พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒- หน้าที่ 420
ในการนอน ๔ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย คนบริโภคกามโดยมากนอนโดยข้างซ้าย นี้ชื่อว่า กามโภคี-
ไสยา. จริงอยู่ คนบริโภคกามเหล่านั้นย่อมไม่นอนโดยข้างขวา. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เปรตโดยมากนอนหงาย นี้ชื่อว่า เปตไสยา. จริงอยู่
เพราะเปรตมีเนื้อและเลือดน้อย เปรตห่อหุ้มด้วยโครงกระดูก จึงไม่อาจ
จะนอนโดยข้างหนึ่งได้ จึงต้องนอนหงาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหมฤค-
ราชสำเร็จการนอนโดยข้างขวา ฯลฯ จึงพอใจ นี้ชื่อว่า สีหไสยา.
จริงอยู่ สีหมฤคราชเพราะมีอำนาจสูง วางเท้าทั้งสองไว้ที่เท้าหลังข้างหนึ่ง
ในที่เดียวกัน สอดหางไว้หว่างขา กำหนดโอกาสที่เท้าหน้าเท้าหลังและ
หางตั้งอยู่แล้ววางศีรษะลงบนที่สุดเท้าหน้าทั้งสองนอนแม้นอนหลับตลอด
วัน เมื่อตื่นก็ตื่นอย่างไม่หวาดสะดุ้ง เงยศีรษะสังเกตโอกาสที่เท้าหน้า
เป็นต้นตั้งอยู่. หากที่ไรๆ ละไปตั้งอยู่ไม่เรียบร้อย สีหมฤคราชก็เสียใจว่า
นี้ไม่สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิด จึงนอนต่อไปในที่นั้น
ไม่ไปแสวงหาอาหาร แต่ครั้นเมื่อไม่ละ ตั้งอยู่เรียบร้อย สีหะก็ดีใจว่า
นี้สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิดจึงลุกบิดกายอย่างสีหะ สลัด
ขนที่คอ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วจึงไปหาอาหาร. ส่วนการนอน
ด้วยจตุตถฌานเรียกว่า ตถาคตไสยา (พระตถาคตนอน) . ในไสยา ๔
อย่างเหล่านั้น ในที่นี้หมายเอาสีหไสยา. เพราะไสยานี้ ชื่อว่าเป็นไสยา
อย่างสูงที่สุด เพราะเป็นอิริยาบถที่มีอำนาจสูง.
บทว่า ปาเท ปาท ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า คือเท้าซ้ายทับเท้าขวา.
บทว่า อจฺจาธาย คือ ตั้งเท้าเหลื่อมเท้าเลยไปนิดหน่อย. เพราะเมื่อข้อเท้าเสียดสีกับข้อเท้า เข่าเสียดสีกับเข่า นอนไม่สบาย. เมื่อตั้งเท้าเลยไปโดยที่ไม่เสียดสีกัน เวทนาย่อมไม่เกิดจิตก็มีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนสบาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า. บทว่า สโต สมฺปชาโน คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ. ด้วยบทนี้ กล่าวถึงสติ สัมปชัญญะที่กำหนดไว้ดีแล้ว. บทว่า อุฏฺานสญฺญ มนสิการิตฺวา ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ คือตั้งอุฏฐานสัญญากำหนดเวลาตื่นขึ้นไว้ในใจอย่างนี้ว่า เราจักตื่นขึ้นในเวลาโน้นดังนี้. เพราะทำอย่างนี้แล้วนอน จะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้เป็นแน่.
..................................................
การนอนมี ๔ อย่างคือ
กามโภคีไสยา คนบริโภคกามโดยมากนอนโดยข้างซ้าย เปตไสยา เปรตโดยมากนอนหงายสีหไสยา สีหมฤคราชสำเร็จการนอนโดยข้างขวา ฯลฯตถาคตไสยา (พระตถาคตนอน) การนอนด้วยจตุตถฌาน
ความไม่อิ่ม 3 อย่างคือ
1. ไม่อิ่มด้วยการนอน
2. ไม่อื่มด้วยการเสพสุรา
3. ไม่อิ่มด้วยการเสพเมถุน
ขณะนอนหลับสนิท เป็นภวังคจิต มีชาติวิบาก ไม่อาจจะเจริญปัญญาได้ ทว่า เมื่อมีเหตุมีปัจจัยให้นอนก็ต้องนอน การไม่ยอมนอนเพราะอกุศล และการยินดีในการนอนมากไปก็ไม่ทำให้ปัญญาเจริญขึ้นได้เช่นกันครับขออนุโมทนาครับ