[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 17
ปฐมปัณณาสก์
พลวรรคที่ ๒
๑. อนนุสสุตสูตร
ว่าด้วยกําลัง ๕ ของพระตถาคต
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 17
พลวรรคที่ ๒
๑. อนนุสสุตสูตร
ว่าด้วยกำลัง ๕ ของพระตถาคต
[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราบรรลุถึงบารมีอันเป็นที่สุด เพราะรู้ยิ่งในธรรม ที่ไม่ได้สดับแล้วในกาลก่อน จึงปฏิญาณได้ กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท ในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง ๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลังคือศรัทธา ๑ กำลังคือหิริ ๑ กำลังคือโอตตัปปะ ๑ กำลังคือวิริยะ ๑ กำลังคือปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๕ ประการ นี้แล ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท ในบริษัทประกาศพรหมจักร.
จบอนนุสสุตสูตรที่ ๑
พลวรรควรรณนาที่ ๒
อรรถกถาอนนุสสุตสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในอนนุสสุตสูตรที่ ๑ แห่งพลวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุพฺพาหํ ภิกฺขเว อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งในธรรมทั้งหลาย คือ สัจธรรม ๔ อันเราไม่เคยฟัง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 18
มาก่อน. ด้วยบทว่า อภิญฺาโวสานปารมิปฺปตฺโต ปฏิชานามิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงคุณ ที่พระองค์บรรลุ ณ มหาโพธิบัลลังก์ ว่าเรารู้ยิ่งในสัจธรรม ๔ ด้วยการทำกิจ ๑๖ อย่าง สำเร็จด้วยมรรค ๔ แล้วบรรลุบารมีสุดท้าย คือ ฝั่งแห่งความเป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว เพราะกิจทั้งหมด จบสิ้นแล้ว จึงปฏิญาณ. บทว่า ตถาคตสฺส ได้แก่ ของพระตถาคตด้วยเหตุ ๘ อย่าง. บทว่า ตถาคตพลานิ ได้แก่ กำลังญาณที่ถึงแล้ว คือเป็นไปแล้ว โดยอาการที่จะพึงถึงได้ ด้วยกำลังเหล่านั้น. บทว่า อาสภณฺานํ คือ ฐานะอันประเสริฐสุด. บทว่า สีหนาทํ คือ บันลืออันแกล้วกล้า. บทว่า พฺรหฺมจกฺกํ คือ จักรอันประเสริฐ. บทว่า ปวตฺเตติ คือ กล่าว.
จบอรรถกถา อนนุสสุตสูตรที่ ๑