ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เท่าที่ได้ฟังธรรมมาพอสมควร ที่ ม.ศ.พ.นี้เน้นในเรื่อง "ปัญญา" และ "อนัตตา" มาก ดังข้อความที่ได้ยินบ่อยๆ เช่น "ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ใดๆ เลย เป็นแต่เพียงสภาพธรรม" "ไม่มี เรา ที่โกรธ ไม่มีเรา ที่เป็นเพียงสภาพธรรมที่ทำกิจ" เป็นต้น.
จึงขอเรียนถาม ท่านผู้แตกฉานในพระไตรปิฏก ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตรัสคาถา ที่มีความหมายตรงกับข้อความข้างต้นไว้บ้าง
หรือไม่ ถ้ามี กรุณาอัญเชิญคาถาในพระไตรปิฏกมาแสดง เพื่อเป็นธรรมทานด้วยค่ะ
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใครๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึงการแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูง ไปจากอาการที่เป็นไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็น อนัตตา เพราะเหตุ ๔ เหล่านั้น คือ
โดยความเป็นของสูญ ๑
โดยความไม่มีเจ้าของ ๑
โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑
โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑
ขอเชิิญคลิกอ่านที่นี่...
ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา [อนัตตลักขณสูตร]
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่...
กายสักว่าธาตุ ๔
ขออนุโมทนาธรรมทานของท่านวิทยากร
คลิกอ่านที่นี่....
อนัตตา
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ