- ไม่ลืมสิ่งที่จะได้ฟัง มีจริงๆ แน่นอน แต่ละเอียดลึกซึ้ง ต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้น.
- คุณAkhil สนใจที่จะเรียนภาษาไทยไหม? (สนใจ) สนใจที่จะเรียนภาษาจีนไหม? (สนใจ ชอบ) ภาษาเวียดนามชอบไหม? (ไม่สนใจ) เริ่มเข้าใจคำว่าสนใจไหม ฉันทะ (เริ่มเข้าใจ) พอเห็นภาษาไทย ได้ยินเสียงภาษาไทย อยากจะเข้าใจไหม? (สนใจ) เพราะฉะนั้น ขณะนั้นมีความสนใจและมีความต้องการที่จะฟังและเข้าใจด้วย.
- ดิฉันไม่สนใจที่จะเรียนภาษาฮินดี แต่ดิฉันสนใจที่จะอ่านพระไตรปิฎก คนที่สนใจพระพุทธศาสนา อยากเข้าใจพระพุทธศาสนามีไหม? (มี) มีเยอะไหม (น้อยมาก) เพราะฉะนั้น คนที่สนใจพระพุทธศาสนาอยากเข้าใจพระพุทธศาสนากับคนที่รู้ประโยชน์ของความเข้าใจที่ยากที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้น มีความสนใจที่จะเข้าใจต่างกันไหม? (ต่างกัน) เพราะฉะนั้น คนที่สนใจที่จะรู้ความลึกซึ้งเพราะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง กับคนที่อยากจะรู้คำทุกคำมากๆ ลึกซึ้ง แต่ไม่สนใจที่จะเข้าใจธรรม มีไหม? (มี) ค่ะ เริ่มมีความละเอียด พิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคาย นี่คือการฝึกการที่จะเริ่มรู้ประโยชน์ของการที่จะต้องไตร่ตรองละเอียด เพราะว่า ธรรมละเอียดมาก เพราะฉะนั้น ฉันทะเป็นเจตสิกหนึ่ง โลภะเป็นเจตสิกหนึ่ง ไม่ใช่เจตสิกเดียวกัน ฉันทะเกิดกับกุศลจิตก็ได้เวลาที่สนใจรู้ประโยชน์เพื่อละ กับฉันทะเกิดกับโลภะ อกุศลก็ได้ เวลาที่สนใจทำอาหาร เวลาสนใจที่จะเย็บผ้า เวลาที่สนใจที่จะค้าขาย.
- ขณะที่สนใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยความต้องการ ขณะนั้นก็มีทั้งฉันทะ และโลภะ บางคนศึกษาธรรมด้วยโลภะ และฉันทะ เวลาเล่นดนตรีมีฉันทะและโลภะที่จะเล่น เพราะฉะนั้น ขณะใดเป็นฉันทะเกิดร่วมกับโลภะ และฉันทะที่ไม่ได้เกิดร่วมกับโลภะแต่เกิดกับปัญญา ต่างกัน ดิฉันอยากจะเล่นดนตรีเก่ง แต่ไม่มีฉันทะที่จะเรียนการเล่นดนตรี เพราะฉะนั้น ไม่สามารถที่จะเล่นดนตรีเก่งได้ แต่คนที่มีฉันทะมีโลภะ มีฉันทะที่จะศึกษาความละเอียดเขาสามารถที่จะเล่นดนตรีเก่งได้ เพราะฉะนั้น เราสามารถที่จะรู้ใจของเราเองว่า ขณะนั้นมีฉันทะและก็มีโลภะมากน้อยแค่ไหน.
- ดิฉันมีโลภะที่จะเล่นกับสุนัขรักสุนัข แต่ไม่มีฉันทะที่จะเลี้ยงดูสุนัข เพราะฉะนั้น ก็พอที่จะแยกได้ เข้าใจสิ่งที่ต่างกันว่า ฉันทะเป็นความสนใจอะไรก็ได้เรื่องอะไรก็ได้ กุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ แต่โลภะมีความต้องการมีความอยากซึ่งไม่ใช่ทางกุศล.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- ขณะที่สนใจที่จะเปิดหนังสือหรือค้นสมุด ดูความหมายของแต่ละคำ ถามคนที่รู้ภาษาบาลีเพื่อที่จะเข้าใจขึ้นเพื่อเข้าใจความถูกต้อง ขณะนั้นเป็นฉันทะแต่ไม่ใช่โลภะ คนที่ไม่สนใจไม่อยากจะฟังคำสอนของพระพุทธศาสนาเลยจะไม่ศึกษา แต่คนที่เห็นประโยชน์ความลึกซึ้ง มีฉันทะที่จะเข้าใจสิ่งที่ถูกต้องเพื่อขัดเกลากิเลสละความไม่รู้ ขณะนั้นไม่มีโลภะแต่เป็นฉันทะที่จะเข้าใจธรรมให้ถูกต้อง.
- เพราะฉะนั้น คนที่มีฉันทะที่จะเข้าใจความถูกต้องที่ละเอียดอย่างยิ่งของคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะทำให้เข้าใจความจริงที่ละเอียดอย่างยิ่ง ไม่ใช่โลภะ แต่เป็นฉันทะ.
- ถ้าได้ฟังธรรมเข้าใจเพิ่มขึ้นว่า ธรรมละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะรู้ได้ มีฉันทะที่จะฟังและศึกษาต่อไปให้เข้าใจยิ่งขึ้นหรือเปล่า? ถ้าไม่มีฉันทะที่จะเข้าใจความลึกซึ้งของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งรู้แจ้งความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ความจริงของขณะนี้ เพราะฉะนั้น ฉันทะจึงเป็นอิทธิบาท เป็นโพธิปักขิยธรรม ที่จะนำไปสู่การรู้ความจริงของเดี๋ยวนี้.
- คนที่ฟังธรรมแต่ไม่สนใจความลึกซึ้ง มีฉันทะที่จะเข้าใจธรรมไหม? (ไม่) บางคนรู้ว่าลึกซึ้ง แต่ไม่เรียนเลยเพราะว่าลึกซึ้งเกินไปสำหรับเขา เพราะฉะนั้น เขาจะไม่มีฉันทะที่เป็นกุศลที่จะเป็นอิทธิบาทในโพธิปักขิยธรรม แต่มีฉันทะและโลภะที่จะสนุกสนานทำอย่างอื่นที่ง่าย.
- ฉันทะไม่เกิดกับจิตเพียง ๒๐ ดวงเท่านั้น คือ ไม่เกิดกับอเหตุกจิต ๑๘ และโมหมูลจิต ๒ เพราะอเหตุกะ หมายถึงจิตที่ไม่เกิดร่วมกับเหตุ ๖ เจตสิกที่เป็นเหตุปัจจัยมี ๖ อกุศลเหตุ ๓ ได้แก่โลภะ โทสะ โมหะ และกุศลเหตุ ๓ อโลภ อโทสะ อโมหะ เป็นเจตสิกต่างกันแต่ละหนึ่ง.
- เขาเคยได้ยินไหม อเหตุกจิต (ไม่เคย) ไม่เคยได้ยิน ก็เริ่มฟัง แล้วก็ถามถ้าไม่เข้าใจ จิตมีมากมาย เพราะฉะนั้นแบ่งจิตอีกประเภทหนึ่ง คือ แบ่งเป็นจิตที่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วยกับจิตที่ไม่มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น จะศึกษาทีละหนึ่งๆ ทุกอย่าง จิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก เจตสิกแต่ละหนึ่งก็ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิกอื่นๆ ทำไมต้องเรียนละเอียดอย่างนี้? (เพื่อให้เข้าใจจริงและลึกซึ้ง) เพื่อรู้ความจริงว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง เพราะว่า สิ่งที่มีจริงเกิดแล้วดับ ไม่กลับมาอีกเลย นับประมาณไม่ได้แต่จัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ เพราะฉะนั้น เราจะพูดถึงจิตที่มีในชีวิตประจำวันเพื่อที่จะเข้าใจความจริงว่า ไม่ใช่เราแล้วเป็นอะไร.
- เดี๋ยวนี้ มีจิตเห็นไหม? (มี) จิตเห็นเกิดขึ้นเพราะกรรมทำให้เกิดเห็น ในนรกก็มีเห็น บนสวรรค์ก็มีเห็น แต่เหตุที่จะให้เห็นสิ่งที่อยู่ในนรกกับเหตุที่ให้เห็นสิ่งที่อยู่บนสวรรค์ และเห็นสิ่งที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ต่างกัน กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ไม่ให้เห็นเดี๋ยวนี้เกิดได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะมีปัจจัยที่ทำให้เห็นเกิดปัจจัยหนึ่งคือกรรม ทำให้เห็นสิ่งที่ไม่ดีเมื่อเป็นผลของอกุศลกรรม ทำให้เห็นสิ่งที่น่าพอใจเมื่อเป็นผลของกุศลกรรม เลือกไม่ได้เพราะเกิดแล้ว.
- คิดดู ดูเหมือนเราเห็นมากทั้งวันเป็นสิ่งต่างๆ เป็นคนนั้น คนนี้ เป็นตึกรามบ้านช่อง แต่จิตเห็นหนึ่งขณะเท่านั้น เกิดขึ้นเห็นแล้วดับ ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า จิตเห็นเกิดเพราะปัจจัยและมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยกับจิต จิตเกิดไม่ได้.
- มีเจตสิกเพียง ๗ ดวงเท่านั้นที่เกิดร่วมกับจิตเห็น เหตุที่ได้ทำแล้วในสังสารวัฏฏ์มีมาก แต่ก็มีเหตุที่ทำให้จิตเห็นเกิดขึ้นเห็นหนึ่งขณะเท่านั้นแล้วก็ดับ ยากที่จะรู้ได้ว่าจิตเห็นขณะนั้นเกิดขึ้นเพราะกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม.
- จิตเห็นเกิดขึ้นเพียงเห็นหนึ่งขณะแล้วดับ แต่เมื่อเหตุมีเป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้นเห็นก็ต้องเห็นสิ่งที่เป็นผลของกุศลคือ เห็นสิ่งที่น่าพอใจ.
- จิตเห็นพอใจในสิ่งที่เห็นได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น จิตเห็นไม่เกิดพร้อมกับเหตุ ไม่เกิดพร้อมโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เพราะเป็นหนึ่งขณะที่เกิดขึ้นเพราะกรรมทำให้เพียงเห็นแล้วดับ เพราะฉะนั้น จิตเห็นต่างกันเป็น ๒ ประเภท คือ เป็นกุศลวิบากซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม ๑ และอกุศลวิบากเป็นผลของอกุศลกรรมอีก ๑.
- คุณอาช่ามีจิตเห็นกี่อย่าง (มี ๒ อย่าง) เป็นคุณอาช่าหรือเปล่า? (ไม่ใช่) นี่เป็นปริยัติ จนกว่าจะเป็นปฏิปัตติและปฏิเวธะ เพราะฉะนั้นต้องมั่นคงฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธะ คือ รู้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ได้ฟังธรรมแล้ว รู้หรือยังว่าเห็นขณะนี้ไม่ใช่เรา (ยัง) ถูกต้อง เพราะเป็นความรู้ขั้นไหน? (ขั้นต้น) มากพอหรือยัง (ไม่มาก) เพราะฉะนั้น ยังต้องรู้ด้วยตัวเองใช่ไหมว่ามากขึ้นหรือยัง ถ้าฟังแล้วไม่ไตร่ตรอง รู้เท่าเดิม แล้วก็ลืม เพราะฉะนั้น ฟังเพื่อรู้ว่า สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้สามารถเข้าใจได้มากขึ้น และรู้แจ้งด้วย แต่ต้องเริ่มเข้าใจมั่นคงขึ้น สิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิตที่เกิดมาชาตินี้ในสังสารวัฏฏ์ สามารถที่จะได้ยินได้ฟังคำที่กล่าวถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้จริงๆ ให้เข้าใจถูกต้องได้.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- เกิดมาทำทุกอย่างสนุกสนานรื่นเริง เป็นทุกข์เดือดร้อนทุกอย่าง แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่มีต่างๆ นั้นเลย ไม่มีประโยชน์อะไรเพราะเมื่อจากไปแล้วก็ไม่เหลือเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เริ่มเข้าใจอย่างนี้หรือยัง (เริ่ม) เริ่มมั่นคงขึ้นไหม? (มากขึ้น) นี่คือ บารมีทีละน้อยๆ จนกว่าจะเต็ม เพราะฉะนั้น เป็นคนตรงต่อความเป็นจริงเป็นสัจจบารมี จึงสามารถที่จะรู้ประโยชน์จริงๆ ที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง ต้องมีความเพียรมากไหม? (มาก) ต้องมีความอดทนด้วยไหม ไม่ว่าจะร้อนจะหนาวจะป่วยจะไข้จะยากจะจนจะสุขจะทุกข์ เพราะฉะนั้น ต้องมีสัจจบารมีมั่นคงที่จะเข้าใจเห็น ได้ยิน คิด จำ สุข ทุกข์ ในชีวิตประจำวันเพราะเป็นสิ่งที่มีจริงที่ยังไม่รู้ ก็ต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้น จึงสามารถจะรู้ความจริงซึ่งลึกซึ้งอย่างยิ่ง ไม่ใช่อย่างที่กำลังปรากฏ.
- สัจจบารมีมั่นคงจึงเป็นอธิษฐานบารมี มั่นคงขึ้นๆ เมื่อมีความมั่นคงก็ทำให้มีความเพียรไม่ท้อถอยแล้วก็มีความอดทนเป็นวิริยบารมีกับขันติบารมี เพื่ออะไร? (เพื่อเข้าใจความจริง) เพื่ออะไร? (เพื่อเข้าใจความจริง ไม่มีเรา) เพื่อละเนกขัมมะ เพื่อสละอกุศลทั้งหลาย ความไม่รู้ ความติดข้องทั้งหมด เพราะมีความเข้าใจถูกต้องว่า ไม่มีเรา อีกนานไหม? (นานมาก) นานเท่าไหร่? (นับไม่ได้ แต่รู้ว่านานมาก) จนกว่าจะรู้ขึ้นๆ ๆ ทีละน้อยกว่าจะค่อยๆ ลบ ละ คลาย ความยึดถือแสนโกฏิกัปป์ที่ติดแน่นอยู่ในจิต นานอย่างนั้นเพราะอะไร? (เพราะ) เพราะเดี๋ยวนี้ยังเป็นเราทั้งหมด.
- เริ่มรู้จักพระพุทธศาสนาหรือยัง? (เริ่มรู้จัก) ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเลย เพียงบอกว่า เห็นไม่ใช่เรา พอไหม? (ไม่พอ) จนกว่าจะเริ่มค่อยๆ เข้าใจว่า เห็นคืออะไร ทีละเล็ก ทีละน้อย จนเข้าใจขึ้น.
- ต้องไม่ลืมว่า ขณะนี้กำลังเป็นการปลูกฝังบารมีให้มั่นคงที่จะไม่เข้าใจผิด เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้มีเห็น ยังเป็นเราเห็น จึงต้องพูดเรื่องเห็นจนกว่าจะเข้าใจขึ้น จนกว่าปัญญาจะเกิดประจักษ์แจ้ง เห็น ว่า ไม่ใช่เรา.
- เพราะฉะนั้น ต้องไม่ลืม ฟังทุกอย่างที่กำลังมีเพื่อที่จะเริ่มเห็นถูกเข้าใจถูกว่า ความจริงสิ่งนั้นคืออะไร เพราะฉะนั้น เห็นเดี๋ยวนี้มีจริงๆ เห็นเกิดเพราะเจตสิก ๗ เกิดร่วมด้วย ตอบทีละคนหรือทีละคำก็ได้ เจตสิกอะไร ทีละหนึ่ง จะได้เข้าใจขึ้นๆ ๆ ว่า เจตสิกไม่ใช่จิต เพราะเมื่อเข้าใจแล้วก็จะรู้ความจริง แต่ไม่ใช่เพื่อจำแล้วก็ตอบ แต่เพื่อเข้าใจขณะนี้ว่า สิ่งที่กำลังมีขณะนี้จริงๆ เป็นอะไร.
- กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เป็นจิตหรือเจตสิก (จิต) ทุกคนตอบว่าเป็นจิต ตอบได้ทุกคน ตอบถูก แต่ยังไม่รู้ลักษณะของจิต (ครับ) นี้มั่นคงที่จะรู้ว่า จิตลึกซึ้งเพราะจิตเป็นธาตุที่รู้แจ้งสิ่งที่จิตกำลังรู้เท่านั้น เพราะฉะนั้น จิตเป็นใหญ่เป็นประธานทุกขณะที่มีการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ.
- ในชีวิตมีขณะไหนที่ไม่มีจิตบ้าง? (ไม่มี) แต่ไม่รู้เลยว่า ไม่ใช่เรา เป็นจิตใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น จิตเป็นใหญ่ในโลก โลกเป็นไปตามอำนาจของจิต เพราะว่า จิตเป็นธาตุที่รู้แจ้งอารมณ์ อำนาจที่นี่หมายความว่า เพราะเป็นไปตามการรู้แจ้งอารมณ์ เพราะฉะนั้น จิตเกิดแล้วก็ดับ แต่ว่าอะไรเป็นปัจจัยให้จิตเกิด ต้องมีสภาพธรรมที่เป็นเจตสิกแต่ไม่ใช่จิตเกิดร่วมกัน.
- ทุกคนฟังเรื่องเจตสิกแล้ว เข้าใจเจตสิกแล้ว จำชื่อเจตสิกได้แล้ว แต่ไม่ได้รู้จักแต่ละหนึ่งในขณะนี้เลย เพียงจำชื่อตอบได้ไม่เข้าใจลักษณะนั้น ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้รู้แต่ละหนึ่งได้.
- มีจิตเห็นบ่อยๆ ฟังเรื่องจิตเห็นบ่อยๆ แต่ก็ยังไม่รู้เรื่องจิตเห็น เพราะฉะนั้น จึงต้องพูดแล้วพูดอีกเพื่อให้รู้ความจริงว่าถ้าไม่พูดบ่อยๆ จะไม่คิดถึงจิตที่กำลังเห็นเลย.
- ทุกครั้งที่พูดเรื่องจิต เพื่อให้คิดถึงจิตเพื่อจะได้เข้าใจจิตทีละเล็กทีละน้อย พูดถึงเห็นเพราะมีเห็นตลอดเกือบจะตลอดเวลาทั้งวันแต่ว่าลืม เพราะฉะนั้น พูดถึงเห็นเพื่อเริ่มไม่ลืมเห็นและเริ่มเข้าใจเห็น เป็นการปลูกฝังความเข้าใจสิ่งที่ปรากฏทีละน้อยๆ .
- ความเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เป็นการเริ่มต้นของอริยสัจจะที่ ๔ เพราะฉะนั้น อริยสัจจะที่ ๔ ไม่ใช่เป็นชื่อที่ให้จำ แต่ขณะใดก็ตามที่เรากำลังเริ่มที่จะกล่าวถึงสิ่งที่กำลังมีให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น นั่นเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ มีหนทางอื่นไหม? (ไม่มี) เพราะฉะนั้น เราจะเริ่มพูดถึง จิตเห็น เกิดเมื่อมีเจตสิก ๗ ดวงเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น ขอให้ทุกคนพูดถึงทีละหนึ่ง เพียงหนึ่ง เราจะได้เข้าใจเจตสิกหนึ่งนั้นเพิ่มขึ้น.
กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- วันนี้เราจะพูดถึงผัสสเจตสิก ผัสสะเป็นสภาพรู้แต่ไม่ใช่จิต เป็นธาตุรู้ที่รู้ว่ามีสิ่งปรากฏ ผัสสะรู้สิ่งที่ปรากฏเพียงกระทบเท่านั้น เพราะฉะนั้น เห็นความละเอียด มีผัสสเจตสิกเป็นสภาพรู้สิ่งที่ปรากฏโดยกระทบสิ่งนั้นเท่านั้น.
- จิตกระทบอารมณ์ได้ไหม? อารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ที่ธาตุรู้กำลังรู้ (ไม่ได้) แต่ทันทีที่ผัสสะเกิดกระทบจิตรู้แจ้งพร้อมกัน เพราะฉะนั้น ผัสสะเกิดกับจิตทุกประเภททุกขณะ ผัสสะรู้เสียงโดยกระทบเสียง ทันทีที่ผัสสะกระทบเสียง จิตรู้พร้อมกัน แต่ต่างคนต่างทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน ใครเปลี่ยนความจริงนี้ได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น นี่เป็นสัจจธรรม เป็นปรมัตถธรรม เป็นอภิธรรม ถ้ามีปัญญาที่เพิ่มขึ้นมั่นคงขึ้นรู้ในลักษณะของจิตที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ขณะนั้นจึงจะเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในเมื่อมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่อีกไกลมาก เพียงฟังอย่างนี้จะไม่ใช่ปัญญาที่กำลังรู้จริงๆ ในลักษณะของจิตที่จะเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
- จิต เจตสิก ต้องเกิดพร้อมกันทุกครั้ง แยกกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่สภาพธรรมเกิดขึ้น ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลยเป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใคร ที่จะเปลี่ยนที่จะทำอะไรเลย เพราะฉะนั้น ความจริงที่เปลี่ยนไม่ได้เลยเพราะแต่ละหนึ่งเป็นธาตุ เป็น ธา+ตุ เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งใครก็เปลี่ยนไม่ได้จึงใช้คำว่า ธาตุ หรือ ธา+ตุ.
- เมื่อเข้าใจแล้วขอให้ทุกคนยกตัวอย่าง ธาตุ หรือ ธา+ตุ ทีละคน ทีละหนึ่ง (อาคิ่ล: ธาตุลม อาช่า: เห็น สาธุ: ดิน ราจีช: ปฐวี) เพราะฉะนั้น ธาตุดินของมาธุ หมายถึงอะไร ยกตัวอย่าง (ที่เขาบัญญัติกัน ดินที่เราปลูกต้นไม้) ไม่ใช่ค่ะ (มาธุ: ยังไม่เข้าใจ) นี่เป็นเหตุที่ต้องศึกษาธรรม ไม่ใช่อย่างที่เราคิด เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เริ่มเข้าใจคำว่าธาตุ ธาตุมีจริงไหม? (มีจริง) หมายถึงอะไร? (ทุกอย่างที่รู้ได้เป็นธาตุ) แล้วสภาพที่รู้ไม่ได้เป็นธาตุหรือเปล่า? (ไม่เป็น) หมายความว่าเขารู้จักธาตุหมดหรือยัง? (อาช่า: มีหลายอย่างที่ไม่รู้ ก็เป็นธาตุเหมือนกัน) เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจความหมายของคำว่า ธาตุ ธา+ตุ เป็นสิ่งที่มีจริง เรายังไม่พูดถึงธาตุ เราพูดถึงธรรม สิ่งที่มีจริงทั้งหมด แต่สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นธาตุแต่ละหนึ่งเพราะมีจริงๆ เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงมีลักษณะเฉพาะสิ่งนั้นสิ่งนั้นที่เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องละเอียด สิ่งที่มีจริงเปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นธาตุที่ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น คำว่า ธรรม มีจริง และธาตุ คือความจริงของธรรมนั้นก็คือเปลี่ยนแปลงไม่ได้.
- ทบทวนอีกครั้ง ทีละคน เราจะได้พูดถึง ธา+ตุ แต่ละอย่าง
(อาช่า: เสียง) เสียงเป็นธาตุเพราะอะไร? (เพราะว่ามีจริง และสามารถรู้ได้ ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงเสียงให้เป็นอย่างอื่นได้) แน่นอนนะ เสียงเป็นธรรม เป็นปรมัตถธรรม เป็นอภิธรรม เป็นธาตุ เป็นอริยสัจจะด้วยหรือเปล่า? (เป็น) อริยสัจจะไหน? (อริยสัจจะที่ ๑ เป็นทุกขสัจจ์) อริยสัจจะที่ ๑ เมื่อประจักษ์แจ้งการเกิดดับ ไม่ใช่เพียงแต่คิดว่า เดี๋ยวนี้มีเห็น แล้วไม่มีเห็นเท่านั้น หมายความว่าคุณอาช่า ไม่สงสัยคำว่า ธาตุ แล้ว.
(มาธุ: คิด) คิดเป็นธาตุอะไร? (เป็นนามธาตุ) คงมีหลายนามธาตุขณะนั้น นามธาตุอะไรบ้างไหนที่คุณมาธุรู้จักบ้างแล้ว (ตอบไม่ได้) แต่บอกว่าเป็นนามธาตุ เพราะฉะนั้น ทุกคนคงรู้จักว่า นามธาตุเป็นธาตุรู้ รูปธาตุไม่รู้อะไรได้ ในขณะที่คิดเป็นนามธาตุแน่นอน แต่มีนามธาตุอะไรบ้างที่คุณมาธุรู้จัก หรือว่าจะให้ตัวอย่าง เพราะไม่ใช่มีแต่นามธาตุเดียวเพราะใช้คำว่า นามธาตุ (ลิ้มรส) เขาพูดถึงกำลังคิดไม่ใช่หรือ? เมื่อใช้คำว่านามธาตุ มีหลายอย่าง ไม่ใช่มีอย่างเดียว ธาตุรู้ขณะนั้นเขาไม่ได้บอกว่าอะไร เพราะฉะนั้น เมื่อเขาบอกว่านามธาตุ เราจึงขอความเห็นของเขาให้เขาบอกว่า นามธาตุอะไรบ้างในขณะที่ คิด เพราะเขาใช้คำว่านามธาตุ (คิดเป็นจิต) มีจิตเท่านั้นหรือ? (มีสัญญาที่เกิดพร้อมจิต) เป็นสัญญาธาตุหรือเปล่า? (เป็น) มีผัสสะธาตุไหม? (มี) เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจจริงๆ การที่เราสนทนาแบบนี้ เพื่อฝึกหัดฝึกฝนการไตร่ตรองให้ละเอียดให้รอบคอบให้ลึกซึ้ง ถ้าเราไม่สนทนาแบบนี้ จะไม่มีความละเอียดในการที่จะเข้าใจสิ่งหนึ่งที่เป็นธรรมตลอดหมด จนกระทั่งเป็นความรอบรู้.
- แต่อย่าลืมว่า การที่แต่ละคนจะเริ่มมีความรอบคอบ มีความละเอียดในการพิจารณา ถ้าเราไม่สนทนาแบบนี้ คิดว่าทุกคนเข้าใจแล้ว บอกแล้วรูปธาตุ นามธาตุ เพราะฉะนั้น ขาดการไตร่ตรองที่ละเอียดรอบคอบลึกซึ้ง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถเข้าใจธรรมได้ เพราะฉะนั้น เริ่มเห็นประโยชน์ของการที่จะต้องไตร่ตรองธรรมละเอียดลึกซึ้ง เพราะมิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจธรรมได้เลย ได้แต่จำ.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้กำลังเป็นการอบรมความละเอียดความรอบคอบ ที่จะเข้าถึงความละเอียดของธรรม เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมละเอียดลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น เราต้องไตร่ตรองจนเข้าใจจริงๆ จึงสามารถจะถึงความรู้จัก ปัจจยปริคคหญาณได้เมื่อเป็นวิปัสสนาญาณ.
- อีกไกลมากกว่าจะถึงวิปัสสนาญาณตามลำดับตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีพื้นฐานอย่างนี้ที่จะเข้าใจให้ถูกต้องแต่ละคำ ไม่สามารถที่จะถึงความเข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณได้.
- เราเริ่มพูดถึงผัสสะตอนต้นใช่ไหม เดี๋ยวนี้มีผัสสเจตสิกไหม? (มี) กำลังคิด มีผัสสเจตสิกไหม? (มี) กำลังจำ มีผัสสเจตสิกไหม? (มี แต่ไม่เข้าใจ) นั่นซิ ต้องพูดแล้วพูดอีกใช่ไหม เพราะว่าไม่ต้องการให้เขาไปจำเรื่องราวมากมาย แต่ให้เข้าใจจริงๆ ในแต่ละหนึ่ง พูดถึงผัสสะ ผัสสะมีจริงๆ คืออะไร ทำกิจอะไร ไม่ใช่จิตอย่างไร เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเกิดทุกครั้งต้องทีผัสสะ เพราะจิตรู้สิ่งที่ผัสสพกระทบ.
- เราพูดมากมายหลายเรื่องวันนี้ แต่ละเรื่องยังไม่ละเอียดพอ จนกว่าความเข้าใจในแต่ละคำจะมั่นคง ไม่ใช่ฟังแล้วผ่านไปเหมือนเข้าใจ แม้แต่เรื่องของธาตุดินของคุณมาธุ หรือว่าเรื่องของสภาพธรรมที่ต่างกันขณะนี้ มีอะไรบ้าง เจตสิกอะไรบ้างที่ต้องเกิดกับจิตนี้มีเจตสิกเท่าไหร่ ทั้งหมดเหมือนพูดรวมๆ ไป ไม่ได้แยกละเอียด แต่ แต่ละคำให้เข้าใจเหตุผลของแต่ละคำที่กล่าว เช่น วันนี้พูดถึงผัสสเจตสิก เขามีความเข้าใจแค่ไหน.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
กราบอนุโมทนาครับ