ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๒๖ มีนาคม ๒๕๕๓
แม้ว่า สิกิริยาจะเป็นเพียงพระราชวังบนยอดเขา ที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างในทางพระพุทธศาสนา แต่ก็เป็นที่ๆ น่าไปเยี่ยมชม ให้เห็นถึงความสามารถ ความพยายาม ความคิด ความรุ่งเรืองและความไม่ยั่งยืน ความเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลายของสรรพสิ่ง
สิกิริยา เป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เป็นเลิศในการออกแบบผังเมือง การจัดสวนระบบชลประทาน จิตรกรรม และงานศิลปทั้งหลาย องค์การยูเนสโกประกาศให้เป็นมรดกโลกในปีพ.ศ. ๒๕๓๕
กล่าวกันว่า เบื้องหลังที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการก่อสร้างสถานที่ที่น่าอัศจรรย์นี้ คือ ความหวาดกลัวของพระเจ้ากัสสปะ ผู้ครองราชย์ระหว่างปี ๑๐๒๑-๑๐๓๙ พระเจ้ากัสสปะขึ้นครองราชย์โดยร่วมมือกับนายทหารบางคนลอบปลงพระชนม์พระบิดาตัวเองอย่างทารุณ เพราะเกรงว่าพระบิดาจะยกราชสมบัติให้พระอนุชา คือเจ้าชายโมคคัลลานะ
พระเจ้ากัสสปะปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ส่วนพระอนุชาหนีตายไปอยู่อินเดีย พระเจ้ากัสสปะทรงรู้พระองค์ว่าวิถีทางในการก้าวสู่บัลลังก์เลือดนี้ ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ทรงหวาดกลัวตลอดเวลาว่า อาจจะทรงถูกล้างแค้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง
พระองค์จึงทรงสร้างภูเขา สิกิริยา ให้เป็นพระราชวังที่งดงาม มีป้อมปราการ มั่นคงแข็งแรง มีสะพานที่สามารถชักขึ้นได้ ป้องกันไม่ให้ข้าศึกเข้าโจมตี พระองค์ทรงย้ายมาประทับอยู่ที่นี่ และ ไม่เคยลงจากเขาเลย
แต่ในที่สุด หลังจากที่พระเจ้ากัสสปะทรงครองราชย์ได้ ๑๘ ปี เจ้าชายโมคคัลลานะ ก็ยกทัพจากอินเดียมาล้อมสิกิริยาไว้ และปล่อยข่าวว่ามีช้างเผือกคู่บารมีอยู่ในป่าใกล้เคียง พระเจ้ากัสสปะเมื่อได้ข่าวก็เสด็จลงจากยอดเขาเพื่อมาจับช้างเผือก จึงถูกฝ่ายพระอนุชาบุกโจมตีจนสิ้นพระชนม์กลางสนามรบ เจ้าชายโมคคัลลานะ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ และกลับไปครองราชย์ที่นครอนุราธปุระตามเดิม
ภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงามของนางสนมและเหล่าบริวารบนหน้าผาหินแกรนิต
[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความเสื่อมแห่งโภคะมี ประมาณน้อยความเสื่อมแห่งปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้ง หลาย. [๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความเจริญด้วยโภคะมีประมาณน้อยความเจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลายเพราะฉะนั้นเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าเราทั้งหลายจักเจริญโดยความเจริญปัญญาดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายพึง สำเหนียกอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 143
สถานที่ต่อไปคือ ถ้ำดัมบูลลา สร้างโดยพระเจ้าวาลากัมบา (Walagambahu) พระองค์เคยพำนักในถ้ำดัมบูลลา ช่วงที่พระองค์เสด็จพลัดถิ่นจากเมืองอนุราธปุระ เพื่อเป็นการตั้งหลักก่อนที่จะรวบรวมไพร่พล กลับไปรบกันอีกครั้งหนึ่ง
ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงรบชนะ และเสด็จกลับขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงสร้างวิหารศิลาภายในถ้ำที่ดัมบูลลานี้ ภายในมีถ้ำทั้งหมด ๕ ถ้ำด้วยกัน มีขนาดใหญ่เล็กต่างกันไป
ซึ่งในแต่ละถ้ำมีพระพุทธรูปใหญ่เล็กประดิษฐานอยู่เป็นจำนวนมากกว่าร้อยองค์ และที่เสริมให้ถ้ำทั้ง ๕ มีความวิจิตรงดงามอย่างยิ่งก็คือ ภาพเขียนสีจิตรกรรมฝาผนังและเพดานจนแทบจะเต็มพื้นที่ ซึ่งมีอายุราว ๘๐๐ ปีมาแล้ว
...พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า...
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท อย่า เป็นอามิสทายาทของเราตถาคตเลยดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาท ไม่ เป็นธรรมทายาทของเราตถาคตนั้นจะพึงเป็นเหตุให้ถูกวิญญูชนติ เตียนเอาได้ว่า สาวกทั้งหลายของพระศาสดาพากันเป็น อามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทอยู่ ถึงเราตถาคตก็คงถูกวิญญูชนติเตียน ได้ว่า สาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทไม่ เป็นธรรมทายาทอยู่ ดังนี้.
ภาพเขียนสีเหล่านี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา พระพุทธประวัติ มวลเหล่าเทวดาประจำแคว้น รวมถึงลวดลายทางพุทธศิลป์ เช่น ลายดอกบัว ดอกพิกุล ลงสีสันสวยงามน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
"...ร่มเงาของวัดบริเวณ สถานทุกแห่งของวัดวาอารามทั้งหมด เป็นของพระรัตนตรัย ซึ่งมีผู้รู้คุณสร้างขึ้น มีปฏิการะต่อพระรัตนตรัยแล้วหรือยัง?..."
"...ถึงแม้ว่าจะมีความสุขชั่วครั้ง ชั่วคราวความสุขนั้นก็ไม่เที่ยงความทุกข์ก็ไม่เที่ยง อุเบกขาก็ไม่เที่ยง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนไม่เที่ยง ทั้งสิ้นไม่มีอะไรเลยในชีวิตที่จะเป็นสุขอย่างมั่นคงแท้จริงต้อง อบรมปัญญาให้เห็นชีวิตตามความเป็นจริง คือเห็นการเกิดขึ้นและดับไป ของสภาพธรรมทั้งหลายที่ปรากฏตามความเป็นจริง..."
เราถึงเมืองแคนดี้ และ ได้เข้ากราบสักการะพระเขี้ยวแก้ว ณ วัดศรีดาลามัลกาวะ ซึ่งก็เช่นเคย เราได้รับความเมตตาจากคณะสงฆ์ ให้เข้านมัสการได้ถึงห้องชั้นในครับ
"...คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม จักเสวยแต่สงสาร คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน ส่วนชนเหล่าใดได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม ได้กระทำแล้ว จักกระทำ หรือ กระทำอยู่ ตามพระดำรัสของพระศาสดา ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ คือ การประพฤติพรหมจรรย์อัน ยอดเยี่ยมในโลก..."
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๕๔
สำหรับหรับประวัติของพระเขี้ยวแก้วมีว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุโดยโทณพราหมณ์ ซึ่งในส่วนของพระทันตธาตุ ที่เป็นพระเขี้ยวแก้ว อันเป็นที่ตั้งของการแสดงธรรมของพระพุทธองค์ มีอยู่ ๔ องค์ องค์ที่หนึ่งอยู่ที่เมืองนาค องค์ที่สองอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ องค์ที่สามอยู่คันธรัฐ องค์ที่สี่อยู่ที่ศรีลังกา
สำหรับประวัติของพระเขี้ยวแก้วที่ศรีลังกานั้นกล่าวกันมาว่า พระเถระรูปหนึ่งได้นำพระเขี้ยวแก้วไปมอบให้พระเจ้าพรหมทัตต์แห่งนคร ทันตปุระ ต่อมาสมัยพระเจ้าคุหะสีวะ ได้มีข้าศึกมาประชิดเมือง พระองค์ทรงเป็นห่วงพระเขี้ยวแก้ว จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าหญิงเหมาลาพระราชธิดา กับเจ้าชายทันตกุมาร ซึ่งเป็นพระนัดดาและพระสวามีของเจ้าหญิงเหมาลา ให้นำพระเขี้ยวแก้วไปสู่เกาะลังกา
ทั้งสองพระองค์ต้องปลอมตัวเป็นพราหมณ์ ซ่อนพระเขี้ยวแก้วไว้ในมวยผมของเจ้าหญิงเหมาลา ทั้งสองต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย และเมื่อมาถึงศรีลังกา ก็ได้นำขึ้นถวายแด่พระเจ้าเกียรติเมฆวรรณ ที่นครอนุราธปุระ และทุกครั้งที่ย้ายเมือง ก็จะอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานในพระอารามหลวง
จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๒๒๘-๒๒๕๐ พระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ ๒ ได้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วจากพลุคาม มาประดิษฐานไว้ ณ วัดศรีดาลามัลกาวะ เมืองแคนดี้ จนปัจจุบัน
การที่ได้มีโอกาสมากราบสักการะพระเขี้ยวแก้ว ที่ศรีลังกาคราวนี้นับเป็นบุญยิ่ง ได้เห็นถึงความศรัทธา และ ให้ได้พิจารณาถึงคุณค่าอันสูงสุด ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ปัญญาความเข้าใจถูก เห็นถูก ในธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และทรงแสดงไว้ ตามควรแก่อัตตภาพของตน ให้ได้เห็นถึงความหมายและคุณค่าของคำว่าศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา และ ศรัทธาที่ประกอบด้วย "ปัญญา"
"...ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจาก ปริยัติธรรม พระอริยสาวกทั้งหลายอาศัยแล้วจึง ถึงความเป็นสังฆรัตนะ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของ สภาพธรรมเกิดจากการฟังพระธรรม ผู้ที่เห็นคุณของพระรัตนตรัยมีพระ รัตนตรัยเป็นสรณะ ย่อมไม่ขาดการฟังพระธรรมซึ่งเป็น ปริยัติธรรม ข้อสำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่ฟังพระ ธรรมและศึกษาพระธรรม คือ ต้องรู้ว่าเพื่อน้อมประพฤติ ปฏิบัติตามเท่าที่สามารถจะกระทำได้ อย่าได้เป็นผู้ที่ เพียงฟัง จึงชื่อว่า เป็นผู้ที่เคารพในพระธรรมจริงๆ ..."
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
.........
ขอเชิญคลิกชมตอนอื่นๆ ได้ที่นี่ครับ...
ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่ ศรีลังกา ตอนที่ ๑ โคลอมโบ-โปโลนนารูวา
ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่พระมหาเจดีย์รุวันเวลิเสยะ ประเทศศรีลังกา
ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่ ศรีลังกา ตอนที่ ๒ มหินตาเล-อนุราธปุระ
ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่ ศรีลังกา ตอนที่ ๔ สวนพฤกษ์ศาสตร์ เพลาดินียา-เมืองนูวาราเอลิย่า
ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่ ศรีลังกา ตอนที่ ๕ (จบ) วัดสำคัญๆ ในกรุงโคลอมโบ
กำหนดการเดินทางไปประเทศศรีลังกา
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
อนุโมทนาในกุศลวิริยะค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณพี่วันชัย และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
รจนาถ้อยคำได้ไพเราะน่าซาบซึ้งมาก อนุโมทนา
ไม่ได้ไป....ก็เหมือนได้ไปค่ะ
งดงามทั้งภาพและคำบรรยาย
รู้สึกปลื้มปีติไปกับกุศลกรรมที่ท่านทั้งหลายได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบคุณและขออนุโมทนาคุณวันชัยด้วยค่ะ
...ขอบคุณและขออนุโมทนาคุณวันชัยค่ะ...
กราบอนุโมทนาในกุศลศรัทธาของทุกๆ ท่านค่ะ
พี่ได้ถ่ายรูปถึงผอบทองที่ครอบพระเขี้ยวแก้วด้วย สุดยอดเลยครับพระเขี้ยวแก้วเป็นพระบรมสารีริกธาตุ ที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งทั้งเป็นปัจจัยให้ประกาศอริยสัจธรรมด้วยผมปลื้มปีติสูงสุดที่ได้สักการะบูชา เป็น1ในความปลาบปลื้มที่สุดของความปลาบปลื้มทั้งหมดในการไปศรีลังกาครั้งนี้ครั้ง1ในชีวิตยืนนมัสการความสง่างามของพระเขี้ยวแก้ว ของพระมหาบุรุษผู้สูงสุดผู้เดียวเท่านั้นในโลกธาตุ ผู้แสดงธรรมเป็นเครื่องนำออกจากความไม่รู้ทราบว่าที่นั่นจะมีกลองบูชา3เวลาด้วยที่หน้าอุโบสถพระเขี้ยวแก้ว
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอขอบคุณและอนุโมทนาครับ ที่ได้เผยแพร่ภาพและธรรมมะ เพื่อความเข้าใจ