จับ สติ ให้มั่น ใช้อะไร จับ ... .
สติเป็นนามธรรมไม่มีรูปร่างสันฐาน ไม่สามารถจับได้ แต่อบรมได้ผู้ศึกษาพระธรรมคำสอนจนเข้าใจ ย่อมค่อยๆ รู้สภาพธรรมตามที่ทรงแสดง การศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ชื่อว่าการอบรมศรัทธา สติ ปัญญา ฯลฯ ดังนั้น ควรเป็นผู้อบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่การจับสติ
การใช้คำในภาษาไทยรวมกับภาษาบาลี หากไม่ระวัง ไม่พิจารณาจะเป็นเหตุที่ทำให้ตนเอง และผู้ที่ฟังร่วมด้วยนั้น หลุดไปจากหนทางที่ถูกได้โดยง่ายครับ
"สติเจริญ" ไม่มีผู้ใดที่เจริญสติ
"มรรคเจริญ" ไม่มีคน-สัตว์-บุคคลที่เจริญมรรค
" วิปัสสนาเจริญ " ไม่มีตัวเราที่เจริญวิปัสสนา
" สติปัฏฐานเจริญ " ไม่มีตัวตนที่เจริญสติปัฏฐาน
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ควรเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่าทุกอย่างเป็นธรรม สติเป็นเราหรือเป็นธรรม เป็นธรรม เมื่อเป็นธรรมบังคับให้เกิดได้ไหม (เป็นอนัตตา) โดยคำกล่าวที่ว่า จับสติให้มั่น หมายถึงเมื่อสติเกิดแล้วก็ให้เกิดบ่อยๆ แต่เมื่อเข้าใจพื้นฐานว่า ธรรมเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเมื่อสติเกิดแล้ว ก็ไม่มีใครหรือตัวตนที่จะพยายามบังคับให้สติเกิดต่อไปอีก เช่น พยายามจับสติให้มั่น ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยถ้าเหตุปัจจัยไม่พร้อม ธรรมทั้งหลายต้องอาศัยเหตุปัจจัยครับ เมื่อโกรธ มีใครไปคิดบ้างว่า จับ ความโกรธให้มั่นจับด้วยอะไร ไม่ต้องมีใครจับ โกรธก็เกิดและโกรธก็เกิดต่อไปได้อีก เพราะมีเหตุปัจจัยที่จะเกิดต่อ ไม่มีใครบังคับให้โกรธเกิดต่อหรือไม่เกิดต่อ ไม่มีตัวตนที่จะจับให้โกรธเกิดต่อและไม่เกิดต่อ เป็นธรรมจึงเป็นอนัตตา ฉันใด แม้สติก็เช่นเดียวกันครับเพราะเป็นธรรม เช่นเดียวกับความโกรธจึงเป็นอนัตตา เหตุปัจจัยให้สติเกิดมี แต่ไม่มีตัวตนให้สติเกิด ธรรมที่ปรุงแต่งจากการฟัง สนทนา เป็นต้น เป็นปัจจัยให้สติเกิด ซึ่งขณะที่เกิดก็ไม่มีใครไปจับ แม้ขณะทีท่านๆ อ่านอยู่ ก็ไม่มีใครไปจับให้เห็น หรือคิดนึกต่อเป็นคำๆ แต่เป็นธรรมที่ทำหน้าที่แต่ละสภาพธัมมะครับ
ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาครับ
สติเป็นโสภณเจตสิกที่เกิดกับจิตที่ดีงาม สติเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน จับไม่ได้ ทุกครั้งที่ปัญญาเกิดจะมีสติเกิดร่วมด้วย แต่สติเกิดไม่มีปัญญาร่วมด้วยก็ได้ เช่น สติระลึกในการให้ทาน ขณะนั้นสติปัฏฐานไม่เกิด ปัญญามีหลายระดับตั้งแต่เบื้องต้น เช่น ขณะที่ให้ทาน เชื่อกรรมและผลของกรรมด้วย ขณะนั้นมีสติประกอบด้วยปัญญาค่ะ
สติที่เกิดร่วมด้วยปัญญาย่อมมีกำลัง เหมือนชาวนาที่จับรวงข้าวด้วยมือซ้ายคือสติ เกี่ยวด้วยเคียวในมือขวาคือปัญญาน่ะ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ