[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 118
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๒
๒. มหาวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหาวัจฉเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 118
๒. มหาวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมหาวัจฉเถระ
[๑๔๙] ได้ยินว่า พระมหาวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ภิกษุมีกำลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ บริโภคโภชนะตามมีตามได้ มีราคะไปปราศแล้ว พึงหวังได้ซึ่งกาลปรินิพพานในศาสนานี้ ดังนี้.
อรรถกถามหาวัจฉเถรคาถา
คาถาของท่านพระมหาวัจฉเถระเริ่มต้นว่า ปญฺญาพลี. เรื่องราว ของท่านเป็นอย่างไร?
ได้ยินว่า ท่านได้ถวายน้ำดื่มให้เป็นทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ และแก่ภิกษุสงฆ์. ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี ได้เป็นอุบาสกอีก ได้การทำบุญกรรมเป็นอันมาก อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ด้วยบุญกรรมเหล่านั้น ท่านท่องเที่ยวไปในสุคติภพนั้นๆ แล้ว เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์นามว่า สมิทธิ ในนาลคาม แคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้. เขาจึงมีชื่อว่า มหาวัจฉะ. เขาเจริญวัยแล้ว สดับความที่ท่านพระสารีบุตร เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วคิดว่า แม้ขึ้นชื่อว่าท่านพระสารีบุตรนั้น เป็นผู้มีปัญญามาก ยังเข้าถึงความเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ชะรอยพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 119
พระองค์นั้นแหละจักเป็นบุคคลผู้เลิศในโลกนี้ เกิดศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้า บวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว ประกอบเนืองๆ ซึ่งกัมมัฏฐาน บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัสในภิกษุสงฆ์ ผู้ยอดเยี่ยมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ จึงได้น้ำใส่หม้อน้ำฉันจนเต็ม ในเวลาที่เราจะต้องการน้ำ จะเป็นยอดภูเขา ยอดไม้ในอากาศ หรือพื้นดิน น้ำย่อมเกิดแก่เราทันที ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ให้ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้น้ำเป็นทาน เรา เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นแล้ว ฯลฯ อภิญญา ๖ เรากระทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เสวยวิมุตติสุขอยู่ เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ด้วยการแสดงให้เห็นชัดซึ่งข้อที่พระศาสนาเป็นนิยยานิกธรรม จึงได้ภาษิตคาถาว่า
ภิกษุมีกำลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ บริโภคโภชนะตามมีตามได้ มีราคะไปปราศแล้ว พึงหวังได้ซึ่งกาลปรินิพพานในศาสนานี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺญาพลี ความว่า ผู้ประกอบไปด้วย ปัญญาอันดียิ่งเนืองๆ ด้วยสามารถแห่งปาริหาริกปัญญาและวิปัสสนาปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 120
บทว่า สีลวตูปปนฺโน ความว่า เข้าถึงแล้ว คือ ประกอบแล้วด้วย จาตุปาริสุทธิศีลอันอุกฤษฏ์ และด้วยวัตรกล่าวคือ ธุดงคธรรม.
บทว่า สมาหิโต ความว่า ประกอบด้วยสมาธิ ต่างด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ.
บทว่า ฌานรโต ความว่า ต่อแต่นั้นไป จึงยินดี คือ หมั่นประกอบติดต่อกันไป ในอารัมมณูปนิชฌานและในลักขณูปนิชฌาน. ชื่อว่า มีสติ เพราะไม่อยู่ปราศจากสติในกาลทั้งปวง.
บทว่า ยทตฺถิยํความว่า การบริโภคที่ไม่ปราศจากประโยชน์ ชื่อว่า อัตถิยะ ชื่อว่า ยทัตถิยะ เพราะเหตุที่บริโภคโภชนะมีประโยชน์ หมายความว่า การบริโภคของผู้ที่บริโภคปัจจัยเช่นใด ย่อมชื่อว่ามีประโยชน์ ก็บริโภคโภชนะ เช่นนั้น.
คำว่า การบริโภคโภชนะที่มีประโยชน์ นั้นย่อมมีได้ ด้วยสามีบริโภค หรือด้วยทายาทบริโภค ไม่ใช่บริโภคโดยประการอื่น นี้ พึงเห็นเป็นเพียงตัวอย่าง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า โภชนะ ด้วยอรรถว่า อันบุคคลพึงกิน พึงบริโภค ได้แก่ ปัจจัย ๔.
ปาฐะว่า ยทตฺถิกํ ดังนี้บ้าง ปัจจัย ๔ อันพระศาสดาทรงอนุญาตแล้ว เพื่ออันใด คือเพื่อประโยชน์อันใด เพื่อประโยชน์อันนั้น คือเพื่อประโยชน์มีการตั้งอยู่แห่งกายเป็นต้น และการตั้งอยู่แห่งกายนั้น ก็เพื่ออนุปาทิเสสนิพพาน เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุบริโภคปัจจัยคือโภชนะ เพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาทิเสสปรินิพพาน ต่อแต่นั้น ก็พึงหวัง กาลปรินิพพาน คือ พึงคอยท่าอนุปาทาปรินิพพานกาลของตน ชื่อว่ามีราคะไปปราศแล้วในที่นี้ คือ ในพระศาสนานี้ อธิบายว่า ก็คุณธรรมข้อนี้ย่อมไม่มีแก่คนภายนอก (ศาสนา) ผู้แม้มีราคะในกามทั้งหลายปราศไปแล้ว.
จบอรรถกถามหาวัจฉเถรคาถา