เป็นความเห็นที่ตรงกับพระไตรปิฏกหรือไม่โปรดพิจารณา?
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยและเป็นที่พึ่งอันสูงสุด
เรียนถามท่านผู้รู้ธรรมและจนท.มศพ.
ผมมีข้อมูลในพระไตรปิฏกมาให้ท่านพิจารณา เกี่ยวกับทาน ซึ่งที่ผ่านมาทางท่านผู้รู้ธรรมได้บอกกับผมว่าการทำบุญไม่ควรหวังผลในบุญนั้นจะได้บุญน้อย อีกทั้งเกี่ยวกับการทำสังฆทานหากหวังผลในสังฆทานนั้นก็ไม่เป็นสังฆทาน ตรงนี้ผมอ่านจากพระสูตรนี้ทำไมตรงข้ามกันสิ้นเชิง เพราะพระสูตรนี้บอกว่า ผู้ที่ทำทานควรหวังในทานนั้น หากไม่หวังในทานถือเป็น อสัปปริสทาน (ทานของคนโง่ คนทราม) ผมว่าเหมือนการให้ทานแบบไม่มีจุดหมายหรือเปล่า คือไม่ใช้ปัญญาในการให้ทานหรือเปล่า? ช่วยชี้ความกระจ่างด้วยครับ
ผู้ที่ให้ทานโดยไม่หวังผลนี้ เชิญคลิกอ่าน ... ทานของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ [อสัปปุริสทานสูตร]
และ เล่ม ๒๖ หน้า ๒๘๘
... ดูก่อนอานนท์ ก็เมื่อตถาคตพยายามเพื่อแทงตลอดปัจจยาการนี้อยู่ ชื่อว่าการให้ทานที่ไม่เคยให้ เพื่อประโยชน์เก่การแทงตลอดปัจจยาการย่อมไม่มีแก่ตถาคต ตลอด ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์จะเห็นว่าให้ทานควรหวังผลในทานนั้นหรือไม่?
ขออนุโมทนาครับ
ขอทำความเข้าใจเรื่องการหวังผลและไม่หวังผลในทานก่อนนะครับ
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวคำว่า หวังผลในทาน หมายถึงเกิดความโลภ (โลภะ) ติดข้องในผลบุญ ให้ทานเพื่อตนเองจะได้มีกินมีใช้ในอนาคต หวังเป็นเศรษฐีมั่งมีทรัพย์ ในอนาคต เป็นต้น ชื่อว่า ติดข้องหรือหวังผลในทาน ไม่ใช่ทานบารมี ไม่ใช่การสละความตระหนี่ มีอกุศลแทรก มีอกุศลเป็นบริวาร ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ แต่สำหรับพระโพธิสัตว์ให้ทานเพื่อพระโพธิญาณ เป็นทานบารมี เป็นทานเพื่อวิวัฏฏะ เป็นทานเพื่อสละกิเลส ชื่อว่าไม่ติดข้องในทาน ไม่หวังผล ในทาน ไม่มีอกุศลแทรก ไม่มีอกุศลเป็นบริวาร ดังนั้นการให้ทานโดยหวังผลของทานชื่อว่า เป็นกุศลขั้นต่ำ แต่การให้ทานไม่หวังผลเป็นกุศลขั้นสูงประณีตกว่า ส่วนข้อความใน พระไตรปิฎกที่ท่านยกมา ในอรรถกถาอธิบายดังนี้ บทว่า อนาคมนทิฏฐิโก เทติ ได้แก่ หาทำความเห็นผลกรรมกันมาอย่างนี้ว่า ผลแห่งกรรมที่ทำจักมาถึงดังนี้ให้เกิดขึ้นไม่. บทว่า อาคมนทิฏฐิโก ได้แก่เชื่อกรรมและวิบากว่าจักเป็นปัจจัยแห่งภพในอนาคตแล้วให้ ดังนี้. สรุปคือ คำว่า ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงให้ หมายถึงไม่เชื่อกรรมและวิบากนั่นเอง
ขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วย ที่เข้าใจในความหมายผิดไปจริงๆ ครับ
ธรรมของพระพุทธองค์ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบครอบซ้ำหลายๆ รอบครับ หรือต้องให้ท่านผู้ที่รู้ธรรมช่วยอธิบายจึงจะเข้าใจในธรรมนั้น ครับ
ขออนุโมทนาครับ
การให้ทาน มีลักษณะดังนี้
๑ มีเจตนาที่จะให้
๒ ทำลายความโลภ
๓ ทำให้เกิดในสุคติภูมิหรือเป็นปัจัยให้พ้นจากภพ
ให้เพราะเชื่อกรรมและผลของกรรม
การให้ที่ดีที่สุดคือให้เพื่อปรุงแต่งจิต (สติปัฏฐาน)
จากความเห็นที่ 6 กรุณาอธิบายขยายความหน่อยได้ไหมคะ.
เชิญคลิกอ่าน...ให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่งจิต [ปฐมทานสูตร]
.......................ขออนุโมทนาใน"ความกรุณา"...........................
สติปัฏฐานระลึกไปในสภาพของปรมัตถธรรมที่เกิดปรากฏในขณะที่ให้ทาน ประดับปรุงแต่งจิตให้คลายจากความเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เป็นกุศลขั้นสูงกว่าทานศีลและสมถภาวนา เพราะประกอบไปด้วยปัญญาที่ทำกิจเข้าใจสภาพธรรมะตามความเป็นจริงของสภาพธรรมะนั้นๆ ครับ
ขออนุโมทนาอีกครั้งค่ะ. หมายความว่า หากสติไม่เกิดระลึกรู้ปรมัตถ์ในขณะให้ทาน ก็จะไม่เป็นทานบารมี และจะไม่ใช่การให้ (ทาน) ที่ดีที่สุด คือเพื่อการปรุงแต่งจิต ถูกต้องไหมคะ.
ขณะที่เป็นทานบารมี ต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ซึ่งเป็นปัญญาที่เห็นโทษของอกุศล เห็นคุณของการสละวัตถุสิ่งของซึ่งติดมากด้วยโลภะ เพื่อเจริญกุศลที่จะนำออกจากวัฏฏะ และเจริญความไม่ประมาทครับ แต่ไม่ง่ายเลยครับที่จะเป็นทานบารมี เพราะเราบังคับให้ปัญญาเกิดในขณะให้ทานไม่ได้ ธรรมะทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา ดังนั้น เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อมให้ปัญญาเกิด ปัญญาที่เกิด จึงจะทราบได้ว่าเป็นทานที่ให้โดยขัดเกลาอกุศล ซึ่งเป็นทานบารมีหรือไม่ครับ
...................ขออนุโมทนาค่ะ....................