ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
โดย pirmsombat  7 มิ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 18495

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เชิญคลิกอ่าน

มหาปทานสูตร ... ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

โอวาทปาติโมกข์คือการแสดงธรรมที่เป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีิทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ที่เป็น หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ 6 ปี ส่วนพระพุทธเจ้าของเรา ทรงแสดงโอวาท ปาฏิโมกช์ทุกๆ กึ่งเดือนครับ ซึ่งกาลเวลาที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ต่างกันครับ แต่หลักคำสอนของโอวาทปาฏิโมกข์ที่พระพุทธเจ้า แต่ละพระองค์ทรงแสดงเหมือนกันครับ เพราะเป็นสัจจะความจริง "ปาติ" หมายถึงตกไปในอบายภูมิ โอวาทปาติโมกข์ ก็คือ คำสอนที่เป็นไปด้วย การที่จะทำให้พ้นจากการตกไปในอบายภูมิหรือในสังสารวัฏฏ์ครับ อันทำให้ถึงการดับ กิเลสได้ครับ

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าจะแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ทุกๆ กึ่งเดือน แต่มีเหตุการณ์ ที่ภิกษุทุศีลอยู่ในที่ประชุมสงฆ์ ในอุโบสถ พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงธรรมคือโอวาท ปาฏิโมกข์เพราะมีพระภิกษุทุศีลอยู่ในนั้น พระพุทธองค์จึงทรงไม่แสดงโอวาท ปาฏิโมกข์กับภิกษุทั้งหลายอีกครับ แต่ให้ภิกษุทั้งหลายสวดอาณาปาฏฺโมกข์แทน ซึ่ง อาณาปาฏิโมกข์คือคำสอนที่เป็นพระวินัยบัญญัติ ทรงบัญญัติแก่สาวกบรรพชิต ได้แก่ สิกขาบทที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ๒๒๗ ข้อ ที่สวดทุกกึ่งเดือนครับ สำหรับโอวาทปาฏิโมกข์ ที่เป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า แสดงครั้งแรกในวัน มาฆบูชา ซึ่งเนื้อหาของโอวาทปาฏิโมกข์มีดังนี้ครับ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง

ขันติเป็นสาพธรรมฝ่ายดีคือ อโทสะ เจตสิก เกิดกับจิตฝ่ายดีทุกประเภท ขันติมีหลายระดับ ตั้งแต่กุศลเบื้องต้นจนถึง กุศล ขั้นสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นความอดทนต่อหนาว ร้อนด้วยกุศลจิต แม้แต่การอบรมปัญญาก็ ขาดขันติไมได้ ความอดทน อดกลั้นที่เป็นกุศล อบรมปัญญาต่อไปด้วยความอดทน เพราะรู้ว่าหนทางนี้ คือ หนทางในการดับกิเลส เป็นหนทางอันยาวนาน ต้องมีความ อดทนที่จะฟังพระธรรมต่อไป หากไม่มีขันติ ไม่อดทนในการศึกษาพระธรรมก็จะถูก โลภะ ความต้องการ หันเหไปในทางอื่น ในทางที่จะได้ผลเร็วเป็นต้น และแม้การอบรม ปัญญาขั้นสูงก็ยังต้องมี ขันติ เป็นขันติญาณ เป็นต้นครับ ดังนั้น ขันติจึงเป็นตบะ ตบะ คือเผาบาป เผาอกุศลด้วยการอดทน อบรมปัญญาจนถึงการดับกิเลสครับ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง

ในบรรดาธรรมทั้ง หลายทั้งที่เป็นสังขารธรรม มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นและดับไป และสภาพอื่นๆ ที่ไม่มี ปัจจัยปรุงแต่ง พระนิพพาน เป็นเลิศ เพราะเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดขึ้นและดับไป อัน ปราศจากกิเลสโดยประการทั้งปวงครับ


ความคิดเห็น 3    โดย paderm  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ผู้ทำร้ายผู้อื่นผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย.

ผู้ที่เป็นเพศ สมณะและเพศบรรพชิต หมายถึงผู้ที่มุ่งขัดเกลากิเลส ทั้งทางกาย วาจาและใจ อันเป็นผู้เว้นทั่วจากบาป ดังนั้นการกระทำทางกายไม่ดี จึงไม่สมควรกับ เพศบรรพชิตเลย เพราะเป็นอกุศลทางกายที่หยาบไม่ควรทำ ไม่ต้องกล่าวถึงการ กระทำทางวาจาและใจครับ ที่สำคัญ ไม่ใช่เพียงเพศบรรพชิตเท่านั้นแม้เพศคฤหัสถ์ ก็ไม่ควรทำสิ่งทีเป็นอกุศลธรรมเหล่านี้ครับ

การไม่ทำบาปทั้งสิ้น

อกุศลธรรม เป็นสิ่งที่มีโทษไม่ว่าเล็กน้อยหรือจะมาก เพราะ ฉะนั้น การไม่ทำบาปทั้งสิ้นเพราะมีปัญญาจึงไม่ทำบาป และที่สำคัญต้องรู้จักตัวบาป รู้จักอกุศลจึงไม่ทำอกุศลครับ

การยังกุศลให้ถึงพร้อม คือ กุศลทุกๆ ประการ ไม่ว่าเป็นขั้นทาน ศีลและภาวนา แต่ จะมีจะให้เกิดขึ้นและให้ถึงพร้อมก็ต้องด้วยปัญญา ดังนั้นอาศัยการฟังพระธรรม ปัญญา เจริญขึ้น กุศลก็ค่อยๆ เจริญขึ้นครับ

การทำจิตของตนให้ผ่องใส

การทำจิต อะไรทำ ปัญญาครับ ทำจิตให้ผ่องใส ผ่องใสจากนิวรณ์คือกิเลสทั้งหลายครับ ดังนั้นการทำจิตให้ผ่องใสก็ด้วยปัญญา เพราะจิตสะสมอกุศลมามาก ย่อมไม่ผ่องใสอันเป็นเหตุปัจจัยให้จิตทีเป็นอกุศลเกิดขึ้น บ่อยๆ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง จึงแสดงโดยนัยเบื้องต้นและสูงสุด คือ ทำ จิตให้ผ่องใสด้วยการอบรมสมถภาวนา แต่ก็ไม่สามารถทำจิตให้ผ่องใสได้จริงเพราะ เป็นเพียงความสงบชั่วขณะ แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหนทางที่ทำให้จิตผ่องใส อัน ปราศจากกิเลสคือ อนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องสะสมมา อันเป็นต้นเหตุของการเกิดและการ วนเวียนในสังสารวัฏฏ์ พระองค์ทรงแสดงหนทางการดับกิเลสหมดสิ้น นั่นคือ อริยมรรค มีองค์ 8 คือการระลึกรู้ลักาณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา อัน เป็นหนทางเดียวที่ทำให้จิตผ่องใสอย่างแท้จริงครับ


ความคิดเห็น 4    โดย paderm  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

การไม่กล่าวร้าย เป็นเรื่องของวาจาที่เป็นทุจริต พระพุทธองค์ให้ทรงละวาจาที่ไม่ดี ด้วยปัญญา อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

การไม่ทำร้าย เป็นเรื่องของการกระทำทางกาย มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น เป็นอกุศลที่ ไม่ควรกระทำโดยประการทั้งปวงครับ

ความสำรวมในพระปาติโมกข์ เป็นการรักษาพระวินัยบัญญํติของพระภิกษุ อันเป็น ธรรมเครื่องขัดเกลาของภิกษุทั้งหลายครับ

ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร การู้จักประมาณในการบริโภคอาหารเพียงเพื่อ ให้ชีวิตนี้เป็นไปและยังหมายถึงการรู้จักประมาณในการรับสิ่งทีได้ เป็นผู้สันโดษ เป็นต้น

ที่นอนที่นั่งอันสงัด อันเป็นการอบรมจิตที่อาศํยที่สงัด โดยเป็นไปตามอัธยาศัย ของผู้ที่เป็นผู้หลีกออกจากหมู่ผู้เดียวแต่มีความเข้าใจหนทางในการดับกิเลสด้วยครับ ไม่ใช่หนทางดับกิเลสจะต้องไปหาที่สงัดครับ

การประกอบความเพียรในอธิจิต คือ การอบรมสมถภาวนา สำหรับผู้ที่สะสมอุปนิสัย ปัญญาในการอบรมสมถภาวนามาครับ

ธรรมเหล่านี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายครับ

ขออนุโมทนาคุณหมอและทุกท่านครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 5    โดย pirmsombat  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขอบคุณและขออนุโมทนาคุณเผดิมมากครับ

อ่านแล้วปลื้มใจและชื่นใจมากครับ คิดว่าน้อมนำปฏิบัติตามเท่าที่สามารถ จะเป็นกุศลมากครับ


ความคิดเห็น 6    โดย khampan.a  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพร่ำสอนอยู่บ่อยๆ เนืองๆ ก็เพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตามจนกระทั่งสามารถดับกิเลสทั้งปวงได้ในที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงแสดงนั้น ไม่มีความแตกต่างกันเลย เหมือนกันทั้งหมด และเป็นพระธรรมที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษา และมีความเข้าใจ อย่างแท้จริง เพราะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อละอกุศล เป็นไปเพื่อดับทุกข์โดยประการทั้งปวง เป็นไปเพื่อการไม่เกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ, คุณผเดิม และทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 7    โดย pirmsombat  วันที่ 8 มิ.ย. 2554

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณคำปั่นครับ...


ความคิดเห็น 8    โดย swanjariya  วันที่ 4 มี.ค. 2558

อนุโมทนาขอบพระคุณยิ่งค่ะทุกๆ ท่าน


ความคิดเห็น 9    โดย pepa  วันที่ 18 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย chatchai.k  วันที่ 21 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ