ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อวันพุธ ที่ ๒๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานกรรมการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ได้รับเชิญจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อไปสนทนาธรรม เรื่อง "จริยธรรม กับ การทำงาน" ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น ๒ ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมี คุณสิบพัน วนวิสุทธิ์ รองเลขาธิการ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้การต้อนรับ
การสนทนาธรรม มีขึ้นระหว่างเวลา ๐๙.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. โดยมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ เข้าร่วมรับฟังการสนทนาธรรม เต็มห้องประชุม และ มีการถ่ายทอดเสียงการสนทนาธรรม ไปยังห้องทำงานต่างๆ ภายในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทั้งสองตึก ภายในทำเนียบรัฐบาลอีกด้วย
การมาสนทนาธรรมของท่านอาจารย์ ณ สถานที่สำคัญของประเทศในครั้งนี้ เป็นครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง ที่น่าจดจำเป็นอย่างยิ่งในความเห็นของข้าพเจ้า และ ในตอนท้ายของการสนทนา ท่านรองเลขาธิการฯ คุณสิบพัน วนวิสุทธิ์ ได้กล่าวขอบพระคุณท่านอาจารย์ และ กล่าวถึงความในใจของท่าน มีความตอนหนึ่งว่า
.........
"...จริงๆ แล้ว อยากจะบอกว่า เป็นความตั้งใจ และ เป็นความปรารถนาส่วนตัวเป็นปีๆ เลย ที่ว่า จะทำอย่างไร? ถึงจะมีโอกาส เรียนเชิญอาจารย์มาให้ความรู้กับพวกเราได้ที่นี่ เพื่อว่า ที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีมากมาย ที่เราไม่เคยได้ยิน เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน แล้วเราก็ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน
เพราะฉะนั้น ก็หวังว่า วันนี้ จะเป็นวันแรก ที่ท่านสามารถทำให้พวกเราได้นำกลับไปคิด แล้วก็ไปต่อยอด เพราะไม่ว่าเราจะพูดถึงจริยธรรมอย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีส่วนซึ่งอาจารย์ได้กล่าวมาแล้ว ทั้งหมดที่ทำมา ก็แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย อยู่ที่ "ความจริง" ที่ท่านอาจารย์ ได้กล่าวมาทั้งหมด..."
"ความจริง" ที่ท่านรองฯสิบพันกล่าวถึง เป็น "ความจริง ของสิ่งที่มีจริงๆ " ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และ ได้ทรงมีพระมหากรุณาแสดงไว้ และท่านอาจารย์ ได้นำมากล่าวกับทุกๆ ท่านในวันนั้น ณ สถานที่ ที่สำคัญ ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ผู้บริหารประเทศ แน่นอนว่า วันนั้น เวลานั้น ณ สถานที่นั้น ย่อมเป็นสถานที่ๆ ประเสริฐที่สุดไปแล้ว เพราะ ไม่ว่าท่านอาจารย์จะย่างก้าวไปสู่ ณ สถานที่ แห่งใดก็ตาม ที่นั้น ย่อมเป็นที่ๆ ประเสริฐยิ่ง ในขณะนั้น ด้วยเสียงของพระธรรม เป็น ณ กาลครั้งหนึ่ง อันยอดเยี่ยม สำหรับผู้ที่เห็นคุณค่าของพระธรรม เป็นกาลที่ แม้จะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่ย่อมมีค่ายิ่งที่สุดในชีวิตของบุคคล ที่ยากนักที่จะได้พบ แม้ในชาติหนึ่งๆ ที่เป็นไป ดังจะขอนำเพียงความบางตอน มาบันทึกไว้ เพื่อประโยชน์แก่ทุกๆ ท่าน ตามควร ดังนี้
ท่านอาจารย์ จริยธรรม คือ สิ่งที่ประพฤติเป็นไป ในทางที่ดีงาม "ธรรมะ" มีความหมายหลายอย่าง หมายความถึง สิ่งที่มีจริง "จริย" คือ ความประพฤติ แต่ถ้ากล่าวถึง จริยธรรม ก็ต้องประพฤติเป็นไป ในทางที่ดีงาม ถ้าเป็นคนที่ "ตรง" ก็จะต้องเข้าใจว่า ความประพฤติที่ดี ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ที่บ้าน หรือที่อื่น ก็มีความประพฤติที่ดีด้วย...แม้แต่คนรับใช้ เราก็มีความประพฤติที่ดีงาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องเครียด หรืออะไร เราก็สบายๆ พร้อมกันนั้น ที่ขาดไม่ได้ ก็คือว่า ต้องมีความเข้าใจ "ความจริง" ซึ่งเราจะหาจากที่ไหน? แม้แต่คำว่า จริยธรรม จะหาจากที่ไหน?
แต่ว่า ผู้ที่ทุกคนพึ่ง แน่นอน ก็คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงทุกอย่าง ละเอียดมาก ถ้าดูในพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะอยู่บ้าน หรือเป็นพ่อค้า หรือจะทำธุรกิจใดๆ หรือว่า เป็นข้าราชการ เป็นทูต ทั้งหมด มีในพระไตรปิฎก ซึ่งแสดงถึง สิ่งที่เป็นประโยชน์จริงๆ ตามควรแก่สิ่งนั้นๆ
ท่านรองฯ สิบพัน ค่ะ เมื่อกี้ ท่านอาจารย์บอกว่า จริยธรรม ต้องเป็นความประพฤติที่ดี แต่ปัญหาว่า คนส่วนใหญ่ อาจจะไม่เข้าใจว่า คำว่า "ที่ดี" คือ อย่างไร? เราจะทำอย่างไร?
ท่านอาจารย์ ถ้าจะดูว่า เราชอบคนที่มีความประพฤติอย่างไร? นั่นแหละค่ะ คือ ความประพฤติที่ดี เราคงไม่ใช่คนที่ชอบสิ่งที่ไม่ดี ใช่ไหม? ความประพฤติที่ไม่ดีทั้งหมด ที่ทุกคนก็ยอมรับ ว่าไม่ดี เราก็เห็นว่าไม่ดี เพราะฉะนั้น จะไปชอบสิ่งที่ไม่ดี คงไม่ได้ แต่ว่า จะทำสิ่งที่ดี ได้ไหม? นั่นอีกเรื่องหนึ่ง
สิ่งที่ดี เป็น ดี ไม่ว่าจะที่ไหน เมื่อไหร่ กับใคร เพราะฉะนั้น ก็จะเห็น "ความละเอียด" ได้ ไม่ใช่บอกว่า สังคมนี้บอกว่าดี แต่อีกสังคมหนึ่งบอกว่าไม่ดี แต่ "ตรง" ตามความเป็นจริง ว่า ควร หรือ ไม่ควร ดี หรือ ไม่ดี สิ่งที่เป็น "เครื่องวัด" ไม่มีอะไรจะเท่ากับ พระพุทธศาสนา คือ คำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ว่า ต้องเป็นผู้ที่ "ตรง" และ เป็นผู้ที่ "จริงใจ" มิฉะนั้น ก็จะไม่ได้สาระ จากพระธรรม เลย
ทุกท่าน คงได้ยินคำว่า "สาวิตรี" เป็นภาษาที่ไม่ใช่ภาษาไทย มาจากภาษาบาลีว่า "สาวิตติ" คือ อะไร? คือ ยอดของพระเวทย์ หรือว่า คำฉันท์ เวลาที่จะกล่าวถึง พระเวทย์ ซึ่งเป็นความรู้ของพวกพราหมณ์ เขาจะต้องกล่าว "สาวิตติ คำฉันท์" นำ ว่าเป็นประมุขของคำสอนทั้งหมด แต่ว่า เมื่อพราหมณ์ผู้นั้น ได้พบกับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า สาวิตติ คือ ยอด หรือ ประมุขของคำฉันท์ของพราหมณ์ ไม่ใช่อริยะ ไม่ใช่ความเจริญ จริงๆ แต่ว่า ความเจริญจริงๆ ก็ทรงแสดงไว้ด้วย เป็นคำฉันท์พิเศษ คือ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ คนไทย ก็ได้ยินคำนี้บ่อย แต่ว่า ต้องเป็นผู้ตรงจริงๆ จึงจะได้สาระ
คือ "ความตรง" สามารถที่จะให้มี "ความเห็นถูก มีความเข้าใจถูก" ตามความเป็นจริงของธรรมะ ที่เป็นอย่างนั้น จริงๆ ไม่ใช่ว่า เพราะคนนี้คิดว่าถูก คนนั้นคิดว่าผิด แล้ว "ความจริง" คือ อะไร? เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ "ตรง" แม้แต่ในการที่จะกล่าวว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ก็แปลง่ายๆ ขอถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ทุกคน คงจะกล่าวคำนี้ แต่ "ความจริงใจ" ไม่ใช่อยู่ที่ "เพียงกล่าว" แต่ต้องรู้จริงๆ ว่า ไม่ได้มีบุคคลอื่นใดทั้งสิ้น เป็นที่พึ่ง นอกจาก พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงประกอบด้วย พระปัญญาคุณ เหนือบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น แม้เทวดา และ พรหม ก็มาเฝ้า เพื่อที่จะถามปัญหา
พระบริสุทธิคุณ ทรงแสดงพระธรรม เพื่ออนุเคราะห์ คนที่ไม่รู้ ให้มีความรู้ มีความเข้าใจ ในสิ่งซึ่ง เกิดมาแต่ละชาติ ความประพฤติ เป็นไป ของแต่ละคน ก็หลากหลายมาก ต่างๆ กันไป แต่ว่า ไม่ได้เข้าใจพระธรรม ถ้าไม่มีการได้ฟัง เพราะฉะนั้น นอกจากพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณแล้ว พระมหากรุณาคุณ ไม่ว่าบุคคลใด อยู่ไกล แสนไกล อย่าง สุภัททปริพาชก ผู้ที่จะได้ฟังพระธรรม จากพระองค์ คนสุดท้าย ก่อนที่จะปรินิพพาน ก็เสด็จไปถึงเมืองนั้น ทั้งๆ ที่ทรงประชวรอย่างหนัก แต่ก็เพื่อประโยชน์ เพื่อจะทรงอนุเคราะห์ว่า ถ้าเขาไม่มีโอกาส ได้ฟังพระธรรม ชีวิตของเขา ก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริง แล้วก็ดับกิเลสได้
เพราะฉะนั้น แต่ละคน โอกาส ที่จะได้ฟังพระธรรม ไม่ใช่บังเอิญ แต่ต้องมีเหตุ ทุกอย่าง ที่จะเกิดขึ้น ในชีวิต แต่ละขณะ ถ้าศึกษาพระธรรม จะรู้ได้จริงๆ ไม่มีอะไร ที่เกิดได้ ตามความต้องการ หรือ ตามความคิด ของแต่ละคน ด้วยเหตุนี้ ก็เริ่มที่จะเข้าใจ อีกคำหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา คือ คำว่า "อนัตตา" อัตตา คือ ตัวตน อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน แล้ว เป็นอะไร? พระธรรม ทั้งหมด ไม่ได้กล่าวถึง คำหนึ่ง คำใด แล้วให้ไป "คิดเอง" คิดอย่างไร ก็ไม่เหมือนกับที่จะได้ "ฟังพระธรรม" เพราะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นใคร? แล้วเราทุกคน เป็นใคร?
นี่ต้องรู้ แม้แต่การที่จะกล่าวว่า มีพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง (พุทธัง สรณัง คัจฉามิ) ก็ต้อง "รู้คุณ" ว่าพระคุณ มากมายมหาศาล ถ้าไม่มีการได้ยิน ได้ฟังเลย จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะฉะนั้น การที่จะ "รู้จัก" พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหนทางเดียว คือ ได้ฟังพระธรรม ที่ทรงแสดง จากการที่ทรงตรัสรู้ เมื่อมีความเข้าใจแล้ว จึงจะรู้จักว่า บุคคลนี้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น เมื่อพราหมณ์ผู้นั้น ได้ฟังธรรมะ ก็ขอถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ (ที่พึ่ง)
เพราะฉะนั้น ทุกคน ที่กล่าวคำนี้ ต้อง "จริงใจ" ที่จะรู้ว่า พึ่งจริงๆ ไม่ใช่พึ่งใครเลย นอกจากพึ่ง พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และ พระมหากรุณาคุณ ที่ทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา มากทุกเรื่อง ทุกอย่าง ที่ทำให้บุคคลทั้งหลาย "เริ่มเข้าใจ ความจริง" ของการที่ เกิดมา แล้วก็ตายไป แต่...อะไรเกิด? อะไรตาย? และ ระหว่างที่ยังไม่ตาย ทำอะไรกัน?
เพราะฉะนั้น ทุกคน ไม่ได้คิดถึงความจริงว่า ทุกอย่าง ต้องมีเหตุ การเกิดในโลกนี้ ต้องมีเหตุ อะไร? ที่ทำให้เกิด ในโลกนี้? แล้วก็เป็นคนนี้ แต่ละหนึ่งๆ ด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อจากโลกนี้ไป ก็ต้องรู้ว่า ไปสู่ที่อื่น ไม่ใช่ "คนนี้" อีกต่อไป สิ้นสุด ความเป็น "บุคคลนี้" แต่ "อะไร?" จะพาไป "ที่ไหน?" เพราะว่า อย่างไรๆ "อะไร" พามาที่นี่? เกิดที่นี่ เป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น จากโลกนี้ ที่ได้มีชีวิต แล้วแต่ว่า ใครจะดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง ก็มีเหตุที่ว่า เมื่อจากไปแล้ว ก็สิ่งนั้นแหละ ที่จะพาไป แต่ว่า จะไปสู่ ที่ไหน? ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ นี่คือ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ทั้งในขณะนี้ และ ขณะต่อๆ ไป ด้วย ชาตินี้ แล้วก็ ถ้าพึ่งต่อไป ก็จะได้พึ่ง ในชาติต่อไปด้วย
ท่านรองฯสิบพัน มีคำถามว่า บางทีการทำงาน เขารู้สึกว่า เขาจะต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วก็ต้องทำทั้งสิ่งที่ถูกใจ เราควรที่จะคิดอย่างไร?
ท่านอาจารย์ ค่ะ ถูกตามธรรมะ จะดีกว่า ใช่ไม๊คะ? เพราะเหตุว่า จริงๆ แล้ว ถูกต้อง ถ้าเราไม่เข้าใจธรรมะ เราก็ไม่รู้ว่า ถูกต้องจริงๆ คือ อย่างไร? แต่ว่า พระธรรมที่ทรงแสดง สำหรับชีวิตประจำวันจริงๆ ใช้คำว่า "พรหมวิหาร" พรหม คือ ผู้ประเสริฐ , วิหาร คือ ที่อยู่ เพราะฉะนั้น ที่อยู่ของผู้ประเสริฐ ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนก็ตาม ต้องเป็นคุณความดี ซึ่งมี ๔ อย่าง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในขณะที่ทำหน้าที่การงาน ได้ไหม? หรือว่า ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม จะขาดคุณธรรม ๔ ประการนี้ ได้ไหม?
แต่ว่า ส่วนใหญ่ เราไม่ได้ศึกษาละเอียด แล้วเราก็ยังไม่ได้ เข้าใจจริงๆ ว่าประโยชน์ ของธรรมะ ๔ อย่าง เป็นอย่างไร? แม้แต่ในการทำงาน ที่จะว่า ถูกใจ หรือว่า ไม่ถูกใจก็ตาม แต่ถ้า คนนั้น เป็นคนที่ ตรง จริงใจ และ เป็นผู้ที่ มีคุณความดี ก็จะต้องประกอบด้วย ธรรมะ ๔ ประการนี้ ด้วย ประการที่ ๑ เมตตา ความเป็นมิตร ความเป็นมิตร ก็ต้องขยายความอีก เพราะเหตุว่า ข้อความในพระไตรปิฎก ที่กล่าวว่า ไม่คบคนพาล แล้วจะทำอย่างไร? เพราะว่า เราก็มีการพบปะผู้คน เยอะแยะ บางคนก็เป็นมิตร สนิทสนมคุ้นเคย ตามลำดับ
เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจคำว่า "มิตร" ที่นี่ ภาษาไทย เราใช้คำว่า เพื่อน เป็นมิตรกัน เป็นเพื่อนกัน แต่ "เพื่อน" อย่างไร? ถ้าเป็นเมตตา หรือ ความเป็นมิตร จริงๆ ก็คือว่า ไม่ต้องใช้คำว่า "เพื่อน" ก็ได้ แต่หมายความว่า ขณะใดก็ตาม ที่มีความหวังดี พร้อมที่จะทำประโยชน์ แต่ต้องในทางที่ถูกต้อง
เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่มั่นคง ในคุณความดี ก็จะรู้ว่า ความไม่ดี เป็นเหตุ ให้ได้ผล ที่ไม่ดี แน่ๆ ตั้งแต่เกิด เพราะเหตุว่า เกิดมา หลากหลาย ต่างกัน หรือ ถึงแม้ว่า เกิดมาดีแล้ว แต่ถึงคราวที่ "อกุศลกรรมที่ไม่ดี ให้ผล" ก็สามารถที่จะ "ตัดรอน" สภาพที่สะดวกสบายนั้น ได้ทันที แขนขาด ขาขาด ตาบอด อะไรได้หมด โรคร้ายต่างๆ ก็ได้ โดยไม่ต้องมีแม้ใคร ทำให้ แต่ต้องมี "เหตุ" ที่ได้ทำไว้
เพราะฉะนั้น ถ้ามีความมั่นคง ในเรื่องของ เหตุ และ ผล กุศลกรรม และ อกุศลกรรม เราจะยึดมั่น ในกุศลกรรม เพราะเหตุว่า ถ้าเราจากโลกนี้ไป โดยการที่เรา ไม่เห็นประโยชน์ ของกุศลกรรม แล้วทำแต่ อกุศลกรรม ผลของ อกุศลกรรมนั้น เราก็เห็นอยู่ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือว่า เกิดที่อื่น ก็ได้ ซึ่งถ้าไม่ได้อ่านพระไตรปิฎก ก็อาจจะไม่เชื่อว่า มีนรก มีเปรต มีอสุรกาย ซึ่งเป็นผล ของ อกุศลกรรม
เพราะฉะนั้น ชีวิตของแต่ละหนึ่ง ขณะใดก็ตาม ที่ทำสิ่งที่ดีงาม มีความมั่นใจ ว่าสิ่งนั้น ต้องให้ผล (ดี) แน่นอน จะไม่ตกไป ในฝ่ายที่ ไม่ถูกต้อง แม้ว่า จะถูกใจ ชีวิตนี้ สั้นมาก ใครจะจากโลกนี้ไป เดี๋ยวนี้ก็ได้ เย็นนี้ก็ได้ พรุ่งนี้ก็ได้ แต่ จากไปด้วยการที่ว่า ไม่ได้ทำทุจริตกรรม ทำกุศลกรรม ย่อมมีประโยชน์กว่า
เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่มั่นคงจริงๆ ภาษาธรรมะ ใช้คำว่า บารมี ๑๐ คือ อธิษฐานบารมี มีความมั่นคง ในคุณความดี เพราะรู้ว่า เหตุ กับ ผล ต้องตรงกัน
เพราะฉะนั้น ใครก็ตาม ที่ทำความดี เพื่อที่จะได้รู้ความจริง เพราะว่า ความจริงขณะนี้มี แต่ก็รู้ยากมาก "ความจริง" เป็นสิ่งที่รู้ยากมาก จริงๆ ยิ่งเป็นความจริง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ จะยิ่งยากสักแค่ไหน? เพราะว่า ความจริงของชาวโลก ก็เพียงแต่ว่า ได้ยินได้ฟัง แล้วก็ไตร่ตรอง แล้วก็ประมวลเหตุการณ์ กับ หลักฐาน ว่าจริง หรือ ไม่จริง แต่ไม่ใช่ความจริงถึงที่สุด ในทางธรรม ความจริง ถึงที่สุด ในพระธรรม ไม่พ้นจาก เหตุ และ ผล ไม่ว่า ที่ไหน ค้านกันไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ถ้าการกระทำดี ผลต้องดี แล้วจะจากโลกนี้ไป โดยทำทุจริตกรรม ก็จะเห็นผลว่า ต้องนำมา ซึ่งผลไม่ดี
แต่ถ้าใครก็ตาม ที่มั่นคง ในคุณความดี แล้วจากโลกนี้ไป ก็ไม่เดือดร้อน เพราะ ระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เราได้ทำความดี นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งต้องพิจารณา ด้วยความตรง เกิดมาแล้ว ทำดี สะสมความดี แต่ว่า ดีเท่าไหร่ ก็ยังไม่พอ เพราะเหตุว่า ยังไม่เข้าใจธรรมะ โดยละเอียด โดยลึกซึ้ง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพียงแค่ "คำเดียว" นิดๆ หน่อยๆ เราก็พอเห็นประโยชน์ แต่ถ้า มากกว่านั้น ลึกซึ้งกว่านั้น ประโยชน์ จะสักแค่ไหน?
[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้าที่ ๔
เรื่อง ประโยชน์ของพระธรรม
[๑] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปฏิบัติ เพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้แล้วอย่างดีว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล นี้เป็นโทษ นี้ไม่มีโทษ นี้พึงเสพ นี้ไม่พึงเสพ นี้เลวนี้ประณีต นี้ดำ ขาว มีส่วนคล้ายกัน . เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่บัญญัติธรรมที่เป็นกุศลอกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ พึงเสพ พึงไม่เสพ เลวประณีต ดำ ขาว มีส่วนคล้ายกันอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธา ของท่านรองเลขาธิการฯ สิบพัน วนวิสุทธิ์ และ คณะฯ ในนามของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"สิ่งที่ดี เป็น ดี ไม่ว่าจะที่ไหน เมื่อไหร่ กับใคร
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็น "ความละเอียด" ได้
ไม่ใช่บอกว่า สังคมนี้บอกว่าดี แต่อีกสังคมหนึ่งบอกว่าไม่ดี
แต่ "ตรง" ตามความเป็นจริง
ว่า ควร หรือ ไม่ควร
ดี หรือ ไม่ดี
สิ่งที่เป็น "เครื่องวัด" ไม่มีอะไรจะเท่ากับ พระพุทธศาสนา
คือ คำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่ว่า ต้องเป็นผู้ที่ "ตรง" และ เป็นผู้ที่ "จริงใจ"
มิฉะนั้น ก็จะไม่ได้สาระ จากพระธรรม เลย"
----------------------------
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธา ของท่านรองเลขาธิการฯ สิบพัน วนวิสุทธิ์ และ คณะฯ
ในนามของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่วันชัย ภู่งาม ด้วยครับ
และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"ความจริง" เป็นสิ่งที่รู้ยากมาก จริงๆ
ยิ่งเป็นความจริง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ จะยิ่งยากสักแค่ไหน?
เพราะว่า ความจริงของชาวโลก ก็เพียงแต่ว่า ได้ยินได้ฟัง แล้วก็ไตร่ตรอง
แล้วก็ประมวลเหตุการณ์ กับ หลักฐาน ว่าจริง หรือ ไม่จริง
แต่ไม่ใช่ความจริงถึงที่สุด ในทางธรรม
ความจริง ถึงที่สุด ในพระธรรม ไม่พ้นจาก เหตุ และ ผล
ไม่ว่า ที่ไหน ค้านกันไม่ได้เลย
..........
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธา ของท่านรองเลขาธิการฯ สิบพัน วนวิสุทธิ์ และ คณะฯ
ในนามของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณวันชัย ภู่งาม เป็นอย่างยิ่งค่ะ
และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ค่ะ
กราบอนุโมทนาครับ
ขอกราบนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ต่อสัตว์โลก
ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า ขอกราบในเมตตาธรรมที่ไพเราะและประกอบด้วยแสงสว่าง
แห่งปัญญา ด้วยความกรุณาของท่านอาจารย์สุจินต์
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านรองเลขาธิการสิบพัน วนวิสุทธิ์ และ คณะ ที่เห็นประโยชน์
ของการฟังธรรม
ขอขอบพระคุณผู้นำภาพและข้อความมาเผยแพร่
การฟังพระธรรมทำให้เข้าใจความจริง..แม้เป็นสุตตะมยปัญญายังเบิกบานเพียงนี้..หาก
เป็นปัญญาจากการได้เห็นความจริงจะเบิกบานเพียงไหน..เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ท่านอาจารย์
สุจินต์กล่าวว่า ต้องฟังต่อไปสม่ำเสมอ..เพื่อสะสมปัญญา ...ขอตั้งสัจจะอธิษฐานว่า ขอได้
ฟัง+ ศึกษาพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกวัน..ทุกภพ..ทุกชาติด้วยความ
เข้าใจ..จนกว่าจะถึงวันที่ฟังเพียงประโยคเดียวก็เห็นธรรมจักษุด้วยปัญญาเห็นชอบ
กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาคณะฯสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของวันชัย มา ณ กาลครั้งนี้ ที่ได้นำภาพและ
คำบรรยายอันประเสริฐมาให้ได้อนุโมทนากันครับ
และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ
กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
ขออนุโมทนา
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน สำหรับอารมณ์ดีดีมีสาระที่ได้รับจากท่าน
ขอกราบอนุโมทนาทุกท่าน สำหรับกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้วในการนี้
ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
จาก ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี (ใหญ่ราชบุรี)
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ยิ่งอ่าน ยิ่งฟัง ยิ่งมีประโยชน์เพิ่มขึ้น
กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ อย่างเคารพยิ่ง ค่ะ
และขออนุโมทนาพี่วันชัยและทีมงานทุกท่าน ที่นำเสนอภาพและข้อธรรม
ที่พวกเราไม่มีโอกาสได้เข้าไปร่วมฟัง ณ สถานที่สำคัญแห่งนั้น
ขออนุโมทนาค่ะ
ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่ง ที่ได้รับความเมตตาจากท่าน ในการฟังบรรยายธรรม โดยบังเอิญ
ซึ่งมีประโยชน์ต่อตัวข้าพเจ้า เป็นอย่างยิ่ง
อาจารย์ท่านจะกล่าวเสมอว่า ฟัง เพื่อความเข้าใจ
กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มา ณ โอกาส นี้
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาขอบคุณมากค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธา ของท่านรองเลขาธิการฯ สิบพัน วนวิสุทธิ์ และ คณะฯ
และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่วันชัย ภู่งาม ด้วยค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบขอบพระคุณและยินดีในกุศลทุกประการค่ะ