อานาปานสติ - ภูมิแห่งมนสิการของมหาบุรุษ [1]
โดย ajarnkruo  7 เม.ย. 2551
หัวข้อหมายเลข 8055

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 364

จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีสติ มีความรู้ตัวเท่านั้น แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น กรรมฐานอย่างอื่น นอกจากอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ ย่อมปรากฏได้แก่ผู้ที่มนสิการอยู่. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้ เป็นภาระหนัก เจริญสำเร็จได้ยาก ทั้งเป็นภูมิแห่งมนสิการของมหาบุรุษทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรเท่านั้น, ไม่ใช่เป็นกรรมฐานต่ำต้อย, ทั้งมิได้เป็นกรรมฐานที่สัตว์ผู้ต่ำต้อยซ่องเสพ, เป็นกรรมฐานสงบและละเอียด โดยประการที่มหาบุรุษทั้งหลายย่อมทำไว้ในใจ; เพราะฉะนั้น ในอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ จำต้องปรารถนาสติและปัญญา อันมีกำลัง. เหมือนอย่างว่า ในเวลาชุนผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง แม้เข็มก็จำต้องปรารถนาอย่างเล็ก, แม้ด้ายซึ่งร้อยในบ่วงเข็ม ก็จำต้องปรารถนาเส้นละเอียดกว่านั้น ฉันใด, ในเวลาเจริญกรรมฐานนี้ ซึ่งเป็นเช่นกับผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สติมีส่วนเปรียบด้วยเข็มก็ดี ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสตินั้น มีส่วนเปรียบด้วยด้ายร้อยบ่วงเข็มก็ดี จำต้องปรารถนาให้มีกำลัง.

ก็แล ภิกษุผู้ประกอบด้วยสติและปัญญานั้นแล้ว ไม่จำต้องแสวงหาลมหายใจเข้าและหายใจออกนั้น นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ. เปรียบเหมือนชาวนาไถนาแล้วปล่อยพวกโคถึก ให้บ่ายหน้าไปสู่ที่หากิน แล้วพึงนั่งพักที่ร่มไม้ คราวนั้นพวกโคถึกเหล่านั้นของเขาก็เข้าดงไปโดยเร็ว. ชาวนาผู้ฉลาด ประสงค์จะจับโคถึกเหล่านั้นมาเทียมไถอีก จะไม่เดินตามรอยเท้าโคถึกเหล่านั้นเข้าไปยังดง, โดยที่แท้ เขาจะถือเอาเชือกและประตักเดินตรงไปยังท่าน้ำ ซึ่งโคถึกเหล่านั้นลงทีเดียว นั่งหรือนอนคอยอยู่. เวลานั้นเขาได้เห็นโคเหล่านั้น ซึ่งเที่ยวไปสิ้นทั้งวัน แล้วลงไปสู่ท่านํ้าดื่มอาบและกินน้ำแล้ว ขึ้นมายืนอยู่ จึงเอาเชือกผูกแล้วเอาประตักทิ่มแทง นำไปเทียม (ไถ) ทำการ



ความคิดเห็น 1    โดย wayu11  วันที่ 8 เม.ย. 2551

ขออนุโมทนา ...

ได้ประจักษ์ด้วยข้อเท็จจริง ดวงตาเห็นธรรม ด้วยประการะฉะนี้ ... สาธุ


ความคิดเห็น 2    โดย suwit02  วันที่ 9 เม.ย. 2551
สาธุ

ความคิดเห็น 4    โดย คุณ  วันที่ 10 ก.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 5    โดย captpok  วันที่ 31 ม.ค. 2552
ขอบคุณครับ

ความคิดเห็น 6    โดย icenakub  วันที่ 29 ม.ค. 2553

ผมยังรู้สึกแปลกใจถึงเรื่อง อานาปานสติ ดูเหมือนถ้อยความที่ยกมานี้ จะไม่สนับสนุนการทำอานาปานสติ แต่กุศลทั้งหลายก็ควรเจริญไม่ใช่หรือครับ

รบกวนผู้รู้ชี้แนะทีนะครับ แล้วก็ "สัตว์ผู้ต่ำต้อย" หมายถึงอะไรเหรอครับ

ขอบคุณมากครับ


ความคิดเห็น 7    โดย prachern.s  วันที่ 30 ม.ค. 2553

กุศลธรรมทั้งหลายควรเจริญ ครับ

แต่ต้องตั้งบนพื้นฐานที่เข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ว่า ไม่รู้อะไรเลย มาถึง ให้นั่งกำหนดลมหายใจเลย อย่างนี้จะเป็นกุศลตรงไหน คำว่า "สัตว์ผู้ต่ำต้อย" ควรจะหมายถึงบุคคลที่นอกจากที่กล่าวแล้วครับ


ความคิดเห็น 8    โดย icenakub  วันที่ 28 มี.ค. 2553
สาธุ ขอบคุณครับ

ความคิดเห็น 9    โดย jirat wen  วันที่ 31 ต.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย chatchai.k  วันที่ 9 ก.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ความคิดเห็น 11    โดย Nataya  วันที่ 27 ส.ค. 2563

กราบอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย Jarunee.A  วันที่ 21 ม.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ