พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 383
๒. มหาอัสสาโรหชาดก ว่าด้วยการทำความดีไว้ในปางก่อน
[๕๐๖] ผู้ใดให้ทานในคนที่ไม่ควรให้
ไม่เพิ่มให้บุคคลที่ควรให้
ผู้นั้นถึงจะได้รับความทุกข์ในคราวมีอันตราย ก็ไม่ได้สหาย.
[๕๐๗] ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้
ให้ในคนที่ควรให้
ผู้นั้นถึงได้รับความทุกข์ในคราวมีอันตราย ย่อมได้สหาย.
[๕๐๘] การแสดงคุณวิเศษแห่งความเกี่ยวพัน
และความสนิทสนมกันฉันท์มิตร
ในชนทั้งหลายผู้ไม่มีอารยธรรม
เป็นคนมักอวด ย่อมไร้ผล
การแสดงคุณวิเศษแห่งความเกี่ยวพัน
และความสนิทสนมกันฉันท์มิตร
ที่กระทำในอารยชนทั้งหลายผู้ซื่อตรงคงที่
แม้เล็กน้อย ก็ย่อมมีผลมาก.
[๕๐๙] ผู้ใดได้ทำความดีงามไว้แต่กาลก่อนแล้ว
ผู้นั้นชื่อว่าได้ทำกิจ ที่ทำได้แสนยากในโลก
ภายหลังเขาจะทำหรือไม่ทำก็ตาม
ชื่อว่าเป็น บุคคลผู้ควรบูชายิ่งนัก.
จบ มหาอัสสาโรหชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 287
พระสารีบุตรเป็นผู้กตัญญูกตเวที
พระศาสดารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเรื่องนั้นแล้ว ตรัส
ถามความนั้นแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย ใครๆ ระลึกถึงคุณของ
พราหมณ์นี้ได้ มีอยู่บ้างหรือ?" พระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า
"พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ระลึกได้, เมื่อข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาตอยู่ใน
กรุงราชคฤห์ พราหมณ์นี้ให้คนถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง ที่เขานำมาเพื่อตน,
ข้าพระองค์ระลึกถึงคุณของพราหมณ์นี้ได้." เมื่อพระศาสดาตรัสว่า
" สารีบุตร ก็การที่เธอเปลื้องพราหมณ์ผู้มีอุปการะอันกระทำแล้วอย่างนั้น
จากทุกข์ ไม่ควรหรือ?" ท่านกราบทูลว่า " ดีละ พระเจ้าข้า, ข้า-
พระองค์จักให้เขาบวช" จึงให้พราหมณ์นั้นบวชแล้ว.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[๕๐๖] ผู้ใดให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ ไม่เพิ่มให้บุคคลที่ควรให้ ผู้นั้น ถึงจะได้รับความทุกข์ในคราวมีอันตราย ก็ไม่ได้สหาย.
ถ้าให้ทานหรืออนุเคราะห์กับคนที่ไม่ดี คนที่อกตัญญู เมื่อประสบภัย คนที่ไม่ดีก็ไม่ช่วยเหลือเพราะ ไม่สำนึกบุญคุณ ย่อมไม่ได้สหายคือ ความเป็นเพื่อน (จากคนไม่ดี) เมื่อมีภัย
[๕๐๗] ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้
ให้ในคนที่ควรให้ ผู้นั้นถึงได้รับความ ทุกข์ในคราวมีอันตราย ย่อมได้สหาย.
ถ้าให้ทานในบุคคลที่เป็นคนดี มีความกตัญญู เมื่อมีภัยหรือเดือดร้อน คนที่เป็นหนี้บุญคุณก็ย่อมช่วยเหลือ เพราะความที่เป็นคนดีมีความกตัญญู จึงมีสหายเมื่อคราวมีภัย (สำหรับคนดี)
การแสดงคุณวิเศษแห่งความเกี่ยวพัน และความสนิทสนมกันฉันท์มิตร
ในชนทั้งหลายผู้ไม่มีอารยธรรม เป็นคนมักอวด ย่อมไร้ผล
การทำความเป็นมิตร เช่น การให้ความช่วยเหลือ การให้ทาน การอยู่ร่วมกันฉันเพื่อนของคนที่เป็นคนที่ไม่ดีย่อมไร้ผล หมายถึง เขาย่อมไม่ระลึกถึงบุญคุณนั้นเลย ดังเช่นหว่านพืชลงในกองไฟ พืชย่อมไม่งอกงามและไม่ได้ประโยชน์อะไร ไร้ผลนั่นเอง
การแสดงคุณวิเศษแห่งความเกี่ยวพัน และความสนิทสนมกันฉันท์มิตร
ที่กระทำในอารยชนทั้งหลายผู้ซื่อตรงคงที่ แม้เล็กน้อย ก็ย่อมมีผลมาก.
การทำความเป็นมิตร เช่น การให้ความช่วยเหลือ การให้ทาน การอยู่ร่วมกันฉันเพื่อน ของคนที่เป็นคนที่ดีย่อมมีผลมาก หมายถึง เขาย่อมรู้จักบุญคุณของคนนั้นและแสดงความเป็นมิตรและกระทำการตอบแทนตอบ จึงชื่อว่ามีผลมาก เปรียบเหมือน พืชที่หว่านลงในนาดี ย่อมงอกงาม การกระทำความสนิทสนม เมตตา กับคนที่เป็นคนดี ก็เช่นกัน ย่อมมีผลมาก ด้วยการกระทำตอบแทนและรู้จักบุญคุณ เป็นต้น
ผู้ใดได้ทำความดีงามไว้แต่กาลก่อนแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าได้ทำกิจ ที่ทำได้แสนยากในโลก
ภายหลังเขาจะทำหรือไม่ทำก็ตาม ชื่อว่าเป็น บุคคลผู้ควรบูชายิ่งนัก.
คนที่ทำความดีกับคนอื่น ชื่อว่าทำได้ยาก เพราะสัตว์ย่อมรักตัวเองที่สุด และแม้ว่าคนที่ได้กระทำความดีเอาไว้แล้วกับบุคคลนั้น เขาจะไม่กระทำความดีอีกต่อไป หรือ จะทำสิ่งไม่ดีกับบุคคลนั้นก็ตาม อย่างน้อยเขาก็มีบุญคุณ ก็ควรที่เคารพนับถือ มีความเป็นมิตรกับบุคลนั้นเพราะเขาได้มีบุญคุณกับเราไว้ในคร้งก่อน แม้จะน้อยก็ตามที
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนา
สาธุ ....... ขออนุโมทนาครับ
จะทำความดีกับใครก็ต้องดูความเหมาะสมของบุคคล ดูกาละเทศะ ด้วยเสมอ แม้ว่าเขาจะยังกระทำความดีอยู่ หรือ กระทำความไม่ดีด้วยประการใดๆ ในภายหลัง ทว่าในสังสารวัฏฏ์อันยาวนาน รวมถึงในชาตินี้เขาก็อาจจะเคยกระทำดีกับเรามาแล้ว ซึ่งจะจำได้หรือไม่ ก็พึงที่จะเทิดทูนบูชาในกุศลธรรมที่เกิดกับเขาแม้เพียงน้อยนิดนั้น และอดทนที่จะเพียรละอกุศลธรรมที่เกิดกับตนที่ไม่คิดสละ หรือไม่คิดยินดีในความดีของผู้อื่นด้วยการอบรมเจริญปัญญา ครับ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุโมทนาค่ะ