[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 219
ทุติยปัณณาสก์
กกุธวรรคที่ ๕
๓. พยากรณสูตร
ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัต ๕ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 219
๓. พยากรณสูตร
ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัต ๕ ประการ
[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัต ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความเป็นผู้เขลา เพราะความเป็นผู้หลง ๑ บุคคลผู้มีความอิจฉาลามก ผู้ถูกความอิจฉาครอบงำ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 220
ย่อมพยากรณ์อรหัต ๑ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความบ้า เพราะจิต ฟุ้งซ่าน ๑ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัตโดยถูกต้อง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัต ๕ ประการนี้แล.
จบพยากรณสูตรที่ ๓
อรรถกถาพยากรณสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในพยากรณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อญฺพฺยากรณานิ ได้แก่ การพยากรณ์พระอรหัต. บทว่า มนฺทตฺตา ได้แก่ เพราะความโง่ เพราะไม่รู้. บทว่า โมมูหตฺตา ได้แก่ เพราะความลุ่มหลง. บทว่า อญฺํ พฺยากโรติ ความว่า เขาพูดว่า เราบรรลุอรหัต. บทว่า อิจฺฉาปกโต ได้แก่ ถูกความอยากครอบงำ. บทว่า อธิมาเนน ได้แก่ ด้วยสำคัญว่าได้บรรลุ. บทว่า สมฺมเทว ได้แก่ โดยเหตุ โดยนัย โดยการณ์เท่านั้น.
จบอรรถกถา พยากรณสูตรที่ ๓