[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓
พระวินัยปิฎก เล่ม ๓
ภิกขุนีวิภังค์
นิสสัคคิยกัณฑ์
จีวรวรรค
สิกขาบทที่ ๑ 138/165
พระบัญญัติ ๓๖.๑ 166
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๑ (เลข ๑๑ บาลีเป็น ๑) 169
สิกขาบทที่ ๒ 142/170
พระบัญญัติ ๓๗.๒ 171
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๒ (เลข ๑๒ บาลีเป็น ๒) 174
สรุปท้ายนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 175
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 165
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นผู้องอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมี หลักฐาน ครั้นถึงฤดูหนาว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสะพักผ้ากัมพลมีค่ามาก เสด็จเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาถึงสำนัก ทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทาแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุณีถุลลนันทาทูลชี้แจงธรรมีกถาถวาย ให้ท้าวเธอทรงเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ครั้นท้าวเธอทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาของภิกษุณีถุลลนันทาแล้ว ได้ทรง ปวารณาภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านได้โปรดบอกสิ่งที่ต้อง ประสงค์.
ภิกษุณีถุลลนันทาทูลว่า ขอถวายพระพร ถ้ามหาบพิตรมีพระราชประสงค์จะพระราชทานแก่อาตมภาพไซร้ ขอได้โปรดพระราชทานผ้ากัมพลผืน ที่ทรงนี้.
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงถวายผ้ากัมพลแก่ภิกษุณีถุลลนันทา ในทันใด นั้นแล แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทา กระทำ ประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.
คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านั้น เป็นคนมักมาก ไม่สันโดษ ไฉนจึงได้ทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชาเล่า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 166
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า ถุลลนันทาจึงได้ทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชาเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชาจริง หรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชาเล่า การกระทำ ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีผู้จะให้เขาจ่ายผ้าห่มหนัก พึงให้จ่าย ได้เพียงราคา ๔ กังสะเป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้นเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 167
สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๙] ที่ชื่อว่า ผ้าห่มหนัก ได้แก่ผ้าชนิดหนึ่งที่สำหนับห่มในฤดู หนาว
บทว่า ผู้จะให้จ่าย คือ ผู้จะขอ.
บทว่า พึงให้จ่ายได้เพียงราคา ๔ กังสะเป็นอย่างยิ่ง คือ ให้ จ่ายผ้ามีราคาเพียง ๖ กหาปนะได้.
คำว่า ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้น ความว่า ขอผ้ามีราคาเกินกว่านั้นเป็น ทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ผ้ามา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือ ภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลผ้าเป็นนิสสัคคีย์นั้น อันภิกษุณีพึงเสียสละ อย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า ผ้าห่มหนักผืนนี้ของข้าพเจ้า มีราคาสูงเกิน ๔ กังสะ ขอได้มา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าห่มหนัก ผืนนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้ผ้าห่มหนักผืนนี้แก่ภิกษุณีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้ ผ้าห่มหนักผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้ผ้าห่มหนักผืน นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 168
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๔๐] ผ้าห่มหนักมีราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ขอได้มา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าห่มหนักมีราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสงสัย ขอได้มา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าห่มหนักมีราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อน ขอได้มา เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ผ้าห่มหนักราคาหย่อน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
ผ้าห่มหนักมีราคาหย่อน ๔ กังสะ ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ผ้าห่มหนักมีราคาหย่อน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อน ไม่ต้อง อาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๔๑] ขอผ้าห่มหนักมีราคา ๔ กังสะ เป็นอย่างยิ่ง ๑ ขอผ้าห่มหนัก มีราคาหย่อน ๔ กังสะ ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอต่อคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ ของผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ทายกประสงค์ให้จ่ายผ้าห่มหนักมีราคา
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 169
แพง แต่ให้จ่ายผ้าห่มหนักมีราคาถูก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกังมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบท๑ ที่ ๑ จบ
อรรถกถาจีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๑ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ครุปาปุรณํ คือ ผ้าห่มในฤดูหนาว. ชื่อว่า กังสะ ใน บทว่า จตุกฺกํสปรมํ นี้ มีราคา ๔ กหาปณะ; เพราะฉะนั้น ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีค่าเท่ากับ ๑๖ กหาปณะ.
อรรถกถาจีวรวรรค สิกขาบท ที่ ๑๑ จบ
๑. อรรถกถาเป็นสิกขาบทที่ ๑๑
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 170
จีวรวรรค สิกขาบท (๑) ที่ ๒
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นผู้องอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมี หลักฐาน ครั้นฤดูร้อน พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสะพักผ้าโขมพัสตร์มีค่ามาก เสด็จเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาถึงสำนัก ทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทา แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาทูลชี้แจงธรรมีกถา ถวายให้ท้าว เธอทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ครั้นท้าวเธอทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาของภิกษุณีถุลลนันทาแล้ว ได้ทรง ปวารณาภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านได้โปรดบอกสิ่งที่ต้อง ประสงค์.
ภิกษุณีถุลลนันทาทูลว่า ขอถวายพระพร ถ้ามหาบพิธมีพระราชประสงค์จะพระราชทานแก่อาตมภาพไซร้ ขอได้โปรดพระราชทานผ้าโขมพัสตร์ผืน ที่ทรงนี้.
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงถวายผ้าโขมพัสตร์แก่ภิกษุณีถุลลนันทาในทัน ใดนั้นแล แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทา กระทำ ประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.
คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็น คนมักมาก ไม่สันโดษ ไฉนจึงได้ทูลขอผ้าโขมพัสตร์ทรงต่อองค์พระราชาเล่า.
(๑) อรรถกถาเป็นสิกขาบทที่ ๑๒
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 171
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า ถุลลนันทาจึงได้ทูลขอผ้าโขมพัสตร์ทรงต่อองค์พระราชาเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาทูลขอผ้าโขมพัสตร์ทรงต่อองค์พระราชา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ขอผ้าโขมพัสตร์ทรงต่อองค์พระราชา การกระทำของ นางนั่นไม่ ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีผู้จะให้เขาจ่ายผ้าห่มเบา พึงให้จ่าย ได้เพียงราคา ๒ กังสะกึ่งเป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้น เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๓] ที่ชื่อว่า ผ้าห่มเบา ได้แก่ ผ้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่สำหรับ ห่มในฤดูร้อน.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 172
บทว่า ผู้จะให้จ่าย คือ ผู้จะขอ.
บทว่า พึงให้จ่ายได้เพียงราคา ๒ กังสะกึ่งเป็นอย่างยิ่ง คือ ให้จ่ายผ้ามีราคาเพียง ๑๐ กหาปณะได้.
คำว่า ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้น ความว่า ขอผ้ามีราคาเกินกว่านั้น เป็น ทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ผ้ามา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือ ภิกษุณีรูปหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลผ้าเป็นนิสสัคคีย์นั้น อันภิกษุณีพึงเสียสละ อย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า ผ้าห่มเบาผืนนี้ของข้าพเจ้า มีราคาสูงเกิน ๒ กังสะกึ่ง ขอได้มา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าห่มเบา ผืนนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้ผ้าห่มเบาผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลายพึงให้ผ้า ห่มเบาผืนนี้แก่ภิกษุณีมีชื่อนี้ ดังนี้.
เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้ผ้าห่มเบาผืน นี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 173
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๔๔] ผ้าห่มเบามีราคาเกิน ๒ กังสะกึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ขอ ได้มา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าห่มเบามีราคาเกิน ๒ กังสะกึ่ง ภิกษุณีสงสัย ขอได้มา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ผ้าห่มเบามีราคาเกิน ๒ กึ่งสะกึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อน ขอได้มา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ผ้าห่มเบามีราคาหย่อน ๒ กังสะกึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
ผ้าห่มเบามีราคาหย่อน ๒ กังสะกึ่ง ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ผ้าห่มเบามีราคาหย่อน ๒ กังสะกึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อน ไม่ต้อง อาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๔๕] ขอผ้าห่มเบามีราคา ๒ กังสะกึ่งเป็นอย่างยิ่ง ๑ ขอผ้าห่มเบา มีราคาหย่อน ๒ กังสะกึ่ง ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอต่อคนปวารณา ๑ ขอเพื่อ ประโยชน์ของผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ทายกประสงค์ให้จ่ายผ้าห่ม เบามีราคาแพง แต่ให้จ่ายผ้าห่มเบามีราคาถูก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 174
บทสรุป
[๑๔๖] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท๑ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วหรือ ข้าพเจ้า ขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม แม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายเป็นผู้ บริสุทธิ์แล้วในธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จบ
อรรถกถาจีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑๒ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ลหุปาปุรณํ คือ ผ้าสำหรับห่มในฤดูร้อน. คำที่เหลือตื้น ทั้งนั้น แม้ในสิกขาบททั้ง ๒.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
อรรถกถาจีววรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
๑. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท คือ เอกโตบัญญัติ ๑๒ สิกขาบทเท่านี้ กับอุภโตบัญญัติ ๑๘ สิกขาบท. สมันตปาสาทิกา หน้า ๕๓๒.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 175
สรุปท้ายนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ในคำว่า อุทฺทิฏฺา โข เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงเห็นใจความอย่างนี้ ว่า ในคำว่า ข้าแต่แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้าพเจ้า ยกขึ้นแสดงแล้วแล นี้ ผู้ศึกษาพึงชัก ๒ สิกขาบท คือ โธวนสิกขาบทกับ ปฏิคคหณสิกขาบท ออกจากจีวรวรรคในมหาวิภังค์แล้วเพิ่มให้เต็มวรรคที่ ๑ ด้วยสิกขาบท คือ ภิกษุณีอธิษฐานอกาลจีวรว่า เป็นกาลจีวร แล้วแจกกัน กับสิกขาบทว่าด้วยจีวรที่ภิกษุณีแลกเปลี่ยนกันแล้วชิงคืนมา. ต่อไปพึงชัก ๗ สิกขาบทข้างต้นแห่งเอฬกโลมวรรคออกแล้ว เพิ่มอัญญทัตถิกสิกขาบท ๗ สิกขาบทเข้ามาให้เต็มวรรคที่ ๒. ชัก ๓ สิกขาบท คือ ปฐมปัตตสิกขาบท วัสสิกสาฎิกสิกขาบท และอารัญญกสิกขาบท ออกจากวรรคที่ ๓ แล้วเพิ่ม วรรคที่ ๓ ให้เต็มด้วยปัตตสันนิจยสิกขาบท ครุปาปุรณสิกขาบท และลหุ- ปาปุรณสิกขาบท. แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ แม้ ทั้งหมดอย่างนี้ คือ ๑๒ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายเดียว อย่างนี้ กับ ๑๘ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติแก่ทั้ง ๒ ฝ่าย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว แล ตามแนวทางปาฏิโมกข์ขุทเทส.๑ บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้นแล.
ติงสกกัณฑวรรณนาในภิกขุนีวิภังค์ ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
๑. ปาฐะตรงนี้ข้างต้นเป็น ปาฏิโมกกฺขุทฺเทสมตฺเตน แต่นี้ไปเป็น ปาฏิโมกฺขุทฺเทสมฺคฺเคน. ยุติ อย่างไร ควรพิจารณา. ม. ปาฏิโมกฺขุทฺเทสมคฺเคน