รบกวนด้วยครับ
๑. สติสัมปชัญญะคือ สติเจตสิกใช่ไหมครับ หรือแยกเป็นสติเจตสิก
๒. การยึดมั่นว่ากรรมเป็นของใครของมัน คือ เราทำอะไรไว้ เราย่อมได้รับวิบากนั้นเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยเจริญสัทธาเจตสิกหรือไม่ การเพียรฟังธรรม ส่งเสริมสัทธาเจตสิกหรือไม่
หนทางอื่นๆ อีกที่จะเจริญสัทธาเจตสิกมีอะไรอีกบ้างครับ
๑. คำว่า สติและสัมปชัญญะ ถ้ากล่าวโดยละเอียด เป็นปรมัตถธรรมประเภทเจตสิก คือ ไม่ใช่จิต ไม่ใช่รูป สติเป็นสติเจตสิก สัมปชัญญะเป็นปัญญาเจตสิก และมีเจตสิกอีกหลายประเภทที่เกิดร่วมกัน เช่นผัสสะ เวทนา เจตนา มนสิการ วิริยะ ศรัทธา เป็นต้น และเจตสิกเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีจิต ฉะนั้น ในขณะนั้นมีจิตและเจตสิกหลายประเภท
๒. ในอรรถกถาแสดงว่า ศรัทธาเจตสิก มีโสตาปัตติยังคะ ๔ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด คือการคบสัตบุรุษ ๑ การฟังธรรมของสัตบุรุษ ๑ มีโยนิโสมนสิการ ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มได้ที่ ...
ศรัทธามีการเชื่อมั่นเป็นลักษณะ [ธรรมสังคณี]
สัมปชัญญะ คือ ปัญญาเจตสิก
ศรัทธา คือ ความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ถ้าเราเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เราก็จะมีศรัทธาทำความดี ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม
ขอบคุณครับ
ข้อ ๑. สติ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง เกิดกับจิตที่ดีงาม สัมปชัญญะ เป็นอโมหเจตสิกหรือปัญญา สติสัมปชัญญะ มักเป็นคำที่ใช้คู่กัน โดยจะใช้ในเรื่องของการอบรมภาวนา ขั้นสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา (สติปัฏฐาน) สติเกิดโดยไม่มีสัมปชัญญะ (ปัญญา) ได้ แต่เมื่อสัมปชัญญะ (ปัญญา) เกิดจะต้องมีสติเกิดด้วยเสมอ เพราะสติเป็นสภาพธัมมะที่เกิดกับจิตที่เป็นกุศลเสมอ แต่ปัญญา ไม่เสมอไปครับ เมื่อเราพิจารณาคำนี้ จะทำให้เข้าใจเรื่องการอบรมวิปัสสนา (สติปัฏฐาน) ว่าเป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ (มีสัมปชัญญะ) และต้องรู้ว่า สติระลึกอะไร สัมปชัญญะ (ปัญญา) รู้อะไร ก็รู้สภาพธัมมะที่มีในขณะนี้เองครับ ว่าเป็นธัมมะ ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของปัญญา มิใช่ขั้นทานและศีลเท่านั้น
ข้อ ๒. เหตุให้เกิดศรัทธาย่อมมี คือการฟังธรรม แต่ต้องละเอียดที่ว่า ฟังธรรมอะไร คือฟังในสิ่งที่ถูก ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นเหตุให้เข้าใจหนทางในการปฏิบัติที่ถูกด้วย ศรัทธา มิได้หมายเพียงความเชื่อแล้วจะเป็นศรัทธา ถ้าเชื่อผิดก็ไม่ใช่ศรัทธา ศรัทธาเป็นธรรมที่เป็นฝ่ายดี ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจหนทางผิดอันเนื่องมาจากฟังธรรมที่ผิด แล้วเราก็กล่าวว่ามีศรัทธามาก แต่จริงๆ แล้วมิใช่ศรัทธาเลย เพราะศรัทธาย่อมเกิดจากการฟังธรรมที่ถูกต้อง ที่สำคัญ ศรัทธาจะไม่เป็นไปในทางอกุศลเลยครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...
เหตุให้เกิดศรัทธา [ตัณหาสูตร]
ขอบคุณครับ
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ