คํานิคม (ภิกขุนีวิภังค์)
โดย บ้านธัมมะ  12 มี.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 42804

[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓

พระวินัยปิฎก เล่ม ๓

ภิกขุนีวิภังค์

คํานิคม

คํานิคม 504/545

สรุปเสขิยาธิกรณธรรม 546

อุยโยชนคาถา 547


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 545

คำนิคม

    [๕๐๔] แม่เจ้าทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.

ธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว

    สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติโมกข์ นับเนื่องในพระปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน.

    พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พรอ้มเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระปาติโมกข์นั้น เทอญ.

    ภิกขุนีวิภังค์ จบ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 546

คาถาสรุปเขิยาธิกรณธรรม

    ก็ธรรม ๗๕ ชื่อว่า เสขิยะเหล่าใดที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายได้ยกขึ้นแสดงไว้ และธรรมเหล่าใด ชื่อสัตตาธิกรณะ ซึ่งท่านยกขึ้นแสดงไว้ถัดจากลำดับ เสขิยะเหล่านั้นมา, อรรถวินิจฉัย ธรรมคือ เสขิยะและอธิกรณะเหล่านั้นอันใด ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในมหาวิภังค์. แม้ในภิกขุนีวิภังค์ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ก็กล่าวอรรถวินิจฉัยนั้นไว้ เช่นนั้นเหมือนกัน, เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าวอรรถวรรณนาธรรมเหล่านั้นไว้อีกแผนกหนึ่ง, ที่จริงอรรถวรรณาที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในมหาวิภังค์นั้น ชื่อว่าได้กล่าวแล้ว ในภิกขุนีวิภังค์นี้เหมือนกันแล.

    ภิกขุนีวิภังคควรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย.

    ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 547

อุยโยชนคาถาของท่านผู้รจนา

    วรรณนาวิภังค์แห่งอุภโตปาฏิโมกข์ที่พระชินเจ้าตรัสไว้นี้ จบลงแล้ว โดยหาอันตรายมิได้ ฉันใด ขอสรรพสัตว์ แม้ทุกหมู่เหล่า จงได้บรรลุมรรคอันละเสียซึ่งอาสวะทั้งปวง แล้วประสบพบเห็นแต่ความดับสนิทโดยหาอันตรายมิได้ ฉันนั้น เทอญ.