ไตรลักษณ์
โดย WS202398  9 มี.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 3014

บทว่า อนิจฺจา ความว่า เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี.

บทว่า อนิจฺจา ความว่า ชื่อว่า อนิจฺจา ด้วยอรรถว่า เป็นแล้วกลับไม่เป็น.

บทว่า อนิจฺจ ได้แก่ชื่อว่าไม่เที่ยง โดยอาการที่มีแล้วก็ไม่มี.

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าไม่เที่ยง ด้วยเหตุแม้เหล่านี้ คือ

เพราะมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป.

เพราะเป็นของเป็นไปอยู่ชั่วคราว

เพราะมีความแปรปรวนเป็นที่สุด

เพราะปฏิเสธความเที่ยง.

บทว่า ทุกฺขา ความว่า เพราะอรรถว่า เบียดเบียน.

บทว่า ทุกฺขา ความว่า ชื่อว่าทุกข์ด้วยอรรถว่า บีบคั้นเสมอ

บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ชื่อว่าทุกข์ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ

ด้วยอรรถว่า ทนได้ยาก

ด้วยอรรถว่า เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งความทนได้ยาก.

ด้วยอรรถว่า บีบคั้นสัตว์ ด้วยการปฏิเสธความสุข.

ถามว่า ทนได้ยากใครเป็นผู้ทน ทนอะไร ทนได้ยาก ทำไมไม่ใช้ทำว่าทนไม่ได้ ทนได้ยาก เหมือนกับทนได้แต่ยาก

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา ความว่า ท่านกล่าวทำแม้พระนิพพานไว้ภายใน.

บทว่า อนตฺตา ความว่า เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ.

ชื่อว่า อนตฺตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปตามอำนาจ.

ถามว่า ไม่เป็นไปตามอำนาจอะไร



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 10 มี.ค. 2550

ที่ว่าทนได้ยาก อธิบายทั่วไปในลักษณะที่ว่า เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ทน ได้ยาก เพราะเป็นเวทนาที่ไม่น่าปรารถนา แต่เมื่อมีสุขเวทนา ทนได้ง่าย เพราะ เป็นเวทนาที่น่าปรารถนา ที่ว่าไม่เป็นไปตามอำนาจของใครๆ เลย คือไม่สามารถบังคับ ให้เป็นไปตามปรารถนาว่าอย่าเกิดหรืออย่าดับ อย่าแก่หรืออย่าตาย เป็นต้น


ความคิดเห็น 2    โดย อิคิว  วันที่ 10 มี.ค. 2550

ทุกข์ที่ทนไม่ได้ ก็ไม่ได้มีใครที่ทนไม่ได้ ทุกข์ที่ทนไม่ได้ ก็ไม่เป็นใครที่ทนไม่ได้ อีกเช่นกัน เป็นแต่เพียงลักษณะอย่างหนึ่งของสภาพธรรมที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้วก็ต้องมีความแตกทำลายเป็นธรรมดา อันจะปรารถนาไม่ให้แตก ทำลายไปนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้เลย สภาพที่บีบคั้นอยู่ทุกเมื่ออย่างนี้เราจึงบัญญัติ ว่า ทนไม่ได้ ส่วนท่านจะบัญญัติอย่างไรก็ไม่มีปัญหา ขอแต่ต้องให้เข้าใจให้ตรงกับผู้อื่นด้วย ส่วนสภาพธรรมที่ไม่เป็นไปในอำนาจ นั้นเป็นลักษณะที่อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้เป็นไปในอำนาจใครหรืออำนาจของใคร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เช่น เสียงที่ได้ยินจะดังขึ้นแล้วก็หมดไป เราไม่พึงได้ในเสียง ว่า ขอเสียงเป็นอย่างนี้ ขอเสียงอย่าเป็นอย่านั้นเลย ดังนั้น เสียงจึงไม่เป็นไปในอำนาจ ไม่เป็นของเรา รูป รส กลิ่น โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็เช่นเดียวกันขอเจริญในธรรม


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 10 มี.ค. 2550

ทุกข์ทางกายทนได้ยาก อย่างคนที่ป่วยเป็นมะเร็ง ต้องทนทุกข์ทรมานกับความเจ็บป่วยทางกาย ส่วนความสุขทางกายเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ต้องการ ทนได้ง่ายถึงแม้ว่าสุขนั้นไม่เที่ยง เดี๋ยวก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นทุกข์อีก ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เช่น ไม่อยากเจ็บไข้ ไม่อยากป่วย แต่ก็ต้องป่วย ไม่อยากจากญาติมิตรที่รักก็ต้องจาก อยากเป็นคนดีก็ยังไม่ดี เป็นต้น


ความคิดเห็น 4    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 24 ต.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ