๔. ขีรรุกขสูตร ว่าด้วยทรงเปรียบเทียบกิเลสกับยางไม้
โดย บ้านธัมมะ  14 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37337

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 344

๔. ขีรรุกขสูตร

ว่าด้วยทรงเปรียบเทียบกิเลสกับยางไม้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 344

๔. ขีรรุกขสูตร

ว่าด้วยทรงเปรียบเทียบกิเลสกับยางไม้

[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปทั้งหลาย อันจักษุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันมีประมาณยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้. ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์ อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันมีประมาณยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 345

[๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ เป็นต้นไม้มียาง ขนาดเขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ตรงที่ไรๆ ยางพึงไหลออกหรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้น เพราะอะไร.

ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันมีประมาณยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณ พึงรู้แจ้งซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันมีประมาณยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 346

[๒๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้งซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันมีประมาณน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งไม่มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้งซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันมีประมาณน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว.

[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ ซึ่งเป็นไม้มียาง เป็นต้นไม้แห้ง เป็นไม้ผุ เกินปีหนึ่ง บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ตรงที่ไรๆ ยางพึงไหลออกมาหรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร.

ภิ. เพราะยางไม่มี พระเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 347

พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันมีประมาณน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าธรรมารมณ์ อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์ อันมีประมาณน้อย จักครองงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว.

จบ ขีรรุกขสูตรที่ ๔

อรรถกถาขีรรุกขสูตร

ในขีรรุกขสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 348

ชื่อว่า อตฺถิ มีอยู่ เพราะอรรถว่า ยังละกิเลสไม่ได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โส อปฺปหีโน. บทว่า ปริตฺตา ความว่า จริงอยู่ รูปแม้ขนาดเท่าภูเขา คนไม่เห็น ไม่พอเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ชื่อว่า เล็กน้อย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า รูปทั้งหลายแม้เห็นปานนั้น ยังครอบงำจิตของผู้นั้นได้. บทว่า โก ปน วาโท อธิมตฺตานํ ความว่า จะป่วยกล่าวไปไยเล่า ในคำที่ว่า อิฏฐารมณ์ อันเป็นวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี จักไม่ครอบงำจิตของเขา. ก็ในที่นี้ วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี มีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น แม้มีขนาดเท่าหลังเล็บ พึงทราบว่า อารมณ์มีขนาดใหญ่ทั้งนั้น. บททั้ง ๓ มีบทว่า ทหโร เป็นต้น เป็นไวพจน์แห่งกันและกันนั่นแล. บทว่า ภินฺเทยฺย ความว่า พึงเฉาะ พึงกรีด.

จบ อรรถกถาขีรรุกขสูตรที่ ๔