เมื่อไหร่ที่คิด โลกทางตา โลกทางหู โลกทางจมูก โลกทางลิ้น โลกทางกายและโลกทางใจมาแล้ว เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ สัตว์ บุคคล สิ่งของ บัญญัติต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ปรมัตถธรรม ไม่ใช่สภาพธรรมที่มีอยู่จริงๆ เพียงจิตไม่คิด เรื่องราวต่างๆ สัตว์ บุคคล คนที่รัก คนที่ชัง สิ่งของต่างๆ ทั้งโลกไม่มีอะไรเลย ... ว่าง ...
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
เห็นแล้ว ... ไม่คิดก็ไม่ได้ เห็นแล้ว ... จะให้คิดเป็นกุศลอย่างเดียว ก็เป็นไปไม่ได้เพราะเป็นกุศลบ้าง ... เป็นอกุศลบ้าง ... ซึ่ง รู้ได้บ้าง บางขณะเท่านั้นแม้ไม่เห็น เช่น ขณะหลับ ... ก็ยังมีฝันได้ ... เป็นกุศลบ้าง ... เป็นอกุศลบ้าง "ว่าง" ... จริงๆ น่าจะหมายถึง การมีนิพพานเป็นอารมณ์เท่านั้น ถูกต้องหรือเปล่าคะ ...?
ว่าง ในพระไตรปิฎกเท่าที่เจอหมายถึงไม่มีหรือไม่มีประโยชน์
เลยสงสัยเหมือนความคิดเห็นที่ 2 ค่ะ
เห็นแล้ว ... ไม่คิดก็ไม่ได้เห็นแล้ว ... จะให้คิดเป็นกุศลอย่างเดียว ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นกุศลบ้าง ... เป็นอกุศลบ้าง ... ซึ่ง รู้ได้บ้าง บางขณะเท่านั้นแม้ไม่เห็น เช่น ขณะหลับ ... ก็ยังมีฝันได้ ... เป็นกุศลบ้าง ... เป็นอกุศลบ้าง "ว่าง" ... จริงๆ น่าจะหมายถึง การมีนิพพานเป็นอารมณ์เท่านั้น ถูกต้องหรือเปล่าคะ ...?
คำว่า " ว่าง " ควรจะมีความหมายหลายนัย สำหรับพระนิพพานว่าแน่นอน เพราะ ว่างจากกิเลส ว่างจากขันธ์ และสังขารธรรมทั้งหมด แต่สังขารธรรม จิต เจตสิก รูปก็ว่างจากความเที่ยง ว่างจากความสุข ว่างจากอัตตาตัวตน ว่างจากสาระ ...
สาธุ
คำว่า "ว่าง" ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็น "เอกัคคตาจิต" หรือเปล่าคะ
บางที ว่าง ที่แท้จริง น่าจะหมายถึง ว่างจากอัตตาตัวตน เป็นความ ว่าง หลังจากที่จิตมีปัญญาจากการประจักษ์ใน ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ในขณะที่เจริญสติปัฏฐาน จนปัญญาสามารถปล่อยวางขันธ์ ๕ ได้ตามลำดับ ไม่ใช่จู่ๆ ไปคิดนำว่า ทุกสิ่งว่างเปล่า
ระวังจะเป็นการเจริญสมถะ โดยมีความว่างเป็นอารมณ์ ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ โดยไม่รู้ตัวนะครับ
แต่ธรรมชาติจิต จะต้องคิด แต่คนส่วนใหญ่ (รวมทั้งผมด้วย) ไม่รู้ว่าจิตกำลังคิด จึงหลงไปกับอารมณ์ที่เป็นบัญญัติ ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ที่ใช้เจริญสติปัฏฐาน
เป็นแค่ความเห็นนะครับ ผิดถูกขออโหสิกรรมด้วยนะครับ
อนุโมทนาครับ
ปกติของปุถุชนผู้ไม่ได้ดับสดับ ย่อมจะหลงอยู่กับโลกของชื่อ เรื่องราว บัญญัติต่างๆ เพราะไม่รู้ความจริงของโลกในวินัยของพระอริยะ เมื่อไม่รู้ความจริง ก็เลยหลงยึดถือสิ่งที่ว่างเปล่าจากตัวตน ว่างเปล่าจากสาระเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งที่มีสาระ ซึ่งความจริงแล้ว ทุกอย่างที่เคยคิดว่ามีความสำคัญเหลือเกินนั้น ถ้าไม่มีนามธรรม ได้แก่ จิต และเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต ในขณะที่มีสิ่งนั้นเป็นอารมณ์แล้ว ทุกๆ สิ่งที่ว่าสำคัญนักหนาก็จะไม่ปรากฏความสำคัญอะไรเลย และลึกลงไปกว่านั้น ก็คือ สำคัญเพียงชั่วขณะจิตหนึ่งๆ ที่เกิดดับสืบต่อกันไปเท่านั้นเอง เพียงแต่จิตที่ให้ความสำคัญกับสิ่งๆ นั้นดับไปก็จะไม่ปรากฏความสำคัญของสิ่งนั้นได้อีกเลย
ขออนุโมทนาค่ะ
แต่ คิด ก็เหมือนเกิดอยู่ตลอดเวลานะคะ
ถ้าไม่ได้ศึกษาจะไม่รู้เลยว่า
คิดเกิดแล้วก็ดับ แล้วเดี๋ยวก็มีคิดใหม่ สลับกันไปอย่างนี้
เพราะมันเหมือนมีอยู่ตลอดเวลา
คำว่า ... ว่าง ... แม้สภาพนี้จะมีจริง แต่อินดี้ก็ไม่เคยรู้สึกเลยว่ามี
นอกจากเวลาหลับสนิท ซึ่งไม่รู้เรื่องอะไร เลยไม่ได้คิด
จิตไม่คิด จึง ... ว่าง ... เนี่ย จะเข้าใจให้ถูกก็ยังยากมากจริงๆ เลยค่ะ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12070 ความคิดเห็นที่ 6 โดย svachira
คำว่า "ว่าง" ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็น"เอกัคคตาจิต" หรือเปล่าคะ
ว่าง ไม่ได้หมายถึงเอกัคคตาเจตสิก ที่เป็นลักษณะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด อันเป็นลักษณะของสมาธิ ซึ่งคำว่าว่าง โดยทั่วไปแล้วก็เข้าใจว่าหากไม่คิดอะไร หรืออยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งก็คือว่าง แต่ตามความเป็นจริง จิตเกิดขึ้นและดับไป เมื่อจิตเกิดขึ้นต้องมีอารมณ์จึงไม่ได้ว่างเลย คือไม่ได้ว่างจากอารมณ์หรือสิ่งที่จิตรู้ครับ แต่ขณะที่จิตรู้เพียงปรมัตถธรรมย่อมว่างจากเรื่องราวครับ
อีกนัยหนึ่ง ว่าง นั้นหมายถึง ว่าง จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่มีอัตตาอยู่ในสภาพธรรมใดเลย เอกัคคตาเจตสิกก็ว่างจากความเป็นเรา ไม่มีเราที่ตั้งมั่น แต่เป็นธรรมที่ทำหน้าที่ตั้งมั่น ว่างจากตัวตน อัตตา สภาพธรรมอื่นๆ ก็เช่นกันครับ ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณค่ะ ...
ขออนุโมทนา.
ว่าง ... จากการนึกคิด ปรุงแต่งเรื่องราว เพราะสติกำลังระลึกรู้ลักษณะสภาพความเป็นจริงที่ไม่มีการปรุงแต่ง ... จึงดูเหมือนว่างๆ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนา
ได้ยินแล้วก็ จำ (เสียงสูงๆ ต่ำๆ ) ... คิด ... รู้ ... ถึง คำที่พูด เป็นความหมายของเรื่องราวเป็นบุคคลตัวตนเราเขา เช่น คุณลุงประทีปมีทองมาก (คุณ ลุง ประ ทีป มี ทอง มาก) อารมณ์ก็ออกไปทางหู จิตได้ยินแล้วนิมิต นึกถึงเสียงหรือนึกถึงภาพของคุณลุงประทีป (เหมือนจริงแต่ไม่จริง) ถูกความคิดหลอกให้หลงปรุงแต่งว่า บุคคลนี้มีตัวตนจริงๆ ทั้งๆ ที่ดับไปแล้ว ไม่เหลือแล้ว หมดแล้ว
ความคิดไม่ใช่ทุกข์ แต่ที่ทุกข์เพราะมีความคิดเป็นตัวตน ที่มีความคิดว่าเป็นตัวตนเนื่องจาก ถูกตัณหาติดข้องพอใจ หลอกพาไปยึดถือ
ถ้าไม่มีตัณหา (รักตัวเองที่สุดมากกว่าภรรยาและบุตร) ย่อมนึกคิดถึงตนเองก่อนเสมอแต่มองไม่เห็น เหมือนไฟฉาย ที่ส่องภายนอกตัว สว่างกับคนอื่น แต่มืดสำหรับตนเอง
คำสอนของพระพุทธเจ้า สวนทางจากไฟฉาย คือให้ความสว่างต่อตัวเอง แล้วคนข้างนอกมืด (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน) ไม่ต้องไปดูความไม่ดีของคนอื่น จงดูตนเองให้มาก
ต้องเข้าใจ
จนกว่าจะ ... ว่าง จาก "อัตตา"
จนกระทั่ง ในที่สุด คือ ... ว่าง จาก "กิเลสทั้งปวง"
ขออนุโมทนาค่ะ
คำว่า "ว่าง" ควรจะมีความหมายหลายนัย สำหรับพระนิพพานว่าแน่นอน เพราะว่างจากกิเลส ว่างจากขันธ์ และสังขารธรรมทั้งหมด แต่สังขารธรรม จิต เจตสิก รูปก็ว่างจากความเที่ยง ว่างจากความสุข ว่างจากอัตตาตัวตน ว่างจากสาระ ...
กราบอนุโมทนาค่ะ
ปกติจิตไม่เคยว่างจากความคิดเลย เพราะเป็นมันเองอย่านั้น มานานอยู่แล้ว
แต่ที่คิดนั้น เป็นมันเองที่คิด หรือ เป็นเราเองที่คิด ล่ะ ...
ถ้าเป็นมันเองที่คิด แล้วเราเองก็จะว่างไปเองใช่ไหม ...
คิดเป็นคิดของมันเองอย่างนี้มานานอยู่แล้วนะ ...
ต้องไม่ลืมว่า ... ธรรมะเป็นธรรมะ ไม่ใช่เป็น เรา เขา สัตว์ บุคคลที่ไหนเลยนะ
ดิฉันเห็นด้วยกับ ข้อคิดคุณNIDAค่ะ (ความเห็นที่ 20) 29 ธค. 2552
ก็เพราะเรายังไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ เห็นมีจริงๆ ได้ยินมีจริงๆ ... คิดก็มีจริงๆ แต่เมื่อปัญญายังไม่พอที่จะเห็นตามความเป็นจริง หลังเห็น หลังได้ยิน จิตที่คิดก็เป็นเรื่องราว สัตว์ บุคคล สิ่งต่างๆ มากมาย คิดเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ตามการสะสม แท้จริงเห็นก็มีจริง คิดก็มีจริง ว่างจากสัตว์ บุคคล ตัวตน
เห็นก็ไม่ใช่เราที่เห็น คิดก็ไม่ใช่เราที่คิด คิดมีจริงๆ แต่เรื่องราวที่คิดไม่ใช่ของจริง เรื่องราวที่คิดนั้นว่างจากสาระ ปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ความจริงตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ค่ะ ...
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ ...