[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 186
๗. วนปัตถสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 18]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 186
๗. วนปัตถสูตร
[๒๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงวนปัตถปริยาย [เหตุของการอยู่ป่าชัฏ] แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[๒๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 187
บริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ในเวลากลางคืน หรือในเวลากลางวันก็ตามไม่ควรอยู่.
ตรัสเหตุของการอยู่ป่าชัฏ
[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําเป็นต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เหตุจีวร เหตุบิณฑบาต เหตุเสนาสนะ เหตุคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้แล้วควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ไม่ควรอยู่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 188
[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น พึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย. ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก. แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เหตุจีวร เหตุบิณฑบาต เหตุเสนาสนะ เหตุคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้แล้ว ก็ควรอยู่ในป่าชัฏนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย.
[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 189
บริขารเหล่าใดที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุความปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภคปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าชัฏนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปเสีย.
[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบ้านแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ... เข้าไปอาศัยนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ... เข้าไปอาศัยนครแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ... เข้าไปอาศัยชนบทแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ... เข้าไปอาศัยบุคคลใคบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 190
ขึ้นได้โดยยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปเสียในเวลากลางวัน หรือกลางคืน ไม่ควรพัวพันกะบุคคลนั้นเลย.
[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลผู้นั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่าเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เหตุจีวร เหตุบิณฑบาต เหตุเสนาสนะ เหตุคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้แล้ว ไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปเสีย ไม่ควรพัวพันกะบุคคลนั้นเลย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 191
ตรัสเหตุเข้าไปอาศัยคนใดคนหนึ่งอยู่
[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เหตุจีวร เหตุบิณฑบาต เหตุเสนาสนะ เหตุคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้แล้วก็ควรพัวพันกะบุคคลนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย.
[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 192
และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจําต้องนํามาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพัวพันอยู่กะบุคคลนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปเสีย แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบ วนปัตถสูตร ที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 193
อรรถกถาวนปัตถปริยายสูตร
วนปัตถปริยานสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้
บทว่า วนปตฺถปริยายํ ได้แก่ เหตุของการอยู่ป่าชัฏ หรือ การแสดงการอยู่ป่าชัฏ.
บทว่า วนปตฺถํ นิสฺสาย วิหรติ ความว่า ภิกษุอาศัยเสนาสนะในราวป่า อันพ้นจากสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ประพฤติสมณธรรมอยู่.
ในบทว่า อนุปฏฺิตา เป็นต้น มีอธิบายว่า เมื่อเธอแม้เข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏในกาลก่อน ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นในกาลก่อนก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไปในกาลก่อน ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุอรหัต กล่าวคือ ความปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุในกาลก่อน.
บทว่า ชีวิตปริกฺขารา คือ เครื่องบํารุงชีวิต.
บทว่า สมุทาเนตพฺพา ได้แก่ อันพึงนํามาพร้อม.
บทว่า กสิเรน สมุทาคจฺฉนฺติ คือ เกิดขึ้นโดยยาก.
บทว่า รตฺติภาคํ วา ทิวสภาคํ วา ได้แก่ ในส่วนกลางคืน หรือในส่วนกลางวัน. ก็ในที่นั้น ภิกษุพิจารณาอยู่ในส่วนกลางคืน รู้แล้วควรหลีกไปในกลางคืนนั้นเทียว ครั้นเมื่อทางเปลี่ยวแห่งสัตว์ดุร้ายเป็นต้น ในกลางคืนมีอยู่ ควรรออรุณขึ้น รู้ในส่วนกลางวัน ควรหลีกไปในกลางวันเทียว ครั้นเมื่อทางเปลี่ยวในกลางวันมีอยู่ ก็ควรรอพระอาทิตย์ตก.
บทว่า สํ ขาปิ ความว่า รู้ความที่สมณธรรมไม่สําเร็จอย่างนี้.
บทว่า อนนฺตรวาเร ปนสํ ขาปิ ความว่า รู้ความที่สมณธรรมสําเร็จอย่างนี้.
บทว่า ยาวชีวํ ความว่าชีวิตยังเป็นไปตราบใด ควรอยู่ตราบนั้นเทียว.
บทว่า โส ปุคฺคโล เชื่อมกับบทนี้ว่า นานุพนฺธิตพฺโพ.
ก็ในบทว่า อนาปุจฺฉา มีอธิบายว่า ภิกษุนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 194
ไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปเสีย.
บทว่า สํขาปิ ความว่า ภิกษุรู้ความที่สมณธรรมไม่สําเร็จอย่างนี้ ไม่ควรพัวพันกับบุคคลนั้น ควรบอกบุคคลนั้นหลีกไปเสีย.
บทว่า อปิ สมุชฺชมาเนนปิ ได้แก่ แม้จะถูกฉุดคร่าก็ตาม. ก็บุคคลเห็นปานนี้ แม้ถ้าจะให้นําไม้ร้อยกํา น้ำร้อยหม้อ หรือทราบร้อยถุง หรือให้ฉุดคร่าว่า เจ้าอย่าอยู่ในที่นี้ ก็ควรให้บุคคลนั้นขอโทษ พึงอยู่ตลอดชีพนั้นเทียวแล.
จบ อรรถกถาวนปัตถปริยายสูตร ที่ ๗