[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 175
เถรคาถา ฉักกนิบาต
๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมาลุงกยปุตตเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 175
๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมาลุงกยปุตตเถระ
[๓๕๑] ตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์ผู้ประพฤติประมาท เหมือน เถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่าฉะนั้น บุคคลผู้ตกอยู่ในอำนาจ ของตัณหา ย่อมเร่ร่อนไปในภพน้อยภพใหญ่ เหมือน วานรอยากได้ผลไม้ เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น ตัณหาอันชั่วช้า ซ่านไปในโลก ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ถูกฝนตก เชยแล้วฉะนั้น ส่วนผู้ใดครอบงำตัณหาอันชั่วช้านี้ ซึ่ง ยากที่จะล่วงได้ในโลก ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจาก บุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น เพราะฉะนั้น เราขอเตือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่ ท่านทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ในสมาคมนี้ทั้งหมด ท่าน ทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหา ดุจบุคคลผู้มีความต้องการ ด้วยแฝกขุดแฝกอยู่ฉะนั้น มารอย่าได้ระรานท่านทั้งหลาย บ่อยๆ ดังกระแสน้ำพัดพาไม้อ้อฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงทำตามพระพุทธพจน์ ขณะอย่าได้ล่วงท่านทั้งหลายไป เสีย เพราะผู้มีขณะอันล่วงแล้ว ย่อมยัดเยียดกันในนรก เศร้าโศกอยู่ ความประมาทดุจธุลี ธุลีเกิดขึ้นเพราะความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 176
ประมาท ท่านทั้งหลายพึงถอนลูกศรอันเสียบอยู่ในหทัย ของตน ด้วยความไม่ประมาทและด้วยวิชชาเถิด.
จบมาลุงกยปุตตเถรคาถา
อรรถกถามาลุงกยปุตตเถรคาถาที่ ๕
คาถาของท่านพระมาลุงกยปุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มนุชสฺส ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธจ้า อันมีใน ปางก่อนทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิด เป็นบุตรนักดูเงิน ของพระเจ้าโกศลในกรุงสาวัตถี.
มารดาของเขาชื่อ มาลุงกยา. ด้วยอำนาจของนางมาลุงกยานั้น เขา จึงปรากฏว่า มาลุงกยบุตร นั่นแล. เขาเติบโตขึ้นเพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยใน การสลัดออกจากกิเลส จึงละฆราวาสออกบวชเป็นปริพาชกท่องเที่ยวไป ได้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้ความศรัทธาในพระศาสนา จึง บวชบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ได้อภิญญา ๖. ท่านได้ไปยัง ตระกูลญาติ เพื่ออนุเคราะห์ญาติ. ญาติทั้งหลายได้อังคาสท่านด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ประสงค์จะล่อด้วยทรัพย์ จึงเอากองทรัพย์กอง ใหญ่วางไว้ข้างหน้า แล้วอ้อนวอนว่า ทรัพย์นี้เป็นของท่าน ท่านจงสึกมา ครอบครองลูกเมีย การทำบุญทั้งหลายด้วยทรัพย์นี้เถิด. พระเถระเมื่อจะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 177
เปลี่ยนอัธยาศัยของญาติเหล่านั้น จึงยืนในอากาศแสดงธรรมด้วยคาถา ๖ คาถา๑) นี้ว่า
ตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์ผู้ประพฤติประมาท เหมือน เถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่าฉะนั้น บุคคลผู้ตกอยู่ใน อำนาจของตัณหา ย่อมเร่ร่อนไปในภพน้อยภพใหญ่ เหมือนวานรปรารถนาผลไม้ เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น ตัณหา อันชั่วช้า ซ่านไปในโลก ครอบงำบุคคลใด ความโศก ทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ฝน ตกเชยแล้วฉะนั้น ส่วนผู้ใดครอบงำตัณหาอันชั่วช้านี้ ซึ่งยากที่จะล่วงไปได้ในโลก ความโศกทั้งหลายย่อมตก ไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น เพราะฉะนั้น เราขอเตือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในสมาคมนี้ ทั้งหมด ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหา ดุจบุคคลผู้มี ความต้องการแฝกขุดแฝกฉะนั้น มารอย่าได้ระรานท่าน ทั้งหลายบ่อยๆ ดังกระแสน้ำพัดพาไม้อ้อฉะนั้น ท่าน ทั้งหลายจงทำตามพระพุทธพจน์ ขณะอย่าได้ล่วงท่าน ทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะอันล่วงเลยไปแล้ว ย่อม ยัดเยียดกันในนรกเศร้าโศกอยู่ ความประมาทดุจธุลี ธุลีเกิดขึ้นเพราะความประมาท ท่านทั้งหลายพึงถอน
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 178
ลูกศรอันเสียบอยู่ในหทัยของตน ด้วยความไม่ประมาท และด้วยวิชชาเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุชสฺส ได้แก่ สัตว์.
บทว่า ปมตฺตจาริโน ได้แก่ผู้ประพฤติประมาท ด้วยความประมาท อันมีการปล่อยสติเป็นลักษณะ. ฌาน วิปัสสนา มรรคและผลทั้งหลายย่อม ไม่เจริญ.
เหมือนอย่างว่า เถาย่านทรายรวบมัดรัดคลุมต้นไม้ ย่อมเจริญเพื่อ ความพินาศแห่งต้นไม้นั้นฉันใด ตัณหาอันอาศัยทวาร ๖ เกิดขึ้นบ่อยๆ ในอารมณ์ มีรูปเป็นต้น ย่อมเจริญแก่สัตว์นั้นฉันนั้น ตัณหาเมื่อเจริญ อยู่แล ย่อมทำบุคคลผู้เป็นไปในอำนาจให้ตกลงในอบาย เหมือนเถาย่านทรายคลุมต้นไม้อันเป็นที่อาศัยของตน ให้โค่นลงฉะนั้น.
บทว่า โส ปฺลวติ ความว่า บุคคลผู้เป็นไปในอำนาจตัณหานั้น ย่อม เร่ร่อน คือแล่นไปในภพน้อยภพใหญ่ไปๆ มาๆ. ถามว่า เหมือนอะไร? ตอบว่า เหมือนวานรอยากได้ผลไม้เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น. อธิบายว่า วานร ผู้อยากได้ผลของต้นไม้แล่นไปในป่า จับกิ่งหนึ่งของต้นไม้ ปล่อยกิ่งนั้น แล้วจับกิ่งอื่น แล้วก็ปล่อยกิ่งนั้นจับกิ่งอื่น (อีกต่อๆ ไป) เพราะเหตุนั้น จึงย่อมไม่ถึงภาวะที่จะพึงพูดได้ว่า มันไม่ได้กิ่งไม้จึงนั่งจับเจ่า ดังนี้ฉันใด บุคคลผู้เป็นไปในอำนาจตัณหาก็ฉันนั้นเหมือนกัน แล่นไปในภพน้อย ภพใหญ่ จึงไม่ถึงความเป็นผู้ที่จะพึงกล่าวว่า เขาไม่ได้อารมณ์ จึงถึง ความไม่เกิดตัณหา.
บทว่า ยํ โยคว่า บุคคลใด. ตัณหาอันเป็นไปในทวาร ๖ นั่น ถึง ความนับว่า ชมฺมี เพราะความเป็นของลามก ถึงความนับว่า วิสตฺติกา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 179
เพราะมีอาหารเป็นพิษ เพราะมีดอกเป็นพิษ เพราะมีผลเป็นพิษ เพราะ มีการบริโภคเป็นพิษ และเพราะส่ายคือข้องในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ย่อม ครอบงำบุคคลนั้น. อธิบายว่า แฝกและหญ้าคมบางที่ฝนตกเชย เมื่อฝน ตกบ่อยๆ ย่อมเจริญในป่าฉันใด ความโศกทั้งหลายอันมีวัฏฏะเป็นมูล ย่อมเจริญคือถึงความเจริญฉันนั้น.
บทว่า โย เจตํ ฯเปฯ ทุรจฺจยํ ความว่า ส่วนบุคคลใด ยอมอด กลั้นคือครอบงำตัณหา ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วอย่างนี้ ที่ชื่อว่าล่วงได้ ยาก เพราะเป็นธรรมชาติที่จะพึงทำได้ยากเพื่อจะล่วง คือเพื่อจะละความ โศกมีวัฏฏะเป็นมูล ย่อมตกไปจากบุคคลนั้น อธิบายว่า ย่อมไม่ตั้งอยู่ เหมือนหยาดน้ำที่ตกลงในใบบัว คือใบปทุม ย่อมไม่ตั้งอยู่ฉะนั้น.
บทว่า ตํ โว วทามิ ความว่า เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวกะท่าน ทั้งหลาย.
บทว่า ภททํ โว ความว่า ความเจริญจงมีแก่พวกท่าน คือพวก ท่านอย่าได้ถึงความพินาศ คือความฉิบหาย เหมือนคนผู้อนุวรรตน์ตาม ตัณหา.
บทว่า ยาวนฺเนตตฺถ สมาคตา ความว่า มีประมาณเท่าที่มาประชุม กันอยู่ในที่นี้. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า พระเถระพูดอย่างไร? เฉลยว่า พระเถระพูดว่า ท่านทั้งหลายจงขุดรากของตัณหา คือท่านทั้งหลายจง ขุด คือถอนราก็คือเหตุของตัณหาอันเป็นไปในทวาร ๖ นี้ ได้แก่ ชัฏแห่ง กิเลสมีอวิชชาเป็นต้น ด้วยจอบคืออรหัตตมรรคญาณ. ถามว่า เหมือน อะไร? ตอบว่า เหมือนคนต้องการแฝกขุดแฝกฉะนั้น อธิบายว่า ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 180
ทั้งหลายจงขุดรากของตัณหานั้น เหมือนบุรุษผู้ต้องการแฝกเอาจอบใหญ่ ขุดหญ้า ชื่ออุสีระ แฝก อันมีอีกชื่อว่า พีรณะ ฉะนั้น.
บทว่า มา โว นฬํว โสโตว มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุนํ ความว่า กิเลสมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร อย่าระรานพวกท่านบ่อยๆ เหมือน กระแสน้ำไหลมาด้วยกำลังแรง ระรานไม้อ้อที่เกิดอยู่ริมฝั่งแม่น้ำฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงกระทำตามพระพุทธพจน์ คือ จง กระทำตามพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ซึ่งตรัสไว้โดยนัยมีอาทิ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเพ่ง (พินิจ) อย่าเป็นผู้ประมาท คือ จงยังข้อปฏิบัติให้ถึงพร้อมตามที่ทรงพร่ำสอน.
บทว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา ความว่า จริงอยู่ บุคคลใดไม่ กระทำตามพระพุทธพจน์ ขณะแม้ทั้งหมดนี้ คือ ขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จ อุบัติขึ้น ๑ ขณะที่ได้เกิดขึ้นในปฏิรูปเทส ๑ ขณะที่ได้สัมมาทิฏฐิ ๑ ขณะที่มีอวัยวะทั้ง ๖ ไม่บกพร่อง ๑ ย่อมล่วงเลยบุคคลนั้น ขณะอันนั้น อย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย.
บทว่า ขณาตีตา ความว่า ก็บุคคลใดล่วงเลยขณะนั้นไปเสีย หรือ ว่าขณะอันนั้นล่วงเลยบุคคลใดไปเสีย บุคคลเหล่านั้นก็จะยัดเยียดกันอยู่ใน นรก คือบังเกิดในนรกนั้นเศร้าโศกอยู่สิ้นกาลนาน.
บทว่า ปมาโท รโช ความว่า ความประมาทมีลักษณะปล่อยสติใน อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ชื่อว่า ดุจธุลี เพราะมีสภาพเศร้าหมอง และ เพราะเจือปนด้วยธุลีมีธุลีคือราคะเป็นต้น.
บทว่า ปมาทานุปติโต รโช ความว่า ก็ชื่อว่าธุลีอย่างใดอย่างหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 181
ราคะเป็นต้น มีธุลีทั้งหมดนั้นตกไปตามความประมาท คือเกิดขึ้นด้วย อำนาจความประมาทนั่นแหละ.
บทว่า อปฺปมาเทน ได้แก่ ด้วยความไม่ประมาท คือด้วยการปฏิบัติ โดยไม่ประมาท.
บทว่า วิชฺชาย ได้แก่ ด้วยวิชชาอันสัมปยุตด้วยอรหัตตมรรค.
บทว่า อพฺพเห สลฺลมตฺตโน ความว่า พึงดึงขึ้น คือพึงถอนลูกศร มีราคะเป็นต้น ที่อาศัยหทัยของตนออกเสีย.
จบอรรถกถามาลุงกยปุตตเถรคาถาที่ ๕