[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 531
เถราปทาน
พันธุชีวกวรรคที่ ๑๖
กุมุททายกเถราปทานที่ ๑๐ (๑๖๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกโกมุท
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 531
กุมุททายกเถราปทานที่ ๑๐ (๑๖๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกโกมุท
[๑๖๒] ณ ที่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ มีสระใหญ่สระหนึ่ง (สระธรรมชาติ) ดาดาษด้วยดอกปทุม (บัวหลวง) และดอกอุบล (บัวเขียว) สะพรั่งด้วยดอกปุณฑริก (บัวขาว).
ในกาลนั้น เราเป็นนกมีนามชื่อว่ากุกกุฏะ อาศัยอยู่ใกล้ สระนั้น เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยวัตร ฉลาดในบุญและมิใช่ บุญ.
พระมหามุนี พระนามว่าปทุมุตตระ สมควรรับเครื่อง บูชา เสด็จสัญจรในที่ไม่ไกลสระนั้น.
เราหักดอกบัวโกมุทน้อมถวายแด่พระองค์ พระองค์ทรง ทราบความดำริของเราแล้วทรงรับไว้.
ครั้นเราถวายทานนั้นแล้ว และอันกุศลมูลตักเตือน เรา ไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.
ในกัปที่ ๑,๖๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง พระเจ้าจักรพรรดิเหล่านี้มีพระนามว่าวรุณะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกุมุททายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบกุมุททายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 532
๑๖๐. อรรถกถากุมุททายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระกุมุททายกเถระ. มีกำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้หลายภพ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดเป็นนก ชื่อว่า กุกุตถะ๑ อยู่ใกล้สระใหญ่อันใกล้ภูเขาหิมวันต์ ที่ได้เกิดเป็นนก ก็เพราะอกุศลกรรมบางอย่าง แต่เพราะมีกุศลกรรมที่คนทำไว้ในกาลก่อน จึงได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ฉลาดในบุญและบาป มีศีล งดเว้น จาก อาหารที่เนื่องด้วยชีวิตสัตว์. ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จมาทางอากาศ เสด็จจงกรมใกล้กับนกนั้น. ลำดับนั้น นกนั้นได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส คาบเอาดอกโกมุทมา บูชาที่บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับดอก โกมุทนั้นไว้ เพื่อจะให้เธอเกิดความโสมนัสใจแล้ว ทรงกระทำอนุ- โมทนา.
ด้วยบุญอันนั้น นกนั้นจึงได้เสวยความสุขคือสมบัติในโลกทั้งสอง คือในเทวโลกและมนุษยโลกเสร็จแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาเกิดใน ตระกูลแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ทราบ
๑. บาลี กุกกุฏะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 533
ถึงบุพกรรมของคนได้โดยประจักษ์ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ ถึงเรื่องราวที่คนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมสนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. ในบทว่า ปทุมุปฺปลสญฺฉนโน นี้ เชื่อมความว่า ดอกปทุมสีขาวสมบูรณ์ด้วยใบบัว และดอกปทุมและอุบล สีเขียว สีแดง และสีขาว ๓ อย่าง รวมเรียกว่าดอกปทุมและดอกอุบล สระใหญ่นั้น ได้ดารดาษเป็นป่าเต็มไปด้วยดอกปทุมและดอกอุบลเหล่านั้น. บทว่า ปุณฺ- ฑรีกสโมตฺถโฏ ความว่า ดารดาษเต็มไปด้วยดอกปุณฑริก (บัวขาว) และดอกปทุมสีแดงมากมาย. คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้โดยง่ายแล.
จบกุมุททายกเถราปทาน
จบอรรถกถาพันธุชีวกวรรคที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 534
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พันธุชีวกเถราปทาน ๒. ตัมพปุบผิยเถราปทาน ๓. วีถิสัมมัชชกเถราปทาน ๔. กักการุปูชกเถราปทาน ๕. มันทารวปุปผปูชกเถราปทาน ๖. กทัมพปุปผิยเถราปทาน ๗. ติณสูลกเถราปทาน ๘. นาคปุปผิยเถราปทาน ๙. ปุนนาคปุปผิยเถราปทาน ๑๐. กุมุททายกเถราปทาน
บัณฑิตกล่าวคาถาไว้ ๕๖ คาถา.
จบพันธุชีวกวรรคที่ ๑๖