๘. ทุติยนาถสูตร ว่าด้วยธรรมอันกระทําที่พึ่ง ๑๐ ประการ
โดย บ้านธัมมะ  4 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 39767

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 44

ปฐมปัณณาสก์

นาถกรณวรรคที่ ๒

๘. ทุติยนาถสูตร

ว่าด้วยธรรมอันกระทําที่พึ่ง ๑๐ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 44

๘. ทุติยนาถสูตร

ว่าด้วยธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการ

[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 45

ภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย คือประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 46

นั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่งหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 47

อย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อม นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 48

หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล.

จบทุติยนาถสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยนาถสูตรที่ ๘

ทุติยนาถสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เถรานุกมฺปิตสฺส ได้แก่ ผู้ที่พระเถระทั้งหลายอนุเคราะห์ด้วยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูล ที่อุตสาหะเพราะการโอวาทและพร่ำสอนเป็นเหตุ.

จบอรรถกถาทุติยนาถสูตรที่ ๘