อตีต (ล่วงแล้ว ผ่านไป) +ภวงฺค (องค์แห่งภพ)
ภวังค์ที่ล่วงแล้ว ภวังค์ที่ผ่านไป หมายถึง ภวังคจิตในขณะที่รูปเกิดขึ้นกระทบกับปสาทรูปทางทวารใดทวารหนึ่ง เช่น ทางตา เมื่อวิถีจิตยังไม่ได้เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวาร๖ ภวังคจิตก็เกิดดับสืบต่อกันไปเป็นกระแสภวังค์ แต่เมื่อมีวัณณรูป (สี) มาสู่คลองจักษุคือเกิดขึ้นกระทบกับจักขุปสาท
ภวังคจิตในขณะที่สีเกิดขึ้นกระทบกับจักขุปสาทได้ชื่อว่า อตีตภวังค์ เป็นภวังคจิตที่ผ่านล่วงเลยไปเพราะยังไม่มีผลให้เกิดวิถีจิตและเป็นการตั้งชื่อเพื่อให้ทราบอายุของรูปเมื่อเทียบกับขณะจิต เพราะรูปเกิดขึ้นพร้อมกับภวังคจิตดวงนี้ (อตีตภวังค์) และดับพร้อมกับตทาลัมพณจิตดวงสุดท้ายอายุของรูปจึงเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต
อตีตภวังค์ ภวังค์คจลนะ ภวังค์คุปัจเฉทะ เป็นวิบากจิตประเภทเดียวกัน มีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเท่ากัน และมีอารมณ์เดียวกันกับปฏิสนธิจิต จุติจิตในชาติเดียวกันและทำกิจอย่างเดียวกันกับภวังค์ดวงอื่นๆ (เป็นเพียงชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ทราบอายุของรูปเท่านั้น)
อนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ