ เป็นต้น. คำว่า ชราเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าว ด้วยความสามารถแห่งการประกอบเนืองๆ ซึ่งการจำแนกความไม่เที่ยง เพราะขึ้นชื่อว่าความไม่เที่ยงอื่นจากชราและมรณะแห่งธรรมที่เกิดขึ้น แล้วย่อมไม่มี. บัณฑิตพึงทราบคำตอบรับรองและคำปฏิเสธของปรวาที


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 327

ในปัญหาแม้นั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในก่อนนั่นแหละ. คำว่า รูปเป็น ภาวะที่สำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อเทียบเคียง ความไม่เที่ยงแห่งธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่านั้นกับความไม่เที่ยงเหล่านั้น. ในข้อนั้น ปรวาทีเมื่อสำคัญว่า ความไม่เที่ยง ความชรา และมรณะแห่ง ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นที่สำเร็จแล้วมีอยู่ ฉันใด ธรรมเหล่านั้น ไม่มี อยู่แก่ธรรมทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้นที่สำเร็จแล้ว ฉันนั้น จึงตอบ ปฏิเสธโดยส่วนเดียว ดังนี้.

อรรกกถาอนิจจตากถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ติสโสปิอนุสยกถา ๒. ญาณกถา ๓. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา ๔. อิทังทุกขันติกถา ๕. อิทธิพลกถา ๖. สมาธิกถา ๗. ธัมมัฏฐตตากถา ๘. อนิจจตากถา.

วรรคที่ ๑๑ จบ