พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ หน้าที่ 43
(ข้อความบางตอน)
เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้รู้จักประมาณ กล่าวคือความเป็นผู้ไม่ติดในโภชนะเป็นความดี
อธิบายว่า การรู้ประมาณเป็นความดี.อีกอย่างหนึ่งแม้ความเป็นผู้รู้ประมาณก็เป็นความดี
ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่
เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา ฯลฯ ด้วยการอยู่อย่างผาสุก และว่า :-
ภิกษุบริโภคของสดหรือของแห้งไม่ควรให้อิ่มเกินไป
เป็นผู้มีท้องพร่อง รู้จักประมาณในอาหาร
มีสติพึงงดเว้นเสีย ยังอยู่๔-๕ คำ ก็จะอิ่ม อย่าบริโภค พึงดื่มน้ำแทน
เป็นการเพียงพอเพื่อจะอยู่อย่างผาสุก
สำหรับภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น.
เวทนาของภิกษุนั้นผู้เป็นมนุษย์มีสติอยู่ทุกเวลา
ผู้ได้โภชนะแล้วรู้จักประมาณมีสติอยู่ทุกเวลา
ย่อมเป็นเวทนาที่เบา อาหารที่บริโภคย่อมค่อยๆ ย่อยไปเลี้ยงอายุ
มีความเป็นผู้ไม่ติด ก็เป็นความดี
ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า
บุคคลไม่ติดรส ย่อมกลืนกินอาหาร
เพื่อต้องการยังอัตภาพให้เป็นไป
เหมือนบริโภคเนื้อบุตรในหนทางกันดาร
เหมือนใช้น้ำมันหยอดเพลารถฉะนั้น.
สาธุๆ ๆ อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ