พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
จิตตานุปัสสนา
[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อนึ่ง จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ หรือจิตไม่มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีราคะ หรือจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ หรือจิตไม่มีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโทสะ หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ หรือจิตไม่มีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโมหะ หรือจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน หรือจิตเป็นมหรคต (หรือมหัคคตะ คือถึงความเป็นใหญ่ หมายเอาจิตที่เป็นฌาน หรือเป็นอัปปมัญญา พรหมวิหาร) ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต หรือจิตเป็นสอุตตระ (คือกามาวจรจิต ซึ่งมีจิตอื่นยิ่งกว่า ไม่ถึงอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ หรือจิตเป็นอนุตตระ (คือกามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมายเอาอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นอนุตตระ หรือจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่นหรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น หรือจิตวิมุตติ (คือหลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ) ก็รู้ชัดว่า จิตวิมุตติ หรือจิตยังไม่วิมุตติ ก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่วิมุตติ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า จิตมีราคะ คือจิตที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ ๘ อย่าง. บทว่า จิตปราศจากราคะ คือ จิตที่เป็นกุศล และอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. แต่ข้อนี้ เป็นการพิจารณา มิใช่เป็นการชุมนุมธรรม เพราะฉะนั้นในคำว่า จิตมีราคะนี้ จึงไม่ได้โลกุตตรจิตแม้แต่บทเดียว. อกุศลจิต ๔ ดวงที่เหลือ จึงไม่เข้าบทต้น ไม่เข้าบทหลัง. บทว่า จิตมีโทสะ ได้แก่จิต ๒ ดวง ที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัส. บทว่า จิตปราศจากโทสะ ได้แก่จิตที่เป็นกุศล และอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. อกุศลจิต ๑๐ ดวงที่เหลือ ไม่เข้าบทต้น ไม่เข้าบทหลัง. บทว่า จิตมีโมหะ ได้แก่จิต ๒ ดวง คือ จิตที่เกิดพร้อมด้วยวิจิกิจฉาดวง ๑ ที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะดวง ๑. แต่เพราะโมหะย่อมเกิดได้ในอกุศลจิตทั้งหมด ฉะนั้น แม้อกุศลจิตที่เหลือ ก็ควรได้ในบทว่าจิตมีโมหะนี้โดยแท้. จริงอยู่ อกุศลจิต ๑๒ (โลภมูล ๘ โทสมูล ๒ โมหมูล ๒) ท่านประมวลไว้ในทุกกะ (หมวด ๒) นี้เท่านั้น. บทว่า จิตปราศจากโมหะ ได้แก่จิตที่เป็นกุศลและอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. บทว่า จิตหดหู่ ได้แก่จิตที่ตกไปในถีนมิทธะ. ก็จิตที่ตกไปในถีนมิทธะนั้น ชื่อว่า จิตหดหู่ บทว่า ฟุ้งซ่าน ได้แก่จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะ จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะนั้นชื่อว่า จิตฟุ้งซ่าน.
บทว่า จิตเป็นมหัคคตะ ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. บทว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ ได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่า สอุตฺตระ (จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า) ได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่า อนุตฺตระ (จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า) ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. แม้ในจิตเหล่านั้นจิตที่ชื่อว่า สอุตตระ ได้แก่จิตเป็นรูปาวจร จิตชื่อว่า อนุตตระ ได้แก่ จิตที่เป็นอรูปาวจร. บทว่า สุมาหิตํ (จิตตั้งมั่นแล้ว) ได้แก่อัปปนาสมาธิหรืออุปจารสมาธิ. บทว่า อสมาหิตํ (จิตไม่ตั้งมั่น) ได้แก่จิตที่เว้นจากสมาธิทั้งสอง บทว่า วิมุตฺตํ (จิตหลุดพ้น) ได้แก่จิตหลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ. บทว่า อวิมุตฺติ (จิตไม่หลุดพ้น) ได้แก่จิตที่เว้นจากวิมุตติทั้งสอง. ส่วนสมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ ไม่มีโอกาสในบทนี้เลย.
สาธุ
ผมเข้าใจว่าถ้อยคำในวงเล็บที่ว่า
จิตเป็นอนุตตระ (คือกามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมายเอาอุปจารสมาธิ)
ขัดแย้งกับ คำของท่านอรรถกถาจารย์ที่ว่า
จิตชื่อว่า อนุตตระ ได้แก่ จิตที่เป็นอรูปาวจร
อนึ่งผมเห็นว่า ถ้อยคำในวงเล็บไม่น่ามีเลย เพราะท่านอรรถกถาจารย์ได้อธิบายความหมายของจิตแบบต่างๆ นั้นไว้ เหมาะแล้ว งามแล้ว
ถ้อยคำในวงเล็บ เป็นถ้อยคำที่มีมาในพระไตรปิฎกไม่ได้เติมขึ้นโดยผู้อ่านหรือผู้พิมพ์ค่ะ และเป็นความละเอียดที่ดี
โดยส่วนตัว ... เมื่อคุณสุวิทย์ท้วงมาจึงอ่านเองหลายรอบ หลายที่ ว่า งง หรือไม่ เนื่องจากกามาวจรจิตนั้นขอบเขตกว้าง ถ้าดิฉันจำและเข้าใจไม่ผิดพลาดเป็นจิตที่ประกอบด้วยฌานก็มี ไม่ประกอบด้วยฌานก็มี ชั้นรูปพรหมก็มี อรูปพรหมก็มี แม้ไม่สันทัดเรื่องศัพท์แสง แต่ก็พอเข้าใจเบื้องต้นได้ ไม่สับสน (แต่ก็ลืมได้อีก) และเห็นคุณของท่านผู้รู้ที่ท่านอธิบายเพิ่มเติม เจาะจงมาในวงเล็บค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ป.ล. เรียนขอความกรุณาจากอาจารย์ประเชิญ ช่วยกรุณาอธิบายเรื่องนี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน ด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
ข้อความในวงเล็บไม่ชัดเจนครับ
ข้อความในอรรถกถาชัดเจนดี คือ
สอุตตระ มี ๒ นัย
อนุตตระ มี ๒ นัย
สอุตตระ นัยแรก หมายถึง กามาวจรจิต สอุตตระ นัยที่สอง หมายถึง รูปาวจรจิต
อนุตตระ นัยแรก หมายถึง รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต เมื่อเทียบกับกามวจรจิต
อนุตตระ นัยที่สอง หมายถึง อรูปาวจรจิต เมื่อเทียบกับรูปาวจรจิต
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 14062 ความคิดเห็นที่ 2 โดย pornpaon
ถ้อยคำในวงเล็บ เป็นถ้อยคำที่มีมาในพระไตรปิฎก ไม่ได้เติมขึ้นโดยผู้อ่านหรือผู้พิมพ์ค่ะ และเป็นความละเอียดที่ดี
โดยส่วนตัว ... เมื่อคุณสุวิทย์ท้วงมาจึงอ่านเองหลายรอบ หลายที่ ว่า งง หรือไม่เนื่องจากกามาวจรจิตนั้นขอบเขตกว้าง ถ้าดิฉันจำและเข้าใจไม่ผิดพลาด
เป็นจิตที่ประกอบด้วยฌานก็มี ไม่ประกอบด้วยฌานก็มี ชั้นรูปพรหมก็มี อรูปพรหมก็มี แม้ไม่สันทัดเรื่องศัพท์แสง แต่ก็พอเข้าใจเบื้องต้นได้ ไม่สับสน (แต่ก็ลืมได้อีก) และเห็นคุณของท่านผู้รู้ที่ท่านอธิบายเพิ่มเติม เจาะจงมาในวงเล็บค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ป.ล. เรียนขอความกรุณาจากอาจารย์ประเชิญ ช่วยกรุณาอธิบายเรื่องนี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน ด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
เนื่องจากกามาวจรจิตนั้นขอบเขตกว้าง ถ้าดิฉันจำและเข้าใจไม่ผิดพลาดเป็นจิตที่ประกอบด้วยฌานก็มี ไม่ประกอบด้วยฌานก็มี ชั้นรูปพรหมก็มี อรูปพรหมก็มี
อันนี้ คุณภรภาอร จำและเข้าใจผิดครับ ขอเชิญอ่าน
09200 กามาวจรจิตเป็นจิตที่ภูมิต่ำที่สุด
(ซึ่งข้อความบางส่วนมีว่า กามาวจรจิตเป็นจิตที่ภูมิต่ำที่สุด เป็นจิตซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน จิตระดับที่สูงกว่านี้ คือ รูปาวจร จิตอรูปวจรจิต และโลกุตตรจิต)
10586 รูปาวจรกุศลจิต เห็นคุณของท่านผู้รู้ที่ท่านอธิบายเพิ่มเติม เจาะจงมาในวงเล็บ
ถ้อยคำในวงเล็บนั้น ไม่มีในพระบาลี ผู้แปลเพิ่มเติมขึ้นมาเอง ผมมีความเห็นเป็นส่วนตัวว่า การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการอธิบายความหมายควรแยกต่างหากจากคำแปลพระบาลี เพราะ ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทของเรานั้น มีจารีตอันงามยิ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พระสัทธรรมยังคงบริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดมาตราบเท่าทุกวันนี้คือการไม่แก้ไขเพิ่มเติมพระพุทธวจนะ ถ้าเราประสงค์จะอธิบาย หรือขยายความพระพุทธวจนะ เราจะแยกออกมาต่างหากให้เห็นได้ชัดๆ ว่า ส่วนไหนเป็นพระพุทธวจนะ ส่วนไหนเป็นคำอธิบาย เช่นแยกออกมาเป็น อรรถกถาเป็นต้น และในกรณีนี้ น่าสงสัยว่า ท่านผู้แปลจะอธิบายผิดด้วย
ขอวิทยากรได้โปรดให้คำวินิจฉัยด้วยขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ระหว่างที่ผมโพสท์ตอบคุณภรภาอรอยู่นั้น วิทยากรก็ตอบมาพอดี
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ผมขอถือเอาคำวินิจฉัยของวิทยากรที่ว่า
อนุตตระ มี ๒ นัย
อนุตตระ นัยแรก หมายถึง รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต เมื่อเทียบกับกามวจรจิต
อนุตตระ นัยที่สอง หมายถึง อรูปาวจรจิต เมื่อเทียบกับรูปาวจรจิต
มาเป็นเครื่องยืนยันว่า อนุตตระ (จิต) นั้น จะหมายถึง กามาวจรจิต ไม่ได้เลย
ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า ข้อความในวงเล็บที่ว่า จิตเป็นอนุตตระ (คือกามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมายเอาอุปจารสมาธิ) ไม่เหมาะสมด้วยเหตุสองประการ คือ
๑. เป็นการเพิ่มเติมพระพุทธวจนะ โดยประการที่อาจทำให้เข้าใจไปได้ว่า ข้อความนั้นเป็นพระพุทธวจนะ
๒. ข้อความนั้น ผิดไปจากสภาวธรรม ทำให้ผู้อ่านที่ถือตาม เข้าใจผิดไปด้วยด้วยเหตุดังกล่าว ขอทีมงานได้โปรดพิจารณาว่าควรตัดข้อความดังกล่าวออก หรือไม่
ขออนุโมทนาครับ
แม้จะเป็นดังนั้น แต่ข้อความในวงเล็บก็มีมาในพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยนี้คงตัดออกเองโดยพลการไม่ได้ แต่เทียบเคียงความถูกต้องโดยอรรถกถาได้เมื่ออรรถกถาชัดเจนดี และท่านวิทยากรก็ได้อธิบายเพิ่มเติมละเอียดดีแล้วเกิดความเข้าใจแล้ว ก็คงน่าจะเพียงพอค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 14062 ความคิดเห็นที่ 1 โดย suwit02
สาธุ
ผมเข้าใจว่าถ้อยคำในวงเล็บที่ว่า
จิตเป็นอนุตตระ (คือกามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมายเอาอุปจารสมาธิ) ขัดแย้งกับ คำของท่านอรรถกถาจารย์ที่ว่า
จิตชื่อว่า อนุตตระ ได้แก่ จิตที่เป็นอรูปาวจร
อนึ่งผมเห็นว่า ถ้อยคำในวงเล็บไม่น่ามีเลย เพราะท่านอรรถกถาจารย์ได้อธิบายความหมายของจิตแบบต่างๆ นั้นไว้ เหมาะแล้ว งามแล้ว
ข้อความในวงเล็บ ที่ท่านได้ขยายไว้นั้น ... ถูกต้องแล้วค่ะ
จิตเป็นอนุตตระ (คือกามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมายเอาอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นอนุตตระ
เพราะอุปจารสมาธิยังไม่ใช่ฌานจิต ความสงบยังไม่ถึงขั้นอัปปณา ยังไม่แนบแน่นจนถึงขั้นปฐมฌาน ยังไม่ใช่รูปาวจรจิต ดังนั้นอุปจารสมาธิจึงยังเป็นกามาวจรจิตและในบรรดากามาวจรจิตทั้งหมดนั้น จิต ที่ไม่มีจิตอื่นที่ยิ่งไปกว่าจึงหมายถึง อุปจารสมาธิค่ะ ในประโยคนี้ท่านกล่าวถึงกามาวจรจิตประเภทเดียว ส่วนในประโยคต่อๆ มา ก็มีการเปรียบเทียบกับจิต ... ในภูมิที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ