สติ สมาธิ สมถะ ภาวนา
โดย บ้านธัมมะ  14 เม.ย. 2551
หัวข้อหมายเลข 8198

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๖๐

[๓๘] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึกสติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ควานไม่ลืมสติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติมีในสมัยนั้น

[๓๙] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น

[๔๓] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.

[๖๗] สติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า สติมีในสมัยนั้น.

[๖๔] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไปความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า สมถะมีในสมัยนั้น

กำลังคือภาวนา เป็นไฉน

การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กำลังคือภาวนาโพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ จัดเป็น กำลังคือภาวนา.

บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ (ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย) คือโพธิปักขิยธรรม

บทว่า อาเสวนา (การเสพ) คือการเสพตั้งแต่ต้น

บทว่า ภาวนา (การเจริญ) คือการเพิ่มขึ้น

บทว่า พหุลีกมฺมํ (กระทำให้มาก) คือกระทำบ่อยๆ .



ความคิดเห็น 1    โดย อิสระ  วันที่ 9 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย suwit02  วันที่ 9 ก.ค. 2551
สาธุ

ความคิดเห็น 3    โดย pornpaon  วันที่ 11 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย opanayigo  วันที่ 12 ก.ค. 2551

การที่จะมีอินทรีย์กล้า เราต้องเจริญบารมี 10 ในชีวิตประจำวัน ไปด้วยใช่มั๊ยค่ะ

โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ จัดเป็น กำลังคือภาวนา

บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ (ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย) คือโพธิปักขิยธรรม.

บทว่า อาเสวนา (การเสพ) คือการเสพตั้งแต่ต้น

บทว่า ภาวนา (การเจริญ) คือการเพิ่มขึ้น.

บทว่า พหุลีกมฺมํ (กระทำให้มาก) คือกระทำบ่อยๆ

อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย study  วันที่ 13 ก.ค. 2551
ผู้ที่อินทรีย์แก้กล้าเพราะมีบารมีทั้ง ๑๐ ได้เจริญจนบริบูรณ์แล้ว ดังนั้นในชีวิตประจำวันผู้ของที่อบรมเจริญอินทรีย์ จึงขาดบารมีไม่ได้เพราะถ้าขาดบารมีก็บรรลุไม่ได้ ขาดอินทรีย์ก็บรรลุไม่ได้ เพราะขณะที่สะสมบารมีชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ให้แก่กล้าขึ้น

ความคิดเห็น 6    โดย opanayigo  วันที่ 15 ก.ค. 2551

ขอบพระคุณในความกรุณาค่ะ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 7    โดย chatchai.k  วันที่ 10 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ