ธรรมเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ๔ ประการ
โดย บ้านธัมมะ  24 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 39063

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 633

พระสูตรที่ไม่นับเป็นปัณณาสก์

ธรรมเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 633

พระสูตรที่ไม่นับเป็นปัณณาสก์

ธรรมเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ๔ ประการ

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา... ๑ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต... ๑ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อไม่ให้อกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑... เพื่อละอกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑ ย่อมยังฉันทะให้เกิด


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 634

พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ทั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนเพื่อความมียิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ... ๑ จิตตสมาธิ... ๑ วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ ควรเจริญเพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น เพื่อความเสื่อม เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืน ซึ่งราคะ ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น เพื่อความเสื่อม เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืน ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ดังนี้แล.

จบจตุกนิบาต