[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชนาติ
"ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง, รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง, ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง, ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง"
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพทานํ เป็นต้น ความว่า ก็ถ้าบุคคล ถึงถวายไตรจีวรเช่นกับใบตองอ่อน แด่พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-พุทธเจ้าแล้ว พระขีณาสพทั้งหลาย ผู้นั่งติดๆ กัน ในห้องจักรวาลตลอดถึง พรหมโลก. การอนุโมทนาเทียว ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงทำด้วยพระคาถา ๔ บาทในสมาคมนั้นประเสริฐ; ก็ทานนั้น หามีค่าถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพระคาถานั้นไม่:
การแสดงก็ดี การกล่าวสอนก็ดี การสดับก็ดี ซึ่งธรรม เป็นของใหญ่ ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง บุคคลใดให้ทำการฟังธรรม, อานิสงส์เป็นอันมากก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้นแท้. ธรรมทานนั่น แหละ ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้น ให้เป็นไปแล้ว แม้ด้วยอำนาจอนุโมทนาโดยที่สุดด้วยพระคาถา ๔ บาท ประเสริฐที่สุดกว่าทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยบิณฑบาตอันประณีต แล้วถวายแก่บริษัทเห็นปานนั้นนั่นแหละบ้าง กว่าเภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้น แล้วถวายบ้าง กว่าเสนาสนทานที่ทายกให้สร้างวิหารเช่นกับมหาวิหารและปราสาท เช่นกับโลหะปราสาทตั้งหลายแสนแล้วถวายบ้าง กว่าการบริจาคที่ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น ปรารภวิหารทั้งหลายแล้ว ทำบ้าง.
เพราะเหตุไร? เพราะว่าชนทั้งหลาย เมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น ต่อฟังธรรมแล้ว เท่านั้นจึงทำได้. ไม่ได้ฟัง ก็หาทำได้; ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงฟังธรรมไซร้, เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณ กระบวยหนึ่งบ้าง ภัต ประมาณ ทัพพีหนึ่งบ้าง; เพราะเหตุนี้ ธรรมทานนั่นแหละ จึงประเสริฐที่สุด กว่าทานทุกชนิด ...
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ยินดีในกุศลจิตครับ