[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑
ครูปูรณกัสสปได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า มหาบพิตร เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้เขาดิ้นรนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้น ไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ดักปล้นในทางเปลี่ยว ทำชู้ภริยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป ฯลฯ
เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูมักขลิโคสาลได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า มหาบพิตร ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมเศร้าหมองย่อมไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์ ไม่มีการกระทำของตนเองไม่มีการกระทำของผู้อื่น ไม่มีการกระทำของบุรุษ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวงปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ตามความประจวบ ตามความเป็นเอง
[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389 บรรดาครูทั้ง ๖ นั้น ปูรณะชี้แจงว่า เมื่อทำบาปก็ไม่เป็นอันทำชื่อว่า ย่อมปฏิเสธกรรม อชิตะชี้แจงว่า เพราะกายแตก สัตว์ย่อมขาดสูญ ชื่อว่า ปฏิเสธวิบาก. มักขลิชี้แจงว่า ไม่มีเหตุ ชื่อว่า ปฏิเสธทั้งกรรมและวิบากทั้ง ๒ ในข้อนั้น แม้เมื่อปฏิเสธกรรม ก็ชื่อว่าปฏิเสธวิบากด้วย แม้เมื่อ ปฏิเสธวิบาก ก็ชื่อว่าปฏิเสธกรรมด้วย ดังนั้นเจ้าลัทธิแม้ทั้งหมดนั้น ว่าโดยอรรถ ก็คือปฏิเสธทั้งกรรมและวิบากของกรรมทั้ง ๒ ย่อมเป็นอเหตุกวาทะด้วย เป็นอกิริยวาทะด้วย เป็นนัตถิกวาทะด้วย
กราบอนุโมทนา